<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
13 พฤษภาคม 2553
 
 
ทำไมสุนัขชอบไล่สัตว์เล็ก หรือ ฆ่าสัตว์เล็ก ?

สุนัขที่มีพลังงานสูง ต้องการระบายพลังงานออกเพื่อทำให้ตัวเองสงบ เหมือนกับคนที่ไฮเปอร์ ก็ต้องหาโน่นนี่ทำ เพื่อให้ตัวเองสงบ ถ้าไม่ทำก็จะหงุดหงิด สุนัขก็เช่นเดียวกัน
สุนัขบางตัวหาทางระบายพลังงานต่างกัน บางตัวเห่าไม่หยุด บางตัวขุด บางตัวกัดทำลายข้าวของ บางตัววิ่งไล่งับหางตัวเอง บางตัวไล่ล่าฆ่าสัตว์เล็ก

สุนัขที่มีสัญชาติญาณการไล่ล่าสูง ก็จะชอบไล่สัตว์เล็ก เห็นไม่ได้ อยากจะเข้าไปกัด ไปตะปป หรือ ไปฆ่า เนื่องจากเขาไ่ม่มีอะไรทำ เพราะคนไม่ให้เขาทำอะไร เขาก็เลยต้องหางานทำเอง นั้นเป็นต้นเหตุของปัญหา

ทางออก

1 ต้องพาสุนัขออกกำลังกายให้เหนื่อยทุกเช้า และทุกวัน เช่น พาวิ่ง พาขึ้นลู่วิ่ง เพื่อระบายพลังงานออกให้หมด สุนัขจะได้ไม่ตอ้งหางานนักฆ่า(สัตว์เล็ก)เอง

2 คนต้องเป็นจ่าฝูง ถึงจะห้ามสัญชาติญาณตามธรรมชาติได้ เพราะหมาจะเชื่อฟังใคร เขาก็ต้องเคารพและเห็นคนนั้นเป็นจ่าฝูง ถึงจะเตือนสำเร็จ เพราะสัญชาติญาณการไล่ล่า ค่อนข้างห้ามยาก เราต้องเป็นจ่าฝูง ถึงจะสำเร็จ



Dog Training; ชีวิตประจำวันเพื่อการเป็นจ่าฝูงตลอด 24 ชั่วโมง

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=yojajiji&month=11-10-2009&group=6&gblog=48


Dog Training; ฝึกคนเป็นจ่าฝูง

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=yojajiji&month=27-11-2008&group=6&gblog=11

ที่สำคัญ สุนัขที่มีสัญชาติญาณการไล่ล่า ฆ่าสัตว์เล็กสูง ของเล่นที่มีเสียงปี๊ปๆ กัดแล้วมีเสียงดัง ต้องห้ามเล่น เพราะเสียงที่ดัง เหมือนกับเสียงเหยื่อที่ถูกฆ่า จะทำให้หมาได้ยินเสียงแล้วคลั่ง และ จะไปกระตุ้นสัญชาติญาณนักฆ่าและหลงกับภาวะนั้นๆ

ต่อไปฝึกให้สุนัขเคยชินกับการเห็นสัตว์เล็ก

1 ให้สัตว์เล็กเดินอิสระ
2 ให้สุนัขอยู่หลังรั้ว หรือ อยู่ในบ้าน ที่ๆสามารถมองเห็นสัตว์เล็กได้ แต่วิ่งไล่ไม่ได้
3 ใส่สายจูงแบบเชือกหรือโซ่กระตุก สวมไว้ตำแหน่งหลังหู
4 เมื่อไหร่สุนัขจ้องสัตว์เล็กนานเกิน หูตั้ง คอแข็ง ทำท่ากระวนกระวาย หรือ แลบลิ้นเลียปาก ให้กระตุกสายจูง หรือ ฉก ทันที
5 ตักเตือนจนกว่าสุนัขจะนั่งเฉยๆ ไม่ลุกลี้ลุกลน ถ้าจะให้ดี สุนัขเมินหน้าหนี มองไปทางอื่น
6 เมื่อฝึกข้อ 5 ได้แล้ว ให้สุนัขออกจากห้อง ใส่สายจูงไว้เหมือนเดิม และ ให้นั่งมองสัตว์เล็กเฉยๆ ในระยะใกล้ขึ้น และ ตักเตือนถ้าสุนัขมีอาการลุกลี้ลุกลน จนเขาสงบ

ฝึกให้ สุนัขอยู่ใกล้ๆสัตว์เล็กแบบประชิดตัว

1 ให้สัตว์เล็กอยู่ในกรง
2 สุนัขอยู่หน้ากรง สั่งให้สุนัขหมอบเคียงข้างกรงสัตว์เล็ก ถ้าสุนัขหันมอง หรือ จ้องสัตว์เล็กนานเกิน ให้ตักเตือนทันที โดยการกระตุกสายจูง หรือ การฉก จนสุนัขเลิกจ้อง หรือ หันหน้าหนีมองไปทางอื่น
3 ท่าทางที่แสดงว่าสุนัขยอมรับสัตว์เล็กแล้วคือ

สุนัขมองสัตว์เล็กเฉยๆ ไม่ลุกลี้ลุกลน ไม่จ้อง มีตาตี่เล็ก และกระพริบตาตามปกติ ปากผ่อนคลาย อาจทำจมูกฟุตฟิตดมผ่านกรง และ ไม่มีเสียงคราง หรือ ไม่เห่า และ ไม่พยายามจะตะบบกรงหรือ อยากจะงับ

4 เมื่อสุนัขมีอาการดังข้อ 3 ให้ฝึกขั้นต่อไป คือ เอาสัตว์เล็กออกนอกกรง เราอุ้มไว้ให้อยู่สูงกว่าสุนัข เพื่อให้สัตว์เล็กอยู่เหนือกว่า มีอำนาจมากกว่าสุนัข

5 ให้สุนัขหมอบเหมือนเดิม เราต้องคอยจับตามองสุนัข สุนัขต้องสงบตลอดเวลา ถ้าสุนัขมีอาการลุกลี้ลุกลน จ้องเพ่งนานเกิน 3 วินาทีด้วยอาการปากหุบ คอแข็ง หรือ เลียปาก ให้ตักเตือนทันที จนสุนัขกลับมาสงบเหมือนเดิม
6 ให้สุนัขและสัตว์เล็กอยู่เคียงข้างกัน ใกล้ๆกัน สุนัขต้องสงบเมื่ออยู่ใกล้ๆสัตว์เล็ก
7 ให้สัตว์เล็กเดินได้อิสระ โดยที่สุนัขยังคงสงบเหมือนเดิม
8 ฝึกบ่อยๆ จนมั่นใจ และ สุนัขไม่วิ่งไล่สัตว์เล็กอีกเลย เราถึงมั่นใจปล่อยให้เขาอยู่กันได้ตามลำพังโดยไม่มีเราควบคุมจับตามอง

ถ้าเรายังไม่มั่นใจ หรือ อยู่ในช่วงการฝึก อย่าปลอ่ยให้สนุัขอยู่ตามลำพังกับสัตว์เล็ก โดยไม่มีคนควบคุมดูแลเด็ดขาด

ดูเพิ่มเติม

Dog Training; "การฉก"...... ตักเตือนสุนัขเมื่อทำผิด...... ให้ได้ผล ต้องทำอย่างไร ?

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=yojajiji&month=08-01-2010&group=6&gblog=51

Dog Training; วิธีใช้ Check chain อย่างถูกต้อง

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=yojajiji&month=18-08-2009&group=6&gblog=46


Create Date : 13 พฤษภาคม 2553
Last Update : 13 พฤษภาคม 2553 10:31:19 น. 17 comments
Counter : 7766 Pageviews.

 
กุดมอร์นิ่ง ทักทายตอนสายๆ จ้า :)^^


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 13 พฤษภาคม 2553 เวลา:11:13:19 น.  

 


ขอบคุณฮับ แม่ผมได้เทคนิคเยอะเลย


โดย: ปีหน้าฟ้าใหม่ วันที่: 14 พฤษภาคม 2553 เวลา:20:51:51 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณหญิง ซีซาร์มาอีกแล้ว ฮ่าๆๆ
คราวที่แล้วขอบคุณมากนะคะ ตอนนี้ซีซาร์ดีขึ้นมากแล้วค่ะ กินโดยไม่สนใจพีทแล้ว

ตอนนี้อยากทราบอย่างนึง คือ พีทกับซีซาร์จะเป็นหมาไฮเปอร์มากค่ะ พาเค้าไปเดินทุกวัน แต่เค้าก็ยังไม่เหนื่อย นั่งพักแป๊บนึง ก็เริ่มเดินวุ่นวายแล้วค่ะ

ปกติพาไปเดินจูง ก็ประมาณครึ่งชม.ต่อวันนะคะ อยู่ที่บ้านก็มีวิ่งเล่นกันเองบ้าง แต่ก็ดูเค้ายังมีพลังงานล้นเหลือตลอดเวลาเลยค่ะ

จะให้เค้าขึ้นลู่วิ่ง ที่บ้านก็ไม่มีค่ะ เลยสงสัยว่า ถ้าจะปล่อยเค้าออกไปวิ่งข้างนอกได้บ้างรึเปล่าค่ะ คือปล่อยไปเลย ไม่ได้ออกไปเดินพร้อมสายสูง ให้เค้าไปวิ่งอะไรเอง แล้วกลับมา ได้รึเปล่าคะ


เพราะก่อนหน้านี้ ที่ไม่ได้ฝึกการเดิน หรือฝึกการเป็นจ่าฝูง เราจะใช้วิธีนี้อะค่ะ ปล่อยเค้าออกไปเลย แล้วเราก็เดินออกไปคุมๆ ดูๆบ้าง ถึงเวลาก็เรียกเค้ากลับ เค้าก็จะมานะคะ


ไม่ทราบว่า การปล่อยให้ออกไปวิ่งเล่นแบบนี้ จะถือว่าผิดหรือเปล่าคะ แต่เรื่องความปลอดภัย ไม่ต้องเป็นห่วงค่ะ เพราะแถวบ้านอยู่ในบ้านพักโรงพยาบาล เค้าสามารถวิ่งเล่นได้ แทบไม่มีรถเลยค่ะ และทุกทีเวลาปล่อยไป เค้าก็กลับมาได้ทุกครั้ง ไม่ไปรบกวนคนอื่นด้วยค่ะ เพราะเค้าชอบไปวิ่งๆแถวสนามหญ้า ดมอะไรไปเรื่อย แล้วก็เหนื่อยๆกลับมาเองค่ะ


การปล่อยไปเนี่ย เค้าจะเหนื่อยมากค่ะ คือ หมดพลังงานไปเป็นวันๆเลย คือก็ถือว่าดีใช่มั๊ยคะ


ขอบคุณมากนะคะคุณหญิง ^^
ขอโทษที่มารบกวนบ่อยๆค่ะ


โดย: ซีซาร์ IP: 118.173.158.125 วันที่: 15 พฤษภาคม 2553 เวลา:0:27:45 น.  

 
สวัสดีคะ

ไม่ควรอย่างยิ่งเลยนะคะ ที่จะปล่อยหมาวิ่งอิสระนอกบ้าน หรือ ให้หมาออกไปเดินนอกเขตบ้านอย่างอิสระโดยไม่มีสายจูง และ ไม่มีคนดูแล ถ้าจะออกไปนอกบ้านกับเรา ก็ตอ้งออกไปแบบมีสายจูงคะ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เลี้ยงสุนัข และ เคารพสิทธิของผู้อื่นที่ร่วมใช้ถนนและบริเวณรอบๆ เพราะไม่ใช่ทุกคนจะัรักสุนัขเหมือนกับเรา คนไม่ชอบก็มี เกลียดก็มี กลัวก็มี เราก็ต้องเคารพสิทธิของคนกลุ่มนี้ด้วย

เราควรที่จะคำนึงถึงความปลอดภัยของสุนัขของเรา และ ความปลอดภัยของคนร่วมเขตบ้านพักด้วย

ข้อเสียของการปล่อยหมาอิสระนอกบ้าน
- สุนัขอาจถูกรถชน
-สุนัขอึไม่เป็นที่ อึหน้าบ้านคนอื่น ซึ่งไม่มีใครชอบแน่ๆ และในเขตบ้านพักโรงพยาบาล คนที่อยู่ก็เป็นคนรักความสะอาด คงไม่ชอบที่เห็นขี้หมาของบ้านอื่น มาอยู่หน้าบ้านของตน หรือ มาอยู่ที่สวนที่เป็นที่ของส่วนรวม
-สุนัขอาจกินอะไรที่เป็นอันตรายกับชีวิตเขาได้
-สุนัขอาจถูกขโมย ถูกยามไล่ออกนอกโรงพยาบาล ถูกเทศกิจจับไป
- สุนัขอาจไปกัดกับสุนัขตัวอื่น อาจไปติดโรคจากสุนัขจรตัวอื่น หรือ ติดเห็บหมัดกลับบ้าน
-สุนัขอาจไปชนเด็กล้ม หรือ ไปกัดคนอื่น หรือ ไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น

เป็นต้น

ถ้าอยากให้สุนัขเชื่อฟังและเคารพเรา เราต้องทำตัวให้เขาเคารพและเห็นเราเป็นจ่าฝูงของเขา เราต้องพาเขาไปทำกิจกรรมต่างๆ ในแบบที่เราควบคุมเขาให้ืทำ และ เขาจะสงบพร้อมกับเคารพเรา เชื่อฟังเรา แต่ถ้าเราปล่อยให้เขาไปอิสระด้วยตัวเขาเองนอกบ้าน แต่เราไม่ได้โชว์ความเป็นจ่าฝูงให้เขาเห็น ไม่ฝึกกฎระเบียบ ยังไงเขาก็ไม่เคารพเราอยู่ดี โลกนอกบ้าน กับ โลกในบ้าน แยกกันนะคะ คนละส่วน ที่สำคัญ อยากให้หมาเคารพ เราต้องเป็นจ่าฝูงทั้งในโลกในบ้าน และ นอกบ้าน

เทคนิกการทำให้หมาสงบ คือ ออกกำลังกายทางใจ + ออกกำลังกายทางกาย

แต่ที่จะทำให้สุนัขสงบสุดๆ ก็คือ ออกกำลังกายทางสมอง (ซึ่งจะทำให้หมาสงบกว่าการออกกำลังทางกายอีก)

เราจะเห็นสุนัขเมืองนอกที่คอยช่วยเหลือคนตาบอด คนพิการ นั้นจะเป็นสุนัขที่สงบมาก แม้เขาไม่ได้วิ่งเล่นครึกครื้นแบบสุนัขปกติทั่วไป ไม่ได้ถูกระบายพลังงานทางกายอื่นๆ วันๆนั่งใกล้ ยืนใกล้ คนพิการ เดินไปโน่นนี่กับคนพิการ แต่หมากลุ่มนี้เขาสงบสุดๆ ก็เพราะเขาออกกำลังจิตใจ ออกกำลังสมองคะ เขาต้องมีสมาธิตลอดเวลา และ คอยสังเกตความปลอดภัยต่างๆ และคอยรับคำสั่งจากคนพิการว่าต้องการให้เขาไปหยิบอะไร คอยเป็นหูเป็นตาเป็นแขนขาแทนเจ้านาย นั่นเองที่ทำให้เขาใช้พลังงานส่วนเกินออกไปในทางที่มีสมาธิ และ ในทางที่ควบคุมได้

--------------------

ถ้าเราพาเดินแล้ว กลับมาเขายังวุ่นวายอีก แปลว่าเดินแค่นั้นไม่พอสำหรับเขา เราต้องเพิ่มการออกกำลังกายมากขึ้นเช่น

พาเดินมากขึ้น พาวิ่งออกกำลังกาย ปั่นจักรยานและให้เขาวิ่งไปข้างๆจักรยาน พาเล่นกิจกรรมอื่นๆหลังจากเดิน เช่น ฝึก tricks ฝึกเกมหาของ เกมที่ทำให้เขาฝึกสมอง ฝึกสมาธิ
หรือ หาเครื่องกีดขวางต่างๆมาให้สุนัขได้กระโดด เหมือนหมาที่แข่งการข้ามเครื่องกีดขวาง ก็จะทำให้หมาสงบได้

สุนัขที่พลังงานสูง เราก็ควรที่จะมีพลังงานสูง ชอบทำกิจกรรม เพื่อที่จะได้พากันออกกำลัง พากันมีกิจกรรม และ จะทำให้การเลี้ยงหมาไม่เป็นภาระ เพราะเหมาะสมกัน

แต่ถ้าหมาพลังงานสูง แต่เจ้าของพลังงานต่ำ ชอบอยู่เฉยๆ ฟังเพลง อ่านหนังสือ นอนดูทีวี เมื่อนั้นความวุ่นวายก็จะเกิด เพราะเป็นการจับคู่ที่ผิด

เมื่อเรามีสุนัขพลังงานสูง ก็ต้องเป็นหน้าทีและความรับผิดชอบของเรา ที่ต้องพาเขาออกกำลังเพื่อให้เขาสงบ และ ควรเป็นการออกกำลังที่เราควบคุมเขา อยู่ในสายตาเรา เพื่อเขาจะไ้ด้เคารพเราและ เขาก็ได้ความสงบด้วย




โดย: Yoja&Jiji วันที่: 15 พฤษภาคม 2553 เวลา:9:08:18 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะคุณหญิง กระจ่างชัดมากๆ ^^
ต่อไปนี้จะลองให้เค้าวิ่งคู่จักรยานดู น่าจะสนุกน่าดู


ปกติจะมีการพาเจ้าสองตัวนี้ไปเที่ยวนอกบ้านบ้าง แต่รถกระบะที่เอาไว้ขนหมา เสียได้ซักสองอาทิตย์แล้วค่ะ ช่วงนี้ สองตัวนั้นเลยไม่ค่อยได้ออกไปเที่ยวเลย


ปกติที่บ้านจะมีกิจกรรมร่วมกันตลอด เช่นพาไปเดิน ออกนอกบ้าน เล่นปาบอล แต่ทั้งสองตัวดูจะมีแรงล้นเหลือมากค่ะ ประมาณว่าได้พักแค่ 10-20 นาที เค้าก็พร้อมจะเล่นต่อแล้ว


ก็คงต้องพยายามกันต่อไป ขอบคุณคุณหญิงมากนะคะ ^^


โดย: ซีซาร์ IP: 113.53.55.224 วันที่: 15 พฤษภาคม 2553 เวลา:21:56:42 น.  

 
สวัสดีครับคุณหญิง

ติดตามอ่านบล็อกมาตลอด อ่านดูเข้าใจง่าย
แต่ตอนปฏิบัติ ไม่เป็นตามสเต็ปในบล็อก อยากขอคำแนะนำ

พอดีได้สุนัขมาตัวหนึ่ง อายุประมาณ 2 ขวบ (ผู้-ปอม) เมื่อประมาณ 10 วันมาแล้ว
ตอนได้มาใหม่เขากลัวมาก หนีตลอด แต่ผมก็ใช้วิธีตามที่ได้อ่านมา คือ ไม่สนใจ เขาจะหนี ไม่หนี ก็ไม่มอง
ถึงเวลาก็ให้อาหาร(เช้าและเย็น)
ส่วนตอนค่ำประมาณสองทุ่ม จับเขาใส่กรง ..แน่นอนว่าตอนจับใส่กรุงก็มีหนี ตอนเช้าก็จับปล่อยออกจากกรง
แน่นอนว่า การเบา การหนัก ก็เลยยังไม่เป็นที่เป็นทาง
ชื่อก็ยังไม่ได้ตั้ง

และปัจจุบัน เขาจะแอบเดินตาม แต่พอหันไปก็หนี
เคยนั่งหันข้าง อย่างที่แนะนำ เขาก็เฉย
เอาอาหารไว้ในมือ ก้เฉย

เข้าคำถาม
1. แสดงว่า การฝึกเป็นจ่าฝูง ของผมยังไม่สำเร็จ
แล้วต้องใช้เวลาอีกประมาณเท่าไร

2. ต้องฝึกให้สุนัขเข้าหาเราก่อน จึงค่อยฝึกเรื่องอื่น
ใช่หรือไม่

3. อันนี้เผื่อไว้ การฝึกให้สุนัขออกกำลังทำอย่างไร
- สายจูง พาออกวิ่งข้างนอก ????

ขอบคุณครับ


ปัจจุบัน เวลาเ


โดย: โจครับ IP: 125.25.90.196 วันที่: 21 พฤษภาคม 2553 เวลา:18:24:17 น.  

 
สวัสดีคะคุณโจ

ขอบคุณนะคะที่ติดตามบล็อก

คุณโจทำถูกต้องแล้วคะ แต่สำหรับสุนัขที่ขี้กลัว เป็นสิ่งที่แก้ยาก เพราะต้องอาศัยเวลา และ ความเชื่อใจ คือ เขาต้องเชื่อใจเรา แต่จะเชื่อใจเร็วหรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับสุนัขแต่ละตัว และ ความขี้กลัว และ วินาทีแรกที่เรากับสุนัขเจอกัน ถ้าวินาทีแรกที่เจอกัน เราจู่โจมเกินไป จริงๆเราอาจไม่จู่โจม แต่ในสายตาหมาที่ขี้กลัว ก็กลายเป็นจู่โจมได้ เช่น มองจ้องตา ยืนหรือนั่งแล้วโน้มตัวเข้าหา มือยกไปเหนือหัวเขา ก็ถือเป็นการข่มหมดคะ สำหรับสุนัขธรรมดาๆ ที่ไม่มีความหวาดกลัว ก็จะไม่ค่อย sensitive กับท่าทางเหล่านี้เท่าไหร่ แต่สำหรับสุนัขที่ขี้กลัวแล้ว ถือว่าสำคัญมากสำหรับความเชื่อใจในอนาคต ถ้าเราจู่โจมเขา ข่มเขา ตั้งแต่วินาทีแรก จะทำให้เขากลัวและหลีเลี่ยงเรา เราก็ยิ่งต้องใช้เวลามากกว่าปกติที่จะสร้างความเชื่อใจให้กลับคืนมาคะ

หญิงไม่แน่ใจว่าคุณโจได้อ่าน หัวข้อนี้หรือยัง

Dog Behavior : No touch! No talk! No eye contact!

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=yojajiji&month=05-08-2009&group=7&gblog=8

ซึ่งวินาทีแรกที่เจอหมาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด กับความสัมพันธุ์ระหว่างเรากับเขาในอนาคตข้างหน้า แต่เนื่องในสภาวะแวดล้อมขณะที่เราไปรับตัวน้องหมา อาจทำให้เราควบคุมสถานการณ์ได้ยาก อะไรที่อยากจะทำก็ทำได้ไม่เต็มที่ ก็จะทำให้มีผลกระทบต่อจิตใจสุนัขที่ขี้กลัวไ้ด้ง่าย

อย่าเพิ่งท้อนะคะ ถือว่านอ้งหมาโชคดีมากที่ได้เจ้าของที่ตั้งใจจริง และ พยายามเป็นจ่าฝูงเพื่อเขา หญิงเชื่อว่าถ้าเขาไปเจอผู้เลี้ยงคนอื่น นอ้งหมาต้องแย่กว่านี้แน่ๆ เขาโชคดีมากที่ได้คุณโจเป็นจ่าฝูงของเขา

หญิงคิดว่าเขาเริ่มไว้ใจคุณโจนะคะ จากการที่เขาพยายามจะเดินตามคุณโจ เพียงแต่พอเราหันกลับไปมองเขาก็หนี เราอาจจะหันไปแบบมองตาเขาหรือเปล่า การมองตาก็ถือเป็นการข่มเหมือนกัน ลองหันไปมองแต่มองเลยไป มองแบบผ่านๆดู ดูซิว่า เขาจะหนีไหม หรือว่า เราหันไปแบบทันทีหรือเปล่า เขาเลยตกใจ เราลองทำท่าทางให้ช้าๆลง นุ่มนวลขึ้น ลองหาความช้า ช้าประมาณว่าหมาไม่หนี อาจพอช่วยได้คะ

สุนัขที่ขี้กลัวมักจะไม่ใช้จมูกดม เขาจะใช้ตาซะส่วนใหญ่ แต่ในธรรมชาติของสุนัขทั่วๆไป สุนัขจะใช้จมูกก่อนอันดับแรก เพราะจมูก จะควบคุม 60% ของการทำงานของสมอง

การปรับพฤติกรรมสุนัขที่ขี้กลัว สิ่งที่เน้นที่สุดคือ ต้องสนับสนุนให้เขาใช้จมูกดมคะ เมื่อหมาใช้จมูกดม สมองก็จะทำงาน หมาก็จะไม่กลัว แต่หมาที่ขี้กลัวส่วนใหญ่ จะใช้ตา เห็นปุ๊ปวิ่งหนี เหมือนเป็นการตอบสนองอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องคิด ยังไม่รู้เลยว่าใครมาดีหรือไม่มาดี วิ่งเลย
เหมือนกับเราจับของร้อนแล้วชักมือหนีทันที โดยที่ยังไม่ได้คิดอะไร

นั่นถึงเป็นเหตุผลที่ว่า ต้องใช้กลิ่นเป็นตัวล่อสุนัขมาหาเรา สุนัขที่ขี้กลัวจะค่อนข้างปฎิเสธิของกิน จะไม่รับของกินใดๆทั้งสิ้น แต่ถ้าเมื่อไหร่สุนัขเดินเข้ามากินของในมือได้แปลว่า อาการกลัวเขาเหลือน้อยแล้ว ถ้ากลิ่นขนมไม่ได้ผล เราลองใช้กลิ่นน้ำมันหอมละเหยหอมๆ สบายๆ ถูกับมือเราแต่น้อยๆ ให้มีกลิ่นแปลกๆดู เพื่อให้สุนัขสนใจเรา แค่เราทำให้จมูกเขาดุ๊กดิ๊กได้ ถือว่าเป็น sign ที่ดีแล้วคะ

สุนัขที่ขี้กลัวมากๆ ถึงมากที่สุด จะย่อตัวลง ตัวงอ เกร็งตัว ขาสั่น แทบจะขยับเดินไม่ได้เลย ตาลอกแลกหวาดผวา หางจุกก้นตลอดเวลา นี้่คือ หมาที่ขี้กลัวสุดๆๆๆๆๆๆๆ

แต่ถ้าอาการไม่ได้เป็นข้างต้น ตัวยังผ่อนคลาย หางไม่จุกตูด ตัวไม่สั่น ยังเดินตามเราบ้าง ถือเป็น sign ที่ดีคะ

-----------------------
วิธีนั่งหันข้างให้ สุนัขต้องอยู่ในที่ที่หนีไม่ได้ด้วยนะคะ เรานั่งหันข้่่างให้ นั่งไปอย่างนั้นหนะคะ เป็นครึ่งชั่วโมงก็ต้องนั่งอยู่อย่างนั้น จนกว่าสุนัขจะผ่อนคลาย และ เริ่มจมูกดุ๊กดิ๊กมาดมเรา ดมของในมือ หมาทุกตัวมีลิมิตความอดทนคะ นานเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับหมาแต่ละตัว เมื่อเขาเลิกหลีกเลี่ยง เขาก็จะทำใจยอมรับ แล้วจะเริ่มผ่อนคลาย เมื่อผ่อนคลาย แปลว่าเขาหายกลัว และเริ่มเปิดใจรับเราเมื่ออยู่ใกล้ๆ เวลาสุนัขผ่อนคลาย ตัวจะผ่อนคลาย สบายๆ ไม่เกร็จ หางไม่จุกตูด ปากอ้า หอบเบาๆ ลิ้นแลบออกมา ตาหลี่เล็ก ไม่ลอกแลก

ถ้าเรานั่งแค่แป๊ปเดียว แล้วเราเห็นว่านอ้งหมาไม่ดมสักที เราก็ล้มเลิกไปก่อน อันนี้ถือว่า เรายังทำไม่สำเร็จนะคะ
-----------------------

ตอบคำถามคะ

- คุณโจทำดีมากคะ เป็นจ่าฝูงได้ดีมาก เพราะถ้าคุณโจไม่เป็นจ่าฝูง เขาจะมีอาการแย่กว่านี้ จะไม่มีเดินตามเรา และแถมมีขู่ มีักัดได้ด้วย

คนหลายคนที่เลี้ยงสุนัขขี้กลัว แล้วเลี้ยงแบบผิดๆ ก็มักจะเข้าไปแบบจู่โจม พูดมากเกิน อุ้มโอ๋ต่างๆนานา ภาวะอารมณ์แบบนี้จะไม่ใช่จ่าฝูง หมาก็จะยิ่งกลัว แล้วจะพัฒนาเป็นกัด ใครจับตัวเป็นกัด ขู่แยกเขี้ยวไม่ให้ใครเข้าใกล้ ถ้าหมาเป็นแบบนี้ แปลว่า ไ้ด้ผู้เลี้ยงที่ล้มเหลวในการเลี้ยงสุนัขที่ขี้กลัว

-ฝึกให้เขาเชื่อใจก่อนคะ แล้วไม่หนีเรา ยอมให้เราอยู่ใกล้ๆ กล้าเข้ามาดม ต้องทำพวกนี้ให้ได้ก่อนคะ แล้วค่อยฝึกอย่างอื่น เพราะถ้าเราฝึกอย่างอื่นแบบข้ามขั้น บังคับเขาเกินไป จะยิ่งทำให้เขายิ่งกลัว ยิ่งหนี

สิ่งที่ควรฝึกอีกอย่างคือ ฝึกให้เขาใส่สายจูง

เมื่อเราฝึกนั่้งใกล้ แล้วหมาไม่หนี เขาผ่อนคลาย เขากล้ามาดมเรา เมื่อนั้นถึงเริ่มฝึกใส่สายจูงคะ

วิธีฝึก เรานั้งใกล้ๆเขาหันข้างให้ถือสายจูงในมือ พอเขาผ่อนคลาย และ เข้ามาดมสายจูงในมือ เราก็ค่อยๆเอาสายจูงไปถูๆเบาๆใกล้ๆกับปากเขา แถวๆคอเขา เบาๆ เพียงแค่นี้คะ แล้วเอาสายจูงออกไป แล้วสักพักมาลองใหม่ พอเอาสายจูงถูกคอเขา เขายังผ่อนคลายอยู่ แล้วค่อยเอาสายจูงติดกับปลอกคอ แล้วเอาสายจูงออก ฝึกแบบนี้สักพักจนเขาผ่อนคลายทุกกระบวนการใส่สายจูง เมื่อนั้นเราค่อยให้สายจูงติดกับปลอกคอนานขึ้น จนเขาเดินไปไหนต่อไหน ก็ลากเอาสายจูงไปด้วย จนเขาเคยชินกับสายจูง เมื่อนั้นเราค่อยถือสายจูง และ ฝึกเดิน

กระบวนการข้างต้น อาจใช้เวลากว่าจะสำเร็จในแต่ละสเต็ป อย่าใจร้อนนะคะ การฝึกคร่าวๆจะเป็นแบบนี้ แต่เจ้าของสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ทำอะไรก็ได้ ห้ามจู่โจม สุนัขต้องผ่อนคลาย ไม่หนี ไม่กลัว ถือว่าสเต็ปนี้สำเร็จ แล้วค่้อนขึ้นสเต็ปต่อๆๆๆไป

- เมื่อเขาคุ้นเคยกับการใส่สายจูง แล้วพาออกไปเดิน

ยังไม่ต้องเดินแบบ Mastering the walk เพราะจะเป็นการบังคับเขามากเกินไป

จุดประสงค์หลักๆ ที่ต้องทำก่อนก็คือ ให้เขากล้าที่จะเดินข้างนอก กล้าที่จะได้กลิ่นใหม่ๆข้างนอก ไม่กลัวต่อสิ่งของต่างๆ ใ้ห้เขากล้าที่จะก้าวเดินไปเรื่อยๆ จะนำเราไปก่อนก็ยังไม่เป็นไร เมื่อไหร่เขาหายกลัวแล้ว ไม่มีปัญหาเมื่อเจอสิ่งกระตุ้นต่างๆ แล้วเมื่อนั้นค่อยมาฝึกเดินแบบ Mastering the walk

ดูในรายการของซีซาร์ บางตอนเป็นการพาสุนัขขี้กลัวเดินนอกบ้าน ซีซาร์เขาพาสุนัขวิ่งเลยคะ เพราะหมาวิ่ง จะสนุก จะทำให้หายกลัว จะทำให้สนใจต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง เพราะเขาจะวิ่งลูกเดียว ไม่มีเวลาที่จะหยุดกลัว ถือเป็นการระบายพลังงาน และ สุนัขหลุดจากภาวะกลัว เมื่อพาวิ่งแล้ว ค่อยพามาฝึกเดินแบบ Mastering the walk สุนัขก็จะเดินได้ดีขึ้น กลัวน้อยลง

สู้ๆนะคะ มีอะไรถามได้เสมอ ยินดีและเต็มใจช่วยแนะนำและร่วมปรับน้องหมาให้หายกลัวคะ

หญิง







โดย: Yoja&Jiji วันที่: 21 พฤษภาคม 2553 เวลา:19:59:44 น.  

 
สวัสดีอีกครั้ง

ขอบคุณสำหรับคำตอบและคำแนะนำ
blog ที่คุณหญิงแนะนำส่วนมากอ่านแล้วครับ

แต่อย่างที่เรียนให้ทราบ บางจังหวะ บางตอน ก็ไม่เป็นไปตามตำรา

อย่างเช่น แม้เราจะทำเป็นไม่สนใจเขา แต่บางเวลาเราต้องจับตัวเขาเพื่อเอาเขาเข้ากรง เอาเขาอาบน้ำ เป็นต้น
ส่วนนี้สงสัยเหมือนกันว่า จะต้องข้ามไปก่อนหรือไม่

อยากเล่าให้เห็นภาพนิดหนึ่ง
ลักษณะที่พักเป็น ทาวเฮาส์ ห้องริม 3 ชั้น
กรง อยู่ชั้นล่าง เจ้าของบ้านอยู่ชั้นสองส่วนใหญ่
มีนั่งเล่น อาหาร ครัว ส่วนชั้นสามห้องนอน

การปฏิบัติประจำวันก็ ให้น้องเขาอยู่ข้างล่าง แบบปล่อยอิสระ ส่วนตอนสามทุ่มจะจับเขาเข้ากรง (2 m x 1.5 m)
กรงสูงประมาณ 50 ซม ใส่ถ้วยน้ำให้ในกรง ตอนเช้าหกโมงก็ลงมาอุ้มออกจากกรง ช่วงอาทิตย์แรก โอเค แต่มา 2-3 วันหลัง เขาสามารถออกจากกรงได้เอง (งงเหมือนกัน เพราะขอบกรงสูงท่วมหัวนะ) เลยเอาผ้ามาปูให้นอนนอกกรง ไม่ต้องอุ้มใส่กรง

บางวันหรือส่วนใหญ่ ตอนกลางวันก็จะอุ้มเขาขึ้นมาเล่นที่ชั้นสอง ซึ่งสมาชิกของครอบครัวอยู่ชั้นนี้ (แม่บ้าน ลูกหนึ่ง) พอค่ำก็อุ้มไปปล่อยไว้ชั้นล่าง

ขอถามครับ
1. การที่เขาเดินตามเมื่อเราเผลอ เช่นเราขึ้นชั้นสาม เขาก็ตามมาที่กระไดเชง้อมอง แต่พอเราเดินลงมาก็หนี เคยนั่งทำงาน เขาก็มาหมอบอยู่ห่างๆ ประมาณ 2 เมตร แต่พอขยับตัวทีไร เขาก็เชง้อ พร้อมที่จะลุกหนี
ผมต้องปล่อยไปอย่างนี้ก่อน ใช่หรือไม่ และจนกว่าเขาจะมีอาการอย่างไร จงถือว่าเขายอมรับ

2. ตำราไม่ให้จับตัว แต่อย่างที่เล่ามา บางครั้งต้องอุ้มเขาขึ้นชั้นสอง ลงล่าง
การจำเป็นต้องจับตัวเขา จะให้ความกลัวลดลงยากขึ้นหรือไม่
อยากจะขอคำแนะนำว่า หรือปล่อยให้เขาอยู่ข้างล่างอย่างเดียว เดิมคิดว่าเขาจะโดดเดี่ยว จึงเอาเขาขึ้นชั้นสองให้คุ้นกับสมาชิกของบ้าน

3. อันนี้เพิ่มเติม เคยเอาอาหารมาถือไว้ในมือ เรียกก็เข้ามากินที่มือ....แต่ก็แบบกลัว ๆ กินเสร็จรีบถอยออกไป
การปฏิบัติแบบนี้ ถูกต้องหรือไม่ ควรทำบ่อย ๆ วันละ 2-3 ครั้ง หรือไม่ควรทำ

4 เมื่อสุนัขตัวอื่น เดินผ่าน ทำไมเขาแค่มองเฉย ๆ ไม่มีอาการเห่า แสดงการหวงถิ่น
มีหรือไม่ที่สุนัขไม่มีการเห่า หรือผิดปรกติ

ขอบคุณครับ


โดย: โจครับ IP: 125.25.146.192 วันที่: 23 พฤษภาคม 2553 เวลา:9:25:28 น.  

 
สวัสดีคะคุณโจ

สิ่งที่เขียนไว้ในบล็อกที่เป็นสเต็ปต่างๆ จาก 1ไป 2ไป 3
ยกตัวอย่างส่วนหนึ่งของเนื้อหาในบทความ

Dog Behavior:น้องหมาตัวใหม่ ยังไม่ยอมรับคนในบ้าน ไม่ยอมเข้าใกล้ ไม่ยอมให้จับตัว ต้องทำอย่างไร?

แนะนำตามวิธีของ ซีซาร์ มิลลาน

- ถ้าน้องหมายังไม่ไว้ใจ เราก็ไม่ต้องไปมีปฏิสัมพันธ์มากในตอนนี้ อาจแค่นั่งใกล้ๆเขา รักษาระยะห่างไว้ เอาความห่างที่เขาไม่ถอยหนี เขายังรู้สึกสบายตัว (ระยะแห่งความไว้ใจ ) ไม่ต้องพูด ไม่ต้องมอง ไม่ต้องสบตา เดินเข้าหาแบบหันข้างให้ ไม่ต้องไปมองตา (การมองตาเหมือนการข่ม อาจทำให้เขากลัวมากขึ้น) พอใกล้เขา เราก็นั่งลง หันข้างหรือ หันหลังให้ และนั่งเฉยๆ ให้เขาเป็นฝ่ายอยากรู้อยากเห็น เป็นฝ่ายเข้ามาดมก่อน เราอาจถือ อาหาร หรือ ขนมในมือ ใช้กลิ่นเป็นตัวกระตุ้นให้เขาเป็นฝ่ายเข้ามาหาเราเอง พอเขาเริ่มสนใจเรา และจะเข้ามาดมเรา เมื่อนั้นเราถึงให้ขนม หรือ อาหาร เป็นรางวัล

ทำอย่างนี้บ่อยๆ เป็นการสร้างความไว้ใจ และ ความเชื่อใจได้ และ ทุกคนในบ้านควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้ เขาจะได้ไว้ใจทุกคน

-พอเขาเริ่มไว้ใจ ระยะแห่งความไว้ใจ จะใกล้ขึ้น คือ เราจะสามารถเข้าใกล้เขาได้มากขึ้นโดยที่เขาไม่ถอยหนี และเขายังทำตัวสบายๆได้ ถ้าเขาผ่อนคลายขณะเราอยู่ใกล้ หรือ เขาเอาส่วนของร่างกายมาโดนตัวเรา เขาอาจเอาสีข้างมาโดนเรา หรือ เอาหัวมาดุลมือเรา เมื่อนั้นเขาพร้อมที่จะให้เราสัมผัสตัวเขา เราถึงลูบใต้คาง ใต้อก หรือ สีข้างเบา ยังไม่ต้องพูดอะไร ณ ตอนนี้ยังไม่ควรลูบหัว เพราะถือเป็นการข่ม จะยิ่งทำให้เขากลัวมากขึ้น


--------------------

ในข้อที่ 1 เขียนว่า

" พอใกล้เขา เราก็นั่งลง หันข้างหรือ หันหลังให้ และนั่งเฉยๆ ให้เขาเป็นฝ่ายอยากรู้อยากเห็น เป็นฝ่ายเข้ามาดมก่อน เราอาจถือ อาหาร หรือ ขนมในมือ ใช้กลิ่นเป็นตัวกระตุ้นให้เขาเป็นฝ่ายเข้ามาหาเราเอง พอเขาเริ่มสนใจเรา และจะเข้ามาดมเรา เมื่อนั้นเราถึงให้ขนม หรือ อาหาร เป็นรางวัล"

-เป็นสิ่งที่ควรทำสำหรับสุนัขที่มีปัญหาขี้กลัวหรือหวาดระแวง เราต้องทำจนกว่าสุนัขจะเข้ามาดมก่อน สุนัขบางตัวเข้ามาดมได้เลย บางตัวลังเล ทำครั้งสองครั้งยังไม่มาดม ครั้งที่สามอาจเข้ามาดม ก็จะได้ทำสเต็ปต่อไป แต่ถ้าสุนัขของคุณโจยังไม่เข้ามาดมสักที คุณโจก็ต้องทำ ต้องล่อต่างๆนานา จนกว่าเขาจะเข้ามาดม ถึงค่อยทำสเต็ปที่ 2

ถ้าลองทำดูแล้ว นอ้งหมายังไม่ได้เป็นอย่างที่เขียน แล้วทำให้คุณโจรู้สึกงงหรือ รู้สึกสงสัยว่าทำไมไม่เป็นอย่างในที่เขียนไว้ ก็แปลว่า สเต็ปที่คุณกำลังทำอยู่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เลยยังไม่เป็นแบบที่เขียนไว้ เพราะฉะนั้นถ้าจะข้ามขั้นไปทำในสเต็ปที่ 2 ก็ยิ่งจะไม่เป็นดังที่เขียนใหญ่ เพราะ สเต็ป 1 เขายังไม่ยอมรับ สเต็ป 2 ยิ่งยากที่จะยอมรับ

สุนัขที่ขี้กลัวมีหลายระดับ เร็วช้าขึ้นกับสุนัข ขึ้นกับเจ้าของด้วย

คนส่วนใหญ่ที่มีสุนัขที่มีปัญหา ไม่มีใครหรอกที่จะทำสเต็ปอย่างที่ได้แนะนำไว้ น้อยมากที่จะอดทนรอคอยทำตาม และผลที่ตามมาก็คือ หมามีปัญหาทุกตัว มากหรือน้อยก็แล้วแต่ความกลัวเริ่มแรกว่าน้อยหรือมาก

สิ่งที่แนะนำในบล็อกเป็นสิ่งที่ปรับพฤติกรรมตามหลักจิตวิทยาสุนัข ซึ่งแน่นอนเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นเคย และ ไม่เคยชิน อาจยังสงสัยว่าทำไม่ถึงต้องทำอย่างนี้ ทำไม่ถึงไม่ทำอย่างนั้น อันไหนเราไม่เข้าใจก็ยิ่งต้องทำความเข้าใจ ถ้าเข้าใจแล้ว จะรู้สเต็ปเองเลยว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง

สิ่งที่หญิงเขียนในบล็อก คือสิ่งที่หญิงอ่านและเน้นศึกษาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาโดยใช้จิตวิทยาสุนัข ในหนังสือต่างประเทศต้นฉบับแล้ว เขียนเป็นทฤษฎี เป็นหลักการ เพื่อให้คนทำความเข้าใจและนำไปปรับใช้เอง ซึ่งจะไม่ค่อยมีสเต็ปด้วยซ้ำ เช่น "ควรให้สุนัขใช้จมูกดมก่อน เพื่อล่อให้สุนัขเข้ามาหา ห้ามเดินเข้าไปหาสุนัขก่อน" เป็นต้น

เมื่อเขาเขียนว่า "สุนัขต้องใช้จมูกดมก่อน เพื่อกระตุ้นให้เข้ามาหาเรา" หลังจากนี้ก็ต้องเป็นหน้าที่ของผู้อ่านและผู้นำไปทำตามแล้วว่า เทคนิกที่คุณจะใช้กับสุนัขของคุณที่เหมาะสม เพื่อจะให้สุนัขใช้จมูกในการดมเพื่อเรียกให้สุนัขมาหา ก็ต้องสรรหาสิ่งต่างๆเพื่อล่อให้สุนัขใช้จมูก เป็นต้น

สิ่งที่เขียนไว้ในบล็อก คือ หลักใหญ่ๆในหลักจิตวิทยาสุนัข และ พยายายเรียบเรียงให้เป็นสเตปเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ใช้ไปทำตามได้ถูกต้อง โดยอาศัยจากการอ่านหนังสือหลากหลายเล่มที่เป็นตำรางต่างประเทศด้านจิตวิทยาสุนัข และ ดูเจ้าของเทคนิคอย่างคุณซีซาร์ มิลลานใช้ในการปรับพฤติกรรมสุนัขที่มีปัญหาในหลากหลายเคส ว่าเขาใช้สเตปอะไรบ้าง เพราะในหนังสือที่เขาเขียนเข้าไม่สามารถบอกหมดว่าสเตปมีอะไรบ้าง เราผู้อ่าน ผู้ดูรายการเขา ต้องสังเกตท่าทางของเขา ลำดับการปรับพฤติกรรมของเขา และ นำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมเอง และ ร่วมกับประสบการณ์ส่วนตัว ที่ลองทำแล้ว อันไหนเจอปัญหาอะไรและต้องแก้ ต้องปรับแบบไหน ถึงจะสำเร็จ หรืออันไหนลองทำแล้วหมามีการต่อต้านหรือท้าทายอย่างไร เราต้องทำอย่างไรเพื่อไม่หลงกลหมา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำแล้วสำเร็จ ืได้ผลกับตัวเอง เลยนำมาบอกต่อ

---------------------------------------

ถ้าคุณโจสนใจ และ อยากอ่านต้นฉบับเทคนิกและหลักจิตวิทยาสุนัข สามารถหาซื้อหนังสือของ Cesar Millan ได้ทั้ง 4 เล่ม และ DVD ที่ยกตัวอย่างเคสหลากหลาย ได้ที่เวป

//www.cesarsway.com/


หรือดูภาพสื่อที่หญิงมีไว้เป็นสมบัติสุดหวงแหนส่วนตัวได้ที่

Dog Training; หนังสืิอใหม่ และ Magazine จาก Cesar Millan

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=yojajiji&month=29-11-2009&group=6&gblog=50

---------------------------------------------

ที่สำคัญสุนัขจะหายกลัวเร็วหรอืช้า ขึ้นอยู่กับคนเป็นส่วนใหญ่ คนต้องเป็นจ่าฝูง ต้อง Calm Assertive คือ นิ่ง สงบ มั่นคง ตั้งใจจริง ไม่กลัว ไม่โมโห ไม่หงุดหงิด ไม่น้อยใจ ไม่สงสาร ไม่คิดถึงภาพล่วงหน้าว่าหมาจะต้องแย่แน่ๆ มันต้องไม่ยอมแน่ๆ หรือ ไม่ยึดติดแต่ภาพในอดีตที่ว่า หมามันทำอย่างโน้นอย่างนี้ สรุปว่า ต้องอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับภาพที่อยู่เบื้องหน้าเท่านั้น

ยิ่งเวลาเราปรับพฤติกรรมสุนัข เราต้องอยู่ในภาวะอารมณ์ Calm Assertive เท่านั้น เน้นว่า เท่านั้น หมาถึงหาย โดยเฉพาะหมาที่ขี้กลัว เรายิ่งต้อง Calm Assertive เพื่อเป็นแหล่งป้อนพลังให้หมาที่ขี้กลัว ให้เขาสงบ และเชื่อใจในตัวเราที่เป็นจ่าฝูง ถ้าเรามีอารมณ์อย่างอื่นที่นอกเหนือจาก Calm Assertive แล้ว จะไม่มีทางปรับพฤติกรรมหมาได้สำเร็จ หมาที่ขี้กลัวก็จะยิ่งขี้กลัว เมื่อไหร่อารมณ์เราขึ้นๆลงๆ เดี๋ยวโมโห เดี๋ยวใจดี ภายนอกอาจดูนิ่ง แต่ในใจรุ่มร้อน ก็ไม่ได้นะคะ เราไม่สามารถหลอกหมาได้ นิ่งไม่นิ่งนับกันที่จิตใจข้างใน ไม่นับถึงท่าทางภายนอก ถ้าเราไม่นิ่งแล้ว หมาที่ขี้กลัวก็ไม่มีทางไว้ใจคะ

เราต้องเป็นจ่าฝูง จ่าฝูงจะมีภาวะ Calm Assertiveเท่านั้น หมาที่มีปัญหาก็จะหายจากปัญหา หมาจะเชื่อฟัง หมาจะเคารพจ่าฝูงเท่านั้น จ่าฝูงเท่านั้นถึงจะปรับพฤติกรรมหมาได้ ถ้าภาวะอื่นๆนอกเหนือจาก Calm Assertive ถือว่าไม่ใช่จ่าฝูง ถือว่าเป็นเพื่อน เป็นลูกฝูง เป็นเหยื่อ เพราะฉะนั้นหมาก็ไม่เชื่อฟังคะ

และต้องเป็นจ่าฝูงตลอด 24 ชั่วโมงและทุก 7 วัน และคนในบ้านทุกคนก็ต้องอยู่ในภาวะ Calm Assertive ด้วย

ถ้าเราไม่สามารถเป็นจ่าฝูงได้ตลอด และ อารมณ์เราไม่นิ่งจริง หรือคนในบ้านไม่ร่วมมือ หมาก็จะหายช้ากว่าเกณฑ์ปกติ เป็นธรรมดา

วิธีทำเหมือนกัน แต่ทำด้วยภาวะอารมณ์คนละอย่าง ผลออกมาก็ไม่เหมือนกันนะคะ ยกตัวอย่างแค่การจับสายจูงสุึนัข ถ้าคนที่มีอารมณ์ Calm Assertive จับสายจูงหมาก็จะนิ่ง ไม่กระโดดปีนแข้งปีนขา แต่ถ้าคนที่ไม่ใช่ Calm Assertive มาจับสายจูง หมาจะยุกยิกทันที หมาก็จะไม่นิ่งทันที

ยกตัวอย่างซีซาร์ มิลลาน เวลาเขาปรับพฤติกรรมสุนัข แค่การปรากฎตัวของเขาต่อหน้าสุนัขที่ก้าวร้าว สุนัขที่ก้าวร้าวตัวนั้น สงบ และ ยอมจำนนได้ทันที เพราะเขานิ่งมาก และ Calm Assertive เขาสามารถปรับพฤติกรรมสุนัขได้ในเวลา 5 นาที แต่เราคนธรรมดาอารมณ์ก็ขึ้นๆลงๆ ก็ต้องใช้เวลานานกว่า Cesar แน่นอน อาจเป็นเดือน หรือ หลายเดือนกว่าจะสำเร็จ คนส่วนใหญ่คิดว่า ทำไมไม่เร็ว 5 นาทีเหมือน Cesar ก็เลยทำให้ไม่ยอมทำต่อ เพราะคิดว่าทำไปก็ไม่สำเร็จ แต่จริงๆแล้วลืมพิจารณาอารมณ์ของตัวเองว่า ได้อยู่ในอารมณ์ Calm Assertiveแล้วหรือยัง นั้นเป็นเหตุที่ทำให้ไม่สำเร็จสักที

-----------------------------------

ตอบคำถาม


- การเอาหมาเข้ากรง หรือพาหมาไปอาบน้ำ ไปอยู่ในกะละมัง

พยายามให้หมามาอยู่หน้ากรง (หรือ หน้ากะละมัง )ใส่สายจูง แล้วพาเขาเข้ากรง ถ้าเขาฝืนขัดขืนตอนก้าวเข้ากรง เราก็ต้องทำสเต็ปนั้นซ้ำๆ คือ ตอนเขากระโดดเข้ากรง ทำซ้ำๆจนหมายอมเดินตามสายจูงเข้ากรง โดยไม่ต่อต้าน

ไม่ควรอุ้มสุนัข เพราะ จะทำให้หมาขี้กลัว จะอยู่ในภาวะช็อค และกลัวมากขึ้น ให้จับหนังคอแทน มือหนึ่งจับหนังคอ อีกมือหนึ่งประคองก้น แล้วยกขึ้น เพื่อเป็นการเลียนแบบแม่สุนัขเวลาคาบคอลูกสุนัขพาไปหย่อนที่ๆอื่น หมาจะได้ไม่กลัว และ คุ้นเคย เวลาจับหมาลง ให้ขาหลังทั้งสองหยั่งพื้นก่อน และ ค่อยให้ขาหน้าเหยียบพื้นตามลงมา ทำแบบนี้เลียนแบบพฤติกรรมของสุันัขในธรรมชาติ และ ในหลักจิตวิทยาสุนัข


- เวลาพาหมาขึ้นชั้น 2 พยายามให้หมาขึ้นบันไดเอง ไม่ว่าจะใช้สายจูงพาเดินขึ้น หรือ เราอยู่บนบันได และ พยายามกระตุ้นเรียกหมาให้ขึ้นมาเอง หรือ จับตัวเขา ดันๆ ดุนๆ ช่วยให้เขาก้าวขึ้นบันได

เป้าหมาคือ "อย่าอุ้มมาก พยายามให้หมาทำด้วยตัวเขาเอง อะไรเขาทำไม่่ค่อยได้ เราก็ต้องช่วยให้เขาทำให้ได้ ประมาณว่า หมาออกแรง 50 เราช่วยอีก 50"

หมาที่ขี้กลัว ยิ่งต้องสนับสุนัขให้เขาทำโน่นนี้ด้วยตนเอง เพื่อสร้างความมั่นใจ และ เคารพตัวเอง และถ้าเขาเอาชนะความกลัวได้โดยมีเราช่วยเขา ไกด์เขา จะยิ่งสร้างความไว้ใจ เชื่อใจในตัวเราได้ไวมากๆ แต่ในสถานกาณ์อื่นๆก็ต้องไปปรับใช้กันเอง เพราะหลักการณ์มีประมาณนี้ แล้วแต่ความสามารถในการกระตุ้นหรือหลอกล่อของเจ้าของ


------------------------------

ตอบคำถาม

ข้อ 1

- ดูแล้วว่า ระยะความไว้ใจที่เขายอมรับให้คุณอยู่ใกล้ๆคือ 2 เมตร ถ้าเราใกล้กว่า 2 เมตรเขาอาจจะหนี เพราะฉะนั้นเราใช้หลัก 2 เมตรให้เป็นประโยชน์

เช่น เราเอาอาหาร หรือ ขนม วางไว้ตรงพื้น แล้วเราอยู่ห่างจากขนม 2 เมตร แล้วเรียกเขามากินขนมบนพื้น ฝึกจนเขาไม่ลังเลที่จะเข้ามากิน แล้วค่อยเลื่อนขนมเข้ามาใกล้มากขึ้น เช่น 1.8ม แล้วลดเหลือ 1.6ม เป็นต้น

เป้าหมายคือ เราต้องสร้างระยะแห่งความไว้ใจให้ลดลง จาก 2 เมตร เป็น 1เมตร จนสุดท้าย ใกล้กันได้โดยไม่หนี แต่วิธีที่จะทำให้หมาเข้าใกล้ตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ คุณโจสามารถหาวิธีหรือ เทคนิกต่างๆมาหลอกล่อให้เขาไว้ใจ และ เชื่อใจเราให้ได้ ปรับได้ตามความเหมาะสม

ข้อ 2

ไม่ควรอยู่ดีๆ ไปอุ้มเขาเลย ไปจับเลย เพราะจะทำให้เขากลัวและวิ่งหนี เพราะจะยิ่งแย่กว่าเดิม

อาจใช้สายจูงเป็นตัวพาไป หรือยกแบบดึงหนังคอแบบที่ได้แนะนำอธิบายได้ หรอื กระตุ้นหลอกล่อให้เขาทำด้วยตัวเขาเอง ถ้าเขาทำไม่ได้ เราก็ต้องช่วย ถ้ากลัวเขาหนีตอนเราเข้าใกล้ การใส่สายจูงเขาไว้ตลอดก็น่าจะช่วยได้ เพราะถ้้าเขาจะหนีเราก็จับสายจูงไว้ เพื่อไม่ให้เขาหนีได้ เป็นต้น และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม วิธีปฎิบัติไม่มีอะไรแน่นอน เพียงแต่เรารู้เป้าหมายที่เราต้องการแล้ว จะใช้วิธีไหนก็ได้เพื่อให้ไปสู่เป้าหมาย

ขอ้ 3

ควรฝึกบ่อยๆ ที่จริงการฝึกให้สุนัขเชื่อใจเรา เชื่อใจสมาชิกในบ้าน ปรับให้สุนัขหายกลัว เป็นสิ่งที่ต้องทำตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสิ่งที่ต้องคอยดู คอยปรับกันตลอดการใช้ชีวิตประจำวันของเราและเขา นี่ืคือหน้าที่ของจ่าฝูง

เหมือนกับเราเลี้ยงลูก อบรมสั่งสอนลูก เราก็ทำหน้าที่พ่อตลอด 24 ชั่วโมง เวลากินข้าว เราก็ทำหน้าที่พ่อ อะไรสอนได้ก็สอน เวลาดูหนังก็ทำหน้าที่พ่อ เวลาเข้านอนก็ทำหน้าที่พ่อ คอยสอน คอนปรับลูกทุกฝีก้าวเพื่อให้เขาเป็นคนดี นี่คือหน้าที่ของความเป็นพ่อ

หน้าที่ของการเป็นจ่าฝูงก็เช่นกัน ถ้าเรามีลูก(ฝูง)ที่ขี้กลัว เขาก็จะกลัวตลอด 24 ชั่วโมง เราก็ต้องคอยปรับ คอยสอน คอยทำหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง เขาถึงหาย ถึงก้าวข้ามผ่านความกลัวไปได้อย่างรวดเร็ว ถ้าเราตั้งเป้าว่า เราจะฝึกหมาแค่ตอนบ่าย 30 นาทีเท่านั้น ส่วนวันอื่นๆต่างคนต่างอยู่ เจ้าจะกลัวก็ช่าง แบบนี้มันไม่ใช่ หมาก็จะไม่หาย และ หายช้า จะเป็นจ่าฝูงก็ตอ้งเป็น 24 ชั่วโมง เหมือนการทำหน้าที่พ่อ 24 ชั่วโมง ยิ่งมีลูกที่มีปัญหา ความเป็นพ่อยิ่งห้ามละเลย สำหรับสุนัขก็เช่นกัน


ข้อ 4

้ไม่เห่า ไม่หวงถิ่นหนะดีแล้ว ไม่ิผิดปกติ ถือว่านิสัยดี

ถ้าเห่ามาก หวงถิ่นมาก ยิ่งเป็นปัญหา เพราะจะแก้ยาก

หมาบ้านอื่นที่เห่า หวงถิ่น นั่นคือ เจ้าของล้มเหลวในการห้ามหมาของตน ก็เลยปล่อยเลยตามเลย ถ้าแน่จริง ต้องสั่งให้เห่าได้ ห้ามไม่ให้เห่าได้

สุนัขบ้านหญิงไม่เห่าเลย ถือเป็นข้อดีเสียอีก เพราะเราห้ามไม่ให้เห่าได้ แต่บ้านอื่นห้ามไม่ได้

สู้ๆคะ





โดย: Yoja&Jiji วันที่: 23 พฤษภาคม 2553 เวลา:11:14:17 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณหญิง
เป็นแฟนบล็อคค่ะ แวะมาอ่านบ่อยๆแล้วก็แนะนำให้เพื่อนๆที่มีปัญหาเรื่องพฤติกรรมสุนัขให้อ่านด้วยเหมือนกัน มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ

มีเรื่องอยากจะปรึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของสุนัขที่บ้านค่ะ คือสุนัขที่บ้าน พันธุ์ลาบราดอร์ เพศเมีย อายุขวบกว่า่ ปัญหานะคะ
1.ทุกครั้งที่นั่งรถ แล้วเห็นหมาตัวอื่นนอกรถ จะแสดงอาการตื่นเต้นมาก เหมือนจิตหลุดแบบ กระโจนใส่หน้าต่าง เห่ากระโชกและร้องเสียงดังมาก ขนตั้ง เหมือนเค้าไม่มีสติเลยตอนนั้น อยู่ไม่สุก ขนาดเรานั่งอยู่ริมหน้าต่าง เค้าก็ยังกระโดดใส่เราแล้วก็เหยียบๆๆโดยโฟกัสอยู่ที่หมาข้างนอกอย่างเดียว ไม่สนใจว่ามีคนที่นั่งอยู่ตรงนั้นเลยค่ะ แ่ต่พอเอามือปิดตาก็จะสงบลงพักนึง พยายามกระตุกสายจูงแล้ว ก็ไม่หยุดค่ะ...เป็นแบบนี้กับหมาุทุกตัว และเป็นเฉพาะเวลาอยู่ในรถ พอออกไปก็ไม่ได้มีท่าทางรุนแรงแบบอยู่ในรถค่ะ
ท่าทางดูก้าวร้าวมากค่ะ

2.เมื่อเจอหมา/แมวตัวอื่นนอกรถ บางครั้งจะร้องแบบงี้ดๆ เหมือนร้องเรียกอยากจะไปเล่นกับเค้า มีเห่าใส่บ้าง เสียงแหลมๆเรียกบ้าง ดูตื่นเต้นมากที่เจอหมาตัวอื่น แล้วก็จะพยายามลากสายจูงไปหาเค้า แต่ก็ยังดีกว่าเวลาอยู่ในรถค่ะ คือยังสั่งให้นั่งให้สงบได้ แต่ตายังคงจ้องหมาตัวอื่นตลอด

แต่ไม่ได้เป็นทุกครั้งค่ะ เพราะเวลาพาไปที่ๆเจอหมาเยอะๆเช่นงานประกวดสุนัข ก็ไม่มีอาการเลยค่ะ จะเฉยๆมากๆ แค่ดมๆแล้วก็ชวนเล่นค่ะ แต่ถ้าเจอแบบออกไปเดินข้างนอกแล้วเจอเดี่ยวๆก็จะเป็นอย่างที่กล่าวมาค่ะ

3.เวลาเห็นเด็กเล็กๆ ที่ความสูงอยู่ในระดับเดียวกับเค้า (ประมาณว่าสายตาอยู่ในระดับเดียวกันหรือใกล้เคียง ห่างกันไม่มาก) หรือแม้แต่คนที่นั่งอยู่ที่พื้นแล้วความสูงของระดับสายตาอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ก็จะทำเสียงและมีอาการเหมือนกับเวลาเจอหมาตัวอื่นในกรณีอยู่นอกบ้านค่ะ คือจะร้องงๆ งี้ดๆ แล้วก็พุ่งตัวไปหาเค้า บางทีก็แค่ดม บางทีก็วิ่งชนใส่ เหมือนอยากจะเล่น ปัญหานี้ทำเอากลุ้มใจมากค่ะ เพราะกลัวว่าวันนึงอาจจะทำให้เด็กๆบาดเจ็บ แต่จะเจอเด็กเฉพาะเวลาไปเดินเล่น แล้วก็จะใส่สายจูงตลอด

เวลาไปเดินเล่นแล้วไม่เจอเด็ก หรือหมาตัวอื่น หรือเจอแต่ว่าอยู่ไกลๆ ไม่ได้เข้ามาใกล้ เค้าก็จะเฉยๆค่ะ เดินในสายจูงได้เป็นอย่างดี เดินข้างซ้าย ไม่เดินนำ ไม่ดึงสายจูง เดินเคียงไปเรื่อยๆตามจังหวะการเดินของเราค่ะ ชอบช่วงเวลาแบบนี้มากๆ สงบมากค่ะ แต่บางทีถ้าเดินผ่านไปเจอคนที่ดูไม่น่าไว้ใจก็หันไปขู่เค้า ขนตั้งเลย

4.ปกติเวลาเจอคนเค้าก็จะเฉยๆค่ะ ไม่เห่าไม่ขู่ ไม่หือไม่อือ ไม่พุ่งเข้าไปเล่นด้วย บางทีก็พยายามบ่ายเบี่ยงไม่ให้จับ เค้าเรียกก็ไม่ไป แต่กระดิกหางทำหูลู่ให้

แต่ตอนที่พาเค้าไปเที่ยวต่างจังหวัด เค้ามีท่าทีแปลกไป คือเวลาเจอคนท่าทางแปลกๆ สังเกตุว่ายิ่งเป็นผู้ชายมีแนวโน้มที่เค้าจะเห่าและขู่มากกว่าผู้หญิง แต่ก็ไม่ขู่ทุกคน บางคนก็กระดิกหางให้ยอมให้จับตัว สังเกตุว่าคนที่ดูเฟรนลี่ พูดจาดี ยิ้มๆ เค้าก็จะกระดิกหางให้ ทำหูลู่ๆ ไม่มีปัญหา แต่พอเจอคนที่มองเค้าแล้วทำท่าทาง เดินยึกๆยักๆ หรือเดินมาเป็นกลุ้ม แล้วต้องเดินสวนกัน เค้าก็จะพุ่งเข้าไปขู่ ขนตั้งเลยค่ะ ทำให้กลุ้มมใจมากเลย เหมือนหมาเราเป็นหมาดุ ทั้งๆที่เค้าไม่ดุ แต่อยู่ที่บ้านก็จะเฝ้าบ้านเป็น จะเห่า และขุ่ใส่พวกคนฉีดปลวก คนติดฟิล์ม ฯลฯ แต่ถ้าเป็นเพื่อนๆญาติๆจะไม่มีอาการอะไรค่ะ ก็ปกติดี กระดิกหางให้ อาการที่กล่าวมาทั้งหมดเพิ่งจะมาเป็นตอนไปต่างจังหวัด ก่อนหน้านี้พาไปเดินที่เจอคนเยอะๆไม่เคยเป็นเลยค่ะ ไม่ว่าคนอื่นจะมองจะยังไง เค้าก็จะเฉยๆนิ่งๆค่ะ

คำถามยาวมากเลย....แต่หนักใจจริงๆค่ะ คือจริงๆชอบที่เค้าเฝ้าบ้านได้ แต่อยู่นอกบ้านก็อยากให้เค้าเฉยๆเหมือนเดิม ไม่เข้าใจว่าทำไมอยู่ๆก็เิกิดไปขู่คนอื่นขึ้นมาซะอย่างงั้น T_T รบกวนคุณหญิงช่วยแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ




โดย: หัวใจนี้สีชมพู IP: 58.8.117.29 วันที่: 30 พฤษภาคม 2553 เวลา:11:05:45 น.  

 
สวัสดีคะคุณ หัวใจนี้สีชมพู

ขอบคุณนะคะที่ติดตามบล็อกคะ

ตอบข้อ 1

-พาสุนัขออกกำลังให้เหนื่อยก่อนออกเดินทาง ก่อนขึ้นรถ
- ตอนจะขึ้นรถ เราไม่อนุญาตให้สุนัขกระโดดพุ่งพรวดเข้ารถ เพราะการกระทำแบบนั้น คือ เขาเป็นเจ้าของรถ นั่นเองทำให้เขาก้าวร้าวเมื่ออยู่ในรถ รถของเขา เขาก็มีสิทธิ์ที่จะหวงรถ ที่จะปกป้องรถจากผู้บุกรุกตัวอื่นๆ

เราควรให้สุนัขนั่งให้เรียบร้อย สงบก่อน แล้วเปิดประตูรถ ถ้าหมาจะพุ่ง เราก็กระตุกเชือกจูงเพื่อตักเตือน เขาต้องนั่งสงบ หน้าประตูรถที่เปิิด

เมื่อเขาสงบ เราก็สั่งให้ขึ้นรถได้

-ขณะนั่งรถ เขาก็ต้องสงบ เมื่อไหร่เจอหมานอกรถ แล้วเขาลุกขึ้น จ้อง คอแข็งเกร็ง เราก็กระตุกเชือกจูงทันที หรือ ฉก เพื่อให้เขาเลิกมองหมานอกรถ และต้องเตือนจนกว่าเขาจะสงบ ห้ามหยุดถ้าเขายังไม่สงบ

การที่เรากระตุกสายจูงหรือเตือนแล้วไม่ได้ผลก็เพราะ เราเตือนช้าไป เตือนเมื่อหมาเห่าไปแล้ว หมาพุ่งตัวแล้ว ครางหงิงๆแล้ว การเตือนมักล้มเหลว ต้องเตือนตั้งแต่อาการเริ่มๆ นิดๆหน่อยๆ ก็เตือนได้เลย แล้วจะเตือนได้ผล หมาจะหาย

--------

ตอบข้อ 2

ต้องกระตุกสายจูงก่อนเขาจะเห่า ก่อนเขาจะพุ่ง แค่เขาสนใจหมาที่เดินผ่าน แค่เหล่มอง หุบปาก หูตั้งก็เตือนได้เลย และต้องกระตุกจนเขาเลิกมองหมาตัวนั้น แล้วเราพาเดินต่อไปเรื่อยๆ ไม่หยุด แบบว่าเตือนไปเดินไป

ห้ามให้เขาจ้องมองหมาเด็ดขาด ต้องกระตุกสายจูงหรือฉกเพื่อให้เขาละสายตาจากสิ่งที่เขาจ้องให้ได้
-----------------

ตอบข้อ 3

เช่นกันกับข้อ 2

เตือนก่อนพุ่ง เตือนเมื่ออาการเริ่มๆ จะได้ผล

เราต้องคุมให้หมานั่งนิ่งๆ สงบๆ แล้วค่อยให้หมาเข้าไปดมเด็ก ไม่อนุญาตให้กระโจนใส่เด็ก หรือ ใช้เท้าโดดเด็กเด็ดขาด ถ้ามีต้องกระตุกสายจูงตักเตือนทันที ให้เด็กยืนเฉยๆ นิ่งๆ แค่นี้พอ พอเขาดมเสร็จสักพัก เราก็พาเขาเดินต่อไปเลย

จะเข้าทักทายได้ก็ต่อเมื่อเราอนุญาต และเราเป็นฝ่ายตัดสินใจว่าเมื่อไหร่หยุดทักทายและเดินต่อ นี่คือเราควบคุมสถานการณ์ เราเป็นผู้คุมเกม

------------------------

ตอบข้อ 4

ไม่ว่าเจอใคร ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อเขาแสดงอาการก้าวร้าว ไม่ว่าจะขู่ จะขนพอง จะเห่า เราก็ต้องตักเตือนให้ทัน และ ให้สำเร็จทุกครั้ง เพื่อเป็นการย้ำเตือนว่า เจ้าห้ามก้าวร้าวกับทุกคน เราไม่อนุญาต

สู้ๆคะ



โดย: Yoja&Jiji วันที่: 30 พฤษภาคม 2553 เวลา:15:17:15 น.  

 
ขอบคุณคุณหญิงมากค่ะ

อยากให้คุณหญิงช่วยสันนิษฐานสาเหตุของปัญหาให้หน่อยว่าน่าจะเกิดจากอะไร เพราะจะได้พยายามหาทางป้องกันไปด้วยค่ะ
ตอนนี้ที่คิดไว้คือ เค้ายังเด็ก/มีสัญชาตญาณในการล่าสูง/หวงอาณาเขต อะไรประมาณนี้อ่ะค่ะ


โดย: หัวใจสีชมพู IP: 58.8.117.25 วันที่: 31 พฤษภาคม 2553 เวลา:9:21:23 น.  

 
สวัสดีคะคุณหัวใจสีชมพู

เวลาสุนัขแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ไหน ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เป็นสิ่งที่สุนัขแต่ละตัวเรียนรู้แตกต่างกันไป เราซึ่งเป็นผู้ที่ต้องคอยบอกคอยตักเตือนเขาว่าสถานการณ์นี้ควรทำเช่นไร ห้ามทำอะไร


อยู่ในบ้าน เขาทำตัวน่ารักเชื่อฟังเรา ไม่หวงที่ พออยู่บนรถ เราอาจมีสมาธิจดจ่อกับท้องถนน ทำให้พลังความหนักแน่นน้อยลง เขาเลยเข้าควบคุมสถานการณ์ เมื่อไหร่ที่หมาเข้าควบคุมสถานการณ์เพราะเราไม่ยอมทำหน้าที่ นั่นคือหมาจะจับจองเป็นเจ้าของสถานที่แห่งนั้น ทำให้เขาหวงที่หวงรถ หรือ เวลาเราอยู่บนรถ เรามีความตื่นเต้น เนื่องจากเราตื่นเต้นจะไปเที่ยว อารมรณ์ตื่นเต้น คืออารมณ์แห่งความอ่อนแอ ไม่ใช่จ่าฝูง เมื่อเราตื่นเต้นเราไม่ใช่จ่าฝูง หมาก็จะทำหน้าที่เป็นจ่าฝูงแทน นั่นคือหมาจะคุมรถ หวงรถ หรือ เราตื่นเต้น ทำให้หมาตื่นเต้น ความตื่นเต้นของสุนัขนำมาซึ่งพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่าง เช่น ก้าวร้าว หวงของ หวงถิ่น

สาเหตุที่ทำให้เขาก้าวร้าวในรถก็คือ

ภาวะอารมณ์เราไม่นิ่ง นั้นคือเราไม่ใช่จ่าฝูง หมาก็เลยทำหน้าที่จ่าฝูงแทนเรา

การที่เราปล่อยให้หมาตื่นเต้นก่อนขึ้นรถ พุ่งขึ้นรถเลยโดยไม่นั่งรอ ปล่อยให้ตื่นเต้นบนรถ ปล่อยให้เขาพัฒนาจากความตื่นเต้นไปเป็นก้าวร้าวเมื่ออยู่ในรถ นั่นคือ เราละเลยที่จะตักเตือน เป้าหมาคือ หมาห้ามตื่นเต้นไม่ว่าจะอยู่ที่สถานการณ์ไหนๆ

เมื่อไหร่ก็ตามที่หมาทำตัวไม่เหมาะสมเราต้องตักเตือนให้ทัน เราต้องทำให้หมาสงบให้ได้ นั้่นคือเราควบคุมสถานการณ์ เราเป็นจ่าฝูง

สาเหตุเวลาหมาทำตัวไม่ดี แล้วเราพยายามหาถึงที่มาที่ไป ในหลักจิตวิทยาสุนัขแล้ว ก็มีเพียงแค่
" ในสถานการณ์ ณ เวลานั้นๆ ใครจ่าฝูง ใครลูกฝูง ใครนิ่ง ใครไม่นิ่ง ใครคุมสถานการณ์ ใครผู้ตาม ใครผู้นำ ใครเหยื่อ แค่นั้น "


เรื่องจิตวิทยาสุนัขอาจเป็นเรื่องที่ไม่คุ้นเคย เพราะเป็นการมองโลกผ่านสายตาสุนัขที่เขามองโลก เลียนแบบพฤติกรรมที่เขาอยู่กันเองตามธรรมชาติ แล้วนำจิตวิทยาสุนัขมาตัดสินพฤติกรรมเขา

แต่คนส่วนใหญ่ มักเอาจิตวิทยามนุษย์ที่เราคุ้นเคย มาตัดสินพฤติกรรมของหมา ทำให้หลงประเด็น พอมันไม่เป็นดังที่เราคิด เราเลยงง หาทางแก้ไม่ถูก แถมแก้โดยใช้จิตวิทยามนุษย์ หมาก็ไม่หาย ยิ่งเสียหมา

มองหมา ต้องมองผ่านจิตวิทยาสุนัข แล้วแก้โดยใช้จิตวิทยาสุนัข ถึงจะมองถึงต้นตอของปัญหา และ จะแก้ได้สำเร็จ

-------------

เวลาสุนัขเห็นคนแปลกหน้า ท่าทางไม่น่าไว้ใจ พลังงานที่คนกลุ่นนั้นส่งมาอาจเป็นพลังงานที่ไม่ดี ไม่น่าไว้ใจก็ได้ หมาเขารู้เพราะเขาได้กลิ่่น แต่เราไม่ได้กลิ่น เรารับรู้ไม่ไวเท่าเขา ก็เป็นธรรมดาที่เขาจะทำหน้าที่ปกป้องเรา เมื่อเขาทำหน้าที่ปกป้องเรา เขาก็จะใช้วิถีแห่งหมา ก็คือ ขู่ แยกเขี้ยว เห่า ก้าวร้าว

แต่อย่าลืมว่า ถ้ามองในหลักจิตวิทยาสุนัข เมื่อไหร่ที่เขาทำหน้าที่ปกป้องเราแทน คือเมื่อนั้นเรากำลัีงส่งพลังงานที่อ่อนแอออกไปโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่หมาเขารู้ เขาเลยทำหน้าที่ปกป้องแทน หมาคุมสถานการณ์ เรากลายเป็นผู้อ่อนแอไปแล้วในสายตาสุนัข นั้นคือ คุณไม่ใช่จ่าฝูงแล้ว คุณเลยเตือนสุนัขไม่สำเร็จ

ในสังคมมนุษย์ หมาไม่ควรแสดงอาการก้าวร้าวในที่ชุมชน ไม่ว่าคนที่เดินผ่านมาจะมีพลังงานดีหรือไม่ดี หมาก็ไม่ควรก้าวร้าวใส่ ไม่ว่าเหตุผลใดๆก็ตาม เรามีหน้าที่ควบคุมหมาให้ได้ นั่นคือ ห้ามให้หมาอยู่ในโหมดปกป้องเรา นั่นคือ เราห้ามอ่อนแอ เราต้องหนักแน่น และเป็นฝ่ายตักเตือนสุนัขแทน ว่า เจ้าห้ามแสดงอาการก้าวร้าว เจ้าห้ามสนใจ แค่เดินต่อไป นี่คือสิ่งที่จ่าฝูงสั่งเจ้าให้ทำ เจ้าไม่มีสิทธิ์มาปกป้องฉัน ฉันดูแลตัวเองได้



ถ้าอ่านทุกบทความในบล็อกก็จะทำให้เข้าใจมากขึ้นคะ

เรื่อง มีสัญชาตญาณในการล่าสูง/หวงอาณาเขต หมาทุกตัวมีคะ เพียงแต่จะมีอันไหนเด่นกว่าอีกตัว และจะหยิบมาใช้หรือเปล่า

บางตัวสัญชาตญาณการไล่ล่าสูง ถ้าเขาถูกระบายพลังงานไม่เพียงพอ เวลาเขาหางานทำเอง เขาก็จะเลือกเข้าสู่โหมดไล่ล่า มากกว่าจะเข้าสู่โหมดหวงอาณาเขตเป็นต้น

หมาบางตัวหวงถิ่นหวงอาณาเขตสูง เมื่อเขาถูกระบายพลังงานไม่เพียงพอ เขาก็จะเลือกเข้าสู่โหมดหวงถิ่น มากกว่าไล่ล่า เป็นต้น

นั่นเองเราถึงเห็นว่า หมาตัวนั้นชอบวิ่งไล่แมว แต่ไม่เห็นหวงบ้าน ใครเข้ามาก็กระดิกหางให้หมด หรือ หมาตัวนั้นหวงถิ่นมากใครเข้าบ้านไม่ได้ แต่ไม่วิ่งไล่จักรยาน ไม่ไล่แมว เป็นต้น

หมาที่ไม่ถูกระบายพลังงาน หมาที่มีพลังงานสูงแต่เจ้าของไม่หางานให้เขาทำ ไม่หากิจกรรมให้เขาทำ เขาก็จะหางานทำเอง เพื่อให้ตัวเองสงบ และเมื่อนั้นจะเป็นกิจกรรมที่ก่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และเราจะคุมไม่ได้ เช่น เห่าหวงถิ่น ถ้าหมาตัวนั้นมีสัญชาตญาณการหวงถิ่นสูง / หรือ เห่าไล่เด็ก ไล่จักรยาน ไล่กัดข้อเท้าคน ถ้าหมาตัวนั้นสัญชาตญาณการไล่ล่าสูง

วิธีแก้ก็คือ ระบายพลังงานให้หมดทุกเช้า ทุกวัน หากิจกรรมให้ทำเพื่อเขาจะได้สงบ เขาจะได้ไม่หางานทำเอง เมื่อเขาไม่หางานทำเอง เขาก็จะไม่มีพฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาตญาณต่างๆ
หมาบางตัวอาจเกิดพฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาตญาณได้ โดยเฉพาะลูกหมา เขากำลังเรียนรู้ว่า ถ้าเจอสถานกาณ์แบบนี้ เขาจะต้องตอบโต้หรือต้องทำตัวอย่างไร เขาก็จะเลือกใช้สัญชาตญาณที่เขาถนัดมาใช้ตัดสินปัญหา ซึ่งจะทำให้เกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ทำใ้ห้เรารำคาญใจ เรามีหน้าที่ที่ต้องสอนลูกหมาว่า พฤติกรรมไหนไม่ควรทำ ห้ามทำ แล้วต้องทำตัวอย่างไรแทน เช่น แทนที่จะวิ่งไล่ เจ้าจงนั่งลงแทน หรือ แทนที่จะเห่า เจ้าจงนั่งนิ่งๆแทน เป็นต้น

เป็นหน้าที่เราที่จะต้องสอนลูกหมาว่าจะต้องทำตัวอย่างไร ถ้าเราไม่สอน หมาก็จะคิดเอง ทำเอง

อยากเข้าใจเรื่องนี้ ต้องอ่าน

Dog Behavior; พฤติกรรม จ่าฝูง-ลูกฝูง ของสุนัขตามธรรมชาติ

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=yojajiji&month=06-01-2010&group=7&gblog=19


สูตรหลัก 3 ข้อ ในการป้องกันปัญหาพฤติกรรมสุนัขทุกประเภท

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=yojajiji&month=02-03-2010&group=7&gblog=34


สู้ๆคะ



โดย: Yoja&Jiji วันที่: 31 พฤษภาคม 2553 เวลา:10:43:22 น.  

 
ตรงใจครับ ที่บ้านเสี้ยงสัตว์หลายชนิด ขอบคุณครับ


โดย: GForce2009 IP: unknown, 203.146.147.106 วันที่: 28 กรกฎาคม 2553 เวลา:15:34:19 น.  

 
ขอโทษนะค่ะ อยากทราบว่ามีฟาร์มมอลทีสที่อยู่ในกรุงเทพราคาถูกประมา6000ไหมค่ะ


โดย: เอย IP: 58.9.240.128 วันที่: 13 มีนาคม 2556 เวลา:12:09:27 น.  

 
ไม่ทราบเรื่องฟาร์มหมาเลยค่ะ


โดย: Yoja&Jiji วันที่: 13 มีนาคม 2556 เวลา:13:13:54 น.  

 
พึ่งรับน้องหมาโกลเด้นมา จะฝึกให้อยู่ร่วมบ้านกับน้องกระต่ายให้ได้ นั่งอ่านบล็อคคุณหญิงมาเดือนนึงแล้ว ค่อยๆ อ่านทำความเข้าใจ และสอนลูกให้เข้าใจด้วยค่ะ ขอบคุณมากนะคะสำหรับสาระประโยชน์


โดย: Pok IP: 223.24.90.74 วันที่: 5 มิถุนายน 2560 เวลา:17:04:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

Yoja&Jiji
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 560 คน [?]




***ขอแจ้งให้ทราบว่า สำหรับผู้ที่เข้ามาถามคำถามเกี่ยวกับการแก้ปัญหาพฤติกรรมสุนัข จะไม่มีการตอบแล้ว โปรดอ่านบทความในบล็อกให้ละเอียด ทำความเข้าใจทุกประโยค คำถามส่วนใหญ่ มีคนมาถามแล้ว ให้อ่านคำตอบที่เคยตอบปัญหาของคนที่เคยถามได้ในส่วน comment ก็จะช่วยให้ได้ความเข้าใจและได้คำตอบ***

บทความและรูปภาพในบล็อก Yoja&Jiji เป็นลิขสิทธิ์ของเจ้าของบล็อก แต่ยินดีที่จะให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อที่ไม่ใช่เพื่อการค้าและธุรกิจ
ด้วยเงื่อนไขที่ต้องเขียนลิงค์ที่มาของบทความให้ชัดเจน ว่ามาจาก http://yojajiji.bloggang.com เพื่อที่หากมีผู้อ่านที่มีข้อสงสัย จะได้ตามลิงค์เข้าไปอ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของผู้รักสุนัขและสุนัข
--------------------------------------------------------
ผมโยจา พี่สาวผมชื่อจีจี้ และน้องสาวชื่อยูจิ
โปรดเข้ามาเยี่ยมชมบ่อยๆนะครับ
Blog นี้สำหรับช่วย คนรักหมา คนเลี้ยงหมา ให้มีความสุขกับน้องหมาในแนวทางของ Cesar Millan
ปัญหาพฤติกรรมสุนัขที่ไม่เหมาะสมกับครอบครัวเรา ไม่ว่าจะร้ายแรงมากหรือน้อย เป็นมานานแค่ไหน 1 วัน หรือ หลายปี คุณเองก็แก้ไขปรับได้ ด้วยหลักการเดียวกัน
เริ่มเลี้ยงสุนัข อยากให้ไม่มีปัญหาพฤติกรรมสุนัขต่างๆ เลี้ยงดูป้องกันไม่ให้มีปัญหาได้ด้วยตัวคุณเอง ด้วยหลักการเดียวกัน
ติดตามอ่านให้เข้าใจหลักจิตวิทยาสุนัข ตามแนวทางของ Cesar Millan
New Comments
[Add Yoja&Jiji's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com