25.2 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
25.1 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=17-12-2013&group=3&gblog=10

ความคิดเห็นที่ 3-15
ฐานาฐานะ, 19 ธันวาคม 2556 เวลา 00:54 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
              คำถามฉวิโสธนสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2445&Z=2669

              หลักตรวจสอบ ๖ ประการ นับอย่างไรคะ แกรวิตี้นับได้ ๕ ข้อเท่านั้นเอง
              คือ ๑ โวหาร ๒ ขันธ์ ๓ ธาตุ ๔ อายตนะ ๕ อนุสัย
8:58 PM 12/18/2013

              ผมก็นับได้ 5 ข้อเหมือนกัน
              แต่ในอรรถกถากล่าวว่า
              ฉัพพิโสธนิยธรรม
              ในพระสูตรนี้ (ธรรม) ๖ หมวดนี้ คือ โวหาร ๔ ขันธ์ ๕ ธาตุ ๖
อายตนะภายในและอายตนะภายนอก ๖ กายที่มีวิญญาณของตน ๑
กายที่มีวิญญาณของคนอื่น ๑ เป็นธรรมบริสุทธิ์หมดจดแล้ว
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ฉัพพิโสธนิยะ.
              ส่วนพระปรสมุททวาสีเถระกล่าวหมวด (ธรรม) ๖ หมวด โดยรวม
กายที่มีวิญญาณของตนกับของคนอื่นเข้าเป็นหมวดเดียวกันกับอาหาร ๔.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=166

              ย่อหน้าแรก เทียบเป็น
๑ โวหาร = โวหาร ๔
๒ ขันธ์ = ขันธ์ ๕
๓ ธาตุ = ธาตุ ๖
๔ อายตนะ = อายตนะภายในและอายตนะภายนอก ๖
๕ อนุสัย = ถอนอนุสัยในกายที่มีวิญญาณของตน ๑
ข้อ 6 ถอนอนุสัยในกายที่มีวิญญาณของคนอื่น ๑

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนาว่า
สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ก็เมื่อท่านผู้มีอายุ รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร
จึงถอนอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้
และในนิมิตทั้งหมด ในภายนอกได้ด้วยดี ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?14/171

              ในกายอันมีวิญญาณนี้ << ข้อ 5
และในนิมิตทั้งหมด ในภายนอกได้ด้วยดี ฯ << ข้อ 6

ความคิดเห็นที่ 3-16
GravityOfLove, 19 ธันวาคม 2556 เวลา 10:53 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-17
GravityOfLove, 19 ธันวาคม 2556 เวลา 11:03 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๑๒. ฉวิโสธนสูตร ว่าด้วยหลักการตรวจสอบ ๖ ประการ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2445&Z=2669&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า
             ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ
เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
             พวกเธออย่าเพิ่งยินดี อย่าเพิ่งคัดค้านคำกล่าวของภิกษุรูปนั้น ครั้นไม่
ยินดีไม่คัดค้านแล้ว พึงถามปัญหาเธอว่า
๑. โวหาร ๔
             โวหารอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบ นี้มี ๔ ประการคือ
             (๑) คำกล่าวว่า เห็นในอารมณ์ที่ตนเห็นแล้ว
             (๒) คำกล่าวว่า ได้ยินในอารมณ์ที่ตนฟังแล้ว
             (๓) คำกล่าวว่า ทราบในอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว
             (๔) คำกล่าวว่า รู้ชัดในอารมณ์ที่ตนรู้ชัดแล้ว
             จิตของท่าน ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ
ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้
             ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว
พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า
             ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในโวหาร ๔ นี้ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
             จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้ จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ
ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังโยชน์_10
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาสวะ_3

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม
อนุโมทนาว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า

๒. ขันธ์ ๕
             อุปาทานขันธ์อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธตรัสไว้ชอบ นี้มี ๕ ประการคือ
             รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์
วิญญาณูปาทานขันธ์
             จิตของท่าน ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ
ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้
             ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ... จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า
             ข้าพเจ้ารู้แจ้งขันธ์ ๕ (มีรูป เป็นต้น) แล้วว่า ไม่มีกำลัง ปราศจาก
ความน่ารัก มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ จึงทราบชัดว่า
             จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่ง
อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในขันธ์นั้น และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นใน
ขันธ์นั้นได้
             จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ
ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ขันธ์_5
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุปาทานขันธ์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม
อนุโมทนาว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า

๓. ธาตุ ๖
             ธาตุอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธตรัสไว้ชอบ นี้มี ๖ ประการคือ
             ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ
             จิตของท่าน ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ
ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้
             ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ... จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า
             ข้าพเจ้าครองธาตุ ๖ (มีปฐวีธาตุ เป็นต้น) โดยความเป็นอนัตตา
มิใช่ครองอัตตาอาศัยปฐวีธาตุเลย (และมิได้ยึดมั่นอัตตาที่อาศัยปฐวีธาตุ)
             จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ
และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยปฐวีธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจ
และความปักใจมั่นอาศัยปฐวีธาตุได้
             จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ
ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธาตุ_6

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนา
ว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า

๔. อายตนะภายในและอายตนะภายนอก ๖
             อายตนะภายใน อายตนะภายนอก อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบ นี้มีอย่างละ ๖ คือ
             จักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่น ชิวหาและรส กายและโผฏฐัพพะ
มโนและธรรมารมณ์
             จิตของท่าน ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ
ไม่ยึดมั่นในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้
             ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ... จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า
             ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ
สละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น
และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่น ในจักษุ ในรูป ในจักษุวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ
             อายตนะที่เหลือ ตรัสทำนองเดียวกัน
             จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ
ไม่ยึดมั่นในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะ_12


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนา
ว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า

๕. ถอนอนุสัยในกายที่มีวิญญาณของตน และ
๖. ถอนอนุสัยในนิมิตทั้งหมด ในภายนอก (ถอนอนุสัยในกายที่มีวิญญาณของคนอื่น)
             เมื่อท่านรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงถอนอนุสัยคือความถือตัว
ว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้และในนิมิตทั้งหมด
ในภายนอกได้ด้วยดี
             ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ... จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า
             เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นผู้ครองเรือน ยังเป็นผู้ไม่รู้ พระตถาคตบ้าง
สาวกของพระตถาคตบ้าง แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าฟังธรรมนั้นแล้ว
จึงได้ความเชื่อในพระตถาคต
             ข้าพเจ้าประกอบด้วยการได้ความเชื่อโดยเฉพาะนั้น จึงพิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ การอยู่ครองเรือนแล้วจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
บริบูรณ์ไม่ใช่ทำได้ง่าย เราพึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด
             ข้าพเจ้าเมื่อเป็นผู้บวชแล้วอย่างนี้ ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพของภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะละปาณาติบาต ... เป็นผู้เว้นขาดจากการปล้น และการกรรโชก
             ข้าพเจ้าได้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรและบิณฑบาต
             ข้าพเจ้าประกอบด้วยศีลขันธ์ของพระอริยะเช่นนี้แล้ว จึงได้
เสวยสุขอันปราศจากโทษภายใน เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต
และโดยอนุพยัญชนะ ปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ (อินทรียสังวร) ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่
พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
             ข้าพเจ้าประกอบด้วยอินทรียสังวรของพระอริยะเช่นนี้แล้ว จึงได้
เสวยสุขอันไม่เจือทุกข์ภายใน ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะของพระอริยะ
             ข้าพเจ้ากลับจากบิณฑบาต นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น
เฉพาะหน้า ละนิวรณ์ ๕
             ข้าพเจ้าครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
ทำปัญญาให้ถอยกำลังแล้ว จึงได้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌาน จนถึงจตุตถฌาน
             ข้าพเจ้าเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
อย่างนี้แล้ว จึงได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
             ข้าพเจ้าได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ที่ดับทุกข์
นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์
             ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ที่ดับอาสวะ
นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับอาสวะ
             เมื่อข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้
จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
             เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี
             เมื่อข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ จึงถอนอนุสัยคือความถือตัวว่า
เป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก
ได้ด้วยดี
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนา
ว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงกล่าวแก่ภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า
             เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้ว ที่พิจารณาเห็นท่าน
เช่นตัวท่านเป็นสพรหมจารี
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สิกขา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สาชีพ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สันโดษ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อินทรีย์สังวร&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธรรมมีอุปการะมาก_2
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิวรณ์_5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาสวักขยญาณ&detail=on

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม #3-18]

ความคิดเห็นที่ 3-18
ฐานาฐานะ, 20 ธันวาคม 2556 เวลา 05:25 น.

GravityOfLove, 7 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๑๒. ฉวิโสธนสูตร (๑๑๒) ว่าด้วยหลักการตรวจสอบ ๖ ประการ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2445&Z=2669&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
11:02 AM 12/19/2013
             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :-
สาวกของพระตถาคตบ้าง แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้านั้นข้าพเจ้าฟังธรรมนั้นแล้ว
             แก้ไขเป็น
สาวกของพระตถาคตบ้าง แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าฟังธรรมนั้นแล้ว

ความคิดเห็นที่ 3-19
ฐานาฐานะ, 20 ธันวาคม 2556 เวลา 05:26 น.

              คำถามในฉวิโสธนสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2445&Z=2669

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 3-20
GravityOfLove, 20 ธันวาคม 2556 เวลา 08:37 น.

             ตอบคำถามในฉวิโสธนสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2445&Z=2669

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. อย่าเพิ่งยินดี อย่าเพิ่งคัดค้านภิกษุที่บอกว่า ตนบรรลุอรหันต์แล้ว
เพราะภิกษุบางรูปแม้ยังเป็นปุถุชนอยู่ก็ย่อมมีปฏิปทาเหมือนข้อปฏิบัติ
อย่างพระขีณาสพ
             ให้ใช้หลักการตรวจสอบ ๖ ประการ
             ๒. เรื่องการพิสูจน์ว่าพระภิกษุเป็นพระอรหันต์หรือไม่
พระอรหันต์จะไม่มีความกลัว ไม่สะดุ้ง ไม่มีความอยากในรส เป็นต้น

ความคิดเห็นที่ 3-21
ฐานาฐานะ, 20 ธันวาคม 2556 เวลา 08:52 น.

GravityOfLove, 6 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในฉวิโสธนสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2445&Z=2669
...
8:37 AM 12/20/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             เพิ่มเติมดังนี้ :-
             อรรถกถา :-
             ก็ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต ฉลาดในการเล่าเรียนและการสอบถาม
ย่อมสามารถชำระฐานะ ๖ ประการเหล่านี้ให้หมดจด. แต่สำหรับภิกษุนี้ควรชำระ
ปฏิปทาอันเป็นเครื่องบรรลุขั้นต้น. หากปฏิปทาเป็นเครื่องบรรลุขั้นต้นยังไม่บริสุทธิ์
ควรปลีกออก (จากปฏิญญาของตน) ชื่อว่าโลกุตรธรรมทั้งหลาย เราจะไม่ได้ด้วยปฏิปทานี้.
              แต่ถ้า ปฏิปทาเครื่องบรรลุขั้นต้นของท่านหมดจด ปรากฏว่าภิกษุนี้ไม่ประมาท
ในสิกขา ๓ ประกอบความเพียร ไม่ติดในปัจจัย มีจิตเสมอเหมือนนกในห้วงอากาศ
อยู่ตลอดกาลนาน.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=166

             นัยว่า หากภิกษุที่บอกว่า ตนบรรลุอรหันต์แล้ว แต่เป็นผู้ไม่สมบูรณ์ในสิกขา
เช่น มีปกติละเมิดพระวินัย เช่น บริโภคในยามวิกาล ขับร้องฮัมเพลง หรือมีปกติหลงๆ ลืมๆ ฯลฯ
ดังนี้ ก็สามารถระบุได้ว่า คำที่ท่านกล่าวมานั้น ไม่เป็นความจริง.

ความคิดเห็นที่ 3-22
GravityOfLove, 20 ธันวาคม 2556 เวลา 08:55 น.

มีกล่าวถึงฝันไหมคะ เคยได้ยินแว่วๆ ว่า พระอรหันต์ไม่ฝัน
หรือถ้าอยู่ในพระอภิธรรมปิฎก (อีกนานกว่าจะเรียนถึง) เอาไว้ก่อนก็ได้ค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-23
ฐานาฐานะ, 20 ธันวาคม 2556 เวลา 09:05 น.

       อรรถกถาสุปินสูตรที่ ๖
       แม้เพราะความเกี่ยวข้องของมูลเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้ต่างกัน ฝันจึงต่างกันไป
ฝันแม้ทั้ง ๔ นั้น พระเสกขะและปุถุชนย่อมฝัน เพราะยังละวิปัลลาสไม่ได้.
พระอเสกขะไม่ฝัน เพราะละวิปัลลาสได้แล้ว.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=196

ความคิดเห็นที่ 3-24
GravityOfLove, 20 ธันวาคม 2556 เวลา 09:06 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-25
ฐานาฐานะ, 20 ธันวาคม 2556 เวลา 09:13 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ฉวิโสธนสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2445&Z=2669

              พระสูตรหลักถัดไป คือสัปปุริสสูตร [พระสูตรที่ 12].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              สัปปุริสสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2670&Z=2898
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=178

              เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2899&Z=3431
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=198

              พหุธาตุกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3432&Z=3646
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=234

ย้ายไปที



Create Date : 22 มกราคม 2557
Last Update : 28 กรกฎาคม 2558 19:08:10 น.
Counter : 635 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มกราคม 2557

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog