28.6 พระสูตรหลักถัดไป คืออนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
28.5 พระสูตรหลักถัดไป คืออนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=05-05-2014&group=3&gblog=49
ความคิดเห็นที่ 61
GravityOfLove, 28 มีนาคม เวลา 23:21 น.

             ตอบคำถามในฉฉักกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10324&Z=10554

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมหมวดหก ๖ หมวดแก่เหล่าภิกษุ
เมื่อจบพระธรรมเทศนา ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปได้บรรลุพระอรหันต์
             ๒. ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้นแห่งสักกายะ และความดับแห่งสักกายะ
             ๓. สุขเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดราคานุสัย ทุกขเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดปฏิฆานุสัย
อทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชานุสัย
             ๔. หากบุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุสัย
เพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำวิชชาให้เกิด
เพราะไม่ละอวิชชาเสีย ก็จะไม่สามารถกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้
             ๕. แม้เมื่อพระอัครสาวกและพระมหาสาวกแสดงพระสูตรนี้ ก็มีภิกษุ ๖๐ รูป
บรรลุเป็นพระอรหันต์
             พระมาไลยเทพเถระในเกาะลังกาแสดงพระสูตรนี้ในที่ ๖๐ แห่ง ก็มีผู้สำเร็จเป็น
พระอรหันต์แห่งละ ๖๐ รูป
-------------------------
             2. คำในอรรถกถาว่า
             ครั้นทรงแสดงวิวัฏฏะอย่างนี้แล้ว คราวนี้เพื่อจะทรงแสดงวัฏฏะด้วยอำนาจอนุสัยทั้งสามอย่างอีก
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า จกฺขุญฺจ ภิกฺขเว.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=810

             เป็นการอธิบายเนื้อความในพระไตรปิฎกข้อใด?
             ข้อ [๘๒๒] ค่ะ
             ข้อก่อนหน้านี้ ทรงแสดงวิวัฏฏะคือความดับสักกายะ
             [๘๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ
... จึงมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ ... จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ ... จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่

             [๘๒๒]    จกฺขุญฺจ    ภิกฺขเว    ปฏิจฺจ   รูเป   จ   อุปฺปชฺชติ
จกฺขุวิญฺาณํ   ติณฺณํ   สงฺคติ   ผสฺโส   ผสฺสปจฺจยา   อุปฺปชฺชติ  เวทยิตํ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=822&Roman=0

ความคิดเห็นที่ 62
ฐานาฐานะ, 28 มีนาคม เวลา 23:39 น.

GravityOfLove, 11 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในฉฉักกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10324&Z=10554
...
11:20 PM 3/28/2014
             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ในข้อ 2 จากคำตอบ แสดงว่า
             คุณ GravityOfLove พิจารณาจากเนื้อความ (ความหมาย)
ด้วยคำว่า ข้อก่อนหน้านี้ ทรงแสดงวิวัฏฏะคือความดับสักกายะ
             และดูพยัญชนะด้วยการขีดเส้นใต้ จกฺขุญฺจ    ภิกฺขเว
             เป็นวิธีการที่ถูกต้องครับ.

ความคิดเห็นที่ 63
ฐานาฐานะ, 29 มีนาคม เวลา 00:16 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ฉฉักกสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10324&Z=10554

              พระสูตรหลักถัดไป คือ สฬายตนวิภังคสูตร [พระสูตรที่ 49].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              สฬายตนวิภังคสูตร  
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10555&Z=10674
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=825

ความคิดเห็นที่ 64
GravityOfLove, 29 มีนาคม เวลา 00:20 น.

             คำถามสฬายตนวิภังคสูตร  
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10555&Z=10674

             กรุณาอธิบายค่ะ
             วาจา การงานและอาชีพของภิกษุนั้น ชื่อว่าสะอาดมาก่อนแล้ว
คือย่อมเป็นของหมดจดตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนอีก ๕ องค์ คือความเห็น ความดำริ
ความพยายาม ความระลึก ความตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นองค์ที่สนับสนุนในทุกกรณี.
ด้วยประการฉะนี้ โลกุตตรมรรคจึงมีองค์ ๘ หรือองค์ ๗ ก็ได้.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 65
ฐานาฐานะ, 30 มีนาคม เวลา 02:42 น.

GravityOfLove, เมื่อวานนี้ เวลา 00:20 น.
              คำถามสฬายตนวิภังคสูตร  
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10555&Z=10674

              กรุณาอธิบายค่ะ
              วาจา การงานและอาชีพของภิกษุนั้น ชื่อว่าสะอาดมาก่อนแล้ว
คือย่อมเป็นของหมดจดตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนอีก ๕ องค์ คือความเห็น ความดำริ
ความพยายาม ความระลึก ความตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นองค์ที่สนับสนุนในทุกกรณี.
ด้วยประการฉะนี้ โลกุตตรมรรคจึงมีองค์ ๘ หรือองค์ ๗ ก็ได้.

อธิบายว่า อรรถกถาส่วนนี้เป็นการอธิบายข้อ 828 ว่า
              ... บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ
มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด
ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้น
ย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ
ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้
เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?14/828

              นัยว่า บุคคลเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์มาก่อนแล้ว จึงเจริญสมณธรรมให้
ถึงมรรคผลได้ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีศีลบริสุทธิ์มาก่อนแล้ว ก็ควรเข้าใจว่า
แม้ในขณะบรรลุมรรคผล ก็เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์อยู่ด้วย.
              คำว่า มรรคมีองค์ 8 หรืออัฏฐังคิกมรรค [บางส่วน]
              องค์ 8 ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ 3 ข้อต้น คือ ข้อ 3-4-5 เป็นศีล
ข้อ 6-7-8 เป็นสมาธิ ข้อ 1-2 เป็นปัญญา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อัฏฐังคิกมรรค

              ส่วนคำว่า
              ส่วนอีก ๕ องค์ คือความเห็น ความดำริ ความพยายาม ความระลึก
ความตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นองค์ที่สนับสนุนในทุกกรณี.
              น่าจะหมายถึงว่า องค์ 5 อันเจริญขึ้นในภายหลังจากการชำระศีล
หรือดำรงในศีลอันบริสุทธิ์แล้ว เป็นองค์ที่เกื้อกูลกันให้เจริญๆ ขึ้น.
              ส่วนคำว่า
              ด้วยประการฉะนี้ โลกุตตรมรรคจึงมีองค์ ๘ หรือองค์ ๗ ก็ได้.
              อรรถกถาน่าจะหมายถึงว่า หากเว้นโดยไม่นับวาจา การงานและอาชีพ
อันบริสุทธิ์ของภิกษุนั้น โดยถือว่าบริสุทธิ์ดีมาก่อนในแต่ละข้อ ข้อใดข้อหนึ่ง
จึงนับได้องค์ 7 นัยว่า ขัดเกลาเพิ่มขึ้นๆ ในส่วนที่ยังไม่บริบูรณ์.
              ในข้อนี้ แม้จะบริสุทธิ์มาก่อนแล้วก็ตาม แต่ในขณะบรรลุมรรคผลก็ตาม
และในภายหลังบรรลุแล้วก็ตาม ก็ต้องบริสุทธิ์ และยังบริสุทธิ์อยู่ตามลำดับ.
              ดังนั้น ผมเห็นว่า ไม่ควรกล่าวว่า โลกุตตรมรรคจึงมีองค์ ๘ หรือองค์ ๗ ก็ได้.
              แต่ควรกล่าวว่า โลกุตตรมรรคมีองค์ 8 ตามปกติ.

ความคิดเห็นที่ 66
GravityOfLove, 30 มีนาคม เวลา 07:28 น.

พอจะเข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 67
GravityOfLove, 30 มีนาคม เวลา 07:32 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
             ๗. สฬายตนวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกอายตนะ ๖ ประการ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10555&Z=10674&bgc=lavender&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             เราจักแสดงธรรมอันเนื่องด้วยอายตนะ ๖ มากมาย (สำคัญ) แก่เธอทั้งหลาย
             บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุ ตามความเป็นจริง
             เมื่อไม่รู้ไม่เห็นรูป ตามความเป็นจริง
             เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง
             เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง
             เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่
ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง
             ย่อมกำหนัดในธรรมเหล่านี้
             เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่
ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป
             และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว
             จะมีความกระวนกระวาย ความเดือดร้อน ความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจ
เจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง
             โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ตรัสทำนองเดียวกัน
             ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นธรรมเหล่านี้ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัด
             เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่
ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป
             และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้
             จะละความกระวนกระวาย ความเดือดร้อน ความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะภายใน_6
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะภายนอก_6
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิญญาณ_6
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ผัสสะ_6
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวทนา_6
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ตัณหา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุปาทานขันธ์

             บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็น
สัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ มีความ
พยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใด
ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อม
เป็นสัมมาสมาธิ
             กายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว
             ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์
             เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์
             บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อัฏฐังคิกมรรค
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สติปัฏฐาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปธาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อิทธิบาท_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อินทรีย์_5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พละ_5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โพชฌงค์_7
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โพธิปักขิยธรรม_37

             เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรม
ที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
             ๑. ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง คืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่
อุปาทานขันธ์ คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุปาทานขันธ์

             ๒. ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง คืออวิชชาและภวตัณหา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อวิชชา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภวตัณหา&detail=on

             ๓. ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง คือสมถะและวิปัสสนา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภาวนา_2

             ๔. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง คือวิชชาและวิมุตติ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิมุตติ

             โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ตรัสทำนองเดียวกัน
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 68
ฐานาฐานะ, 30 มีนาคม เวลา 08:35 น.

             ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 69
ฐานาฐานะ, 30 มีนาคม เวลา 08:36 น.

             คำถามในสฬายตนวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10555&Z=10674

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 05 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 19:54:00 น.
Counter : 427 Pageviews.

0 comments
ไม่ควรก่อแผลหรือก่อแผลเป็น ปัญญา Dh
(8 เม.ย. 2567 20:22:02 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 30 : กะว่าก๋า
(7 เม.ย. 2567 05:51:28 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 27 : กะว่าก๋า
(4 เม.ย. 2567 05:11:37 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 22 : กะว่าก๋า
(31 มี.ค. 2567 05:54:58 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด