25.1 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
24.11 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1]

ความคิดเห็นที่ 3-3
GravityOfLove, 17 ธันวาคม 2556 เวลา 10:07 น.

ขอบพระคุณค่ะ
             ๓. แต่อาจจะมีบางคนแย้งได้ว่า ท่านพระสารีบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม
บรรลุโสดาบัน เมื่อฟังธรรมจากท่านพระอัสสชิเถระ.
             แย้งว่าอะไรคะ ไม่เข้าใจค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-4
ฐานาฐานะ, 17 ธันวาคม 2556 เวลา 16:31 น.

GravityOfLove, 6 ชั่วโมงที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
             ๓. แต่อาจจะมีบางคนแย้งได้ว่า ท่านพระสารีบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม
บรรลุโสดาบัน เมื่อฟังธรรมจากท่านพระอัสสชิเถระ.
             แย้งว่าอะไรคะ ไม่เข้าใจค่ะ
10:06 AM 12/17/2013
             ตอบว่า
             ๓. ชื่อว่าปัญญาคม เพราะอริยมรรค ๔ สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔
และอภิญญา ๖ ย่อมเป็นอันบุคคลนี้บรรลุแล้ว คือทำให้แจ้งแล้ว
ได้แก่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาในอาสนะเดียว. << แปลว่าอะไรคะ

             แย้งว่า ท่านพระสารีบุตรนั่งบัลลังก์เดียวครั้งสุดท้ายในทีฆนขสูตรว่า
ได้มรรค 3 ผล 3 เพราะมรรคที่หนึ่งได้แล้วเมื่อฟังธรรมจากท่านพระอัสสชิเถระ.
             กล่าวคือ ไม่ใช่ได้ทั้ง 4 ในอาสนะเดียว.

ความคิดเห็นที่ 3-5
GravityOfLove, 17 ธันวาคม 2556 เวลา 16:38 น.

เข้าใจแล้วค่ะ  ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-6
GravityOfLove, 17 ธันวาคม 2556 เวลา 10:15 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๑๑. อนุปทสูตร ว่าด้วยธรรมตามลำดับบท
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2324&Z=2444&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี
             สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
(ตรัสเพราะคุณความดีทั้งหลายของท่านพระสารีบุตรผู้มีปัญญา ใครไม่อาจรู้เพราะไม่ได้กล่าวไว้)
             ๑. สารีบุตรเป็นบัณฑิต1
             ๒. มีปัญญามาก2
             ๓. มีปัญญากว้างขวาง3
             ๔. มีปัญญาร่าเริง4
             ๕. มีปัญญาว่องไว (รวดเร็ว)5
             ๖. มีปัญญาเฉียบแหลม6
             ๗. มีปัญญาทำลายกิเลส7
             สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน
             ในการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบท (ด้วยสามารถแห่งสมาบัติหรือองค์ฌาน)
ของสารีบุตรนั้น เป็นดังต่อไปนี้
             ๑. สารีบุตรสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
             ก็ธรรมในปฐมฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา
(ความที่จิตมีอารมณ์เดียว) ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ
อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตร
กำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่
และถึงความดับ
             เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา
ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่
พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจาก
เขตแดนได้แล้วอยู่
             ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็น
ต่อไปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งขึ้นยังมีอยู่ เพราะกระทำความรู้
นั้นให้มากขึ้น
             ๒. สารีบุตรเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน
มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
             ก็ธรรมในทุติยฌาน คือ ความผ่องใสแห่งใจภายใน ปีติ สุข
จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์
วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท
เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ
             เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ... เพราะกระทำความรู้นั้นให้มากขึ้น
             ๓. สารีบุตรเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่
และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า
ผู้วางเฉย มีสติอยู่ เป็นสุขอยู่
             ก็ธรรมในตติยฌานคือ อุเบกขา สุข สติ สัมปชัญญะ จิตเตกัคคตา
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา
มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ
             เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ... เพราะกระทำความรู้นั้นให้มากขึ้น
             ๔. สารีบุตรเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
             ก็ธรรมในจตุตถฌาน คือ อุเบกขา อทุกขมสุขเวทนา
ความไม่คำนึงแห่งใจ เพราะบริสุทธิ์แล้ว สติบริสุทธิ์ จิตเตกัคคตา ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ
เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ
             เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ... เพราะกระทำความรู้นั้นให้มากขึ้น
             ๕. สารีบุตรเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า
อากาศไม่มีที่สุด อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง
เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา
             ก็ธรรมในอากาสานัญจายตนฌาน คือ อากาสานัญจายตนสัญญา
จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ
สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอัน
สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ
             เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ... เพราะกระทำความรู้นั้นให้มากขึ้น
             ๖. สารีบุตรล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่
             ก็ธรรมในวิญญาณัญจายตนฌาน คือ วิญญาณัญจายตนฌาน
จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์
วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท
เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ
             เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ... เพราะกระทำความรู้นั้นให้มากขึ้น
             ๗. สารีบุตรล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรสักน้อยหนึ่งอยู่
             ก็ธรรมในอากิญจัญญายตนฌาน คือ อากิญจัญญายตนฌาน
จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์
วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท
เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ
             เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ... เพราะกระทำความรู้นั้นให้มากขึ้น
             ๘. สารีบุตรล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ เธอเป็นผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น
             เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ... เพราะกระทำความรู้นั้นให้มากขึ้น
             ๙. สารีบุตรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะของเธอจึงเป็นอันสิ้นไป
เธอย่อมมีสติออกจากสมาบัตินั้น
             ครั้นแล้วย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า
ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้ว
ในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
             ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็น
ต่อไปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งขึ้นยังมีอยู่ เพราะกระทำความรู้
นั้นให้มากขึ้น
             ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็นผู้ถึงความชำนาญ (วสี)
ถึงความสำเร็จ (บารมี) ในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ในอริยวิมุติ
ภิกษุรูปนั้นคือ สารีบุตรนั่นเอง
             ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็นบุตร เป็นโอรสของ
พระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม
อันธรรมเนรมิต เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส ภิกษุรูปนั้น
คือสารีบุตรนั่นเอง
             สารีบุตรย่อมประกาศธรรมจักร อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
ที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว ไปตามลำดับโดยชอบทีเดียว
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

             [อรรถกถา]
1 เป็นบัณฑิตด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ
             (1) ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ
             (2) ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ
             (3) ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท
             (4) ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ และอฐานะ (เหตุที่เป็นไปได้ และเป็นไปไม่ได้)
2 ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดถือเอาคุณคือศีล ปัญญา
สมาธิ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ฐานะและอฐานะ สมาบัติเป็นเครื่องอยู่
อริยสัจ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์
อริยมรรค สามัญญผล อภิญญา นิพพานอันเป็นปรมัตถ์ มาก
3 ชื่อว่าปัญญากว้าง เพราะญาณ (ปัญญา) กว้าง
เป็นไปในขันธ์ต่างๆ ธาตุต่างๆ อายตนะต่างๆ ปฏิจจสมุปบาทต่างๆ
การได้สุญญตาต่างๆ ในอรรถ ธรรม นิรุตติ ปฏิภาณต่างๆ กว้าง
             ในคุณคือศีลต่างๆ สมาธิ ปัญญา วิมุตติ
และวิมุตติญาณทัสสนะต่างๆ ในฐานะและมิใช่ฐานะต่างๆ
ในสมาบัติเครื่องอยู่ต่างๆ ในอริยสัจต่างๆ ในสติปัฏฐานต่างๆ
ในสัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ต่างๆ
ในอริยมรรค สามัญผล อภิญญาต่างๆ ในนิพพานอันเป็นปรมัตถ์
ล่วงธรรมอันทั่วไปแก่ชนต่างๆ
4 ชื่อว่าปัญญาร่าเริง เพราะมากด้วยความร่าเริง
มากด้วยความรู้ มากด้วยความยินดี มากด้วยความปราโมทย์
บำเพ็ญศีล บำเพ็ญอินทรีย์สังวร บำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค
ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์
             เป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ รู้แจ้งฐานะและมิใช่ฐานะ
บำเพ็ญสมาบัติเป็นเครื่องอยู่ให้บริบูรณ์ แทงตลอดอริยสัจ
ยังสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค
ให้เจริญ
             ทำให้แจ้งสามัญผล แทงตลอดอภิญญาทั้งหลาย มากด้วยความรู้
ความยินดีและความปราโมทย์ กระทำให้แจ้งพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ์
5 ชื่อว่าปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็ว ยังรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง (ขันธ์ ๕) ที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน
(เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม
อยู่ในที่ไกล) หรือที่อยู่ในที่ใกล้ทั้งหมด โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา
             ชื่อว่าปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็วยังจักษุ ฯลฯ (ที่ย่อไว้น่าจะคือธาตุ ๑๘)
ชรา มรณะที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา
             ชื่อว่าปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็วในนิพพานอันเป็นที่ดับรูป ฯลฯ วิญญาณ
จักษุ ฯลฯ ชรา มรณะ เพราะใคร่ครวญพิจารณาทำให้แจ้ง ทำให้เด่นชัดว่า
รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์
เพราะอรรถว่าน่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่าไม่มีแก่นสาร
             ทำให้เด่นชัดว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ฯลฯ วิญญาณ
จักษุ ฯลฯ ชรา มรณะไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความเสื่อมไป
เป็นธรรมดา มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความคลายกำหนัดเป็นธรรมดา
มีความดับเป็นธรรมดา
              คำว่า ธาตุ 18
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธาตุ_18
6 ปัญญาเฉียบแหลม (ปัญญาคมกล้า)
//84000.org/tipitaka/read/?31/676
7 ปัญญาทำลายกิเลส
//84000.org/tipitaka/read/?31/677

[แก้ไขตาม #3-7]

ความคิดเห็นที่ 3-7
ฐานาฐานะ, 17 ธันวาคม 2556 เวลา 19:58 น.

GravityOfLove, 5 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๑๑. อนุปทสูตร ว่าด้วยธรรมตามลำดับบท
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2324&Z=2444&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
10:14 AM 12/17/2013

             ย่อความได้ดีครับ ขอติงเล็กน้อยดังนี้ :-
การได้สุญญตาต่างๆ ในอรรถ ธรรม นิรุตติ
             ปฏิภาณต่างๆ กว้าง ในคุณคือศีลต่างๆ สมาธิ ปัญญา วิมุตติ ...
             ควรแก้ไขการย่อหน้าเป็น :-
การได้สุญญตาต่างๆ ในอรรถ ธรรม นิรุตติ ปฏิภาณต่างๆ กว้าง
             ในคุณคือศีลต่างๆ สมาธิ ปัญญา วิมุตติ ...

             เพราะอรรถ ธรรม นิรุตติและปฏิภาณเป็นหมวดธรรมเรื่องปฏิสัมภิทา
             คำว่า ปฏิสัมภิทา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปฏิสัมภิทา

ความคิดเห็นที่ 3-8
ฐานาฐานะ, 17 ธันวาคม 2556 เวลา 21:08 น.

              คำถามในอนุปทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2324&Z=2444

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 3-9
GravityOfLove, 17 ธันวาคม 2556 เวลา 23:06 น.

ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในอนุปทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2324&Z=2444

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญพระสารีบุตรว่า เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก
มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาว่องไว มีปัญญาเฉียบแหลม
มีปัญญาทำลายกิเลส
             และได้ทรงแสดงธรรมที่ท่านพระสารีบุตรได้รู้แจ้งแล้ว ตามลําดับบท
ด้วยสามารถแห่งสมาบัติ หรือองค์ฌาน
             ๒. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็นผู้ถึงความชำนาญ
ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ในอริยวิมุติ
ภิกษุรูปนั้นคือ สารีบุตรนั่นเอง
             ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็นบุตร เป็นโอรสของ
พระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม
อันธรรมเนรมิต เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส ภิกษุรูปนั้น
คือสารีบุตรนั่นเอง
             สารีบุตรย่อมประกาศธรรมจักร อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
ที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว ไปตามลำดับโดยชอบ
             ๓. การกล่าวคุณในสํานักของบุคคลผู้เป็นวิสภาคกัน (ต่างกัน) ย่อมไม่ควร
คนที่เป็นวิสภาคกัน เมื่อใครๆ กล่าว สรรเสริญเขาก็จะกล่าวตําหนิอย่างเดียว
             ๔. อุปมาการบรรลุพระอรหัตของท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ
             ๕. ลักษณะของธรรมที่ท่านพระสารีบุตรกําหนดได้แล้วตามลําดับบท คือ
วิตกมีการยกจิตขึ้นเป็นลักษณะเป็นไป วิจารมีการเคล้าอารมณ์เป็นลักษณะ
... อุเบกขามีความเป็นกลางเป็นลักษณะ มนสิการมีการใส่ใจด้วยความยินดี
เป็นลักษณะเป็นไป
             ๖. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา หรือจิต ชื่อว่าเกิดร่วมกัน ๒ ดวงย่อมไม่มี
ย่อมเกิดขึ้นคราวละดวงๆ เท่านั้น ต้องปล่อยวางภาวะที่จิต (เกิดร่วมกัน) มากดวงออกไป
จึงจะรู้ความเกิดขึ้นหรือความตั้งอยู่ หรือความดับไปของจิตดวงนั้น

ความคิดเห็นที่ 3-10
ฐานาฐานะ, 17 ธันวาคม 2556 เวลา 23:24 น.

GravityOfLove, 13 นาทีที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในอนุปทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2324&Z=2444
...
11:05 PM 12/17/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             คำถามเพิ่มเติม ดังนี้ :-
             คำว่า
             สารีบุตรย่อมประกาศธรรมจักร อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
ที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว ไปตามลำดับโดยชอบ
             คำนี้หรือนัยนี้ เคยได้ศึกษามาก่อนหรือไม่ จากพระสูตรหรืออรรถกถาพระสูตรใด?

             คำว่า
             ๓. การกล่าวคุณในสํานักของบุคคลผู้เป็นวิสภาคกัน (ต่างกัน) ย่อมไม่ควร
คนที่เป็นวิสภาคกัน เมื่อใครๆ กล่าว สรรเสริญเขาก็จะกล่าวตําหนิอย่างเดียว
             คำนี้หรือนัยนี้ เคยได้ศึกษามาก่อนหรือไม่ จากพระสูตรหรืออรรถกถาพระสูตรใด?

ความคิดเห็นที่ 3-11
GravityOfLove, 18 ธันวาคม 2556 เวลา 10:19 น.

             สารีบุตรย่อมประกาศธรรมจักร อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
ที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว ไปตามลำดับโดยชอบ
             คำนี้หรือนัยนี้ เคยได้ศึกษามาก่อนหรือไม่ จากพระสูตรหรืออรรถกถาพระสูตรใด?
             เคยศึกษาจาก
             ๑. เสลสูตร
             เส. ข้าแต่พระโคดม พระองค์ทรงปฏิญาณว่าเป็นสัมพุทธะ และ
ตรัสว่าเป็นธรรมราชา ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า ทรงประกาศธรรมจักร
ดังนี้ ใครหนอเป็นเสนาบดีของพระองค์ท่าน เป็นสาวก
ผู้อำนวยการของพระศาสดา ใครหนอประกาศธรรมจักรตามที่
พระองค์ทรงประกาศแล้วนี้ได้?
             พ. ธรรมจักรอันไม่มีจักรอื่นยิ่งกว่า เป็นจักรที่เราประกาศแล้ว
สารีบุตรผู้เกิดตามตถาคต ย่อมประกาศตามได้
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=9484&Z=9672

             ๒. เอกบุคคลบาลี
             [๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียว ผู้
ยังธรรมจักรที่ยอดเยี่ยมอันตถาคตให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยชอบ เหมือน
สารีบุตรนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมยังธรรมจักรที่ยอดเยี่ยม อันตถาคต
ให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยชอบทีเดียว

//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=585&Z=627
//pantip.com/topic/31254659

             ๓. ปวารณาสูตรที่ ๗
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร เราติเตียนกรรมไรๆ อันเป็นไปทาง
กายหรือทางวาจาของเธอไม่ได้เลย สารีบุตร เธอเป็นบัณฑิต สารีบุตร เธอเป็น
ผู้มีปัญญามาก เป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา สารีบุตร เธอเป็นผู้มีปัญญาชวนให้ร่าเริง
เป็นผู้มีปัญญาว่องไว เป็นผู้มีปัญญาหลักแหลม เป็นผู้มีปัญญาสยายกิเลสได้
สารีบุตร โอรสพระองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมยังจักรอันพระราชบิดา
ให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามได้โดยชอบ ฉันใด สารีบุตร เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันเราให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามได้โดยชอบ
แท้จริง

//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=6170&Z=6223
//pantip.com/topic/31254659
-------------------------
             คำว่า
             ๓. การกล่าวคุณในสํานักของบุคคลผู้เป็นวิสภาคกัน (ต่างกัน) ย่อมไม่ควร
คนที่เป็นวิสภาคกัน เมื่อใครๆ กล่าว สรรเสริญเขาก็จะกล่าวตําหนิอย่างเดียว
             คำนี้หรือนัยนี้ เคยได้ศึกษามาก่อนหรือไม่ จากพระสูตรหรืออรรถกถาพระสูตรใด?
             เคยศึกษาใน จังกมสูตร
             [๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
โดยธาตุเทียว
คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อม
สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=16&A=4087

ความคิดเห็นที่ 3-12
ฐานาฐานะ, 18 ธันวาคม 2556 เวลา 18:26 น.

GravityOfLove, 8 ชั่วโมงที่แล้ว
...
10:18 AM 12/18/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             เพิ่มเติมนัยในคำถามเพิ่มข้อ 2 ดังนี้ :-
             สุสิมสูตรที่ ๙
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=2026&Z=2090

             อรรถกถาสุสิมสูตรที่ ๙
             พึงทราบวินิจฉัยในสุสิมสูตรที่ ๙ ต่อไป :-
             บทว่า ตุยฺหํปิ โน อานนฺท สารีปุตฺโต รุจฺจติ ความว่า พระศาสดามีพระประสงค์
จะตรัสคุณของพระเถระ ก็ธรรมดาว่าคุณนี้ ไม่สมควรกล่าวในสำนักของบุคคลที่ไม่ชอบกัน
เพราะว่า คุณที่กล่าวในสำนักของบุคคลที่ไม่ชอบกันนั้น จะกล่าวไม่ทันจบ.

             จริงอยู่ บุคคลผู้ไม่ชอบกันนั้น เมื่อเขากล่าวคุณว่าภิกษุชื่อโน้นมีศีล ก็จะกล่าวคำว่า
ศีลของภิกษุนั้นเป็นอย่างไร ภิกษุนั้นมีศีลอย่างใดหรือ ภิกษุอื่นที่มีศีล ท่านไม่เคยเห็นหรือ
เมื่อเขากล่าวคุณว่าภิกษุชื่อโน้นมีปัญญา ก็จะกล่าวคำเป็นต้นว่า ปัญญาเป็นอย่างไร
ภิกษุอื่นที่มีปัญญานั้น ท่านไม่เคยเห็นหรือดังนี้ ก็จะทำอันตรายแก่คาถาพรรณนาคุณ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=303

             วิสภาค มีส่วนไม่เสมอกัน คือขัดกันเข้ากันไม่ได้ ไม่ถูกกัน หรือไม่กลมกลืนกัน, ไม่เหมาะกัน
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิสภาค

ความคิดเห็นที่ 3-13
ฐานาฐานะ, 18 ธันวาคม 2556 เวลา 18:44 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อนุปทสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2324&Z=2444

              พระสูตรหลักถัดไป คือฉวิโสธนสูตร [พระสูตรที่ 12].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              ฉวิโสธนสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2445&Z=2669
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=166

              สัปปุริสสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2670&Z=2898
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=178

              เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2899&Z=3431
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=198

              พหุธาตุกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3432&Z=3646
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=234

ความคิดเห็นที่ 3-14
GravityOfLove, 18 ธันวาคม 2556 เวลา 20:58 น.

ขอบพระคุณค่ะ
             คำถามฉวิโสธนสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2445&Z=2669

             หลักตรวจสอบ ๖ ประการ นับอย่างไรคะ แกรวิตี้นับได้ ๕ ข้อเท่านั้นเอง
             คือ ๑ โวหาร ๒ ขันธ์ ๓ ธาตุ ๔ อายตนะ ๕ อนุสัย

ย้ายไปที



Create Date : 17 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:21:30 น.
Counter : 527 Pageviews.

0 comments
คู่ สิ่งที่มีอำนาจมาก ปัญญา Dh
(25 มี.ค. 2567 17:50:29 น.)
สิ่งที่แม่เห็นคือความนิ่ง แต่ความเป็นจริงนั้นหนูไม่นิ่งเลย comicclubs
(13 มี.ค. 2567 00:59:16 น.)
ธรรมะหลัก ธรรมฝ่ายดีงาม ปัญญา Dh
(11 มี.ค. 2567 04:41:53 น.)
ตั้งค่า ปรับค่า ปัญญา Dh
(15 มี.ค. 2567 19:01:39 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด