24.7 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
24.6 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1]

ความคิดเห็นที่ 7-71
GravityOfLove, 29 พฤศจิกายน เวลา 21:58 น.

             คำถามอาเนญชสัปปายสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1440&Z=1570
             ๑. กรุณาอธิบายค่ะ
             อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา จะเข้าถือเอาที่ไหน ฯ
             พ. ดูกรอานนท์ ย่อมเข้าถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ฯ
             อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทราบว่า ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา
ชื่อว่าย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาหรือ ฯ
             พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา ย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐ
สุดที่ควรเข้าถือเอาได้ ก็แดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาได้นี้ คือ เนวสัญญา-
*นาสัญญายตนะ ฯ
             ๒.
             [๙๒] พ. ดูกรอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้
ซึ่งกามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มี
ในภพหน้า ซึ่งรูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้
ทั้งที่มีในภพหน้า ซึ่งอาเนญชสัญญา ซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญา ซึ่งเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนสัญญา ซึ่งสักกายะเท่าที่มีอยู่นี้ ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิต
เพราะไม่ถือมั่น
             ๓. อรรถกถายากค่ะ ส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องเลย ข้ามๆ ไปจนไม่รู้ว่าจะถามอะไร
            คุณฐานาฐานะมีตรงไหนเห็นว่า ควรอธิบายตอนนี้ไหมคะ เชิญเลยค่ะ
            ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 7-72
GravityOfLove, 3 ธันวาคม เวลา 15:53 น.

             "ถ้าตายเข้าโลงแล้ว พระโสดาบันไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์แน่
เพราะถ้ากลับมาเป็นมนุษย์ จะไม่เข้ากับที่ตรัสเรื่องอาสิสงส์แห่งศีล
ที่คนที่มีศีลตายเข้าโลงไปแล้ว(มรณา) มีอานิสงส์คือสุคติโลกสวรรค์ (เทวดา)  
             พระโสดาบันมีศีลบริสุทธิ์ มรณาแล้ว จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ได้อย่างไร?
(ตรัสขัดกันได้หรือ?)"
             จริงหรือไม่คะ

ความคิดเห็นที่ 7-73
ฐานาฐานะ, 3 ธันวาคม เวลา 16:05 น.

               สุคติโลกสวรรค์ คำว่า สุคติ รวมมนุษย์ด้วยครับ.
               พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
               พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
               การค้นหาคำว่า “ สุคติ ”
ผลการค้นหาพบ  2  ตำแหน่ง ดังนี้ :-
แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 2
กามสุคติภูมิ กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ คือ มนุษย์และสวรรค์ ๖
               (จะแปลว่า “สุคติภูมิที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม” ก็ได้)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 2
สุคติ คติดี, ทางดำเนินที่ดี, สถานที่ที่ดีที่สัตว์โลกซึ่งทำกรรมดีตามแล้วไปเกิด ได้แก่ มนุษย์และเทพ;
               ตรงข้ามกับ ทุคติ; ดู คติ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สุคติ

               อีกตัวอย่างหนึ่ง ท้าวสักกะเทวราช เป็นพระอริยบุคคลแล้ว
ก็จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง.

               [๒๖๕] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่สองอย่างนี้ว่า
                          เราจุติจากทิพยกายแล้ว ละอายุอันมิใช่ของมนุษย์แล้ว
                          เป็นผู้ไม่หลง จักเข้าสู่ครรภ์ในตระกูลอันเป็นที่พอใจของเรา
                          ดังนี้
จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
               [๒๖๖] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่สามอย่างนี้ว่า
                          เรานั้น ยินดีแล้ว ในศาสนา ของท่าน ที่มิได้หลง ปัญหา
                          เรามีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง จักอยู่โดยธรรม ดังนี้
จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
               [๒๖๗] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่สี่อย่างนี้ว่า
                          ถ้าความตรัสรู้จักมีแก่เราในภายหน้า โดยธรรมไซร้
                          เราจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงอยู่ นั่นแหละ จักเป็นที่สุดของเรา ดังนี้
จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
               [๒๖๘] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ห้าอย่างนี้ว่า
                          หากเราจุติจากกายมนุษย์แล้ว ละอายุอันเป็นของ
                          มนุษย์แล้ว จักกลับเป็นเทวดาอีก จักเป็นผู้สูงสุดในเทวโลก
                          ดังนี้
จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?10/265-269

ความคิดเห็นที่ 7-74
GravityOfLove, 3 ธันวาคม เวลา 20:18 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 7-75
ฐานาฐานะ, 3 ธันวาคม เวลา 22:08 น.

GravityOfLove, 29 พฤศจิกายน เวลา 21:58 น.
              คำถามอาเนญชสัปปายสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1440&Z=1570
              ๑. กรุณาอธิบายค่ะ
              อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา จะเข้าถือเอาที่ไหน ฯ
              พ. ดูกรอานนท์ ย่อมเข้าถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ฯ
              อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทราบว่า ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา
ชื่อว่าย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาหรือ ฯ
              พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา ย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐ
สุดที่ควรเข้าถือเอาได้ ก็แดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาได้นี้ คือ เนวสัญญา-
*นาสัญญายตนะ ฯ
อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
              อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา จะเข้าถือเอาที่ไหน ฯ
              อธิบายว่า ก็ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอาปฏิสนธิ จะปฏิสนธิในภพใด.
              พ. ดูกรอานนท์ ย่อมเข้าถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ฯ
              อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทราบว่า ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา
ชื่อว่าย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาหรือ ฯ
              อธิบายว่า ก็ภิกษุนั้นถือเอา เป็นอันที่เอาภพที่ประสริฐสุดหรือ?
              พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา ย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐ
สุดที่ควรเข้าถือเอาได้ ก็แดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาได้นี้ คือ เนวสัญญา-
*นาสัญญายตนะ ฯ
อธิบายว่า ทรงยืนยันและทรงระบุว่า คือเนวสัญญานาสัญญายตนะ.

              ๒. [๙๒] พ. ดูกรอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้
ซึ่งกามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มี
ในภพหน้า ซึ่งรูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้
ทั้งที่มีในภพหน้า ซึ่งอาเนญชสัญญา ซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญา ซึ่งเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนสัญญา ซึ่งสักกายะเท่าที่มีอยู่นี้ ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิต
เพราะไม่ถือมั่น
อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
              น่าจะหมายถึง พระภิกษุนั้น กำหนดรู้กาม รูปสมาบัติ อรูปสมบัติ
ทั้งกำหนดรู้เหตุของสักกายะ และพระนิพพาน ด้วยความไม่ถือมั่น.
              นัยนี้ หมายถึงพระอรหันต์.

              ๓. อรรถกถายากค่ะ ส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องเลย ข้ามๆ ไปจนไม่รู้ว่าจะถามอะไร
              คุณฐานาฐานะมีตรงไหนเห็นว่า ควรอธิบายตอนนี้ไหมคะ เชิญเลยค่ะ
              ขอบพระคุณค่ะ
9:58 PM 11/29/2013
ตอบว่า อรรถกถายากมาก ทำความเข้าใจได้ยากมาก
              สันนิษฐานว่า พระสูตรนี้กล่าวถึงพระเสขบุคคลที่จะกำหนดรู้หรือขัดเกลาไป
เป็นขั้นๆ กล่าวคือ กำหนดรู้กาม กำหนดรู้รูปสมาบัติ กำหนดรู้อรูปสมาบัติ
ทั้งส่วนที่กำหนดรู้แล้วได้บรรลุในส่วนของสมถะ และในส่วนของปัญญา
อันน่าจะหมายถึงบรรลุสมาบัติสูงขึ้น (ปัญญาในสมถะก็สูงขึ้นด้วย)
หรือในส่วนของปัญญาหรือวิปัสสนา อันทำให้บรรลุถึงพระอรหัต.

ความคิดเห็นที่ 7-76
GravityOfLove, 4 ธันวาคม เวลา 09:50 น.

พอจะเข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 7-77
GravityOfLove, 4 ธันวาคม เวลา 16:03 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค
             ๖. อาเนญชสัปปายสูตร ว่าด้วยปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1440&Z=1570&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมชื่อกัมมาสธรรม ของชาวกุรุ
ในแคว้นกุรุ
             สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             กามไม่เที่ยง เป็นของว่างเปล่า เลือนหายไปเป็นธรรมดา
(ว่างเปล่าเพราะเว้นจากแก่นสาร คือ ความเที่ยง ความยั่งยืน และความเป็นอัตตา)
             ลักษณะของกามดังนี้ ได้ทำความล่อลวง เป็นที่บ่นถึงของคนพาล
             (๑) กาม ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
             (๒) กามสัญญา (ความกำหนดหมายในกาม) ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
             ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นแดนแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร
เป็นที่หากินของมาร
             ในกามนี้ ย่อมมีอกุศลลามกเหล่านี้เกิดที่ใจคือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง
สารัมภะ (ความแข่งดี) บ้าง เป็นไป
             กามนั่นเอง ย่อมเกิดเพื่อเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่
ในธรรมวินัยนี้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กาม_2

ปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบาย
             ๑. อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นในเรื่องกามนั้นดังนี้ว่า
             (๑) กาม ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
             (๒) กามสัญญา ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
             ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นแดนแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร
เป็นที่หากินของมาร
             ในกามนี้ ย่อมมีอกุศลลามกเหล่านี้เกิดที่ใจคืออภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง
สารัมภะบ้าง เป็นไป
             กามนั่นเอง ย่อมเกิดเพื่อเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้
             ไฉนหนอ เราพึงมีจิตเป็นมหัคคตะอย่างไพบูลย์ (จิตชั้นรูปและอรูป)
อธิษฐานใจครอบโลกอยู่
             เพราะเมื่อเรามีจิตเป็นมหัคคตะอย่างไพบูลย์ อธิษฐานใจครอบโลกอยู่
อกุศลลามกเกิดที่ใจ ได้แก่ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง นั้นจักไม่มี
เพราะละอกุศลเหล่านั้นได้
             จิตของเราที่ไม่เล็กน้อยนั่นแหละ (จิตที่เล็กน้อย คือจิตชั้นกามาวจร)
จักกลายเป็นจิตหาประมาณมิได้ (จิตชั้นรูปและอรูป) อันเราอบรมดีแล้ว
             เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่
จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ
หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ ในปัจจุบัน
             เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณ
เข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้
             (มหัคคตะ หมายถึงอารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ ชั้นรูปาวจรและชั้น
อรูปาวจร เพราะมีผลที่สามารถข่มกิเลสได้ และหมายถึง ฉันทะ วิริยะ จิตตะ
และปัญญาอันยิ่งใหญ่ (อภิ.สงฺ.อ. ๑/๑๒/๙๒))
             (ความผ่องใส ในที่นี้หมายถึงความผ่องใส ๒ ประการ คือ
(๑) ความผ่องใสด้วยการน้อมใจเชื่อ คือการน้อมใจเชื่อว่า จะยึดเอาพระอรหันต์
ให้ได้ในวันนี้ (๒) ความผ่องใสด้วยการได้ คือการได้อรหัตตผลหรือจตุตถฌาน)
             (อายตนะ ในที่นี้หมายถึงเหตุ คือ อรหัตตผล การเห็นแจ้งอรหัตตผล
จตุตถฌาน หรืออุปจารแห่งจตุตถฌาน)

             ๒. อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้
             (๑) กาม ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
             (๒) กามสัญญา ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
             (๓) รูปบางชนิดและรูปทั้งหมด คือ มหาภูต ๔ และรูปอาศัย
มหาภูตทั้ง ๔
             (ว่าเป็นบ่วงแห่งมาร ... จักกลายเป็นจิตหาประมาณมิได้
อันเราอบรมดีแล้ว)
             เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ด้วยประการนี้ เป็นผู้มากด้วย
ปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึง
อาเนญชสมาบัติ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน
             เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณ
เข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูตรูป_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อุปาทายรูป_24

             ๓. อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
             (๑) กามและกามสัญญา ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
             (๒) รูปและรูปสัญญา ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
             ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นไม่ควรยินดี
ไม่ควรบ่นถึง ไม่ควรติดใจ
             เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่
จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ
หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน
             เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณ
เข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

ปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบาย
             ๑. อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
             (๑) กามและกามสัญญา ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
             (๒) รูปและรูปสัญญา ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
             (๓) อาเนญชสัญญา
             สัญญาทั้งหมดนี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ใด ที่นั้นคืออากิญจัญญายตนะ
อันดี ประณีต
             เมื่ออริยสาวกปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่
จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ
หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน
             เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณ
เข้าถึงภพอากิญจัญญายตนะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

             ๒. อริยสาวกอยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า สิ่งนี้ว่างเปล่าจากตน หรือจากความเป็นของตน
             เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่
จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ
หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน
              เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณ
เข้าถึงภพอากิญจัญญายตนะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

             ๓. อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราไม่มีในที่ไหนๆ
สิ่งน้อยหนึ่งของใครๆ หามีในเรานั้นไม่ และสิ่งน้อยหนึ่งของเราก็หามี
ในที่ไหนๆ ไม่ ในใครๆ ย่อมไม่มีสิ่งน้อยหนึ่งเลย
             เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่
จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ
หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน
             เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณ
เข้าถึงภพอากิญจัญญายตนะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

ปฏิปทามีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบาย
             อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
             (๑) กามและกามสัญญา ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
             (๒) รูปและรูปสัญญา ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
             (๓) อาเนญชสัญญา
             (๔) อากิญจัญญายตนสัญญา
             สัญญาทั้งหมดนี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ใด ที่นั่นคือ
เนวสัญญานาสัญญายตนะอันดี ประณีต
             เมื่ออริยสาวกปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่
จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึง
เนวสัญญานาสัญญายตนะ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน
             เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ พึงเป็นวิญญาณ
เข้าถึงภพเนวสัญญานาสัญญายตนะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อรูป_4

             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้ทูลว่า
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ย่อมได้อุเบกขาโดยเฉพาะ
ด้วยคิดว่า สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา และจักไม่มีแก่เรา เราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่
และมีมาแล้วนั้นๆ เสีย
             ภิกษุนั้นพึงปรินิพพานหรือหนอ หรือว่าไม่พึงปรินิพพาน
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ภิกษุบางรูปพึงปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี บางรูปไม่พึงปรินิพพาน
ในอัตภาพนี้ก็มี
             ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า
             อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ภิกษุบางรูปปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี
บางรูปไม่ปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี
             ตรัสตอบว่า
             เพราะยินดี บ่นถึง ติดใจอุเบกขานั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี บ่นถึง
ติดใจอุเบกขานั้นอยู่ วิญญาณย่อมเป็นอันอาศัยอุเบกขานั้น ยึดมั่นอุเบกขานั้น
             ภิกษุผู้มีความยึดมั่นอยู่ ย่อมปรินิพพานไม่ได้
             ทูลถามว่า ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา จะเข้าถือเอาที่ไหน
             ตรัสตอบว่า ย่อมเข้าถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
             ทูลถามว่า
             ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา ชื่อว่าย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐสุด
ที่ควรเข้าถือเอาหรือ
             ตรัสตอบว่า
             ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา ย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐสุด
ที่ควรเข้าถือเอาได้ ก็แดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาได้นี้ คือ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ย่อมได้อุเบกขา
โดยเฉพาะด้วยคิดว่า สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา และจักไม่มีแก่เรา
เราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่ และมีมาแล้วนั้นๆ เสีย
             เธอไม่ยินดี ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจอุเบกขานั้นอยู่ เมื่อเธอไม่ยินดี
ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจอุเบกขานั้นอยู่ วิญญาณก็ไม่เป็นอันอาศัยอุเบกขานั้น
และไม่ยึดมั่นอุเบกขานั้น
             ภิกษุผู้ไม่มีความยึดมั่น ย่อมปรินิพพานได้
             ทูลว่า
             น่าอัศจรรย์ ไม่น่าเป็นไปได้ อาศัยเหตุนี้ เป็นอันว่า พระผู้มีพระภาค
ตรัสบอกปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะแก่พวกข้าพระองค์แล้ว
             ทูลถามต่อไปว่า วิโมกข์ของพระอริยะเป็นไฉน
             ตรัสตอบว่า
             อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้
             (๑) กามและกามสัญญา ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
             (๒) รูปและรูปสัญญา ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
             (๓) อาเนญชสัญญา
             (๔) อากิญจัญญายตนสัญญา
             (๕) เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
             สักกายะเท่าที่มีอยู่นี้ ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น
             ด้วยประการนี้แล เราแสดงปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว
             เราแสดงปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว
             เราแสดงปฏิปทามีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว
             อาศัยเหตุนี้ เป็นอันเราแสดงปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะ
คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว
             กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์
อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ
             นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
             ท่านพระอานนท์ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 7-78
ฐานาฐานะ, 4 ธันวาคม เวลา 20:51 น.

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค
              ๖. อาเนญชสัปปายสูตร ว่าด้วยปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1440&Z=1570&bgc=aliceblue&pagebreak=0
...
4:02 PM 12/4/2013

              ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 7-79
ฐานาฐานะ, 4 ธันวาคม เวลา 20:53 น.

             คำถามในอาเนญชสัปปายสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1440&Z=1570

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 7-80
GravityOfLove, 4 ธันวาคม เวลา 21:33 น.

             ตอบคำถามในอาเนญชสัปปายสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1440&Z=1570

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. กามนั่นเอง ย่อมเกิดเพื่อเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่
ในธรรมวินัยนี้
             ๒. ปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบาย
             ปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบาย
             ปฏิปทามีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบาย
             ปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะ คือวิโมกข์ของพระอริยะ
             ๓. ภิกษุผู้ยึดมั่นในอุเบกขาอยู่ ย่อมปรินิพพานไม่ได้

ความคิดเห็นที่ 7-81
ฐานาฐานะ, 4 ธันวาคม เวลา 21:46 น.

GravityOfLove, 7 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในอาเนญชสัปปายสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1440&Z=1570
...
9:32 PM 12/4/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             เนื่องจากพระสูตรนี้ กล่าวถึงพระอริยบุคคลและฌานสมาบัติ
จึงเข้าใจได้ยากทั้งในพระไตรปิฎกและอรรถกถา.

ความคิดเห็นที่ 7-82
ฐานาฐานะ, 4 ธันวาคม เวลา 21:47 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อาเนญชสัปปายสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1440&Z=1570

              พระสูตรหลักถัดไป คือคณกโมคคัลลานสูตร [พระสูตรที่ 7].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              คณกโมคคัลลานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1571&Z=1734
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=93

              โคปกโมคคัลลานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1735&Z=1979
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=105

              มหาปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1980&Z=2186
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=120

              จูฬปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2187&Z=2323
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=130

ความคิดเห็นที่ 7-83
GravityOfLove, 4 ธันวาคม เวลา 21:54 น.

             คำถามคณกโมคคัลลานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1571&Z=1734

             กรุณาอธิบายค่ะ
             เรื่อง ได้ยินว่า พระขีณาสพองค์หนึ่งพาสามเณรขีณาสพองค์หนึ่งไปอยู่ป่า

ย้ายไปที



Create Date : 17 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:13:35 น.
Counter : 563 Pageviews.

0 comments
เติมให้ความมี เติมให้ความไม่มี ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2567 20:54:29 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 35 : กะว่าก๋า
(13 เม.ย. 2567 05:51:40 น.)
Day..10 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(11 เม.ย. 2567 08:25:45 น.)
สักกายทิฐิ **mp5**
(8 เม.ย. 2567 11:07:04 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด