26.1 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
25.10 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 6-2
GravityOfLove, 18 มกราคม 2557 เวลา 21:01 น.

             คำถามจูฬสุญญตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4714&Z=4845

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ดูกรอานนท์ บัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว
ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ

             ๒. ทุกข้อเป็นสุญญตวิหารธรรม แต่ประณีตขึ้นใช่ไหมคะ จนกระทั่งถึง
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตที่หลุดพ้นจากกาม ภพ อวิชชา ซึ่งประณีตที่สุด
แต่แม้ว่าจะประณีตที่สุด ก็ยังไม่ว่างจากความกระวนกระวายอันเกิดจากอายตนะ ๖ ใช่ไหมคะ
             ๓. บทว่า กจฺจิ เมตํ ภนฺเต ความว่า พระเถระจำได้เพียงบทเดียวก็สามารถจะค้นคว้าทรงจำไว้ได้ถึงหกหมื่นบท เพราะฉะนั้น ท่านจักไม่สามารถเพื่อจะมีสุญญตาวิหารธรรม แล้วทรงจำบทเพียงบทเดียว ฉะนั้น การที่ผู้ประสงค์จะฟัง ทำเป็นเหมือนคนรู้แล้วถามไม่สมควร.
             พระเถระประสงค์จะฟังสุญญตากถาที่พระองค์ทรงแสดงไว้อย่างพิสดารให้แจ่มแจ้ง จึงกราบทูลอย่างนี้ เหมือนไม่รู้ บางคนแม้ไม่รู้ ก็ทำเป็นเหมือนคนรู้.
             พระเถระจะกระทำการหลอกลวงอย่างนี้ได้อย่างไรเล่า.
             พระเถระแสดงความเคารพต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงกราบทูล คำเป็นต้นว่า กจฺจิ เมตํ ดังนี้ แม้ในฐานะที่ตนรู้.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-3
ฐานาฐานะ, 20 มกราคม เวลา 17:13 น.

GravityOfLove, 21 นาทีที่แล้ว
              คำถามจูฬสุญญตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4714&Z=4845

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. ดูกรอานนท์ บัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม
              ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว
ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ
              อธิบายว่า สันนิษฐานว่า ท่านพระอานนท์กล่าวถึงพระพุทธดำรัสในอดีต
ก็เพื่อประสงค์จะสดับธรรมกถาในเรื่องสุญญตากถาอีก (เพิ่มเติม) จึงกราบทูลอย่างนั้น.
              พระผู้มีพระภาคทรงตรัสตอบว่า
              ดูกรอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว
              ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม
<<<<
              นัยก็คือ ที่ท่านพระอานนท์ได้สดับมานั้น ถูกต้องดีแล้ว
              จากนั้น พระผู้มีพระภาคก็ทรงตรัสสุญญตากถา (เพิ่มเติม) โดยนัยก็คือพระสูตรนี้.

              ๒. ทุกข้อเป็นสุญญตวิหารธรรม แต่ประณีตขึ้นใช่ไหมคะ จนกระทั่งถึง
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตที่หลุดพ้นจากกาม ภพ อวิชชา ซึ่งประณีตที่สุด
แต่แม้ว่าจะประณีตที่สุด ก็ยังไม่ว่างจากความกระวนกระวายอันเกิดจากอายตนะ ๖ ใช่ไหมคะ
              ตอบว่า ถูกต้องครับ.
              คำว่า ความกระวนกระวายอันเกิดจากอายตนะ ๖ น่าจะหมายถึงถูกบีบคั้น
จากความเกิดความดับของอายตนะ ๖ กล่าวคือ ยังถูกบีบคั้นด้วยความเกิดความดับ
อันเป็นธรรมดาของสังขาร.

              ๓. บทว่า กจฺจิ เมตํ ภนฺเต ความว่า พระเถระจำได้เพียงบทเดียวก็สามารถจะค้นคว้าทรงจำไว้ได้ถึงหกหมื่นบท
เพราะฉะนั้น ท่านจักไม่สามารถเพื่อจะมีสุญญตาวิหารธรรม แล้วทรงจำบทเพียงบทเดียว ฉะนั้น การที่ผู้ประสงค์จะฟัง
ทำเป็นเหมือนคนรู้แล้วถามไม่สมควร.
              พระเถระประสงค์จะฟังสุญญตากถาที่พระองค์ทรงแสดงไว้อย่างพิสดารให้แจ่มแจ้ง จึงกราบทูลอย่างนี้
เหมือนไม่รู้ บางคนแม้ไม่รู้ ก็ทำเป็นเหมือนคนรู้.
              พระเถระจะกระทำการหลอกลวงอย่างนี้ได้อย่างไรเล่า.
              พระเถระแสดงความเคารพต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงกราบทูล คำเป็นต้นว่า กจฺจิ เมตํ ดังนี้ แม้ในฐานะที่ตนรู้.
              ขอบพระคุณค่ะ
9:01 PM 1/18/2014

              อธิบายว่า อรรถกถาอธิบายเหตุของการทูลถามของท่านพระอานนท์ว่า
              ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ ฯ
              กล่าวคือ ท่านพระอานนท์ทรงจำได้แม่นยำ ทั้งค้นคว้านัยต่างๆ ได้มากมาย
จึงเป็นเหตุให้อธิบายว่า ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น เหตุใดจึงถามอีก.
              คำตอบก็คือ เพื่อประสงค์จะสดับธรรมกถาในเรื่องสุญญตากถาอีก (เพิ่มเติม)
              อีกประการหนึ่ง ท่านพระอานนท์ยังเป็นพระเสขบุคคล นัยสุดท้ายของพระสูตรนี้
เป็นของพระอเสขบุคคล อันท่านพระอานนท์ยังไม่ได้ ยังไม่ถึง การได้สดับเพิ่มเติมอีก
ย่อมเป็นปัจจัยการบรรลุอรหัตผลในอนาคต ทั้งยังได้ปีติในการฟังในปัจจุบันด้วย.

ความคิดเห็นที่ 6-4
GravityOfLove, 20 มกราคม เวลา 20:48 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-5
GravityOfLove, 20 มกราคม เวลา 20:57 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค
             ๒๑. จูฬสุญญตสูตร ว่าด้วยสุญญตา สูตรเล็ก
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4714&Z=4845&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา
ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี
             ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ออกจากสถานที่หลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น แล้วเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ได้กราบทูลว่า
             สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่สักยนิคมชื่อนครกะ ในสักกชนบท
ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้สดับ ได้รับพระดำรัสนี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
             ดูกรอานนท์ บัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว
ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ
             พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า
             แน่นอน นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว
             ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม
เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่าจากช้าง โค เป็นต้น
มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
             ๑. ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน (คามสัญญา) ไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ (มนุสสสัญญา)
             ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า (อรัญญสัญญา)
จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า
             เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าป่านี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่
อาศัยสัญญาว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย มีอยู่ก็แต่เพียงความ
กระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น
             เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์
และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น
             ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน
สัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี
             แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด
บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น
             ๒. ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ ไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่า
             ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดิน (ปฐวีสัญญา)
จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน
             เปรียบเหมือนหนังโคที่เขาขึงดีแล้วด้วยหลักตั้งร้อย เป็นของปราศจาก
รอยย่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ใส่ใจแผ่นดินนี้ ซึ่งจะมีชั้นเชิง มีแม่น้ำ
ลำธาร เป็นต้น ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่า แผ่นดิน
             จิตของเธอย่อมแล่นไป ฯลฯ ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น
             ๓. ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่า ไม่ใส่ใจสัญญาว่าแผ่นดิน
             ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญา
จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในอากาสานัญจายตนสัญญา
             เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ฯลฯ ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น
             ๔. ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าแผ่นดิน
ไม่ใส่ใจอากาสานัญจายตนสัญญา
             ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญา
             จิตของเธอย่อมแล่นไป ฯลฯ ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น
             ๕. ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากาสานัญจายตนสัญญา
ไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา
             ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากิญจัญญายตนสัญญา
             จิตของเธอย่อมแล่นไป ฯลฯ ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น
             ๖. ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา
ไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตนสัญญา
             ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
             จิตของเธอย่อมแล่นไป ฯลฯ ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น
             ๗. ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตนสัญญา
ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
             ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
(ที่เรียกว่า ไม่มีนิมิต เพราะไม่มีสิ่งที่เที่ยงเป็นนิมิต เป็นต้น)
             จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิ
อันไม่มีนิมิต
             เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเจโตสมาธินี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่
อาศัยอากิญจัญญายตนสัญญาและชนิดที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
มีอยู่แต่เพียงความกระวนกระวายคือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เอง
เพราะชีวิตเป็นปัจจัย
             เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากอากิญจัญญายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจาก
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖
อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย
             ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน
เจโตสมาธินั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี
             แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด
บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น
             ๘. ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญาตนสัญญา
ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
             ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
             จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิ
อันไม่มีนิมิต
             เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้ ยังมีปัจจัยปรุงแต่ง
จูงใจได้ ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้นั้น ไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
             เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
             เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยกามาสวะ
ชนิดที่อาศัยภวาสวะและชนิดที่อาศัยอวิชชาสวะ มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือ
ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย
             เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ สัญญานี้ว่างจากภวาสวะ
สัญญานี้ว่างจากอวิชชาสวะ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖
อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย
             ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน
เจโตสมาธินั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี
             แม้อย่างนี้ เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด
บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อรูป_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะภายใน_6
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาสวะ_3

             สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติ
อันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้
เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลและในปัจจุบันก็เหมือนกัน
             เพราะฉะนั้น พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุสุญญตสมาบัติ
อันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 6-6
ฐานาฐานะ, 21 มกราคม เวลา 12:17 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค
              ๒๑. จูฬสุญญตสูตร ว่าด้วยสุญญตา สูตรเล็ก
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4714&Z=4845&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
8:56 PM 1/20/2014

              ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-7
ฐานาฐานะ, 21 มกราคม เวลา 12:48 น.

              คำถามในจูฬสุญญตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4714&Z=4845

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. ขอให้อธิบายคำว่า สัญญาว่าป่า (อรัญญสัญญา) ให้พอเข้าใจ
และความสงบใจ เพราะการใส่ใจว่าป่า ตามที่เข้าใจ.

ความคิดเห็นที่ 6-8
GravityOfLove, 21 มกราคม เวลา 17:46 น.

             ตอบคำถามในจูฬสุญญตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4714&Z=4845

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. สุญญตวิหารธรรมเป็นขั้นๆ ไปจนถึงทำอาสวะให้สิ้นได้เป็นที่สุด
             ๒. สมณพราหมณ์ คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้า
ในอดีตก็ดี ในอนาคตก็ดี ในปัจจุบันก็ดี เข้าสุญญตะอันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้อยู่แล้ว
จักอยู่และกำลังอยู่
---------------------------
             2. ขอให้อธิบายคำว่า สัญญาว่าป่า (อรัญญสัญญา) ให้พอเข้าใจ
และความสงบใจ เพราะการใส่ใจว่าป่า ตามที่เข้าใจ.
             สัญญาว่าป่า แปลว่า สำคัญว่าป่า คือไม่ว่าอยู่ป่าหรืออยู่บ้านหรืออยู่ที่ไหนก็ตาม
ไม่สำคัญถึงมนุษย์ ไม่สำคัญถึงบ้าน ไม่สำคัญถึงสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งเหล่านี้ ยกเว้นป่า
เป็นป่า คือไม่มีอะไร มีแต่ต้นไม้และผืนดิน
             ก็จะได้ความสงบใจเพราะการใส่ใจว่าป่า ไม่ใส่ใจถึงมนุษย์และบ้าน
จึงไม่มีความวุ่นวายจากมนุษย์และบ้าน

ความคิดเห็นที่ 6-9
ฐานาฐานะ, 22 มกราคม เวลา 03:35 น.

GravityOfLove, 9 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในจูฬสุญญตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4714&Z=4845
...
5:46 PM 1/21/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             สัญญาว่าป่า แปลว่า สำคัญว่าป่า ... แปลหรือหนอ?
             ขอเสริมดังนี้ว่า
             สัญญาว่าป่านี้ หากอยู่ในป่าจริงๆ ย่อมสามารถจะได้สัญญานี้ง่ายกว่า
กล่าวคือ ป่ามักไม่เกลื่อนกล่นด้วยมนุษย์และบ้าน ย่อมมีเรื่องมนุษย์และบ้านน้อยลง
แต่หากอยู่ป่า โดยใจยังคำนึงถึงเรื่องมนุษย์และบ้าน ก็ย่อมไม่ได้ความสงบจากการอยู่ป่า
แต่ก็ยังดีกว่า อยู่ในบ้านที่เกลื่อนกล่นด้วยมนุษย์ ทั้งคำนึงถึงเรื่องบ้านและมนุษย์.
             บุคคลที่แม้อยู่ในที่ไม่ใช่ป่า แต่ไม่ใส่ใจถึงมนุษย์หรือเรื่องบ้านๆ
ใส่ใจแต่สิ่งที่ว่างเปล่า เช่นห้องว่างหรือเรือนว่าง ก็พอได้ความสงบเหมือนกัน.
             แต่อย่างไรก็ตาม การอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นประโยชน์ต่อสมาธิของผู้อยู่ป่าเอง.
             พระสูตรหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสถึงการที่พระภิกษุอยู่ป่า
และพระภิกษุที่อยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน ดังนี้ว่า :-
             ดูกรนาคิตะ เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้อยู่ใกล้บ้าน ผู้นั่งเข้าสมาธิอยู่ใกล้บ้าน
เราย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ไฉนคนวัดจักยังท่านผู้มีอายุรูปนี้ให้สืบต่อสมาธินั้นได้
หรือสามเณรจักยังท่านผู้มีอายุนั้นได้ หรือสามเณรจักยังท่านผู้มีอายุนั้นให้เลื่อนจากสมาธิ
ฉะนั้น เราจึงไม่พอใจด้วยการอยู่ใกล้บ้านของภิกษุนั้น
             อนึ่ง เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร นั่งโงกง่วงอยู่ในป่า เราย่อม
มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ท่านผู้มีอายุรูปนี้ จักบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยเพราะการนอนนี้
แล้วกระทำอรัญญสัญญาไว้ในใจเป็นเอกัคคตา ฉะนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ในป่าของภิกษุรูปนั้น
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=8039&Z=8112

ความคิดเห็นที่ 6-10
ฐานาฐานะ, 22 มกราคม เวลา 17:58 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬสุญญตสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4714&Z=4845

              พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 22].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              มหาสุญญตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4846&Z=5089
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=343

              อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5090&Z=5281
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=357

              พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5282&Z=5374
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=380

              ทันตภูมิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5375&Z=5608
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=388

ความคิดเห็นที่ 6-11
GravityOfLove, 24 มกราคม เวลา 22:43 น.

             คำถามมหาสุญญตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4846&Z=5089

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. [๓๔๗] ...เข้าฌาน ๔ ... ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน
จิตยังไม่แล่นไป
ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตยัง
ไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน
ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้ ฯ
             ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก ...
             ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก ...
             ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ ...
            ดูกรอานนท์ ภิกษุนั้นพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายใน
ให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่น ในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล เธอย่อม
ใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อม
ใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่าง
นี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อม
ไปในความว่างภายใน ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่าง
ภายในนั้นได้ ฯ
             ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก ...
             ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก ...
             ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ ...
             ๒. ในอุปัททวะทั้ง ๓ นั้น อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์นี้
มีวิบากเป็นทุกข์ มีวิบากเผ็ดร้อนกว่าอุปัททวะของอาจารย์และอุปัททวะของศิษย์
ทั้งเป็นไปเพื่อความตกต่ำด้วย
             ๓. [๓๕๑] พ. ดูกรอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟัง
สุตตะ เคยยะ และไวยากรณ์เลย นั่นเพราะเหตุไร เพราะธรรมทั้งหลายอันพวก
เธอสดับแล้ว ทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทงตลอดดีแล้ว
ด้วยความเห็น เป็นเวลานาน
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-12
ฐานาฐานะ, 25 มกราคม เวลา 14:05 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
             คำถามมหาสุญญตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4846&Z=5089
...
11:15 PM 1/24/2014

             ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตยังไม่แล่นไป
             อธิบายว่า เมื่อการใส่ใจความว่างภายในแล้ว จิตไม่แล่นไปด้วยดีในกรรมฐาน
ไม่เลื่อมใส ไม่ก้าวหน้า ก็รู้ว่า ไม่แล่นไป ... ไม่ก้าวหน้า ดังนี้ชื่อว่า
เธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้

             ใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป
             อธิบายว่า เมื่อการใส่ใจความว่างภายในแล้ว จิตแล่นไปด้วยดีในกรรมฐาน
... ก็รู้ว่า แล่นไปด้วยดี.

             กล่าวคือ การมนสิการอารมณ์ใดกรรมฐานใด เมื่อก้าวหน้าด้วยดี ก็รู้ตัวว่าก้าวหน้าด้วยดี
เมื่อไม่ก้าวหน้า ก็รู้ตัวว่าไม่ก้าวหน้า.
<<<<
             ดูกรอานนท์ ภิกษุนั้นพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายใน
ให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่น ในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล
>>>>
             ภิกษุผู้ละเพียร ไม่พึงประพฤติตามหลังอุปัฏฐากเป็นต้น ด้วยคิดว่า บัดนี้จิตของเรายังไม่แล่นไป
แต่พึงใส่ใจถึงฌานอันเป็นบาทให้สม่ำเสมอด้วยดีอย่างเดียว.
             เพื่อจะทรงแสดงว่า การใส่ใจพระกัมมัฏฐานย่อมแล่นไปสะดวก เหมือนบุรุษจะตัดไม้
เมื่อขวานวิ่น ต้องลับขวานเสียก่อนแล้วจึงค่อยตัดขวานจึงจะคม ด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า
ตสฺมิญฺเญว ดังนี้.
             บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า เมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติอย่างนี้ การใส่ใจในสมาบัตินั้นๆ ย่อมสมบูรณ์
จึงตรัสว่า ปกฺขนฺทติ.
>>>>
             สันนิษฐานว่า เมื่อไม่ก้าวหน้า ก็รู้ตัวว่าไม่ก้าวหน้า แล้วย้อนกลับไปกรรมฐานอันก่อน
ที่ตนเองเลื่อมใสแล่นไปก่อน เหมือนเมื่อก้าวเดินไปข้างหน้าไม่ได้ ก็ย้อนกลับมาตั้งหลักใหม่
อย่างมั่นคงก่อน.

             ๒. ในอุปัททวะทั้ง ๓ นั้น อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์นี้
มีวิบากเป็นทุกข์ มีวิบากเผ็ดร้อนกว่าอุปัททวะของอาจารย์และอุปัททวะของศิษย์
ทั้งเป็นไปเพื่อความตกต่ำด้วย
             อธิบายว่า อุปมานี้มี 3 อย่างคือ อาจารย์ ศิษย์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์
             2 อย่างข้างต้น เป็นสิ่งที่นอกพระศาสนานี้.
             ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นพระภิกษุในพระธรรมวินัยนี้.
             ในอรรถกถาอธิบายโดยนัยอุปมาของการตกจากหลังลาและตกจากคอช้าง.
             อุปัททวะ หรือความเสื่อมจากการไม่บรรลุคุณนั้น หรือทุกข์โทษจากการปฏิบัติผิด
             สำหรับนอกพระศาสนานี้ ก็เพียงโลกียคุณ, ในพระศาสนา เป็นโลกุตตระ
นี้ในแง่ของการไม่ได้ การไม่ถึงคุณวิเศษในศาสนาที่ตนประพฤติอยู่.
             ในแง่ของความเสื่อมจากการประพฤติตนเป็นปฏิปักษ์ เช่น
             ผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาปแล้ว กล่าวบิดเบือนไปว่าที่ตนทำนั้นเป็นสิ่งถูกต้องแล้ว
จัดว่า ประพฤติตนเป็นปฏิปักษ์ จึงมีโทษมาก.
             การด่าก็ตาม การกล่าวบิดเบือนก็ตาม การประพฤติตนเป็นปฏิปักษ์อย่างอื่นๆ ก็ตาม
มีโทษมากกว่านอกพระศาสนา.

             สุเนตตอนุสาสนีสูตร
[บางส่วน]
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมีจิตประทุษร้าย พึงด่า พึงบริภาษศาสดา
เจ้าลัทธิทั้ง ๗ นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม มีบริวารหลาย
ร้อยคน พร้อมด้วยหมู่สาวก ผู้นั้นพึงประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก แต่ผู้ใดมี
จิตประทุษร้ายด่าบริภาษบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิคนเดียว ผู้นี้ย่อมประสบกรรม
มิใช่บุญมากกว่านั้นอีก ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเราไม่กล่าวความอดทนเห็น
ปานนี้ โดยเฉพาะในเพื่อนพรหมจรรย์ภายนอกจากธรรมวินัยนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักไม่มีจิต
ประทุษร้ายในเพื่อนพรหมจรรย์เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา
อย่างนี้แล ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=2794&Z=2826

ย้ายไปที
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 22 มกราคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:33:47 น.
Counter : 777 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของชีวิต : กะว่าก๋า
(17 เม.ย. 2567 04:37:20 น.)
เรื่องนี้ไม่ง่าย แต่คนมักชอบอะไรที่มันง่ายๆ 121 235 เขาถาม - ตอบกัน 450 > คำถาม : ทำอย่างไ สมาชิกหมายเลข 7881572
(16 เม.ย. 2567 09:58:49 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 36 : กะว่าก๋า
(14 เม.ย. 2567 06:17:30 น.)
สุขสันต์วันปีใหม่ไทย ๒๕๖๗ haiku
(13 เม.ย. 2567 10:13:33 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด