24.3 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
24.2 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1]

ความคิดเห็นที่ 7-26
GravityOfLove, 13 พฤศจิกายน เวลา 15:58 น.

ขอบพระคุณค่ะ

๕. นิพพานในปัจจุบัน << เปลี่ยนชื่อหัวข้อ
             ๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้
โดยประการทั้งปวง เพราะสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีตและขันธ์ส่วนอนาคต
เสียได้ ย่อมเข้าถึงปีติอันเกิดแต่วิเวกอยู่ (ปีติในฌานที่ ๑ และ ๒) ด้วยสำคัญว่า
----------------
วาทะของพระพุทธองค์ << เพิ่มหัวข้อ
             บทอันประเสริฐ สงบ (สันติวรบท) ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า ที่ตถาคตตรัสรู้เอง
ด้วยปัญญาอันยิ่งนี้ คือ

ความคิดเห็นที่ 7-27
ฐานาฐานะ, 13 พฤศจิกายน เวลา 16:03 น.

             รับทราบครับ.

ความคิดเห็นที่ 7-28
ฐานาฐานะ, 13 พฤศจิกายน เวลา 19:11 น.

             คำถามในปัญจัตตยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=512&Z=792

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. ในข้อ 34
             [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต
มีทิฐิคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ย่อมปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวยืนยันบทแห่งความเชื่อมั่น
หลายประการ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวยืนยันอายตนะ ๕ นี้ทั้งมวล
หรือเฉพาะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง ฯ

             คำว่า อายตนะ ๕ ได้แก่อะไร?
             คำว่า อายตนะ แปลว่า อะไร?

ความคิดเห็นที่ 7-29
GravityOfLove, 13 พฤศจิกายน เวลา 19:42 น.

             ตอบคำถามในปัญจัตตยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=512&Z=792

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ตถาคตทรงทราบว่า สัญญา, เนวสัญญานาสัญญายตนะ, สักกายะ, อุปาทานนั้น
อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ ความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่อง
สลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้
             ๒. เราจักบัญญัติการมาเกิด หรือการไปเกิด การจุติ การอุปบัติ ความเจริญ
ความงอกงาม ความไพบูลย์ นอกจากรูป นอกจากเวทนา นอกจากสัญญา นอกจาก
สังขาร นอกจากวิญญาณ เป็นไปไม่ได้
             ๓. การบัญญัติการเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะด้วยเหตุเพียงสังขารที่ตนรู้แจ้ง
ทางทวาร ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นความพินาศของการเข้าอายตนะนี้
เพราะอายตนะนี้ ท่านไม่กล่าวว่า พึงบรรลุด้วยความถึงพร้อมทางทวารทั้ง ๕
             แต่ท่านกล่าวว่า พึงบรรลุด้วยความถึงพร้อมของสังขารที่ละเอียดกว่าสังขารที่กล่าว
มาข้างต้น
             ๔. พวกบัญญัติความขาดศูนย์ ความพินาศ ความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่
เป็นผู้กลัวสักกายะ เกลียดสักกายะ แต่ยังวนเวียนไปตามสักกายะอยู่นั่น
             เปรียบเหมือนสุนัขที่เขาผูกโซ่ล่ามไว้ที่เสาหรือที่หลักมั่น ย่อมวนเวียน
ไปตามเสาหรือหลักนั่นเอง
             ๕. พวกที่มีทิฏฐิเกี่ยวกับขันธ์ส่วนอดีต เช่น อัตตาและโลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นเปล่า เป็นต้น
             เป็นไปไม่ได้ที่ญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่องของสมณพราหมณ์
จักมีเองได้ นอกจากความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตามเขาว่า ความตรึกตามอาการ
ความปักใจดิ่งด้วยทิฐิ
             เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านสมณพราหมณ์พวกนั้น
ย่อมให้เพียงส่วนของความรู้ในญาณเท่านั้น แม้ส่วนของความรู้นั้น บัณฑิตก็เรียกว่า
อุปาทานของท่านสมณพราหมณ์พวกนั้น
             (อุปาทาน ในที่นี้หมายถึง ทิฏฐุปาทาน เพราะความเห็นเช่นนี้จัดเป็น
มิจฉาญาณทัสสนะ)
             ๖. เมื่อมีปีติเกิดแต่วิเวก, สุขเสมือนปราศจากอามิส, เวทนาอันทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่
ย่อมเล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทานนั้น
             แต่ก็ยังเป็นอันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยา
             ๗. สมณะหรือพราหมณ์นี้ เมื่อถือมั่นทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ก็ชื่อว่า
ยังถือมั่นอยู่
             หรือเมื่อถือมั่นทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่
             หรือเมื่อถือมั่นกามสัญโญชน์ ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่
             หรือเมื่อถือมั่นปีติอันเกิดแต่วิเวก ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่
             หรือเมื่อถือมั่นสุขเสมือนปราศจากอามิส ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่
             หรือเมื่อถือมั่นเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่
             และแม้ข้อที่ท่านผู้นี้เล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอุปาทานนั้น บัณฑิตก็เรียกว่าอุปาทานของท่านสมณพราหมณ์นี้
             ๘. บทอันประเสริฐ สงบ (สันติวรบท) ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า ที่ตถาคตตรัสรู้เอง
ด้วยปัญญาอันยิ่งนี้ คือ
             ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง
ผัสสายตนะทั้ง ๖ (ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน กับอายตนะภายนอก)
ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น (อนุปาทาวิโมกข์ โดยปกติหมายถึง
นิพพาน แต่ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลสมาบัติ)
             ๙. พวกกลัวสักกายะ เปรียบเหมือนสัตว์ ๔ จำพวกที่กลัวต่อสิ่งที่ไม่ควรกลัว
             (๑) ไส้เดือนย่อมไม่กินดิน เพราะกลัวว่าแผ่นดินจะหมด
             (๒) นกกระเรียนย่อมยืนเท้าเดียว (บนแผ่นดิน) เพราะกลัวว่าแผ่นดินจะทรุด
             (๓) นกต้อยตีวิดนอนหงาย เพราะกลัวว่าฟ้าจะถล่ม
             (๔) พราหมณ์ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ประพฤติพรหมจรรย์ (คือต้องมีภรรยา)
เพราะกลัวว่าโลกจะขาดสูญ
             ๑๐. ทบทวนทิฏฐิต่างๆ ที่เคยเรียนในพรหมชาลสูตร
ปุพพันตกัปปิกาทิฏฐิ ๑๘ คือพวกที่มีความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีต
(ความเห็นเบื้องต้นของสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมาอย่างไร)
             1. สัสสตทิฏฐิ ๔ เห็นว่าตัวตน (อัตตา) และโลกเที่ยง คงที่ เพราะระลึกชาติได้
             1.1 ตั้งแต่ชาติเดียว จนถึงแสนชาติ (ปุพเพนิวาสานุสสติ)
             1.2 ตั้งแต่สังวัฏฏวิวัฏฏ(กัปป์)เดียวถึง ๑๐ กัปป์ (สัสสตทิฏฐิ)
             1.3 ตั้งแต่ ๑๐ กัปป์ถึง ๔๐ กัปป์    
             1.4 นักตรึก เป็นนักค้นคิดตามความคิดคาดคะเนว่าอัตตาและโลกเที่ยง

             2. เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๔ เห็นว่าอัตตาและโลกบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
             2.1 เห็นว่าพระพรหมเที่ยง แต่พวกเราที่พระพรหมสร้างไม่เที่ยง
             2.2 เห็นว่าเทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะเล่นสนุกสนาน สติหลงลืม
จึงจุติ (ขิฑฑาปโทสิกะ) ไม่เที่ยง
             2.3 เห็นว่าเทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะคิดร้ายผู้อื่นจึงลำบากกาย
ลำบากใจจึงจุติ (มโนปโทสิกะ) ไม่เที่ยง
             2.4 นักตรึก นักค้นคิดตามความคิดคาดคะเนว่า ตัวตนฝ่ายกายไม่เที่ยง
ตัวตนฝ่ายจิต/ใจ/วิญญาณเที่ยง

             3. อันตานันติกทิฏฐิ ๔ เห็นว่าโลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด
             3.1 เห็นว่าโลกมีที่สุด กลมโดยรอบ    
             3.2 เห็นว่าโลกไม่มีที่สุด
             3.3 เห็นว่าโลกมีที่สุด เฉพาะด้านบนกับตัวล่าง ส่วนด้านกว้างหรือด้านขวางไม่มีที่สุด
             3.4 นักตรึก นักค้นคิดตามความคาดคิดคะเนว่า โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่

             4. อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔ พูดซัดส่ายไม่ตายตัว ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล
             4.1 เกรงว่าจะกล่าวเท็จ จึงพูดปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่, อย่างนั้นก็ไม่ใช่,
อย่างอื่นก็ไม่ใช่, มิใช่ (อะไร)ก็ไม่ใช่
             4.2 เกรงว่าจะยึดถือ (อุปาทาน) จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ 1
             4.3 เกรงว่าจะถูกซักถาม จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ 1
             4.4 เพราะโง่เขลา จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ 1 และไม่ยอมรับหรือยืนยันอะไรเลย

             5. อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒ เห็นว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ สิ่งต่างๆ มีขึ้นเอง
ไม่มีเหตุ
             5.1 เห็นว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ สิ่งต่างๆ มีขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ เพราะเคย
เกิดเป็นพวกเทวดาชื่อว่าอสัญญีสัตว์ที่จุติจากชั้นนั้น เนื่องจากสัญญาแต่ระลึกเบื้องหน้าไม่ได้
             5.2 นักตรึก นักค้นคิดคิดคาดคะเนว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ สิ่งต่างๆ
มีขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ

อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔ คือพวกที่มีความเห็นปรารภขันธ์ส่วนอนาคต
(ความเห็นเบื้องต้นสิ่งต่าง ๆ ว่าจะลงสุดท้ายอย่างไร)
             1. สัญญีทิฏฐิ ๑๖ เห็นว่าตายไปแล้วก็มีสัญญา (ความจำได้หมายรู้)
                 1. ตนมีรูป                    2. ตนไม่มีรูป
                 3. ตนทั้งมีรูป ทั้งไม่มีรูป           4. ตนมีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่
                 5. ตนมีที่สุด                   6. ตนไม่มีที่สุด
                 7. ตนทั้งมีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด        8. ตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่
                 9. ตนมีสัญญาอย่างเดียวกัน
                 10. ตนมีสัญญาต่างกัน           11. ตนมีสัญญาเล็กน้อย
                 12. ตนมีสัญญาหาประมาณมิได้     13. ตนมีสุขอย่างเดียว
                 14. ตนมีทุกข์อย่างเดียว          15. ตนมีทั้งสุขทั้งทุกข์
                 16. ตนมีทุกข์ก็ไม่ใช่ สุขก็ไม่ใช่

             2. อสัญญีทิฏฐิ ๘ เห็นว่าตายไปแล้วก็ไม่มีสัญญา
             เห็นว่าตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 8 ข้างต้น ตายไปแล้วก็ไม่มีสัญญา

             3. เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ ๘ เห็นว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
             เห็นว่าตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 8 ข้างต้น ตายไปแล้วมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่

             4. อุจเฉททิฏฐิ ๗ เห็นว่าเมื่อตายแล้วก็ขาดสูญ ไม่เกิดอีก
             4.1 ตนที่เป็นมนุษย์และสัตว์ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด
             4.2 ตนที่เป็นทิพย์ มีรูป เป็นกามาจร กินอาหารหยาบ (กวฬิงการาหาร)
             4.3 ตนที่เป็นเป็นทิพย์ มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะใหญ่น้อยครบครัน
             4.4 ตนที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ มีอารมณ์ว่าอากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญาเพราะไม่ใส่ใจในนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
             4.5 ตนที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ มีอารมณ์ว่าวิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
             4.6 ตนที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ มีอารมณ์ว่าไม่มีอะไร
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
             4.7 ตนที่เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะมีอารมณ์ว่า นั่นละเอียด
นั่นประณีตเพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ

             5. ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕ เห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน
             5.1 เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
             5.2, 5.3, 5.4, 5.5 กามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html#291
             พรหมชาลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=0&Z=1071&pagebreak=0
--------------------------------------------------
             2. ในข้อ 34
             คำว่า อายตนะ ๕ ได้แก่อะไร?
             บทว่า สสฺสโต อตฺตา จ โลโก จ ความว่า ถือเอาอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาอายตนะทั้งหลายมีรูปเป็นต้นว่าตนและว่าโลก แล้วกล่าวยืนยันว่า
เที่ยง ไม่ตาย แน่นอน ยั่งยืน.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=28&bgc=aliceblue
             ตอบว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

             คำว่า อายตนะ แปลว่า อะไร?
             ตอบว่า ที่ติดต่อ, เครื่องติดต่อ, แดนต่อความรู้, เครื่องรู้และสิ่งที่รู้
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อายตนะ#find1

ความคิดเห็นที่ 7-30
ฐานาฐานะ, 13 พฤศจิกายน เวลา 21:38 น.

GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
             คำถามในปัญจัตตยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=512&Z=792
...
7:41 PM 11/13/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ มีข้อติงและข้อสังเกตุดังนี้ :-
GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
ตอบคำถามในปัญจัตตยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=512&Z=792

             ๑. ตถาคตทรงทราบว่า สัญญา, เนวสัญญานาสัญญายตนะ, สักกายะ, อุปาทานนั้น
อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ ความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่อง
สลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้
             เพิ่มเติมว่า แม้อสัญญีภพก็ทรงทราบ.

             ๖. เมื่อมีปีติเกิดแต่วิเวก, สุขเสมือนปราศจากอามิส, เวทนาอันทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่
ย่อมเล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทานนั้น
             แต่ก็ยังเป็นอันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยา
แก้ไขเป็น
             แต่ก็ยังเป็นอันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยาบ

             4.2 ตนที่เป็นทิพย์ มีรูป เป็นกามาจร กินอาหารหยาบ (กวฬิงการาหาร)
แก้ไขเป็น
             4.2 ตนที่เป็นทิพย์ มีรูป เป็นกามาวจร กินอาหารหยาบ (กวฬิงการาหาร)

             4.3 ตนที่เป็นเป็นทิพย์ มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะใหญ่น้อยครบครัน
แก้ไขเป็น
             4.3 ตนที่เป็นทิพย์ มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะใหญ่น้อยครบครัน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
             2. ในข้อ 34
             คำว่า อายตนะ ๕ ได้แก่อะไร?
             บทว่า สสฺสโต อตฺตา จ โลโก จ ความว่า ถือเอาอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาอายตนะทั้งหลายมีรูปเป็นต้นว่าตนและว่าโลก แล้วกล่าวยืนยันว่า
เที่ยง ไม่ตาย แน่นอน ยั่งยืน.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=28&bgc=aliceblue
             ตอบว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

             คำว่า อายตนะ แปลว่า อะไร?
             ตอบว่า ที่ติดต่อ, เครื่องติดต่อ, แดนต่อความรู้, เครื่องรู้และสิ่งที่รู้
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อายตนะ#find1
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             เนื่องจากคำถามนี้ค่อนข้างยาก ทั้งเนื้อความในพระไตรปิฎกภาษาไทย
ก็แปลแตกต่างกัน ดังนั้น จึงนำมาเทียบกัน พร้อมทั้งภาษาบาลี อักษรไทย ดังนี้ :-

             [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดขันธ์
ส่วนอนาคต มีทิฐิคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ย่อมปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าว
ยืนยันบทแห่งความเชื่อมั่นหลายประการ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อม
กล่าวยืนยันอายตนะ ๕ นี้ทั้งมวล หรือเฉพาะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีทิฐิ
คล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ย่อมปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวยืนยันบทแห่งความ
เชื่อมั่นหลายประการ คือ
             พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า
             พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกไม่เที่ยง...
             พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง...
             พวกหนึ่ง...ว่า อัตตาและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่...
...
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=512&Z=792#34

             พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ
             {๓๔} [๒๖] ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งกำหนดขันธ์ส่วน
อนาคต  มีความเห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต  ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต  ประกาศ
วาทะแสดงทิฏฐิต่างๆ  หลายประการ   สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดประกาศ
วาทะแสดงทิฏฐิต่างๆ  ๕  ประการนี้เท่านั้น  หรือประกาศส่วนใดส่วนหนึ่งของวาทะ
แสดงทิฏฐิต่างๆ  ๕  ประการนี้
             วาทะแสดงทิฏฐิเกี่ยวกับขันธ์ส่วนอดีต ๑๖
             [๒๗] ภิกษุทั้งหลาย  มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำหนดขันธ์ส่วนอดีต  มี
ความเห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต  ปรารภขันธ์ส่วนอดีต  ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิ
ต่างๆ  คือ
             ๑.  สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง
             นี้เท่านั้นจริง  อย่างอื่นไม่จริง‘๑
             ๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกไม่เที่ยง
             นี้เท่านั้นจริง  อย่างอื่นไม่จริง’
             ๓.  สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีทั้ง
             เที่ยงและไม่เที่ยง  นี้เท่านั้นจริง  อย่างอื่นไม่จริง’
             ๔. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลก
             เที่ยงก็มิใช่  ไม่เที่ยงก็มิใช่  นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

             [๓๔]   เย   หิ   เกจิ   ภิกฺขเว  สมณา  วา  พฺราหฺมณา  วา
อปรนฺตกปฺปิกา    อปรนฺตานุทิฏฺฐิโน    อปรนฺตํ   อารพฺภ   อเนกวิหิตานิ
อธิมุตฺติปทานิ    อภิวทนฺติ    สพฺเพ    เต    อิมาเนว   ปญฺจายตนานิ
อภิวทนฺติ  เอเตสํ  วา  อญฺญตรํ  ฯ  สนฺติ  ภิกฺขเว เอเก สมณพฺราหฺมณา
ปุพฺพนฺตกปฺปิกา    ปุพฺพนฺตานุทิฏฺฐิโน    ปุพฺพนฺตํ   อารพฺภ   อเนกวิหิตานิ
อธิมุตฺติปทานิ อภิวทนฺติ ฯ
             {๓๔.๑}  สสฺสโต  อตฺตา  จ  โลโก  จ อิทเมว สจฺจํ โมฆมญฺญนฺติ
อิตฺเถเก  อภิวทนฺติ  ฯ  อสฺสสฺสโต  อตฺตา  จ  โลโก  จ  อิทเมว สจฺจํ
โมฆมญฺญนฺติ  อิตฺเถเก  อภิวทนฺติ  ฯ  สสฺสโต  จ  อสฺสสฺสโต  จ  อตฺตา
จ   โลโก   จ   อิทเมว   สจฺจํ  โมฆมญฺญนฺติ  อิตฺเถเก  อภิวทนฺติ  ฯ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=34&Roman=0

             คำว่า อายตนะ มีความหมายหลายอย่าง ตามอรรถกถาปุริสสูตร
และ/หรือตามพจนานุกรมคำว่า อายตนะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อายตนะ#find1

             อรรถกถาปุริสสูตร [บางส่วน]
             อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ชื่อว่าอายตนะ เพราะหมายความว่าเป็นสถานที่อยู่อาศัย ๑
เพราะหมายความว่าเป็นบ่อเกิด ๑ เพราะหมายความว่าเป็นสถานที่ชุมนุมกัน ๑
เพราะหมายความว่าเป็นถิ่นกำเนิด ๑ และเพราะหมายความว่าเป็นเหตุ ๑.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=289&p=1

             และจากการยกพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นหลัก จะเห็นได้ว่า
             อายตนะ ในที่นี้ น่าจะใช้ในความหมายว่า เป็นเหตุ
             บทว่า อิมาเนว ปญฺจายตนานิ ความว่า เหตุ ๕ ประการนี้เท่านั้น.
แม้เมื่อตั้งแม่บทคือหัวข้อ ก็ตั้งไว้ ๕ ข้อ แม้เมื่อสรุปก็สรุปไว้ ๕ ข้อ แต่เมื่อแจกออก
แจกออก ๔ ข้อ. ดังกล่าวฉะนี้ นิพพานในปัจจุบันจะจัดเข้าในข้อไหน.
พึงทราบว่า จัดเข้าในบททั้งสอง คือ เอกัตตสัญญาและนานัตตสัญญา.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=28

             5 ประการนี้ ก็น่าจะเป็นแม่บทหรือหัวข้อเบื้องต้นนั่นเอง
(ซึ่งก็สอดคล้องกับฉบับมหาจุฬาฯ) ดังนี้ :-
             ๑. อัตตาที่มีสัญญาเป็นของยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป (สัญญีวาทะ)
(หลังจากตายแล้ว อัตตามีสัญญา)
             ๒. อัตตาที่ไม่มีสัญญาเป็นของยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป (อสัญญีวาทะ)
             ๓. อัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เป็นของยั่งยืน
เบื้องหน้าแต่ตายไป (เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ)
             ๔. บัญญัติความขาดศูนย์ ความพินาศ ความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่
(อุจเฉทวาทะ)
             ๕. นิพพานในปัจจุบัน (ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ)

             สำหรับบทว่า สสฺสโต อตฺตา จ โลโก จ ความว่า ถือเอาอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
เป็นการอธิบายในย่อหน้าที่ 2 ของข้อ 34.

ความคิดเห็นที่ 7-31
GravityOfLove, 13 พฤศจิกายน เวลา 21:45 น.

คำถามข้อ ๒ เฉลยยากยิ่งกว่าคำถามอีกค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 7-32
ฐานาฐานะ, 13 พฤศจิกายน เวลา 21:53 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ปัญจัตตยสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=512&Z=792

              พระสูตรหลักถัดไป คือกินติสูตร [พระสูตรที่ 3].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              กินติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=793&Z=939
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=42

              สามคามสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=940&Z=1184
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=51

              สุนักขัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1185&Z=1439
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=67

ความคิดเห็นที่ 7-33
GravityOfLove, 13 พฤศจิกายน เวลา 21:59 น.

             คำถามกินติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=793&Z=939

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. พวกเธอก็ต้องไม่ละเลยอุเบกขาในบุคคลเช่นนี้
             แปลว่า พึงวางอุเบกขาหรือคะ
             ๒. เรื่อง ได้ฟังมาว่า พระเถระขีณาสพรูปหนึ่ง ...
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 7-34
ฐานาฐานะ, 14 พฤศจิกายน 2556 เวลา 02:10 น.

GravityOfLove, 13 นาทีที่แล้ว
             คำถามกินติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=793&Z=939

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. พวกเธอก็ต้องไม่ละเลยอุเบกขาในบุคคลเช่นนี้
              แปลว่า พึงวางอุเบกขาหรือคะ
              ตอบว่า ถูกต้องครับ เพราะลำบากแก่ผู้ตักเตือน
ผู้ถูกตักเตือนมักโกรธ และไม่สามารถออกจากอกุศลนั้นได้.
              นัยนี้หมายถึงอุเบกขาในบุคคลนี้.
              ความคิดเห็นส่วนตัวว่า หากเป็นเรื่องกระทบส่วนรวม ทำความเสียหาย
แก่หมู่สงฆ์ ดังนี้แล้วพึงคำนึงถึงหมู่สงฆ์ แล้วดำเนินการตามสมควร แม้จะต้องกล่าวข่ม
ขับไล่เป็นต้นก็ต้องทำ ดังแนวทางให้พระสูตรชื่อว่าธรรมจริยสูตร.
              ธรรมจริยสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=7895&Z=7923

              ๒. เรื่อง ได้ฟังมาว่า พระเถระขีณาสพรูปหนึ่ง ...
              ขอบพระคุณค่ะ
9:59 PM 11/13/2013
              อธิบายว่า พระเถระขีณาสพรูปหนึ่งแสดงธรรมอยู่ กล่าวคำว่า
สมุททะ เป็นสมุทธะ มีพระภิกษุปุถุชนยกคำนี้ขึ้นถาม นัยว่า ไม่น่าจะถาม
หรือเมื่อถามและได้ความแล้ว เมื่อพระเถระจะลุกไป ควรขอความอนุเคราะห์
ต่อท่าน เพื่อให้แสดงธรรมต่อไป.
              ว่าด้วยเสียง อาจจะต่างกันเล็กน้อย ควรพิจารณาว่า สำคัญหรือไม่
ถ้าไม่สำคัญ ก็วางเฉย แล้วจับใจความ (อรรถะ) จะได้ประโยชน์มากกว่า.
              ทั้งนี้ เสียงต่างกันเล็กน้อย แต่ทำลายโอกาสฟังธรรม ไม่ควรเลย.
ทั้งเสียงที่ต่างกันเล็กน้อย อาจจะเป็นเพราะเสมหะเป็นต้นก็ได้.
              นี้เป็นนัยแห่งพระสูตร คึอที่เอาอรรถะ สำคัญกว่าพยัญชนะ

              แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ
ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=14&A=793&w=ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย

              แต่ในส่วนของพระวินัย เช่นการบรรพชาและ/หรืออุปสมบทนั้น
อรรถกถากล่าวว่า สำคัญมากทั้งอรรถและพยัญชนะ.

ความคิดเห็นที่ 7-35
GravityOfLove, 14 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:06 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที



Create Date : 17 ธันวาคม 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 20:45:47 น.
Counter : 521 Pageviews.

0 comments
Day..10 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(11 เม.ย. 2567 08:25:45 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 32 : กะว่าก๋า
(10 เม.ย. 2567 06:04:44 น.)
ไม่ควรก่อแผลหรือก่อแผลเป็น ปัญญา Dh
(8 เม.ย. 2567 20:22:02 น.)
สักกายทิฐิ **mp5**
(8 เม.ย. 2567 11:07:04 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด