25.10 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
25.9 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 3-106
GravityOfLove, 15 มกราคม เวลา 20:05 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๒๐. สังขารูปปัตติสูตร ว่าด้วยปฏิปทาอันให้สำเร็จความปรารถนา
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4497&Z=4713&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             เราจักแสดงเหตุสำเร็จความปรารถนา (สงฺขารูปปตฺติ คำว่าสังขารในที่นี้หมายถึง
ความปรารถนา) แก่เธอทั้งหลาย จงใส่ใจให้ดี
             ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
             เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็น
สหายแห่งกษัตริย์มหาศาลเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้นอธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
             ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้
ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น
             นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่ง
กษัตริย์มหาศาล
             ความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาล ความเป็นสหายแห่ง
คฤหบดีมหาศาล ตรัสทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อารยวัฒิ_5
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิหารธรรม

             ๒. ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข
             เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็น
สหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
             ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้
ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น
             นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่ง
เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา
             ความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ ยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี
ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ตรัสทำนองเดียวกัน

             ๓. ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
ปัญญา เธอได้ฟังว่า สหัสสพรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข
             สหัสสพรหมย่อมน้อมจิตแผ่ไป1ตลอดโลกธาตุพันหนึ่งอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลาย
ที่เกิดแล้วในสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้
             เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็น
สหายแห่งสหัสสพรหมเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
             ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้
ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น
             นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งสหัสสพรหม
             ความเป็นสหายแห่งทวิสหัสสพรหม ติสหัสสพรหม จตุสหัสสพรหม
ปัญจสหัสสพรหม ตรัสทำนองเดียวกัน
             (จำนวนโลกธาตุที่น้อมแผ่จิตไป สองพันถึงห้าพันโลกธาตุตามลำดับ)
1น้อมจิตแผ่ไป ในที่นี้หมายถึงการแผ่ไป ๕ อย่าง คือ
             (๑) การแผ่ไปด้วยจิต คือการรู้จิตของหมู่สัตว์ใน ๑,๐๐๐ โลกธาตุ
             (๒) การแผ่ไปด้วยกสิณ คือการแผ่กสิณไปใน ๑,๐๐๐ โลกธาตุ
             (๓) การแผ่ไปด้วยทิพพจักขุ คือการขยายแสงสว่างออกไปดู ๑,๐๐๐ โลกธาตุ
             (๔) การแผ่ไปด้วยแสงสว่าง คือการแผ่ไปด้วยทิพยจักษุนั่นเอง
             (๕) การแผ่ไปด้วยสรีระ คือการแผ่รัศมีของสรีระออกไป (ม.อุ.อ.๓/๑๖๘/๑๐๖)

             ๔. ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
ปัญญา เธอได้ฟังว่า ทสสหัสสพรหม มีอายุยืนมีวรรณะ มากด้วยความสุข
             ทสสหัสสพรหมย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุหมื่นหนึ่งอยู่
แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในทสสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้
             เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็น
สหายแห่งทสสหัสสพรหมเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
             ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้
ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น
             นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่ง
ทสสหัสสพรหม
             ความเป็นสหายแห่งสตสหัสสพรหม (น้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุแสนหนึ่ง)
ตรัสทำนองเดียวกัน

             ๕. ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นอาภา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข
             เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงความเป็น
สหายแห่งเทวดาชั้นอาภาเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
             ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้
ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น
             นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่ง
เทวดาชั้นอาภา
             ความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปริตตาภา ชั้นอัปปมาณาภา ชั้นอาภัสสรา
ชั้นสุภา ชั้นปริตตสุภา ชั้นอัปปมาณสุภา ชั้นสุภกิณหา ชั้นเวหัปปผลา ชั้นอวิหา
อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา ตรัสทำนองเดียวกัน

             ๖. ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ มีอายุยืน ดำรงอยู่นาน
มากด้วยความสุข
             เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า เมื่อเราตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็น
สหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น
เจริญจิตนั้น
             ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้
ำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น
             นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดา
ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ
             ความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ
อากิญจัญญายตนภพ เนวสัญญานาสัญญายตนภพ ตรัสทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูมิ_4

             ๗. ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราพึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง
ในปัจจุบันอยู่
             เธอจึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ภิกษุนี้ย่อมไม่เกิด
ในที่ไหนๆ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิมุตติ_2

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 3-107
ฐานาฐานะ, 16 มกราคม เวลา 20:03 น.

GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๒๐. สังขารูปปัตติสูตร ว่าด้วยปฏิปทาอันให้สำเร็จความปรารถนา
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4497&Z=4713&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
8:04 PM 1/15/2014

             ย่อความได้ดีครับ
             ขอถามว่า ลิงค์คำว่า อารยวัฒิ 5 นำมาจากไหน?
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อารยวัฒิ_5

ความคิดเห็นที่ 3-108
GravityOfLove, 16 มกราคม เวลา 20:10 น.

Search จากคำว่า  จาคะ ค่ะ ถ้าจำไม่ผิด

ความคิดเห็นที่ 3-109
ฐานาฐานะ, 16 มกราคม เวลา 20:17 น.

GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
Search จากคำว่า  จาคะ ค่ะ ถ้าจำไม่ผิด
20.10
             รับทราบครับ.
             ผมเองนึกหมวดธรรมนี้ไม่ออกเลย
จึงแปลกใจว่า คุณ GravityOfLove นำมาจากไหน?

ความคิดเห็นที่ 3-110
GravityOfLove, 16 มกราคม เวลา 20:34 น.

เคยโพสต์ในย่อความ 2-3 ครั้งนะคะ แต่จำชื่อไม่เคยได้เพราะยาก

ความคิดเห็นที่ 3-111
ฐานาฐานะ, 16 มกราคม เวลา 20:40 น.

             รับทราบครับ.
             ค้นดูแล้ว พบ 2 ครั้งในย่อความ 2 พระสูตรดังนี้ :-
GravityOfLove,
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
             ๘. นฬกปานสูตร เรื่องกุลบุตรผู้มีชื่อเสียงบวช
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3667&Z=3864&bgc=seashell&pagebreak=0
...
6:02 PM 8/16/2013

GravityOfLove,
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
              ๔๖. เอสุการีสูตร เรื่องเอสุการีพราหมณ์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10535&Z=10724&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

ความคิดเห็นที่ 3-112
GravityOfLove, 16 มกราคม เวลา 20:44 น.

ขอบพระคุณค่ะที่ค้นให้

ความคิดเห็นที่ 3-113
ฐานาฐานะ, 16 มกราคม เวลา 20:13 น.

             คำถามในสังขารูปปัตติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4497&Z=4713

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. ธรรม 5 ประการนี้คือศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
มีเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น หรือว่า คฤหัสถ์ก็สามารถมีได้ เจริญได้?

ความคิดเห็นที่ 3-114
GravityOfLove, 17 มกราคม เวลา 12:43 น.

             ตอบคำถามในสังขารูปปัตติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4497&Z=4713

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
            ๑. ปฏิปทาเพื่อเป็นกษัตริย์มหาศาล เป็นต้น จนถึงปฏิปทาเพื่อให้บรรลุ
เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ อันอาศัยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
และตั้งจิตปรารถนาเพื่อความเป็นอย่างนั้น
             ๒. ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นโลกิยะ
             ๓. ธรรม ๕ ประการ (คือศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา) เหล่านี้เป็นศีล
             บุคคลนั้นตั้งอยู่ในศีลนี้แล้วกระทำกสิณบริกรรม ทำสมาบัติทั้งหลายเหล่านั้น
ให้เกิดขึ้นในกาลนั้น ย่อมบังเกิดในพรหมโลกที่มีรูป
             ทำอรูปฌานทั้งหลายให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมบังเกิดในพรหมโลกที่ไม่มีรูป
             เจริญวิปัสสนาอันมีสมาบัติเป็นปทัฏฐานแล้วทำให้แจ้งอนาคามิผล
ย่อมเกิดในชั้นสุทธาวาส ๕
             เจริญมรรคให้สูงขึ้น ย่อมถึงความสิ้นอาสวะ
----------------------------
             2. ธรรม 5 ประการนี้คือศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
มีเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น หรือว่า คฤหัสถ์ก็สามารถมีได้ เจริญได้?
             คฤหัสถ์ก็สามารถมีได้ เจริญได้

ความคิดเห็นที่ 3-115
ฐานาฐานะ, 17 มกราคม เวลา 13:16 น.

GravityOfLove, 16 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในสังขารูปปัตติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4497&Z=4713
...
12:43 PM 1/17/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 3-116
GravityOfLove, 17 มกราคม เวลา 13:22 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-117
ฐานาฐานะ, 17 มกราคม เวลา 13:28 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สังขารูปปัตติสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4497&Z=4713

              พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              จูฬสุญญตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4714&Z=4845
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=333

              มหาสุญญตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4846&Z=5089
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=343

              อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5090&Z=5281
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=357

              พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5282&Z=5374
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=380

              ทันตภูมิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5375&Z=5608
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=388

ย้ายไปที
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 22 มกราคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:32:21 น.
Counter : 509 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มกราคม 2557

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog