27.5 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
27.4 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31]

ความคิดเห็นที่ 6-50
(ต่อ)
             ๔. ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ที่บำเพ็ญเพียรจนบรรลุเจโตสมาธิ
ที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้ทำกุศลกรรมบถ ๑๐ ในโลกนี้
และเล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกได้ ด้วยตาทิพย์
             สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
             ๔.๑ เป็นอันว่า กรรมดีไม่มี วิบากของสุจริตไม่มี
             ๔.๒ ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้ทำกุศลกรรมบถ ๑๐ ในโลกนี้
และผู้นั้นตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น
             ๔.๓ ผู้ใดทำกุศลกรรมบถ ๑๐ ผู้นั้นทุกคนตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก
             ๔.๔ ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ
ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด
             สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง
โดยประการนั้นแหละ ในที่นั้นๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า

             ในสมณะหรือพราหมณ์จำพวกที่ ๑ นั้น
พระองค์ทรงอนุมัติวาทะที่ ๑.๑, ๑.๒ ไม่ทรงอนุมัติวาทะที่ ๑.๓, ๑.๔
             ในสมณะหรือพราหมณ์จำพวกที่ ๒ นั้น
พระองค์ทรงอนุมัติวาทะที่ ๒.๒ ไม่ทรงอนุมัติวาทะที่ ๒.๑, ๒.๓, ๒.๔
             ในสมณะหรือพราหมณ์จำพวกที่ ๓ นั้น
พระองค์ทรงอนุมัติวาทะที่ ๓.๑, ๓.๒ ไม่ทรงอนุมัติวาทะที่ ๓.๓, ๓.๔
             ในสมณะหรือพราหมณ์จำพวกที่ ๔ นั้น
พระองค์ทรงอนุมัติวาทะที่ ๔.๒ ไม่ทรงอนุมัติวาทะที่ ๔.๑, ๔.๓, ๔.๔
             ตรัสว่า
             แม้วาทะของเขาที่พูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง
นั้นแหละ ในที่นั้นๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็ยัง
ไม่อนุมัติ เพราะตถาคตมีญาณในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น

             ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่เป็นผู้มักทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ ในโลกนี้
หรือจะเป็นบุคคลที่ทำกุศลกรรมบถ ๑๐ ในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก นี้
             เป็นอันว่า เขาทำกรรมชั่วที่ให้ผลเป็นทุกข์ไว้ในกาลก่อน หรือในกาลภายหลัง
หรือว่ามีมิจฉาทิฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย เพราะฉะนั้น เขาตายไป
จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

             ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่เป็นผู้มักทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ ในโลกนี้
หรือจะเป็นบุคคลที่ทำกุศลกรรมบถ ๑๐ ในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์นี้
             เป็นอันว่า เขาทำกรรมดีที่ให้ผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อนๆ หรือในกาลภายหลัง
หรือว่ามีสัมมาทิฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย เพราะฉะนั้น เขาตายไป
จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

             ก็แหละบุคคลที่เป็นผู้มักทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ ในโลกนี้นั้น
หรือจะเป็นบุคคลที่ทำกุศลกรรมบถ ๑๐ ในโลกนี้ นั้นเขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้น
ในชาตินี้ หรือในชาติหน้า หรือในชาติต่อไป

             ด้วยประการนี้แล กรรมไม่ควร ส่องให้เห็นว่าไม่ควรก็มี (ไปทุคติ)
ให้เห็นว่าควรก็มี (ไปสุคติ จึงปรากฏเหมือนว่าควร)
             และกรรมที่ควรแท้ๆ ส่องให้เห็นว่าควรก็มี (ไปสุคติ)
ให้เห็นว่าไม่ควรก็มี (ไปทุคติ จึงปรากฎเหมือนว่าไม่ควร)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กรรม_12

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม #6-51]

ความคิดเห็นที่ 6-51
ฐานาฐานะ, 27 กุมภาพันธ์ เวลา 00:58 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
             ๓๖. มหากัมมวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรใหญ่
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7799&Z=8027&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
9:17 PM 2/26/2014
9:24 PM 2/26/2014

             ย่อความได้ดีครับ.
             มีข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :-
             คำว่า มหากัมมวิภังค มีปรากฏในพระสูตรนี้
ซึ่งน่าจะแปลว่า การจำแนกกรรมอย่างใหญ่
             คำว่า มหา หรือ ใหญ่ นี้น่าจะขยายคำว่า วิภังค
คือการจำแนก (อย่างใหญ่)
             หรือขยายคำว่า กัมม คือการจำแนกกรรมกลุ่มใหญ่ๆ
             คำว่า มหา หรือ ใหญ่ นี้ ในพระสูตรนี้
ไม่น่าจะขยายคำว่า สูตร ซึ่งกลายเป็นสูตรใหญ่.
             ดังนั้น ชื่อพระสูตรว่า มหากัมมวิภังคสูตร จึงน่าจะเป็นว่า
             มหากัมมวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกกรรมอย่างใหญ่
แทนคำว่า
             มหากัมมวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรใหญ่
- - - - - - - - - - - - - - - -
             ปริพาชกโปตลิบุตกล่าวว่า
แก้ไขเป็น
             ปริพาชกโปตลิบุตรกล่าวว่า

(ถ้าตถาคตจำแนกมหากัมมวิภังค์อยู่ เธอทั้งหลายควรฟัง
             ไม่เห็นมีวงเล็บปิด

ความคิดเห็นที่ 6-52
GravityOfLove, 27 กุมภาพันธ์ เวลา 01:01 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-53
ฐานาฐานะ, 27 กุมภาพันธ์ เวลา 01:18 น.

             คำถามในมหากัมมวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7799&Z=8027

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. ในขณะแห่งพระสูตรนี้
              2.1 ท่านพระสมิทธิเป็นปุถุชน หรือว่าเป็นพระอริยบุคคล?
              2.2 ท่านพระอุทายีเป็นปุถุชน หรือว่าเป็นพระอริยบุคคล?
             3. จากข้อ 605 และ 607
             คุณ GravityOfLove พอจะสันนิษฐานสาเหตุที่ทำให้บุคคล
ผู้ได้ทิพพจักษุญาณ กล่าวผิดไป เห็นผิดไป เช่นกล่าวผิดไปว่า กรรมชั่วไม่มี
วิบากของทุจริตไม่มีบ้าง กรรมดีไม่มี วิบากของสุจริตไม่มีบ้าง
             ว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร จึงเห็นผิดไปอย่างนั้น?

ความคิดเห็นที่ 6-54
GravityOfLove, 27 กุมภาพันธ์ เวลา 10:47 น.

             ตอบคำถามในมหากัมมวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7799&Z=8027

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
อันให้ผลเป็นสุข เขาย่อมเสวยสุข, อันให้ผลเป็นทุกข์ เขาย่อมเสวยทุกข์,
อันให้ผลไม่ทุกข์ไม่สุข เขาย่อมเสวยอทุกขมสุข
             ๒. พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกมหากรรม (มหากัมมวิภังค์) เป็นบุคคล ๔ จำพวก คือ
ผู้มักประกอบอกุศลกรรมบถ ๑๐ เมื่อตายแล้วไปอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็มี ไปสวรรค์ก็มี,
ผู้มักประกอบกุศลกรรมบถ ๑๐ เมื่อตายแล้วไปสวรรค์ ก็มี ไปอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็มี
             ๓. ได้ตรัสว่า มโนกรรมมีโทษมากกว่ากายกรรมและวจีกรรม ไว้ในในอุปาลิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1044&Z=1477&bgc=lavender&pagebreak=0

             เรื่องนักบวชนอกศาสนาที่กล่าวถึง อภิสัญญานิโรธ มีในโปฏฐปทสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=6029&Z=6776
---------------------
             2. ในขณะแห่งพระสูตรนี้
              2.1 ท่านพระสมิทธิเป็นปุถุชน หรือว่าเป็นพระอริยบุคคล?
              เป็นปุถุชนค่ะ สังเกตว่า พระผู้มีพระภาคตำหนิท่านว่า เป็นโมฆบุรุษ
(พระอริยบุคคลย่อมไม่เป็นโมฆบุรุษ)
              หรือจากตรงที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ท่านพระสมิทธิได้พยากรณ์ปัญหา
ที่ควรแยกแยะพยากรณ์แต่แง่เดียว" อันแสดงว่าขาดองค์คุณเครื่องบรรลุโสดา
ข้อโยนิโสมนสิการ
              2.2 ท่านพระอุทายีเป็นปุถุชน หรือว่าเป็นพระอริยบุคคล?
              เป็นปุถุชนค่ะ เหตุผลเหมือนข้อ 2.1
              หรือจากตรงที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "โมฆบุรุษอุทายีนี้โพล่งขึ้นโดยไม่แยบคาย"
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=องค์คุณเครื่องบรรลุโสดา&detail=on
---------------------
             3. จากข้อ 605 และ 607 ... ว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร จึงเห็นผิดไปอย่างนั้น?
             เนื่องจากวิบากของกรรมให้ผลได้ทั้งในชาตินี้ ชาติหน้า หรือชาติต่อๆ ไป
ตาทิพย์ที่มองเห็นนั้น มองได้ไม่หมด ไม่ทั่วถึง (มีกำลังไม่มาก) เมื่อเห็นแค่นั้น จึงสรุป
(ผิดๆ) จากที่ตนเองเห็น แล้วปักใจเชื่อว่า นี้เท่านั้นจริง

ความคิดเห็นที่ 6-55
ฐานาฐานะ, 27 กุมภาพันธ์ เวลา 19:27 น.

GravityOfLove, 7 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในมหากัมมวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7799&Z=8027
...
10:46 AM 2/27/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ โดยเฉพาะในข้อ 3 สันนิษฐานได้ดี
             ที่ผมถามข้อนี้ เพราะเหตุว่า ในวัฏฏะที่ผ่านมายาวนานนี้ แม้ในอนาคต
ทั้งคุณ GravityOfLove และผมหรือใครๆ ก็ตาม ก็อาจเป็นอย่างข้อ 605 และ 607 ได้
จึงถาม เพื่อให้รู้เห็นเหตุของการกล่าวผิด เห็นผิดทั้งๆ ที่มีทิพพจักษุญาณ.
             ผมพยายามพิจารณาเหตุของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เห็นว่า
             1. เขาปักใจในกรรมเหล่านั้นที่บุคคลเหล่านั้นกระทำไว้ว่า
วิบากนี้เป็นผลของกรรมอันที่เขาเห็น ทั้งที่ยังไม่อาจยืนยันได้
             ประมาณว่า ทึกทักเอาเองว่า ต้องเป็นอย่างนั้น.
             นัยก็คือ ประมาทเลินเล่อ ด่วนสรุปเกินไป
             ที่ว่า ประมาทเลินเล่อ ด่วนสรุปเกินไป ก็เพราะเหตุว่า
เพราะแม้จะเป็นอกุศลกรรมหรือกุศลกรรมอย่างเดียวกัน ก็ยังสรุปได้ยาก.
             อุปมาเหมือนกับในทางโลกว่า
             บุคคลหนึ่งฆ่าบุคคลอื่นๆ เป็นจำนวนมาก อีกบุคคลก็รู้เห็น
ความประพฤติของเขาอยู่ว่า ทำเป็นอาจิณเป็นต้น ภายหลัง บุคคลนั้น
ต้องโทษจำคุก บุคคลที่เห็นความประพฤตินั้นอยู่ก็รีบด่วนกล่าวสรุปว่า
             การที่บุคคลนี้ต้องโทษจำคุก จากคดีที่เขาฆ่าบุคคลอื่นแน่นอน
ข้าพเจ้าเห็นแล้วๆ.
             อีกบุคคลหนึ่ง เป็นคนรอบคอบ ใคร่จะตรวจสอบเหตุการณ์
จึงได้ไปอ่านคำพิพากษาของศาลในคดีต้องโทษนั้น ปรากฎว่า
             บุคคลนี้ต้องโทษจำคุก ในข้อหาลักทรัพย์ ไม่ใช่ข้อหาฆ่าคนตาย
             อุปมานี้ แสดงตัวอย่างของการด่วนสรุป แม้ทิศทางของกรรมเดียวกัน.

             2. กรรมที่เขาเห็นนั้น อาจจะเด่นชัดมาก หรือมีจำนวนมาก
เพราะทำบ่อยๆ จนเป็นปกติ จึงทึกทักเอาเองว่า น่าจะเป็นกรรมเหล่านี้แหละ
ที่ให้วิบากอย่างนั้น ทั้งที่กรรมก่อนหน้านั้นก็มี กรรมหลังจากนั้นก็มี
กรรมเมื่อใกล้จะตายก็มี.
             ในข้อนี้ แสดงว่า แม้จะเห็นการทำกรรมนั้นบ่อยๆ
             กรรมส่วนที่ไม่เห็นอยู่ ก็ยังมี.

             แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะสันนิษฐานสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ได้
ก็ยังไม่อาจป้องกันการกล่าวผิด การเห็นผิดอย่างข้อ 605 และ 607 ได้.
             จะเห็นเหตุที่จะป้องกันการเห็นผิดเหล่านี้ได้ ก็แต่การตั้งจิต
ไว้ถูกทางในพิจารณาโดยแยบคายโดยนัยของศรัทธา 4 หรือความเป็น
ผู้ฉลาดหรือแม้เพียงน้อมใจเชื่อในฐานะและอฐานะ ในข้อ 17-22

             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ
ด้วยเหตุเท่าไร ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?14/245
             คำว่า ศรัทธา 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ศรัทธา

             คำถามเบาๆ ถัดไปว่า
             ในพระสูตรนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีทิพยจักษุญาณ ก็อาจจะถึงการเห็นผิดได้
ในพระสูตรที่ได้เคยศึกษามา ทั้งพระสูตรหลักและพระสูตรแนะนำ
มีพระสูตรใดหรือชาดกใด ที่แสดงตัวอย่างของผู้ที่ได้ญาณการระลึกชาติ
แต่ก็อาจเห็นผิดได้.

ความคิดเห็นที่ 6-56
GravityOfLove, 27 กุมภาพันธ์ เวลา 21:53 น.

ขอบพระคุณค่ะ
คำถามเบาๆ นึกคำตอบไม่ออกเลยค่ะ จนหลับไปวูบหนึ่ง
ขอตอบเลยค่ะ ก่อนที่จะค้นจนหลับไปอีก
------------------
             พระเทวทัตได้ญาณทัสสนะ (ได้อภิญญา ๕) แต่ก็ยังมัวเมา ประมาท
และทำร้ายพระผู้มีพระภาค
             พระเทวทัตจักเกิดในอบาย
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=3987&Z=4061&bgc=seashell

             สุนักขัตตลิจฉวีบุตรมีตาทิพย์แล้ว ต้องการหูทิพย์จึงทูลขอบริกรรมทิพยโสต
กับพระผู้พระภาค แต่พระองค์ไม่ได้ตรัสบอก จึงคิดว่าเพราะพระองค์ทรงอิจฉาเขา
             อรรถกถามหาลิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=239&p=1

ความคิดเห็นที่ 6-57
ฐานาฐานะ, 27 กุมภาพันธ์ เวลา 22:38 น.

             เฉลยว่า ในข้อ 847-850 ในมหานารทกัสสปชาดก
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=28&A=5180&Z=5625

             นึกออกหรือยังหนอ?
             เห็นคำว่า นึกคำตอบไม่ออกเลยค่ะ เลยสงสัยว่า
พระสูตรหรือชาดกที่เป็นคำตอบ ได้เคยแนะนำให้ศึกษาไว้หรือไม่
แต่มั่นใจว่า เคยแนะนำไว้แล้ว จึงลองค้นดู พบว่า
             เคยแนะนำไว้ 2 ครั้ง คือ
             1. เมื่อ 2 มี.ค. 55 02:12:22 เกือบ 2 ปี
ความคิดเห็นที่ 313 [บางส่วน]
             เห็นเนื้อความด้านล่างนี้ หรือไม่?
             ท่านที่ระลึกชาติได้จำกัด เช่นระลึกได้ ๕๐๐ ชาติ แต่กรรมที่ทำไว้    
ทำไว้เมื่อชาติที่ ๕๕๐ ผู้ที่ระลึกชาติได้ ๕๐๐ ชาติก็ไม่สามารถระลึกได้ ...
//84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=25
การระลึกชาติเล็กน้อย และถ้าประกอบการพิจารณาที่ไม่ถูกทาง
ทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิได้.

             ตัวอย่างเช่น ในชาดกชื่อว่า มหานารทกัสสปชาดก
ชาดกนี้อาจเป็นชาดกแรก (ชาดกต้นๆ)
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐
             ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
             มหานารทกัสสปชาดก
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=28&A=5180&Z=5625
             ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=834
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/01/Y11540192/Y11540192.html#313

             2. เมื่อ 21:46 6/1/2557 เมื่อเดือนที่แล้ว.
ความคิดเห็นที่ 3-82 [บางส่วน]
             ตอบคำถามได้ครับ
             ขอเสริมกรณีที่ยกมาในข้อ 2 ด้วยชาดกชื่อว่า มหานารทกัสสปชาดก
             ในมหานารทกัสสปชาดก ได้แสดงว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง
ทรงเข้าไปหานักบวชผู้หนึ่งในจำพวกมิจฉาทิฏฐิ
             จากนั้น พระราชาทรงเชื่อและเลื่อมใสในมิจฉาทิฏฐินั้น ก็ทำการอัน
ถอยจากกุศลธรรมทั้งปวง เพราะเนื่องจากมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย.

             มหานารทกัสสปชาดก
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=28&A=5180&Z=5625
21:46 6/1/2557
//pantip.com/topic/31017445/comment3-82

ความคิดเห็นที่ 6-58
GravityOfLove, 27 กุมภาพันธ์ เวลา 22:46 น.

             เข้าใจว่า การระลึกชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสสติ) กับทิพยจักษุญาณ
เป็นคนละญาณกันไม่ใช่เหรอคะ

ความคิดเห็นที่ 6-59
ฐานาฐานะ, 27 กุมภาพันธ์ เวลา 22:54 น.

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
             เข้าใจว่า การระลึกชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสสติ) กับทิพยจักษุญาณ เป็นคนละญาณกัน
ไม่ใช่เหรอคะ
10:45 PM 2/27/2014

             ตอบว่า คนละญาณกันครับ.
             ในพระสูตรหลัก (มหากัมมวิภังคสูตร) กล่าวถึงทิพยจักษุญาณ.
แต่ในคำถามเบาๆ ถามถึงการระลึกชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสสติ)
             โปรดดูคำถามเบาๆ อีกครั้ง.
             คำถามเบาๆ ถัดไปว่า
             ในพระสูตรนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีทิพยจักษุญาณ ก็อาจจะถึงการเห็นผิดได้
ในพระสูตรที่ได้เคยศึกษามา ทั้งพระสูตรหลักและพระสูตรแนะนำ
มีพระสูตรใดหรือชาดก ที่แสดงตัวอย่างของผู้ที่ได้ญาณการระลึกชาติ
แต่ก็อาจเห็นผิดได้.

ความคิดเห็นที่ 6-60
GravityOfLove, 27 กุมภาพันธ์ เวลา 22:59 น.

อ่านคำถามเบาๆ ผิดนี่เองค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-61
ฐานาฐานะ, 27 กุมภาพันธ์ เวลา 23:00 น.

             รับทราบครับ.

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 26 มีนาคม 2557
Last Update : 26 มีนาคม 2557 10:38:53 น.
Counter : 334 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของชีวิต : กะว่าก๋า
(17 เม.ย. 2567 04:37:20 น.)
หลักของสติ **mp5**
(16 เม.ย. 2567 12:14:57 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 36 : กะว่าก๋า
(14 เม.ย. 2567 06:17:30 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 35 : กะว่าก๋า
(13 เม.ย. 2567 05:51:40 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด