24.11 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
24.10 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1]

ความคิดเห็นที่ 7-121
ฐานาฐานะ, 13 ธันวาคม เวลา 21:34 น.

              ตอบว่า อธิบายเนื้อความในข้อ 152
              [๑๕๒]  ส  โข  โส  ภิกฺขเว  สปฺปุริโส  เอวํ สทฺธมฺมสมนฺนาคโต
เอวํ  สปฺปุริสภตฺตี  เอวํ  สปฺปุริสจินฺตี เอวํ สปฺปุริสมนฺตี เอวํ สปฺปุริสวาโจ
เอวํ    สปฺปุริสกมฺมนฺโต    เอวํ    สปฺปุริสทิฏฺฐิ    เอวํ   สปฺปุริสทานํ
ทตฺวา   กายสฺส   เภทา   ปรมฺมรณา   ยา   สปฺปุริสานํ   คติ   ตตฺถ
อุปฺปชฺชติ   กา   จ   ภิกฺขเว   สปฺปุริสานํ   คติ   เทวมหตฺตตา   วา
มนุสฺสมหตฺตตา วาติ ฯ
              อิทมโวจ    ภควา    อตฺตมนา   เต   ภิกฺขู   ภควโต   ภาสิตํ
อภินนฺทุนฺติ ฯ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=152&Roman=0

              [๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษนั่นแหละ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม
ของสัตบุรุษอย่างนี้ ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีความ
รู้อย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีการงานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้
มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว เมื่อตายไป ย่อม
บังเกิดในคติของสัตบุรุษ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คติของสัตบุรุษคืออะไร คือ ความเป็นผู้มีตนควร
บูชาในเทวดา หรือความเป็นผู้มีตนควรบูชาในมนุษย์ ฯ

              พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?14/152

ความคิดเห็นที่ 7-122
GravityOfLove, 13 ธันวาคม เวลา 21:43 น.

ก็คติของสัตบุรุษคืออะไร คือ ความเป็นผู้มีตนควร
บูชาในเทวดา หรือความเป็นผู้มีตนควรบูชาในมนุษย์ ฯ

แปลว่าอะไรคะ

ความคิดเห็นที่ 7-123
ฐานาฐานะ, 13 ธันวาคม เวลา 22:13 น.

GravityOfLove, 27 นาทีที่แล้ว
ก็คติของสัตบุรุษคืออะไร คือ ความเป็นผู้มีตนควร
บูชาในเทวดา หรือความเป็นผู้มีตนควรบูชาในมนุษย์ ฯ
แปลว่าอะไรคะ
9:43 PM 12/13/2013

              แปลว่า เป็นผู้ที่เทวดาและมนุษย์ควรบูชาครับ.

ความคิดเห็นที่ 7-124
GravityOfLove, 13 ธันวาคม เวลา 22:18 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 7-125
GravityOfLove, 13 ธันวาคม เวลา 22:19 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค
             ๑๐. จูฬปุณณมสูตร (๑๑๐) ว่าด้วยพระธรรมเทศนาในคืนดวงจันทร์เต็มดวง สูตรเล็ก
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2187&Z=2323&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา วิสาขา
มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม  เขตพระนครสาวัตถี
             สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม ประทับนั่งกลางแจ้ง
ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ
             ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดย
ลำดับ จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

อสัตบุรุษ
             อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษหรือไม่
             ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า
             ตรัสว่า ถูกละ ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ
นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส
             อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษไหม
             ทูลตอบว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า
             ตรัสว่า ถูกละ แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ
นั่นก็ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส
             ๑. อสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษ
             คือ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย
เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม
             ๒. ภักดีต่ออสัตบุรุษ
             คือ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ
มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม เป็นมิตร เป็นสหาย
             ๓. มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ
             คือ ย่อมคิดเบียดเบียนตนเองบ้าง คิดเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
             ๔. มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ
             คือ ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
             ๕. มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ
             คือ เป็นผู้มักพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ เจรจาเพ้อเจ้อ
              ๖. มีการงานอย่างอสัตบุรุษ
             คือ มักเป็นผู้ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
มักประพฤติผิดในกาม
             ๗. มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ
             คือ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว
ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว ไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้า
ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
             ๘. ย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ
             คือ ย่อมให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานไม่ใช่ด้วยมือของตน
ทำความไม่อ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่างไม่เข้าใจ เป็นผู้มีความเห็นว่าไร้ผล
ให้ทาน
             อสัตบุรุษเมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของอสัตบุรุษ
             คติของอสัตบุรุษคือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน

สัตบุรุษ
             ตรัสถามว่า สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษหรือไม่
             ทูลตอบว่า รู้ พระพุทธเจ้าข้า
             ตรัสว่า ถูกละ ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ
นั่นเป็นฐานะที่มีได้
             สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่าผู้นี้เป็นอสัตบุรุษไหม
             ทูลตอบว่า รู้ พระพุทธเจ้าข้า
             ตรัสว่า ถูกละ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ
นั่นก็เป็นฐานะที่มีได้
             ๑. สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ
             คือ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว
มีสติตั้งมั่น มีปัญญา
             ๒. ภักดีต่อสัตบุรุษ
             คือ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก
มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา เป็นมิตร เป็นสหาย
             ๓. มีความคิดอย่างสัตบุรุษ
            คือ ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเบียดเบียน
ทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
             ๔. มีความรู้อย่างสัตบุรุษ
             คือ ย่อมไม่รู้เพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
             ๕. มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ
             คือ เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากคำพูดส่อเสียด
งดเว้นจากคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ
             ๖. มีการงานอย่างสัตบุรุษ
            คือ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจาก
กาเมสุมิจฉาจาร
             ๗. มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ
             คือ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่
             ๘. ย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ
             คือ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ทำความอ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่าง
บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความเห็นว่ามีผล จึงให้ทาน
             สัตบุรุษ เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของสัตบุรุษ
             คติของสัตบุรุษคือ ความเป็นผู้มีตนควรบูชาในเทวดา
หรือความเป็นผู้มีตนควรบูชาในมนุษย์ (เป็นผู้ที่เทวดาและมนุษย์ควรบูชา)
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 7-126
ฐานาฐานะ, วันเสาร์ เวลา 08:02 น.

GravityOfLove, 29 นาทีที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค
              ๑๐. จูฬปุณณมสูตร (๑๑๐) ว่าด้วยพระธรรมเทศนาในคืนดวงจันทร์เต็มดวง สูตรเล็ก
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2187&Z=2323&bgc=aliceblue&pagebreak=0
...
10:18 PM 12/13/2013

              ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 7-127
ฐานาฐานะ, วันเสาร์ เวลา 08:06 น.

              คำถามในจูฬปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2187&Z=2323

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. ธรรมของสัตบุรุษ 7 ประการ คล้ายเป็นส่วนใหญ่กับธรรมหมวดใด?

ความคิดเห็นที่ 7-128
GravityOfLove, วันเสาร์ เวลา 08:53 น.

             ตอบคำถามในจูฬปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2187&Z=2323

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. เป็นไปไม่ได้ที่อสัตบุรุษจะรู้ว่าบุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษหรือเป็นสัตบุรุษ
             ๒. สัตบุรุษย่อมรู้ว่าบุคคลนี้เป็นสัตบุรุษหรือเป็นอสัตบุรุษ
             ๓. ลักษณะของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ
             ๔. คติของอสัตบุรุษคือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
             ๕. คติของสัตบุรุษคือ เป็นผู้ที่เทวดาหรือมนุษย์ควรบูชา
----------------------
             2. ธรรมของสัตบุรุษ 7 ประการ คล้ายเป็นส่วนใหญ่กับธรรมหมวดใด?
             คล้ายอริยทรัพย์ ๗ ค่ะ

[292] อริยทรัพย์ 7 (ทรัพย์อันประเสริฐ, ทรัพย์คือคุณธรรมประจำใจอย่างประเสริฐ — noble treasures)
       1. ศรัทธา (ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ — confidence)
       2. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้องดีงาม — morality; good conduct; virtue)
       3. หิริ (ความละอายใจต่อการทำความชั่ว — moral shame; conscience)
       4. โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อความชั่ว — moral dread; fear-to-err)
       5. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก — great learning)
       6. จาคะ (ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ — liberality)
       7. ปัญญา (ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล ดีชั่ว ถูกผิด คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ รู้คิด รู้พิจารณา และรู้ที่จะจัดทำ — wisdom)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยทรัพย์_7
----------------------
เพิ่มลิงค์ท้ายย่อความ
             คำว่า สัปปุริสธรรม 8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัปปุริสธรรม_8

ความคิดเห็นที่ 7-129
ฐานาฐานะ, วันอาทิตย์ เวลา 02:25 น.

GravityOfLove, 17 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในจูฬปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2187&Z=2323
...
8:52 AM 12/14/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             ขอเพิ่มลิงค์ดังนี้ :-
             พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔
             อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
             อสัปปุริสทานสูตร, สัปปุริสทานสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4014&Z=4041

             คำว่า สัปปุริสธรรม
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัปปุริสธรรม

ความคิดเห็นที่ 7-130
ฐานาฐานะ, วันอาทิตย์ เวลา 03:08 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬปุณณมสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2187&Z=2323

              พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              อนุปทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2324&Z=2444
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=153

              ฉวิโสธนสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2445&Z=2669
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=166

              สัปปุริสสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2670&Z=2898
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=178

              เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2899&Z=3431
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=198

              พหุธาตุกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3432&Z=3646
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=234

ความคิดเห็นที่ 3-1
GravityOfLove, 15 ธันวาคม 2556 เวลา 07:48 น.

             คำถามอนุปทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2324&Z=2444

             ๑. [๑๕๕] ... ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี
ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่
             ฉบับมหาจุฬาฯ >> สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไป ยังมีอยู่’
เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น
             สรุปว่าแปลว่าอะไรคะ
             ๒. ชื่อว่าปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็ว ยังรูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต
อนาคตและปัจจุบัน ฯลฯ หรือรูปอยู่ในที่ใกล้ทั้งหมด << ย่อมาจากอะไรคะ
             ชื่อว่าปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็วยังจักษุ ฯลฯ ชรา มรณะ
ที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน << ย่อมาจากอะไรคะ
             ๓. ชื่อว่าปัญญาคม เพราะอริยมรรค ๔ สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔
และอภิญญา ๖ ย่อมเป็นอันบุคคลนี้บรรลุแล้ว คือทำให้แจ้งแล้ว
ได้แก่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาในอาสนะเดียว. << แปลว่าอะไรคะ
             ๔. [๑๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็น
บัณฑิต๑ มีปัญญามาก๒ มีปัญญากว้างขวาง๓ มีปัญญาร่าเริง๔ มีปัญญาว่องไว๕ มีปัญญา
เฉียบแหลม๖ มีปัญญาทำลายกิเลส๗
             ในอรรถกถาก็อธิบายข้อ ๑-๕ มาโดยลำดับ
             สงสัยข้อ ๖ กับข้อ ๗ ค่ะว่า อธิบายไว้ตรงไหน ผสมผสานกันหรือเปล่าคะ
             ๕. ในวาระทั้งสองนั้น ท่านมีปกติเข้านิโรธสมาบัติในกาลใด
ในกาลนั้นวาระแห่งนิโรธย่อมมา ผลสมาบัติเป็นอันเก็บซ่อนไว้
             ในกาลใดเข้าผลสมาบัติเป็นปกติ ในกาลนั้นวาระของผลสมาบัติก็มา
นิโรธสมาบัติเป็นอันเก็บซ่อนไว้.
             กรุณาอธิบาย ๒ คำนี้อีกครั้งด้วยค่ะ นึกไม่ออกเลยว่าต่างกันอย่างไร
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-2
ฐานาฐานะ, 16 ธันวาคม 2556 เวลา 22:45 น.

GravityOfLove, เมื่อวานนี้ เวลา 07:48 น.
              คำถามอนุปทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2324&Z=2444

              ๑. [๑๕๕] ... ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี
ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่
              ฉบับมหาจุฬาฯ >> สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไป ยังมีอยู่’
เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น
              สรุปว่าแปลว่าอะไรคะ

ตอบว่า สันนิษฐานว่า
              โส  เตสุ  ธมฺเมสุ  อนุปาโย  อนปาโย  อนิสฺสิโต  อปฺปฏิพทฺโธ
วิปฺปมุตฺโต  วิสํยุตฺโต  วิมริยาทิกเตน  เจตสา  วิหรติ  
              โส  อตฺถิ  อุตฺตรึ นิสฺสรณนฺติ ปชานาติ ตพฺพหุลีการา อตฺถิ เตฺววสฺส โหติ ฯ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=155&Roman=0

              ฉบับมหามกุฏฯ :-
              เธอรู้ชัดว่า  คุณวิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป (จากภพ)  ยิ่งขึ้นไปอีก ยังมีอยู่
เธอยังมีความเห็นต่อไปว่า  ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งขึ้นยังมีอยู่ เพราะกระทำความรู้
นั้นให้มากขึ้น.
              น่าจะแปลตามฉบับมหาจุฬาฯ และฉบับมหามกุฏฯ
              แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า การา หลังคำว่า ตพฺพหุลีการา
อาจจะแปลว่า กร หรือ บุคคล ก็ได้ แต่ผมไม่รู้ภาษาบาลี.
              สรุปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งขึ้นยังมีอยู่ เพราะกระทำความรู้นั้นให้มากขึ้น.

              ๒. ชื่อว่าปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็ว ยังรูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต
อนาคตและปัจจุบัน ฯลฯ หรือรูปอยู่ในที่ใกล้ทั้งหมด << ย่อมาจากอะไรคะ
ตอบว่า สันนิษฐานว่า
              ปัญญาว่องไวเป็นไฉน?
              ชื่อว่าปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็ว ยังรูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ฯลฯ หรือรูปอยู่ในที่ใกล้ทั้งหมด โดยความเป็นของไม่เที่ยง.
              น่าจะเท่ากับ
              ชื่อว่าปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็ว ยังรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยง.

              ชื่อว่าปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็วยังจักษุ ฯลฯ ชรา มรณะ
ที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน << ย่อมาจากอะไรคะ
ตอบว่า สันนิษฐานว่า
              ชื่อว่าปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็วในพระนิพพานอันเป็นที่ดับชรามรณะ โดยทำให้แจ้งชัดว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา มรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน. ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะอรรถว่าสิ้นไป ฯลฯ.
              น่าจะเป็นหมวดของขันธ์ 5 และตามด้วยหมวดธาตุ 18
              คล้ายๆ อานันทภัทเทกรัตตสูตร อธิบายหรือแจกแจงโดยขันธ์ 5
              ส่วนมหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร อธิบายหรือแจกแจงโดยธาตุ 18
              ภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=14&A=7031
              อานันทภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=14&A=7115
              มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=14&A=7223
              คำว่า ธาตุ 18
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธาตุ_18

              ๓. ชื่อว่าปัญญาคม เพราะอริยมรรค ๔ สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔
และอภิญญา ๖ ย่อมเป็นอันบุคคลนี้บรรลุแล้ว คือทำให้แจ้งแล้ว
ได้แก่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาในอาสนะเดียว. << แปลว่าอะไรคะ
ตอบว่า สันนิษฐานว่า อาสนะเดียวคือ เมื่อตั้งความเพียรแล้ว
สามารถบรรลุคุณวิเศษทั้งหมด ในการทำความเพียรครั้งนั้นเพียงครั้งเดียว
คือ นั่งพิจารณาตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งบรรลุคุณวิเศษทั้งหมด ด้วยการนั่งคู้บัลลังก์เดียว
              แต่อาจจะมีบางคนแย้งได้ว่า ท่านพระสารีบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม
บรรลุโสดาบัน เมื่อฟังธรรมจากท่านพระอัสสชิเถระ.

              ๔. [๑๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็น
บัณฑิต๑ มีปัญญามาก๒ มีปัญญากว้างขวาง ๓ มีปัญญาร่าเริง ๔ มีปัญญาว่องไว๕ มีปัญญา
เฉียบแหลม๖ มีปัญญาทำลายกิเลส ๗
              ในอรรถกถาก็อธิบายข้อ ๑-๕ มาโดยลำดับ
              สงสัยข้อ ๖ กับข้อ ๗ ค่ะว่า อธิบายไว้ตรงไหน ผสมผสานกันหรือเปล่าคะ

              กตมา  ติกฺขปญฺญา ฯ  ขิปฺปํ  กิเลเส  ฉินฺทตีติ  ติกฺข-
ปญฺญา ฯ  อุปฺปนฺนํ  กามวิตกฺกํ  นาธิวาเสติ  อุปฺปนฺนํ  พฺยาปาท-
วิตกฺกํ  อุปฺปนฺนํ  วิหึสาวิตกฺกํ  อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน  ปาปเก  อกุสเล  
ธมฺเม  อุปฺปนฺนํ  ราคํ  โทสํ  โมหํ  โกธํ  อุปนาหํ  มกฺขํ  ปฬาสํ  
อิสฺสํ  มจฺฉริยํ  มายํ  สาเ€ยฺยํ  ถมฺภํ  สารมฺภํ  มานํ  อติมานํ  
มทํ  ปมาทํ  สพฺเพ  กิเลเส  สพฺเพ  ทุจฺจริเต  สพฺเพ  อภิสงฺขาเร
สพฺเพ  ภวคามิเก  กมฺเม  นาธิวาเสติ  ปชหติ  วิโนเทติ  
พฺยนฺตีกโรติ  อนภาวํ  คเมตีติ  ติกฺขปญฺญา ฯ  เอกสฺมึ  อาสเน
จตฺตาโร  อริยมคฺคา ฯ  จตฺตาริ  สามญฺญผลานิ ฯ  จตสฺโส  
ปฏิสมฺภิทาโย    จ  อภิญฺญาโย  อธิคตา  โหนฺติ  สจฺฉิกตา  
ผุสิตาปญฺญายาติ  ติกฺขปญฺญา ฯ  
              กตมา  นิพฺเพธิกปญฺญา ฯ  อิเธกจฺโจ  สพฺพสงฺขาเรสุ  
อุพฺเพคพหุโล  โหติ  อุตฺราสพหุโล  อุกฺกณฺ€นพหุโล  อรติพหุโล  
อนภิรติพหุโล  พหิมุโข  น  รมติ  สพฺพสงฺขาเรสุ ฯ  อนิพฺพิทฺธปุพฺพํ  
อปฺปทาลิตปุพฺพํ  โลภกฺขนฺธํ  นิพฺพิชฺฌติ  ปทาเลตีติ  นิพฺเพธิก-
ปญฺญา ฯ  อนิพฺพิทฺธปุพฺพํ  อปฺปทาลิตปุพฺพํ  โทสกฺขนฺธํ  
โมหกฺขนฺธํ ฯ  โกธํ ฯ  อุปนาหํ  ฯเป ฯ  สพฺเพ  ภวคามิเก  กมฺเม
นิพฺพิชฺฌติ  ปทาเลตีติ  นิพฺเพธิกปญฺญา ฯ

ตอบว่า น่าจะแปลตกหล่นไปครับ เพราะดูจากอรรถกถาบาลีมีเนื้อความยาวมาก.
              โดยนัยอาจจะแปลข้อ 6 ตกไป และ/หรือข้อ 7 ก็ไม่ครบถ้วนด้วย
              ศึกษาเทียบส่วนอื่นดังนี้ :-
              ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ข้อ 676-677
//84000.org/tipitaka/read/?31/676-677
              อรรถกถากายคตาสติวรรค
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=207&p=5

              ๕. ในวาระทั้งสองนั้น ท่านมีปกติเข้านิโรธสมาบัติในกาลใด
ในกาลนั้นวาระแห่งนิโรธย่อมมา ผลสมาบัติเป็นอันเก็บซ่อนไว้
              ในกาลใดเข้าผลสมาบัติเป็นปกติ ในกาลนั้นวาระของผลสมาบัติก็มา
นิโรธสมาบัติเป็นอันเก็บซ่อนไว้.
              กรุณาอธิบาย ๒ คำนี้อีกครั้งด้วยค่ะ นึกไม่ออกเลยว่าต่างกันอย่างไร
              ขอบพระคุณค่ะ
7:47 AM 12/15/2013
อธิบายว่า
              นิโรธสมาบัติ คือสมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา มีได้เฉพาะพระอนาคามี
และอรหันต์เท่านั้น จำไว้ว่า นิโรธ แปลว่า ดับ
              สมาบัติข้อที่ 9 นี้ เฉพาะแต่พระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ชำนาญในสมาบัติ 8
ข้างต้นแล้วเท่านั้น จึงจะเข้าได้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนุบุพพวิหาร

              ผลสมาบัติ เป็นสมาบัติของพระอริยบุคคลทุกระดับ เป็นสภาพที่มีจิต
กล่าวคือ มีสภาพเหมือนกับผลจิต. จำไว้ว่า ผลสมาบัติ คำว่า ผล หรือผลจิต.

ย้ายไปที



Create Date : 17 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:20:25 น.
Counter : 577 Pageviews.

0 comments
หลักปฏิบัติ ปัญญา Dh
(18 เม.ย. 2567 19:08:42 น.)
: รูปแบบของการค้นพบตนเอง : กะว่าก๋า
(16 เม.ย. 2567 06:05:58 น.)
เรื่องนี้ไม่ง่าย แต่คนมักชอบอะไรที่มันง่ายๆ 121 235 เขาถาม - ตอบกัน 450 > คำถาม : ทำอย่างไ สมาชิกหมายเลข 7881572
(16 เม.ย. 2567 09:58:49 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 31 : กะว่าก๋า
(9 เม.ย. 2567 05:58:44 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด