ชวนอ่านหนังสือธรรมะ : ๑๐ชาติสุดท้ายก่อนเป็นพระพุทธเจ้า . เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว คือ สิบชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ที่ได้บำเพ็ญบารมีทั้งสิบประการก่อนจะมาประสูติเป็น เจ้าชายสิตธัตถะจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องราวทั้งสิบชาติและบารมีที่ก่อกำเนิด นั้นถือเป็นตัวอย่างของการประพฤติปฏิบัติ ให้ตระหนักถึงกฎแห่งกรรม ทำความดี ละเว้นความ ชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ . . . ชาติที่ ๑ เตมิยชาดก เนกขัมมบารมี คือ การตั้งมั่นในการทำดี เพื่อละกิเลสกามทั้งปวง เตมีย์กุมารระลึกชาติเห็นการเวียนว่ายตายเกิดในชาติก่อน จึงแสร้งทำเป็นคนขาพิการ หูหนวก เป็นใบ้ เพื่อเลี่ยงจากการสืบต่อบัลลังก์กษัตริย์ เพื่อตัดเวรตัดกรรมในปัจจุบัน ทำให้ถูกเนรเทศจากวัง ก่อนจะถูกฆ่า พระเตมีย์ได้เปิดเผยความจริงแก่สารถี และปฏิเสธการ กลับเข้าวัง นำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธาของพระบิดามารดา และผู้คนมากมาย . “อายุของคนเรานั้นสั้นนัก ไม่ว่าเด็กหรือหนุ่มสาวล้วนต้องตายทั้งนั้น ถึงแม้จะมีสมบัติมากมายก็เอาชนะความตายไม่ได้เช่นกัน” . . . เรื่องที่ ๒ มหาชนกชาดก วิริยบารมี คือ ความเพียร ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ระหว่างที่พระมหาชนกลงเรือเพื่อออกค้าขายต่างเมือง หวังนำทรัพย์สินไปกู้บ้านเมืองคืน เรือได้เกิดอำปางในมหาสมุทร พระมหาชนกยังคงมีสติสมบูรณ์และเพียรว่ายน้ำอย่างไม่ย่อ ท้ออยู่นานถึงเจ็ดวัน นางมณีเมขลาเห็นถึงความอุตสาหะ จึงได้ช่วยเหลือนำไปสู่จุดหมาย . “คนที่มีความเพียร หากต้องตายในขณะที่กำลังทำความเพียรอยู่ ก็ไม่อาจมีใครมาตำหนิติเตียนได้.. หากหมดกำลังใจหรือท้อถอยเสียแต่ต้น เราก็หมดโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ” . . . เรื่องที่ ๓ สุวรรณสามชาดก เมตตาบารมี คือ ความมีเมตตา ปรารถนาดี ไม่เห็นแก่ตัว และไม่ถืออคติ ระหว่างออกไปตักน้ำ สุวรรณสามถูกศรยิงอย่างไม่ตั้งใจ จนบาดเจ็บเจียนตาย กลับไม่ถือ โทษผู้ทำร้าย หากใจยังพะวงห่วงบิดามารดาที่เฝ้ารอตนอยู่ ผลแห่งความกตัญญูนี้จึงนำพา ให้เขาและพ่อแม่พบกับปาฏิหาริย์แห่งความสุข . “บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลผู้ไม่โกรธ เพราะความโกรธทำให้ตกนรก” . . . . เรื่องที่ ๔ เนมิราชชาดก อธิษฐานบารมี คือ ความเกรงกลัวต่อบาป มุ่งมั่นทำดีละเว้นความชั่ว จนได้รับผลแห่งความดี พระอินทร์ได้นำพาเจ้าเนมิราชไปเยี่ยมชมนรกและสวรรค์ ทำให้พระองค์รู้ซึ้งถึงกฏแห่งกรรม แม้ถูกชักชวนให้ประทับอยู่บนสวรรค์ ก็ไม่คล้อยตามแต่จะขอปฏิญาณตั้งมั่นทำความดี รักษา ศีล ปฏิบัติธรรมอยู่บนโลกมนุษย์เช่นเดิม เพื่อผลบุญในภายภาคหน้า . “แม้การทำทานจะให้ผลน้อยกว่า แต่ก็ควรทำทั้งทานและรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไปพร้อมๆ กัน” . . . เรื่องที่ ๕ มโหสถชาดก ปัญญาบารมี คือ ความรอบรู้และรู้จักไตร่ตรองสิ่งต่างๆ อย่างรอบคอบ มีเหตุผล จะเป็นเกราะปกป้องกาย แม้ถูกทำร้ายก็จะแคล้วคลาด ชื่อเสียงและความสามารถของมโหสถที่เลื่องลือไปถึงพระเนตรพระกัณฑ์ จนถูกพระราชาเรียก ตัวเข้าวัง แต่แน่นอนเมื่อมีคนเก่งเกินหน้าเกินตา ย่อมมีผู้ริษยาและคิดร้าย แต่มโหสถก็พ้นภัยมา ได้ทุกครั้ง และไม่ถือโทษโกรธ อีกทั้งยังออกตัวช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากการรุกรานของ กษัตริย์เมืองอื่นอีกด้วย . “ความดีที่กอปรด้วยคุณธรรม ย่อมนำความเจริญมาให้อย่างไม่เสื่อมคลาย” . . . เรื่องที่ ๖ ภูริทัตชาดก ศีลบารมี คือ การระวังกาย วาจา ใจ ไม่ให้ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดทุกข์ ภูริทัต ถูกพราหมณ์ทำร้ายตน ก็มิได้ทำร้ายกลับ กลับยอมให้ตนถูกทำร้ายเจ็บเจียนตาย แต่ ด้วยบุญบารมีที่บำเพ็ญมา จึงได้พบผู้อุปถัมภ์ช่วยเหลือให้รอดชีวิต . “การตกแต่งตนเองให้งดงามด้วยเครื่องประดับมากน้อยเพียงใด ก็ยังไม่งดงามเท่าประดับด้วยศีล” . . . เรื่องที่ ๗ จันทกุมารชาดก ขันติบารมี คือ ความอดทนต่อความทุกข์ แม้จะต้องเสียทรัพย์ อวัยวะ หรือชีวิต เพื่อการหลุดพ้นในบั้นปลาย แม้พระจันทกุมาร จะถูกปุโรหิตใจร้ายเป่าหูพระราชา ให้ร้ายใส่ความจนภัยถึงตัวนับครั้งไม่ถ้วน จันทกุมารก็อดทนอดกลั้นต่อความทุกข์ กระทั่งฟ้ามีตา พระอินทร์จึงยื่นมือปกป้องและช่วยเหลือ ผู้ประพฤติธรรม . “ผู้ที่คิดร้ายย่อมได้รับภัยแก่ตัว” . . . . เรื่องที่ ๘ มหานารทกัสปชาดก อุเบกขาบารมี คือ การวางใจเป็นกลาง ไม่โกรธไม่เกลียดแม้มีเรื่องให้ทุกข์ อังคติราช พระราชาผู้หลงผิดเรื่องบาป บุญ เพราะหลงเชื่อคนใกล้ชิดโดยไม่ไตร่ตรอง ด้วย เหตุนี้นารทพรหมจึงจำแลงกายเป็นนารถฤาษีมาชีแจ้งแถลงไขเรื่องบาปบุญที่แท้จริงจนพระ ราชาหลุดพ้นจากมิจฉาทิฏฐิ . “บาปที่สั่งสมไว้ก็เหมือนเรือที่บรรทุกของทีละน้อย เมื่อมากเข้าเรือก็จม…” . . . เรื่องที่ ๙ วิธุรชาดก สัจจบารมี คือ การตั้งมั่นในความซื่อสัตย์ และความยุติธรรม ปุณณกยักษ์ลวงวิฑูรบัณฑิตมาฆ่าเพื่อนำหัวใจไปให้นางอิรันทตี แต่เมื่อได้ฟังธรรมจาก วิฑูรบัณฑิตจึงล้มเลิกความตั้งใจ วิฑูรบัณฑิตรอดมาเพราะการแสดงธรรม และได้เดินทางไป หาต้นเหตุ คือนางวิมลา มเหสีของพญานาค โดยไม่กลัวอันตรายถึงแก่ชีวิต เพราะเชื่อว่าผู้ รักษาธรรม ธรรมย่อมรักษาเรา . “บุคคลที่มีทั้งธรรมและปัญญา ย่อมเอาชนะภัยทั้งปวงได้“ . . . เรื่องที่ ๑๐ เวสสันดรชาดก ทานบารมี คือ การตั้งมั่นช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ว่าจะสิ่งของหรือธรรมทาน . พระเวสสันดร โอรสแห่งเมืองสีพี ยกช้างเผือกเพื่อช่วยเหลือเมืองกลิงคราษฏร์ที่เดือดร้อน จน ชาวเมืองสีพีไม่พอใจ พระเวสสันดรจึงต้องออกไปบำเพ็ญภาวนาในป่าพร้อมภรรยาและลูก แต่ เจ้ากรรมนายเวรในร่างขอทานชูชก เป็นเหตุให้พระเวสสันดรต้องยอมสละลูกทั้งสอง แต่ท้ายที่ สุดผลแห่งกรรมดีที่ทำไว้ก็นำพาให้พ่อและลูกได้พบกันและจบลงด้วยความสุข . “การทำบุญควรทำด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์เป็นที่ตั้ง เพราะการทำบุญที่หวังผลตอบแทน มีแต่จะทำให้เกิดความโลภ และสร้างกิเลสเพิ่มมากขึ้น” . . ทศชาติชาดกเล่มนี้ ร้อยเรียงภาษาที่สละสลวยแต่เข้าใจง่าย และมีภาพประกอบช่วยให้ ดึงดูดในการอ่านมากเท่าตัว ยิ่งเป็นภาพสไตล์กราฟฟิกช่วยปรับภาพลักษณ์ของหนังสือ พุทธศาสนาให้ดูทันสมัย น่าอ่านยิ่งขึ้น . ภาพบางส่วนจากตอน เนมิราชชาดก ภาพบางส่วนจากตอน จันทกุมารชาดก . . ทศชาติชาดก ๑๐ชาติสุดท้ายก่อนเป็นพระพุทธเจ้า เสาวลักษณ์ ศรีสุวรรณ : เรียบเรียง ธรวรรณ์ ตั้งชีวาวิวัฒน์ : วาดภาพประกอบ สนพ. อมรินทร์ธรรมะ ในเครืออมรินทร์พริ้นติ้งฯ cr. : youtube : Natazeer Meditation Music Sleep . . ชวนอ่าน ๑๐ชาติสุดท้ายก่อนเป็นพระพุทธเจ้า https://www.facebook.com/comeonreading เคยท่อง เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว ตอนมัธยมครับ พอโตๆยังท่องได้อยู่แต่ลืมว่าหมายถึงอะไรบ้าง ฮ่าๆๆๆ
แต่บทนี้ยังอยู่ในบทยอดพระกัณฐ์ไตรปิฎกนะครับ โดย: ทนายอ้วน วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:12:06:59 น.
เล่มนี้ผมไม่ได้ซื้อมาอ่าน
เพราะลูกชายพอโตขึ้น เค้าไม่อ่านหนังสือแนวนี้แล้ว ก็เลยหยุดซื้อ เมื่อก่อนชอบมากครับ ผมชอบมากกว่าลูกอีก สำหรับหนังสืออินโฟกราฟฟิกของอมรินทร์ชุดนี้ เล่มนี้ก็น่าสนใจนะครับ ปล. ผมไม่ได้ทำผังตัวละครเลยครับ เขียนสั้นๆแค่ 7 ตอนครับ แต่ตอนที่เขียน ผมต้องจดเอาไว้เหมือนกัน จำชื่อตัวละครไม่ได้เพราะมันยาวมากครับ 555 โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:13:44:17 น.
อ่านมาถึงชาติสุดท้ายนี้รู้สึกเศร้าๆ ทุกที
ยายเคยดูดวงให้เราสมัยเด็กๆ (แม่เล่าให้ฟัง) ว่าชีวิตรักของหลาน(เรา)จะคล้ายๆ ชีวิตของนางมัทรี แม่ได้ตีความให้ฟังอะไรมาก บอกแค่ว่าอาจจะแบบ รักต้องเสียสละอะไรแบบนั้น พอโตมา เลยรู้ว่าเรื่องของ นางมัทรีเป็นอะไรยังไง พูดถึงในมุมที่ว่าถ้าเรา ได้เป็นภรรยาของคนๆ นึงแล้วโดนบริจาคทานทั้งตัวเองและลูก ให้คนอื่นแบบนั้น.. ก็คงจะเศร้าน่าดู.. โดย: nonnoiGiwGiw วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:14:50:53 น.
ของสนพ. นี้มีที่เป็นธรรมะหลายเริ่มน่าสนใจเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่พวกเกี่ยวกับธรรมะ ผมไม่ค่อยดูสนพ. เท่าไหร่ เปิดอ่านดูนิดหน่อยถูกใจก็ซื้อไปอ่านต่อ
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:15:50:22 น.
สวัสดีตอนเย็นวันเสาร์ครับ
ชวนไปตรวจการบ้าน 3F - ผัดพริกขิงหมูสับถั่วฝักยาว ด้วยนะครับ โดย: ทนายอ้วน วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:18:55:34 น.
ขอบคุณที่แวะไปทักทายนะคะ
เป็นหนังสือที่น่าอ่านมาก ๆ แต่ละชาติมีข้อคิดดี ๆ แต่คุ้นเคยกับมหาชนกอยู่เรื่องเดียวค่ะ โดย: เนินน้ำ วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:19:17:10 น.
ตอนเรียนวิชาพุทธศาสนาชั้นมัธยม อาจารย์ที่สอนพูดจาวัยรุ่นมากๆ เข้าใจวัยรุ่นดีเรย นักเรียนทุกคนชอบเรียนมากๆ เหมือนได้ไปปลดปล่อยจากวิชาเครียดๆ
มีการนิมนต์พระอาจารย์วัยใกล้ๆกันจากวัดชลประทานฯมาสอนด้วย สนุกมาก มีแซวๆกัน ฮากันทั้งชั่วโมง ถึงเวลาสอบก็ทำเกรดได้กันดีๆทั้งนั้น น่าเสียดายที่วิชาพระพุทธศาสนามีหน่วยกิตแค่ 1 หน่วย เรียน 1 คาบ / สัปดาห์ สอบได้เกรด 4 ก็ไม่ช่วยให้เกรดเฉลี่ยขึ้นสูงมากๆ โดย: ทนายอ้วน วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:20:06:48 น.
ด้วยความยินดีครับ
พอมีลูก ผมก็กลับมาได้อ่านนิทานเด็ก ได้อ่านวรรณกรรมเด็กเยอะมากครับ พอลูกเริ่มโต เขาก็ไม่อ่านแล้ว ผมก็ทยอยเอาไปบริจาค เก็บไว้เป็นบางชุดบางเล่มที่ตัวเองชอบเท่านั้นเองครับ เรื่องนิยายภาพของผม เขียนจบไปแล้วล่ะครับ แต่ก็อาจเขียนเพิ่มได้เรื่อยๆ ปีนี้เขียนงานตุนเอาไว้เยอะเลย มีต้นฉบับพออัพบล็อกไปอีกสักครึ่งปีได้ครับ 555 โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:21:06:09 น.
เคยผ่านหูผ่านตามาทั้งหมด แต่ไม่ค่อยซึมซับเท่าไหร่
ก็เหมือนนับถือศาสนาพุทธมาแต่เกิด แต่ไม่ลึกซึ้งเรื่องธรรมะจริงจัง แหะ ๆ ------------------ กฎเหล็กของการไม่อยากมีภาระเพิ่มจากแมวจร คือต้องไม่ให้อาหารเด็ดขาด ดูใจร้ายเนอะ จับไปทำหมันได้นับเป็นบุญของแมว แต่คนก็ยังถกเถียงกันนะคะ บางคนบอกว่าทำหมันแมวเป็นบาป ... ก็แล้วแต่จะมอง ถ้าอย่างนั้นเราก็บาปเพราะจับแมวทำหมันทั้งสองตัวเลย แมวที่บ้านเป็นแมวน่ารักค่ะ ไม่เคยขู่แมวจรที่ผ่าน ๆ มา แต่ถ้าเข้ามาในบ้านก็ไม่รับรองความปลอดภัยนะคะ เคยมีคนเอาแมวแปลกหน้าเข้าบ้าน นินจาไล่ฟัดซะเลือดซิบเลย โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:21:35:31 น.
สวัสดีตอนมืดๆวันอาทิตย์ครับ
ขอขอบพระคุณสำหรับกำลังใจในบล็อกทำอาหารครับ โดย: ทนายอ้วน วันที่: 7 มีนาคม 2564 เวลา:19:34:36 น.
ขอบคุณที่แวะไปคุยด้วยที่บล็อกยามวิกาลนะคะ 555
จริง ๆ ก็เห็นประโยชน์ของการทำหมันให้หมาแมวค่ะ แต่ที่บ้านมีบางคนไม่เห็นด้วย บอกว่าบาป ... แต่เราก็ทำค่ะ แหะ ๆ โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 8 มีนาคม 2564 เวลา:9:32:45 น.
ขนาดเป็นพุทธบศาสนิกชน
ยังรู้เรื่อง ทศชาติ ของพระพุทธเจ้าไม่ครบเลย หนังสือช่วยให้เราๆท่านๆ ได้รู้มากขึ้น น่าหยิบจับ โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 8 มีนาคม 2564 เวลา:14:37:48 น.
สวัสดีครับ
เพิ่งได้มาทักทายครับ หนังสือดีอ่านแล้วทำให้จิตใจสงบครับ โดย: Sleepless Sea วันที่: 8 มีนาคม 2564 เวลา:17:25:19 น.
ชาติก่อนหน้า ได้เห็นบ่อยๆ ในวิหารพระเจ้าสิบชาติ หรือผนังพุทธประวัติหลายๆวัด ที่จะมีข้อมูล 10 ชาติ ก่อนเป็นพระพุทธเจ้าให้อ่าน
ภาพที่ติดตามากสุดคือพระเตมีย์ ยกรถจะไปฟาดใครไม่รู้ กับวิฑูรบัณฑิต โดนยักษ์จับจะฟาดอะไรสักอย่าง แต่ผมก็จำได้แค่พระเวสสันดรนั่นละครับ เพราะเคยอ่านตอนเรียน แล้วก็พระมหาชนก เพราะว่ายน้ำ โดย: ชีริว วันที่: 8 มีนาคม 2564 เวลา:22:11:59 น.
อรุณสวัสดิ์ครับ ขอบคุณครับที่ติดตามอ่านจนครบทุกตอนเลย โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 มีนาคม 2564 เวลา:5:19:49 น.
หาเวลาสงบ อ่านหนังสือดีๆ อ่านไปคิดตามไป...รู้สึกดีๆ โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 9 มีนาคม 2564 เวลา:9:26:09 น.
"อยากบอกว่าพอเลื่อนมาเห็นรูปที่ 4
จินตนาการเหมือนแมลงเปลือกแข็ง ที่กำลังกินเหยื่อเลยนะครับ ^^" จินตนาการผิดจ้า ... แมลงปีกแข็งตัวนั้น ความจริงคือแมวตัวนุ่มนิ่ม ไม่รู้ตัวไหนเป็นตัวไหน เพราะมีสองตัว 555 โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 9 มีนาคม 2564 เวลา:10:23:57 น.
ทศชาติชาดก มีการเล่าเป็นหนังสือหลายเวอร์ชันเลยนะครับ
เล่มนี้ก็สวยดีแต่ผมไม่เคยอ่าน เพราะเคยอ่านเวอร์ชันอื่น ๆ ก่อนแล้ว แต่ทศชาติชาดกที่ติดใจผมมาตลอดไม่ใช่หนังสือแฮะ แต่เป็นเวอร์ชันที่ผมเคยดูเคยฟังที่โรงเรียนตอนเป็นเด็กอนุบาล ประมาณว่ามีคนเล่าเรื่องแล้วดึงภาพประกอบเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ น่ะครับ (สมัยนี้ไม่ค่อยเห็นคนทำอะไรแบบนี้แล้วล่ะ ไม่รู้นึกภาพออกมั้ย ^^") ตอนยังเด็ก ผมชอบมากเลยครับ โดย: ทุเรียนกวน ป่วนรัก วันที่: 9 มีนาคม 2564 เวลา:21:45:53 น.
|
บทความทั้งหมด
|
เรื่องย่อของแต่ละชาดกทำให้อยากอ่านทั้งหมดอีกครั้ง