My view : interesting sector ตอนที่ 2.1: Property Development : hemraj
ปล.หัวข้อ interesting sector เป็นการ scan หุ้นคร่าวๆของตัวเองซึ่งไม่ได้ลงรายละเอียดเข้าไปมาก ดังนั้นถ้าใครมีข้อมูลดีๆมาแชร์เพิ่มเติมได้ครับ

<b>นิยามของผม : รอบนี้จะพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ได้ไหม


ทางกราฟ : เมื่อมองกราฟไตรมาส จะเห็นว่า ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เหมราชไม่สามารถทำ เบรกทะลุ สามบาทออกมาได้เลย ยังอยู่ในราคากรอบแคบๆ และในช่วงวิกฤติเมื่อสามปีก่อน ราคาก็เคยตกดิ่งมาต่ำกว่า ห้าสิบสตางค์
ดังนั้น โอกาสคือวิกฤติหรือไม่ รอบนี้คงได้พิสูจน์กันครับ


แนวคิดของผม : ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมมีแก่นหลักของธุรกิจคือ มีที่ดิน สร้างโรงงาน สร้างสำนักงาน ปล่อยขายและให้เช่า คีย์ของตรงนี้ ที่ดินต้องมีทำเลที่ดี และระบบ logistic ที่ดี มีประเภทโรงงานที่ปล่อยเช่า/ขายที่สามารถให้ลูกค้าได้เลือกตามความต้องการ (เป็นโรงงานสำเร็จรูป)
สิ่งที่ดีคือ ถ้าเป็นการปล่อยเช่า ก็มีรายได้ที่กินไม่หมดในระยะยาว ถ้าขายก็ได้กำไรบานเบอะในทีเดียว


โอกาสของนิคมเหมราชหรือไม่ – ต่อไปนี้ ทำเล ของโรงงาน น่าจะเป็น key point ของคนที่มาเช่าหรือซื้อในอนาคตมากขึ้นเนื่องจากภูมิประเทศของเรา ได้รับปัจจัยเสี่ยงจาก อุทกภัย (ล่าสุด นิคมหลายแห่งถูกผลกระทบมาก ดังที่เป็นข่าวที่ผ่านมา ) ผมมองว่าผลกระทบที่เป็นวงกว้างในระดับประเทศแบบนี้ ส่งผลต่อนิคมอุตสาหกรรมหลายๆแห่งในอนาคตแน่นอน ( หลายๆประเทศก็อาจจะเริ่มระมัดระวังในการเลือกเข้ามาประเทศไทยมากขึ้น หรือถ้าเป็นผลกระทบที่รุนแรง ก็มีโอกาสถึงกับย้ายฐานการผลิตได้เช่นกัน ) ดังนั้น ถือว่าในจังหวะนี้เป็นโอกาสของ เหมราชหรือไม่ คงต้องติดตามดูต่อไป

แนวทางการสร้างความยั่งยืนของรายได้ของบริษัทเหมราช: ผมว่าบริษัท hemraj เริ่มมองเห็นอนาคตว่า รายได้คงไม่ได้เติบโตอย่างมั่นคง แถม ถ้าปีไหนมีที่ดินจำกัด หาผู้เช่า/ซื้อไม่ได้ ก็ทำให้รายได้ที่เป็นแก่นหลักเริ่มสั่นคลอน จึงเริ่มหาวิธี ผมมองว่าเข้าข่าย พยายามทำธุรกิจแบบเบ็ดเสร็จ คือ ไหนๆปล่อยขาย/เช่าแล้ว ก็ขอมีรายได้จากผลต่อเนื่องจากการเข้ามาของโรงงาน ไม่ว่าสร้างธุรกิจ utilities (สาธารณูปโภค เช่น น้ำดื่มน้ำใช้(HCW- HW ) น้ำเสีย จ่ายไฟฟ้าไปยังนิคมอุตสาหกรรมให้บริการต่างๆในนิคม สร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (ทำ logistic park ทำสำนักงานให้เช่า สร้างคอนโดให้แรงงานในนิคมอยู่ ) สรุป รายได้ตรงส่วนนี้ จึงอยู่กับปัจจัยของ mass ของนิคมต่างๆ ที่มีอยู่ในกำมือ ก็ถ้ามีมากก็ส่งผลให้รายได้ในส่วนนี้มากตามลำดับด้วย
และแน่นอน hemraj ก็วางเป้าหมายกำไรที่ค่อนข้างมั่นคงจากการทำธุรกิจพลังงาน ในระดับที่พอทำให้ธุรกิจของhemraj ยืนไปเหนือระดับหลายพันล้าน ( ในการทำ gheco-one ที่เป็นโรงไฟฟ้าเข้าไปร่วมทุนกับ glow โดยถือหุ้นไว้ 35 % นั้นที่คาดว่าจะทำให้มีรายได้จากธุรกิจไฟฟ้า โดยเฉลี่ย 1.4 พันล้านบาท ต่อปี ตั้งแต่ปี 2012-2015 ) และยังคาดหวังที่จะไปลงทุนในโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน( พลังงานทดแทนอีก 7 โครงการใน 4 นิคมของเหมราชเอง) หรือการไปลงทุนhouay ho Loas (12.75 %) ใน ลงทุนร่วมกับ glow IPP 5 %


มองโอกาสและทิศทางการเติบโตของธุรกิจแล้วต้องมามองความเสี่ยงด้วย : อ่านสรุปคร่าวๆในด้านดีที่ เหมราชสร้างธุรกิจแบบเบ็ดเสร็จแล้ว ต้องมาดูว่า อะไรเป็นความเสี่ยงบ้าง

1.-แน่นอนอย่างที่บอกว่า ความเสี่ยงของนิคม คือ ปล่อยให้เช่าหรือซื้อ ถ้าไม่มีคนมาเช่าไม่มีคนมาซื้อ จบเห่ เลยครับ ไอ้ที่วาดฝันว่า จะกินหัวกินหาง กินกลางตลอดตัว หมดสิทธ์ อ้าว จะไปกินได้ไง ในเมือ ไม่มีคนไม่มีโรงงานอยู่หรือมีน้อยมาก (อย่าลืมมีน้อยไป ไม่ดีแน่ๆ ธุรกิจแบนี้เป็น mass profit ไม่ใช่แค่มีหนึ่งโรงงานแล้วจะรวยเสียเมือไร ) 555
ความหมายก็คือ ถ้าไม่มีที่ดิน ลักษณะโรงงาน/logistic ที่มีตัวเลือกน้อย/ทำเลสถานที่ ที่ไม่อำนวยต่อการมาของอุตสาหกรรมนั้นๆก็จะทำให้ลูกค้าลดลง มองแนวโน้มก็มีจุดตันในอนาคตได้ง่ายๆ เหมือนกัน มองดีๆ ถ้าเฉพาะในแง่ของหาที่ดิน ขาย/ เช่า ก็เป็นธุรกิจที่การเติบโตเหมือนว่ามีจุดตันๆตอนปลายๆ(ถ้าไม่มีที่ดิน เหลือทำเลดีๆน้อยๆ ลักษณะโรงงานสำเร็จรูปมีให้เลือกน้อยลง )


2.-ถึงแม้ว่า พยายามจะชดเชยการมีรายได้จากธุรกิจหลักแล้ว แต่ถ้ามองลึกๆแล้ว ก็คือการทำธุรกิจภายใต้ธุรกิจหลักตัวเอง (คือ ถ้าหาลูกค้าจากธุรกิจหลักไม่ได้ ธุรกิจรองๆที่วางไว้ ก็จบเหมือนกัน )

3.-นิคมอุตสาหกรรม ชื่อก็บอก ว่ามันเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ซึ่งโดยมากจะเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ (ใน hemraj จะcover หลากหลายกลุ่ม: จาก opp day ไตรมาสสองปี 2554 -- แยกประเภทได้คือ auto 36 % steel 9 % chemical /petrochem 11 % ก่อสร้าง 9% consumer 15% ) และมีลูกค้ามากจาก ญี่ปุ่นมากสุด(34 %) ไทย (20% ) รองมาก็คืออเมริกา(10%)และยุโรป (12%)
ข้อมูลเหล่านี้บอกว่า เราต้อง พึ่งต่างชาติ และ พึ่งการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ความเสี่ยงที่ต้องได้รับแน่นอน คือ ถ้ามีภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ก็โยงไปกับธุรกิจของเหรมราชโดนกระทบแน่นอน
ยิ่งโดยเฉพาะ ในปีนี้ ข่าวเรื่องวิกฤติหนี้สาธารณะ และข่าววิกฤติในยุโรปกับอเมริกา ก็มีมาต่อเนื่อง ดังนั้น การจะเห็นธุรกิจนิคมโตพรวดพราด นั้น ดูท่าจะยาก เพราะบริษัทต่างชาติน่าจะมีการชะลอการลงทุนไปไม่มากก็น้อย
...


ปล.hemraj เนื่องจากการทำธุรกิจที่สร้างฐานรายได้อยู่ซึ่งน่าจะเริ่มเห็นผลเป็นปีหน้า 2555 ดังนั้น เลยไม่ได้มาเปิดงบการเงินดูมากเท่าไร ไว้รอปีหน้า จะมาคุยอีกรอบ ครับ




Create Date : 29 ตุลาคม 2554
Last Update : 29 ตุลาคม 2554 9:59:13 น.
Counter : 3132 Pageviews.

1 comments
  
ประเด็นสำคัญอีกข้อคือ อัตรากำไรที่คาดว่าจะได้จากการลงทุน IRR ในโครงการพลังงานนั้น ยังเป็นเพียงคาดการณ์จากการทำ feasibility เท่านั้น ยังเป็นอนาคตที่จำเป็นต้องดูกันอีกหลายปี
โดย: ซากคน IP: 58.10.171.187 วันที่: 29 ตุลาคม 2554 เวลา:11:48:19 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Kunjoja.BlogGang.com

kunjoja
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด