เอมิลยอดนักสืบ : Erich Kastner “ถ้าไม่ลำบากก็ไม่ได้อะไรมา” -ป้ามาร์ธา- . . เอมิล ต้องเดินทางไปเยี่ยมคุณยายและนำเงินที่คุณแม่ฝากไว้ไปให้คุณยาย เด็กชายนั่งรถไฟเพียงลำพังจากเมืองนอยซ์ดัตช์ไปยังกรุงเบอร์ลิน ระหว่างทางได้พบเจอคนรู้จักและคนแปลกหน้า เอมิลเผลอหลับไปวูบหนึ่ง แต่ตื่นมาก็ต้องเจอเรื่องเศร้าใจยิ่งกว่าเรื่องร้ายในฝันเมื่อกี้ เพราะเงินที่ติด ตั ว ม า ด้ ว ย ห า ย ไ ป !!!! เอมิลสงสัยว่า ชายไว้หนวดสวมหมวกที่ชื่อ กรุนไดส์ คนที่นั่งตรงข้ามกันในตู้รถไฟ และทำทีมาตีซี้เขาเมื่อกี้เป็นผู้ขโมยไป เอมิลลงรถไฟและไล่ตามชายคนนั้นอย่างไม่คลาดสายตา เอมิลคิดถี่ถ้วนแล้วว่าคำพูดของเด็กคงไม่มีน้ำหนักเท่าผู้ใหญ่ตัวโต ถ้าเมื่อกี้เขาดึงสัญญาณเตือนภัยในรถไฟให้ จนท.มาช่วย แต่ถ้าไม่มีใครเชื่อเขา กลายเป็นว่าเขาต้องเสียเงินไปกับค่าดึงสัญญาณฉุกเฉินโดยพลการแทนหรือเปล่า? หรือตอนนี้ถ้าเขาตะโกนขอความช่วยเหลือ แล้วโจรโบ้ยว่าเขาเป็นเด็กเลี้ยงแกะล่ะ? และเอมิลก็ขยาดตำรวจเพราะตนเคยไปก่อเรื่องซุกซนเอาไว้ จึงต้องไล่ตามโจรและหอบหิ้วกระเป๋าสัมภาระและช่อดอกไม้ที่จะให้คุณยายไปอย่างทุลักทุเล ระหว่างทาง เอมิลได้เจอกับ กุ๊สต๊าฟ เด็กชายรุ่นเดียวกับเขา หลังจากกุ๊สต๊าฟได้รู้เรื่องทั้งหมดจึงขออาสาและรวบรวมเพื่อนๆ กลุ่มใหญ่มาช่วยให้เอมิลปฏิบัติการจับโจรให้สำเร็จ . ทีมเวิร์กที่มีประสิทธิภาพย่อมก่อให้เกิดความสำเร็จ และสิ่งที่จะต่อกรกับผู้ร้ายปากแข็งได้คือไหวพริบในตัวเอมิล! (อีกภาพปกหนึ่งของเอมิล : ภาพจากอินเตอร์เน็ต) เอมิล ยอดนักสืบ เป็นวรรณกรรมเยาวชนที่เด็กอ่านได้ผู้ใหญ่อ่านดี ( เดี๋ยว..แย่งเด็กอ่านหรือเปล่า^^ ) นอกจากพล็อตสะกดรอยตามจับโจรที่น่าติดตามแล้ว แต่หนังสือเล่มเล็กเล่มนี้ยังทำให้ผู้อ่านอิ่มเอมกับมุมมองเรื่องครอบครัวและมิตรภาพอันน่าประทับใจอีกด้วย . ฉากที่เด็กสองคนคือ เอมิล และ ศาสตราจารย์ (เด็กแว่นในกลุ่มของกุ๊สต๊าฟที่มีนิสัยเหมือนคุณครู เพื่อนๆ จึงเรียนเขาว่าศาสตราจารย์) พูดคุยกันเรื่องที่บ้าน เอมิลรับรู้เรื่องเงินของที่บ้านจนชิน เพราะบ้านเขาไม่ค่อยมีตังค์ แม่คือฮีโร่ที่มีเงินไว้สำหรับเรื่องของเอมิลได้ทุกครั้ง แม้ในยามที่รายจ่ายในบ้านพร่องก็ตาม แม่มักจะให้เอมิลไปสนุกกับเพื่อนๆ ได้ถึงมืดค่ำ ไม่ต้องมาพะวงกับที่บ้าน แต่เอมิลมักจะกลับก่อนเวลาเพื่อจะได้มากินมื้อเย็นพร้อมแม่ เพราะเอมิลรู้ว่าแม่คงเหงา เขาเองก็เช่นกัน และสังเกตเห็นรอยยิ้มดีใจของแม่ทุกครั้งไป . ส่วนบ้านของ ศาสตราจารย์นั้นแทบตรงข้ามกับเอมิลเลย ที่บ้านเขาไม่เคยพูดคุยเรื่องเงินให้ผ่านหู แต่ต่างคนต่างอยู่ ไม่ค่อยได้เจอหน้าพร้อมเพรียงกัน แม้จะรักกันชอบกันแต่ก็ต่างคนต่างไป เขาจึงรู้สึกว่าชีวิตของเอมิลดูสมบูรณ์แบบเพราะ ”การอยู่พร้อมหน้ากันจะไม่ทำให้เราสูญเสียสิ่งใดไป” . และเราก็ยังชอบวิธีคิดในเวลาต้องตัดสินใจโดยลำพังของศาสตราจารย์ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาได้จากพ่อมา ที่ว่า “ลูกจงคิดว่าจะทำเหมือนกับเวลาที่พ่อยืนอยู่ข้างๆ” **หมายเหตุ : เวอร์ชั่นที่นำมารีวิวเป็นหนังสือแปลในเวอร์ชั่นพิมพ์เก่า ซึ่งในเวอร์ชั่นใหม่อาจมีการแปลชื่อ และสำนวณที่ต่างไปจากเดิมอยู่บ้าง (ชอบรูปปกเวอร์ชั่นนี้จัง ดูเก๋ดี : ภาพจากอินเตอร์เน็ต) เอมิล ยอดนักสืบ แปลจาก Emil und die Detektive (Emil and the Detectives) (1929) ผู้เขียน : แอริค เคสต์เนอร์ ผู้แปล : บันลือ ถิ่นพังงา สนพ. : บรรณกิจ ผู้แปลเวอร์ชั่นพิมพ์ปัจจุบัน : ชลิต ดุรงค์พันธุ์ สนพ. : แพรวเยาวชน หนังสือเล่มนี้คุ้นๆว่าเป็นหนังสือนอกเวลาตอน ม.ปลาย หรือเปล่าครับ
จำได้ว่าที่โรงเรียนอ่านหนังสือนอกเวลาเยอะมากครับ ตอน ม.3 เรียนโปรแกรม อังกฤษพิเศษ คือเรียนเป็นภาษาไทยแต่เรียนภาษาอังกฤษพิเศษอีก 2 วิชา ต่อเทอมครับ สรุปแว่เรียนภาษาอังกฤษทุกวันครับ บางวันเรียน 2 วิชา เทอมๆนึงต้องอ่านนอกเวลาภาษาอังกฤษวิชาละ 2 เล่ม เป็น 4 เล่ม ภาษาไทยก็ต้องอ่านนอกเวลาด้วยครับ 2 เล่ม ยังนึกไม่ออกว่า "มีเวลาไปวิ่งเล่นตอนไหน" ฮ่าๆๆๆๆ โดย: ทนายอ้วน วันที่: 24 ตุลาคม 2564 เวลา:16:06:41 น.
อ่านที่รีวิวแล้วอยากหามาอ่านขึ้นมาทันทีเลยครับ
สมัยก่อนตอนเรียนมัธยม ผมชอบอ่านนิยายแปล เรื่องสั้นมากครับ ยืมห้องสมุดจนบัตรเต็มเลยครับ โดย: The Kop Civil วันที่: 24 ตุลาคม 2564 เวลา:16:23:44 น.
เล่มนี้ที่บ้านมี
แต่ผมไม่เคยอ่าน เพราะเป็นหนังสือที่น้องสาวอ่านครับ เค้าชอบอ่านวรรณกรรมเยาวชน ผมชอบปกสีเหลืองเช่นกัน ดูเรียบง่าย แต่เท่ บ้านข้างวัดผมยังไม่เคยไปเดินเลย แถวนั้นนานๆทีจะไปเดินเล่นแถววัดอุโมงค์ครับ เชียงใหม่ช่วงนี้คนมาเที่ยวเยอะ แต่ตัวเลขคนติดโควิดก็พุ่งสูงทุกวันเช่นกัน โดยเฉพาะในตลาดสดหลายแห่งเลยครับ โดย: กะว่าก๋า วันที่: 24 ตุลาคม 2564 เวลา:18:38:55 น.
ผมเคยมี ปกแบบเดียวกับในบล็อกนี้เลย เป็นหนงสืออ่านนอกเวลา จำได้ว่าอ่านตอนม.1 เทอมเดียวอ่าน 2 เล่ม โหดไม่เบา
ถ้าจำไม่ผิด แบงค์มีรูเพราะเข็มกลัดรึเปล่าครับ เลยทำให้จับโจรได้ โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 24 ตุลาคม 2564 เวลา:22:03:32 น.
ใช่ครับ
บ้านผม 4 พี่น้องอ่านหนังสือกันทุกคน ช่วยกันซื้อหนังสือเข้าบ้าน แต่อ่านคนละแนวครับ 5555 วัดแถวหลัง มช. มีหลายวัดเลย ผมไปแค่วัดอุโมงค์ แล้วก็วัดร่ำเปิงสองวัดเองครับ โดย: กะว่าก๋า วันที่: 24 ตุลาคม 2564 เวลา:23:26:22 น.
Guten Morgen!
มาอ่านจนจบแล้วครับ บอกเลยว่าเนื้อเรื่องน่าสนใจมาก ๆ เลยครับ เรื่องนี้ อ่านทีแรกรู้สึกว่า หรือว่านี่จะเป็นแนว The murders in the orient express ฉบับเยอรมันหว่า แต่อ่านไปอ่านมา นี่มันโคนัน และทีมงาน 55555 การผจญภัยของเด็กน้อย เอมิลล์ กับเงินของคุณแม่ที่หายไป ต้องสนุก ตื่นเต้น ยิ่งในมุมมองของเด็กตัวเล็ก ๆ แล้ว นี่มันเรื่องผจญภัยครั้งใหญ่เลยนะเนี้ย แต่ที่สุดแล้วก็คงมีเรื่องครอบครัวที่เป็นพื้นฐานของชีวิตเด็ก ๆ ในเรื่องนี่แหละครับ และจริงอย่างว่า การได้อยู่พร้อมหน้ากันคือสิ่งที่ดีที่สุดแล้วจริงๆ นี่ดู No time to die มาแล้วอินครับ 5555555 โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 25 ตุลาคม 2564 เวลา:11:03:49 น.
"หูย เค้าเซอร์วิสดีจัง โทรมาเตือนให้ด้วย"
ไม่ได้สิ ลูกค้าคน เอ๊ย ตัวสำคัญ 555 ใช้บริการเขาตั้งแต่เกิด เป็น "ตัวแสบ" ขาประจำ หาหมอครั้งแรกแหกปากลั่น รพ. หมอยังไม่ทันทำอะไรเลย ฮามาก โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 25 ตุลาคม 2564 เวลา:14:11:24 น.
ขอบคุณสำหรับกำลังใจให้บล็อก - On the river cafe' นะครับ
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 25 ตุลาคม 2564 เวลา:20:51:37 น.
อรุณสวัสดิ์ครับ
ผมก็แอบเสียดายแอพนี้ที่เลิกไป เพราะแต่งภาพสนุกดีครับ สีสันสดใสดี โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 ตุลาคม 2564 เวลา:5:42:41 น.
หนังสือแบบนี้น่าอ่าน ชวนติดตาม ดูมุมมองของเด็ก ๆ ด้วยครับ
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 26 ตุลาคม 2564 เวลา:8:27:17 น.
ปัญหาบางเรื่องต้องใช้เวลาเยียวยา
ปัญหาบางเรื่องต้องการความฉับไวในการแก้ไข ผมว่าผู้นำจะเก่งหรือไม่เก่ง ก็ดูตอนที่เขาตัดสินใจแก้ปัญหานี่ล่ะครับ โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 ตุลาคม 2564 เวลา:22:39:35 น.
วันนี้ข้ามมานำเสนอการ์ตูนเยอรมันเลยนะคะ ดีจังค่ะ..ได้มีหลากหลายการ์ตูนดีๆมาฝากเพื่อนๆ Pot เรื่องก็น่ารักและน่าติดตาม ไม่ผิดหรอกค่ะที่ผู้ใหญ่จะแย่งเด้กๆอ่าน ก็มันสนุกจะตายไป เป็นดังนั้นจริงๆค่ะ โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 27 ตุลาคม 2564 เวลา:5:46:46 น.
จากบล๊อก
ชอบมุกคุณยายมากครับที่ให้ส่งเงินเอา ไม่ต้องหอบหิ้วมาเอง 5555 ถ้าเป็นสมัยนี้คุณยายคงบอก โอนเอานะลูก หรือสแกน QR code ยายก็ได้ 55555 จริง...ผมไม่ชอบเลข 3 กับ 7 อย่างเมื่อคืนผมตื่น 02:59 รู้สึกว่า หุยยยย ตื่นมารออะไรหรือไง โถ........ โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 27 ตุลาคม 2564 เวลา:14:33:28 น.
ขอบคุณสำหรับกำลังใจให้บล็อกโจทย์ตะพาบด้วยนะคราบ
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 27 ตุลาคม 2564 เวลา:20:04:08 น.
เรื่องนี้ผมก็เคยอ่านครับ
ที่โรงเรียนผมให้อ่านเป็นหนังสือนอกเวลาวิชาภาษาไทยตอน ม.2 มั้ง ผมจำได้ โจรถูกจับเพราะ "รูเข็ม" อย่างที่คุณต่อว่าไว้นั่นแหละ เอมิลรู้ว่าใครเป็นคนร้ายนะ แต่ตัวเองกลัวตำรวจเลยไม่อยากออกตัวแรง เลยยิงเข็มยาสลบใส่คุณลุงมีหนวดที่นั่งเก้าอี้ถัดไป แล้วตัวเองก็ทำทีพากย์เสียงเป็นคุณลุงให้ช่วยคลี่คลายคดีแทน จบปิ๊ง! ^^ ^ ^ ^ ^ เอ้ย! ไม่ใช่แล้ว! อย่างนี้ก็รู้กันหมดสิ ว่าสมัยก่อนผมไม่ตั้งใจเรียนเลย โดย: ทุเรียนกวน ป่วนรัก วันที่: 27 ตุลาคม 2564 เวลา:21:28:03 น.
อรุณสวัสดิ์ครับ
ความป่วยไข้ ทำให้เราเห็นว่าอะไรสำคัญกับเราจริงๆเลยนะครับ โดย: กะว่าก๋า วันที่: 28 ตุลาคม 2564 เวลา:5:26:56 น.
สวัสดีค่ะ แวะมาอ่านหนังสือแปลที่สนุกๆค่ะ เรื่องราวแบบสอบสวนสืบสวนนะคะ ชอบสีสันน่าอ่านเรื่องราวลึกลับสนุกดีค่ะ
ไว้มาอ่านต่อนะคะ ขอบคุณที่ไปให้กำลังใจที่บล็อกค่ะ โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 28 ตุลาคม 2564 เวลา:15:54:10 น.
ขอบคุณสำหรับข้อความที่บล๊อกครับ
ตอนเด็ก ๆ ผมก็เรียก "ลูลู่ดอกไม้เจ็ดสี" เหมือนกันครับ เพราะคำว่าเทพธิดามันเข้าใจยากไปสำหรับเด็ก แหะ ๆ ^^" แต่ผมจำได้ว่าเรื่องนี้ฉายบ้านเราก่อนปี 1988 หลายปีเลยครับ (ปี 1988 เป็นวัยที่ผมจำอะไรได้เยอะแล้วล่ะ เซย่าลุย 12 ปราสาทแล้วนะ ^^) สมัยนั้น TV บ้านเรามักฉายการ์ตูนหลังจากที่ญี่ปุ่นจบแล้วประมาณ 1-2 ปี "ลุนลุน" ที่ญี่ปุ่นจบปี 1980 ผมคิดว่าน่าจะฉายบ้านเราอย่างมากไม่เกินปี 1982 พอดีผมยังหาข้อมูลที่ระบุปีแบบชี้ชัดไม่ได้ เลยไม่อยากเขียนลงบล๊อกน่ะครับ ^^ เรื่อง 菩提樹 (bodaiju) ใช่เลยครับ ต้นไม้ชนิดนี้เป็นปัญหาในการหาข้อมูลมากจริง ๆ >_< เพราะตัวคันจิ 菩提樹 แปลได้หลายชนิดเลย (ต้นโพธิ์ก็ใช่) คือเราไม่รู้เลยว่า ถ้าคนญี่ปุ่นเขียนคำคำนี้ เค้ากำลังหมายถึงอะไร ต้องค้นแล้วค้นอีกกว่าจะสรุปได้ว่าเค้าหมายถึงต้นอะไรกันแน่ อย่างถ้าเหตุการณ์ในเรื่องเกิดในยุโรป ไม่มีอะไรเกี่ยวกับศาสนาพุทธเลย ต้น linden tree น่าจะเหมาะมากกว่า พอเช็คความหมายแฝงก็เข้าเค้า เลยสรุปว่าเอาต้นไม้ชนิดนี้แล้วกัน ^^" โดย: ทุเรียนกวน ป่วนรัก วันที่: 29 ตุลาคม 2564 เวลา:0:09:41 น.
โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 29 ตุลาคม 2564 เวลา:1:38:20 น.
โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 29 ตุลาคม 2564 เวลา:8:34:53 น.
เอมิล ทั้งภาพและเรื่องราว อ่านเมื่อใดก็ยังทันสมัยค่ะ โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 29 ตุลาคม 2564 เวลา:10:36:10 น.
ขอบคุณสำหรับกำลังใจให้บล็อก - ขนมเปี๊ยะ ร้าน ส.บุญยะวรรณ ด้วยนะคราบ
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 29 ตุลาคม 2564 เวลา:21:20:23 น.
ผมยังเชื่อเรื่องทำดีได้ดี
ทำชั่วด้ชั่วอยู่เสมอครับ โดย: กะว่าก๋า วันที่: 29 ตุลาคม 2564 เวลา:22:50:16 น.
เรื่องการค้นข้อมูลเกี่ยวกับดอกไม้นี่สนุกจริง ๆ ด้วยครับ
ยิ่งค้นยิ่งเพลิน เพลินจนลืมเวลาเลย ผมยังคิดอยู่เลยว่า...ทำไมตอนเรียนเราไม่ขยันแบบนี้บ้างเนอะ 55 ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับ ว่าช่อง 3 มีการรีรันเซย่าหรือเปล่า จำได้แค่ว่าฉายครั้งแรกตอนเย็น ฉายจบถึงแค่ไหนไม่รู้นะ ตอนนั้นผมไม่ซีเรียสเท่าไหร่ เพราะเคยเช่าวิดีโอมาดูแล้วน่ะครับ แหะ ๆ ผมอยากถามอยู่พอดีว่า กุหลาบแวร์ซายส์ เคยฉายช่องไหนครับ คือความรู้สึกผมมีภาพจำว่าเคยฉายช่อง 3 ตอนเย็นมาโดยตลอด แต่อยู่มาวันนึง มีคนที่อายุมากกว่าผม บอกว่าฉายช่อง 9 ผมเลยไม่แน่ใจน่ะครับ ^^" โดย: ทุเรียนกวน ป่วนรัก วันที่: 29 ตุลาคม 2564 เวลา:23:50:42 น.
จากบล็อกน้องหนามอิชินอปซิส ...
เห็นด้วยที่ว่าธรรมชาติจัดสรรได้ดี ดอกสีขาวไม่ฉูดฉาด แต่มีกลิ่นหอมรวยริน ล่อแมลงได้ดีกว่าดอกไม้สีสวย ๆ ด้วยนะคะ เราว่า https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=fasaiwonmai&month=07-2021&date=22&group=25&gblog=485 โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 30 ตุลาคม 2564 เวลา:9:57:45 น.
เอมิลเดินทางโดยลำพังและยังเจอเหตุการณ์เงินหายอีก แต่โชคยังดีนะคะที่ได้กุ๊สต๊าฟและเพื่อนๆมาช่วย เรื่องราวน่าสนุกน่าสืบเสาะจริงๆค่ะ อ่านรีวิวจากบล็อกนี้ทีไรทำให้อยากอ่านทั้งเล่มขึ้นมาอีกแล้ว ขอบคุณรีวิวนะคะ เดี๋ยวแวะมาใหม่ค่ะ โดย: Sweet_pills วันที่: 30 ตุลาคม 2564 เวลา:22:24:31 น.
สวัสดีครับ ขอบคุณที่ไปร่วมฟังเพลงครับ มีความสุข รักษาสุขภาพ ห่างไกลโควิด นะครับ โดย: เซียน_กีตาร์ วันที่: 31 ตุลาคม 2564 เวลา:8:55:31 น.
ชอบเรื่องราวที่เอาเรื่องเล็กๆ แต่สำคัญมากสำหรับเด็กคนนึงในสถานการณ์เดียวกันแบบนี้มาเขียนเป็นหนังสือ
เหมาะให้เด็กอ่านไว้เตรียมรับมือเหตุการณ์แบบนี้ด้วยนะครับ ดูแนวเรื่องแล้วน่าจเป็นหนังสือเก่าเหมือนกัน พอเห็นปี อั้ยย่ะ! 1929 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อีก! ในการ์ตูนฝรั่งหลายเรื่องในกลุ่มเด็กจะมีตัวละครที่เพื่อนๆเรียกกันว่าศาสตราจารย์ อย่างกิลเบิร์ตหลานกู้ฟฟี่ก็เหมือนกัน คงเป็นคำที่นิยมเรียกกันในยุคนั้นนะครับ (ถ้าเมืองไทยน่ะเหรอ... ไอ้แว่น) โดย: ชีริว วันที่: 31 ตุลาคม 2564 เวลา:13:19:54 น.
|
บทความทั้งหมด
|
ถ้าเป็นสมัยนี้ อย่างน้อยก็คงมีกล้องวงจรปิดนะคะ อิอิ
------------------
เรื่องนัดหมอแมว ...
ของที่บ้าน รพ. เขาจะโทรมาเตือนก่อนวันนัดทุกครั้ง
ไม่พลาดแน่นอนค่ะ