25.3 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
25.2 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 3-26
GravityOfLove, 20 ธันวาคม 2556 เวลา 09:30 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๑๓. สัปปุริสสูตร ว่าด้วยธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2670&Z=2898&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงสัปปุริสธรรม (ธรรมของคนดี) และอสัปปุริสธรรม
(ธรรมของคนชั่ว) แก่ภิกษุทั้งหลายดังนี้
             อสัปปุริสธรรมเป็นอย่างไร คือ
             ๑. อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ออกจากสกุลสูง (ในที่นี้หมายถึงตระกูลกษัตริย์
หรือตระกูลพราหมณ์) บวชแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
             เราเป็นผู้ออกจากสกุลสูงบวชแล้ว ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้มิใช่เป็น
ผู้ออกจากสกุลสูงบวชแล้ว อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็น
ผู้มีสกุลสูงนั้น
ส่วนสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
             ธรรมคือความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป
เพราะความเป็นผู้มีสกุลสูงเลย
             ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ออกจากสกุลสูงบวชแล้ว แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชา
สรรเสริญเธอในที่นั้นๆ
             สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น (เป็นส่วนตัว ไม่โอ้อวด)
ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีสกุลสูงนั้น
             ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๖ ตรัสทำนองเดียวกัน
             ๒. อสัตบุรุษเป็นผู้ออกจากสกุลใหญ่ (ในที่นี้หมายถึงตระกูลกษัตริย์
ตระกูลพราหมณ์ หรือตระกูลแพศย์) ออกจากสกุลมีโภคะมาก (ทั้ง ๔ วรรณ)
             ๓. อสัตบุรุษเป็นผู้ปรากฏมียศ (ในที่นี้หมายถึงสมบูรณ์ด้วยบริวาร)
             ๔. อสัตบุรุษเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร
             ๕. อสัตบุรุษเป็นพหูสูต
             ๖. อสัตบุรุษเป็นพระวินัยธร (ภิกษุผู้ชำนาญวินัย)
             ๗. อสัตบุรุษเป็นพระธรรมกถึก (นักเทศก์)
             ๘. อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
             ๙. อสัตบุรุษเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
             ๑๐. อสัตบุรุษเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
             ๑๑. อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร
             ๑๒. อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร
             ๑๓. อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่กลางแจ้งเป็นวัตร
             ๑๔. อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร
             ๑๕. อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการนั่งตามลำดับอาสนะเป็นวัตร
             ๑๖. อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธุดงค์_13

             ๑๗. อสัตบุรุษสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
             เราเป็นผู้ได้ปฐมฌานสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ได้
ปฐมฌานสมาบัติ อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยปฐมฌานสมาบัตินั้น
             ส่วนสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้ปฐมฌานสมาบัติ
พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า ไม่มีตัณหาแล้ว (อตมฺมยตา) เพราะคนทั้งหลายสำคัญกัน
ด้วยเหตุใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่สำคัญนั้น
             (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปฐมฌานสมาบัติ คนทั้งหลายคิดว่า
ไม่มีตัณหาแล้วเพราะเหตุนั้นเหตุนี้ แต่จริงๆ ไม่เป็นอย่างที่คนทั้งหลายคิดกัน
คือยังมีตัณหาอยู่)
             สัตบุรุษนั้นทำความไม่มีตัณหาแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ด้วยปฐมฌานสมาบัตินั้น

พระไตรปิฏก ฉบับมหามกุฏ
บาลีในที่ทุกแห่งในสูตรนี้เป็น อคมฺมยตา ฉบับพม่า ยุโรป เป็น อตมฺมยตา แปลตามคำหลัง.

             ข้อ ๑๗ ถึงข้อ ๒๔ ตรัสทำนองเดียวกัน
             ๑๘. อสัตบุรุษเข้าทุติยฌาน
             ๑๙. อสัตบุรุษเข้าตติยฌาน
             ๒๐. อสัตบุรุษเข้าจตุตถฌาน
             ๒๑. อสัตบุรุษเข้าอากาสานัญจายตนฌาน
             ๒๒. อสัตบุรุษเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน
             ๒๓. อสัตบุรุษเข้าอากิญจัญญายตนฌาน
             ๒๔. อสัตบุรุษเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อรูป

สัตบุรุษล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา จึงมีอาสวะสิ้นไป
ภิกษุนี้แลย่อมไม่สำคัญอะไรๆ ย่อมไม่สำคัญที่ไหนๆ และไม่สำคัญด้วยเหตุไรๆ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัญญาเวทยิตนิโรธ&detail=on#find3

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม ยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 3-27
ฐานาฐานะ, 21 ธันวาคม 2556 เวลา 07:56 น.

GravityOfLove, 22 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๑๓. สัปปุริสสูตร ว่าด้วยธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2670&Z=2898&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
9:30 AM 12/20/2013

             ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 3-28
ฐานาฐานะ, 21 ธันวาคม 2556 เวลา 07:58 น.

              คำถามในสัปปุริสสูตร ว่าด้วยธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2670&Z=2898

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. พระสูตรนี้เคยได้สนทนาถามตอบกันมาก่อนหรือไม่? และที่กระทู้ใด?

ความคิดเห็นที่ 3-29
GravityOfLove, 21 ธันวาคม 2556 เวลา 13:16 น.

             ตอบคำถามในสัปปุริสสูตร ว่าด้วยธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2670&Z=2898

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ธรรมของอสัตบุรุษและธรรมของสัตบุรุษ
             ๒. ในบาลีพระสูตรนี้ธุดงค์มา ๙ ข้อเท่านั้น แต่โดยพิสดารธุดงค์นี้มี ๑๓ ข้อ
(ควรพิจารณาทั้งหมด)
             ๓. กรณีของสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีวาระของอสัตบุรุษ เพราะพระอริยบุคคล
ระดับพระอนาคามีและพระอรหันต์เท่านั้น วาระที่ว่าด้วยอสัตบุรุษจึงละไว้ (ไม่พูดถึง)
-------------------
             2. พระสูตรนี้เคยได้สนทนาถามตอบกันมาก่อนหรือไม่? และที่กระทู้ใด?
             เคยค่ะ ที่กระทู้ "ขอถามค่ะว่า พระสูตรไหนแสดงถึงการบรรลุพระอรหัตของท่านพระสารีบุตร"
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/02/Y11736976/Y11736976.html#184

ความคิดเห็นที่ 3-30
ฐานาฐานะ, 21 ธันวาคม 2556 เวลา 23:38 น.

GravityOfLove, 9 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในสัปปุริสสูตร ว่าด้วยธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2670&Z=2898
...
1:16 PM 12/21/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             อ่านทบทวนกระทู้ "ขอถามค่ะว่า พระสูตรไหนแสดงถึงการบรรลุพระอรหัตของท่านพระสารีบุตร"
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/02/Y11736976/Y11736976.html#184

             จำได้ว่า มีการถามตอบในพระสูตรนี้มากอยู่ แต่จำไม่ได้ว่า อะไรเป็นบทเชื่อมไปถึงพระสูตรนี้
จึงอ่านทบทวนอยู่เห็นความคิดเห็นที่ 152 (ผ่านมาหนึ่งปีเก้าเดือน) แสดงว่า
             เพราะอ่านรวดเร็วมาก จึงสำรองพระสูตรนี้.

ความคิดเห็นที่ 152
             เนื่องจากการอ่านที่รวดเร็วมากของคุณ GravityOfLove
และพรุ่งนี้ (วันอาทิตย์) ผมอาจจะไม่อยู่ จึงเห็นว่า ควรสำรองพระสูตร
ไว้ก่อน 1 พระสูตรสั้นๆ.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
             สัปปุริสสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=2670&Z=2898
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=178
จากคุณ      : ฐานาฐานะ
เขียนเมื่อ    : 17 มี.ค. 55 23:38:24

ความคิดเห็นที่ 3-31
ฐานาฐานะ, 21 ธันวาคม 2556 เวลา 23:40 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สัปปุริสสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2445&Z=2669

              พระสูตรหลักถัดไป คือเสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร [พระสูตรที่ 13].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2899&Z=3431
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=198

              พหุธาตุกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3432&Z=3646
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=234

ความคิดเห็นที่ 3-32
GravityOfLove, 21 ธันวาคม 2556 เวลา 23:50 น.

ขอบพระคุณค่ะ (และที่ไม่ถามว่าอะไรเป็นบทเชื่อม เพราะก็ลืมแล้ว)
             คำถามเสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2899&Z=3431

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. [๒๐๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางใจมีรูปอย่างไร
อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล
บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา
             [๒๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตมีรูปอย่างไร
อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคน
ในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีใจสหรคตด้วยอภิชฌาอยู่
             [๒๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความได้สัญญามีรูปอย่างไร
อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล
บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาสหรคตด้วยอภิชฌาอยู่
             ตรงที่ขีดเส้นใต้ ต่างกันอย่างไรคะ
             ๒. เมื่อเสพความได้อัตภาพมีรูปอย่างไร อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป
คือเพราะบุคคลที่เกิดมา ครองการได้อัตภาพอย่างบกพร่อง เป็นผู้ไม่สมประกอบเป็นเหตุ
             ๓. จีวร บิณบาต เสนาสนะ ที่ควรเสพไม่ควรเสพ ไม่มีคิลานปัจจัย
เพราะคิลานปัจจัยมีแต่ที่ควรเสพใช่ไหมคะ
             ๔. หัวข้อต่อไปนี้ในอรรถกถา ไม่เข้าใจเลยค่ะ และอธิบายตอนไหนในพระไตรปิฎกคะ
             พระอนาคามียังมีภวตัณหา, อัตภาพไม่มีทุกข์ของปุถุชน, ทุกข์ไม่มีแก่ท่านผู้ไม่มีปฏิสนธิ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-33
ฐานาฐานะ, 23 ธันวาคม 2556 เวลา 12:08 น.

GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ (และที่ไม่ถามว่าอะไรเป็นบทเชื่อม เพราะก็ลืมแล้ว)
              คำถามเสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2899&Z=3431

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. [๒๐๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางใจมีรูปอย่างไร
อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล
บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา
              [๒๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตมีรูปอย่างไร
อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคน
ในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีใจสหรคตด้วยอภิชฌาอยู่
              [๒๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความได้สัญญามีรูปอย่างไร
อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล
บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาสหรคตด้วยอภิชฌาอยู่
              ตรงที่ขีดเส้นใต้ ต่างกันอย่างไรคะ
ตอบว่า สันนิษฐานว่า ในข้อ 207, 210 และ 213 นัยอย่างละเอียดนั้นแตกต่างกัน
กล่าวคือ อรรถกถาอธิบายข้อ 210 และ 213 ดังนี้ :-

              ในจิตตุปบาท ควรทราบอภิชฌาเป็นต้นว่า ไม่ถึงกรรมบถ๑- ก็หามิได้. (คือถึงกรรมบถ)
____________________________
๑- บางปกรณ์ว่า อภิชฌาไม่ถึงกรรมบถ

              ในวาระที่ว่าด้วยการได้สัญญา ตรัสบททั้งหลายเป็นต้นว่า อภิชฺฌา สหคตาย สญฺญาย
(มีสัญญาอันไปร่วมกับอภิชฌา) ดังนี้ เพื่อทรงแสดงกามสัญญาเป็นต้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=198

              ที่ว่า สันนิษฐานว่า ในข้อ 207 210 213 นัยอย่างละเอียดนั้นแตกต่างกัน
              น่าจะลดหลั่นลงมาก หรือนัยว่า แสดงถึงความละเอียดของต้นตอ.
              เช่น บุคคลเพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น จัดเป็นความประพฤติทางใจ
              แต่หากขัดเกลาอย่างละเอียด ก็พิจารณาต้นเหตุว่า เพราะความสำคัญหมายว่า
สิ่งนั้นน่าใคร่ น่ากำหนัด (กามสัญญา) เกิดขึ้นก่อน จึงเพ่งเล็งอยากได้ ดังนี้แล้ว
ก็พึงระงับความสำคัญหมายหรือสัญญานั้นๆ ก่อนที่จะลุกลามต่อไป.
              สันนิษฐานล้วน.

              ๒. เมื่อเสพความได้อัตภาพมีรูปอย่างไร อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป
คือเพราะบุคคลที่เกิดมา ครองการได้อัตภาพอย่างบกพร่อง เป็นผู้ไม่สมประกอบเป็นเหตุ
ตอบว่า บุคคลบางคนเกิดมา เป็นง่อย แขนไม่ครบ ขาไม่ครบ ตาบอด
หูหนวกแต่กำเนิดเป็นต้น ไม่อาจเจริญกุศลให้ถึงมรรคผลได้เลย
สงเคราะห์เข้าอขณะข้อที่ ๗ ในอักขณสูตร
              และ/หรือ เมื่อเป็นอยู่อย่างนั้น มักน้อยใจ เสียใจ โกรธแค้น หรือริษยา
ต่อบุคคลอื่นที่สมประกอบเป็นต้น.

              อักขณสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4639&Z=4716

              ๓. จีวร บิณบาต เสนาสนะ ที่ควรเสพไม่ควรเสพ ไม่มีคิลานปัจจัย
เพราะคิลานปัจจัยมีแต่ที่ควรเสพใช่ไหมคะ
ตอบว่า บิณบาต แก้ไขเป็น บิณฑบาต
              สันนิษฐานว่า คิลานปัจจัย เป็นปัจจัยสำหรับผู้อาพาธเท่านั้น
กล่าวคือ จำเป็นในภาวะที่เจ็บป่วย ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่า อาจไม่ควรยก
เป็นหัวข้อเอกเทศต่างหาก.

              ๔. หัวข้อต่อไปนี้ในอรรถกถา ไม่เข้าใจเลยค่ะ และอธิบายตอนไหนในพระไตรปิฎกคะ
              พระอนาคามียังมีภวตัณหา, อัตภาพไม่มีทุกข์ของปุถุชน, ทุกข์ไม่มีแก่ท่านผู้ไม่มีปฏิสนธิ
ตอบว่า อธิบายในข้อ 219-220
              ดูจากเนื้อความ และบาลี 2-3 คำ คือ สพฺยาปชฌํ อปรินิฏฺฐิตภาวาย อพฺยาปชฺณํ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=219&Roman=0
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=220&Roman=0

ความคิดเห็นที่ 3-34
GravityOfLove, 23 ธันวาคม 2556 เวลา 12:22 น.

             ๑. ยังงงค่ะ พอจะยกตัวอย่างได้ไหมคะ
             ๔.  พระอนาคามียังมีภวตัณหา, อัตภาพไม่มีทุกข์ของปุถุชน, ทุกข์ไม่มีแก่ท่านผู้ไม่มีปฏิสนธิ
             ตรงเนื้อหาก็ไม่เข้าใจค่ะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-35
ฐานาฐานะ, 23 ธันวาคม 2556 เวลา 12:48 น.

GravityOfLove, 22 นาทีที่แล้ว
             ๑. ยังงงค่ะ พอจะยกตัวอย่างได้ไหมคะ
             ๔.  พระอนาคามียังมีภวตัณหา, อัตภาพไม่มีทุกข์ของปุถุชน, ทุกข์ไม่มีแก่ท่านผู้ไม่มีปฏิสนธิ
             ตรงเนื้อหาก็ไม่เข้าใจค่ะ
             ขอบพระคุณค่ะ
12:22 PM 12/23/2013
             คำถามข้อ 4 นี้ เปิดดูพระไตรปิฏกฉบับอื่นแล้ว
ปรากฎว่า ฉบับมหามกุฎและมหาจุฬาฯ แปลแตกต่างจาก
ฉบับสยามรัฐ ขอเวลาสักหน่อยก่อนครับ.

ความคิดเห็นที่ 3-36
ฐานาฐานะ, 23 ธันวาคม 2556 เวลา 14:16 น.

GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
              ๑. ยังงงค่ะ พอจะยกตัวอย่างได้ไหมคะ
              อธิบายว่า พอยกตัวอย่างด้วยความประพฤติทางกาย แล้วเทียบเคียงดังนี้ :-
              บุคคลทำกาเมสุมิจฉาจาร นี้จัดเป็นความประพฤติทางกาย
              แต่ก่อนหน้านั้น เขาต้องมีความสำคัญหมายที่เป็นอกุศลก่อน
คือสำคัญหมายว่า น่ากำหนัด น่าใคร่ในวัตถุกามนั้น ความสำคัญหมาย (สัญญา)
ไม่ควรเสพ เพราะจะทำให้เจริญเป็นกาเมสุมิจฉาจารได้เป็นต้น.

              ๔.  พระอนาคามียังมีภวตัณหา, อัตภาพไม่มีทุกข์ของปุถุชน, ทุกข์ไม่มีแก่ท่านผู้ไม่มีปฏิสนธิ
              ตรงเนื้อหาก็ไม่เข้าใจค่ะ
              ขอบพระคุณค่ะ
12:22 PM 12/23/2013

              ฉบับสยามรัฐ
              [๒๑๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความได้อัตภาพมีรูปอย่างไร
อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะบุคคล
ที่เกิดมา ครองการได้อัตภาพอย่างบกพร่อง เป็นผู้ไม่สมประกอบเป็นเหตุ อกุศล-
*ธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ฯ
              [๒๒๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความได้อัตภาพมีรูปอย่างไร
อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะบุคคลที่
เกิดมา ครองการได้อัตภาพอย่างไม่บกพร่อง เป็นผู้สมประกอบเป็นเหตุ อกุศล-
*ธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ฯ
              ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้
อัตภาพโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่าง
นั้น แต่ละอย่างเป็นความได้อัตภาพด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความ
ดังนี้ ตรัสแล้ว ฯ
              ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อ มิได้
ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้แล ข้าพระองค์ทราบเนื้อความโดยพิสดาร
อย่างนี้ ฯ

              ฉบับมหามกุฏฯ
              [๒๑๙]  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  เมื่อบุคคลเสพ  การกลับได้อัตภาพ
แบบไร  อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น  แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.
              ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุที่บุคคลผู้ยังการกลับได้อัตภาพที่เป็น  
ทุกข์ให้เกิดขึ้น   ยังไม่สิ้นสุดลง (ยังไม่สิ้นภพ)   อกุศลธรรมทั้งหลาย  จะเจริญ
ขึ้น   แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.
              การกลับได้อัตภาพที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อมแต่กุศลธรรมเจริญ
              [๒๒๐]  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  เมื่อบุคคลเสพ  การกลับได้อัตภาพ
แบบไหน  อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง  แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.
              ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   เพราะเหตุที่บุคคลผู้ยังการได้อัตภาพที่ไม่เป็น
ทุกข์ให้เกิดขึ้น     สิ้นสุดลงแล้ว   (สิ้นภพแล้ว)   อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อม
สิ้นลง   แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.
              ข้อที่   พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสไว้อย่างนี้ว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราตถาคต   กล่าวการกลับได้อัตภาพไว้ ๒ อย่าง คือ   ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่
ควรเสพอย่าง ๑  และทั้งสองอย่าง  ต่างก็เป็น  การกลับได้อัตภาพ  ด้วยกัน
พระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงอาศัยความข้อนี้   จึงได้ตรัสไว้อย่างนี้   ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ      เนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้แล      ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้โดยสังเขป  ไม่ได้ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร  ข้าพระองค์เข้าใจ
โดยพิสดารอย่างนี้.

              ฉบับมหาจุฬาฯ
              การได้อัตภาพ ๒ ประการ
              [๑๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการ
ได้อัตภาพไว้ ๒ ประการ คือ
              ๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ
              ๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ
              การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน’
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
              เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
การได้อัตภาพเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น การได้อัตภาพเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
              คือ เมื่อบุคคลยังการได้อัตภาพ อันมีความเบียดเบียนให้เกิดขึ้น เพราะการ
ได้อัตภาพอันมีความเบียดเบียนยังไม่สิ้นสุดลง อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
              เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
              คือ เมื่อบุคคลยังการได้อัตภาพ อันไม่มีความเบียดเบียนให้เกิดขึ้น เพราะ
การได้อัตภาพอันไม่มีความเบียดเบียนสิ้นสุดลงแล้ว อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
              พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้อัตภาพ
ไว้ ๒ ประการ คือ
              ๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ
              ๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ
              การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้
              ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้
//www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd14-2.htm

              อรรถกถาอธิบายตามนัยของฉบับมหามกุฏ
              สันนิษฐานว่า อัตภาพที่เป็นทุกข์ คือการที่ปุถุชนหรือพระเสขบุคคลก็ตาม
ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต กล่าวคือยังมีอาสวะอยู่ เป็นอันอกุศลก็ย่อเจริญได้อยู่.
              ปุถุชนหรือพระเสขบุคคล บำเพ็ญสมณธรรมแล้วบรรลุพระอรหัต เป็นอันว่า
อัตภาพที่ไม่เป็นทุกข์ให้เกิดขึ้น สิ้นสุดลงแล้ว (สิ้นภพแล้ว)
              นัยก็คือ การยังไม่บรรลุพระอรหัต เป็นอันยังมีทุกข์ ยังเป็นโอกาสของ
การเจริญของอกุศลธรรม ดังนั้นการยังไม่บรรลุพระอรหัต จึงควรถูกตำหนิ
หรือกล่าวว่า ไม่ควรเสพ.

ความคิดเห็นที่ 3-37
GravityOfLove, 23 ธันวาคม 2556 เวลา 16:36 น.

แฮ่ๆ ไม่เข้าใจค่ะ
ถามใหม่ กรุณาอธิบาย ๓ บรรทัดนี้ค่ะ
- เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา
- เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีใจสหรคตด้วยอภิชฌาอยู่
- เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาสหรคตด้วยอภิชฌาอยู่
ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที



Create Date : 22 มกราคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:23:32 น.
Counter : 435 Pageviews.

0 comments
หลักปฏิบัติ ปัญญา Dh
(18 เม.ย. 2567 19:08:42 น.)
: รูปแบบของการค้นพบตนเอง : กะว่าก๋า
(16 เม.ย. 2567 06:05:58 น.)
: รูปแบบของการตระหนักในการรับรู้ : กะว่าก๋า
(15 เม.ย. 2567 05:37:45 น.)
เติมให้ความมี เติมให้ความไม่มี ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2567 20:54:29 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด