สองสิ่ง ที่เป็นมวลสาร ในการสร้างพระเศรษฐีนวโกฏิ
ชันนะโรง เป็นแมลงชนิดหนึ่ง พฤติกรรมคล้าย ผึ้งมิ้ม ไม่มีพิษ ชอบตอมเกสรดอกไม้ ทางเหนือ เรียกว่าขี้ย้า ชอบทำรังอยู่ใต้ดิน รังของชันนะโรง มีลักษณะ เหมือนขี้ผึ้ง เหนียว เป็นมัน
คนสมัยก่อนเชื่อว่า เป็นของหายาก และศักดิ์สิทธิ์ บรรดาเกจิอาจารย์ มักจะนำมา สร้างวัตถุมงคล ต่างๆ เช่น หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครชัยศรี สร้างเบี้ยแก้ แล้ว อุดด้วยชันนะโรง เป็นต้น
ทางเหนือ ใช้ยาเรือ หรือ ทำ ภาชนะ ที่สานด้วยไม้ไผ่ แล้ว ยาด้วยชันนะโรง ใช้ตักน้ำ จากบ่อน้ำ เป็นต้น
ขี้ผึ้ง คือ ไขมันในสถานะของแข็ง เกิดขึ้นจากการผสมของสารประกอบหลายชนิดได้แก่ไฮโดรคาร์บอน (สารเคมีจำพวกน้ำมันดิน) 14%, โมโนเอสเตอร์ 35%, ไดเอสเตอร์ 14%, ไตรเอสเตอร์ 3%, ไฮดรอกซีโพลีเอสเตอร์ 8%, เอสเตอร์ของกรด 1%, กรดอิสระ 12%, แอลกอฮอล์อิสระ 1%
รวมถึงสารที่ไม่สามารถระบุได้อีก 6% ขี้ผึ้งถูกเก็บอยู่ในตัวของผึ้งน้ำหวานในรูปของเกล็ดบางๆ เกล็ดดังกล่าวถูกสร้างขึ้นโดยต่อมที่อยู่บริเวณท้องน้อยของผึ้ง
ส่วนผึ้งงานมีต่อมดังกล่าวอยู่แปดต่อมอยู่ด้านในของเปลือกปล้องกลางบริเวณท้องน้อยในอัตราส่วน 4 ต่อ 7 ขนาดของต่อมผลิตขี้ผึ้งขึ้นอยู่กับอายุของผึ้งงาน
ผึ้งน้ำหวานนำขี้ผึ้งของตนเองไปใช้สร้างโพรงเล็กๆ ในรวงน้ำผึ้ง ซึ่งใช้ในการเลี้ยงผึ้งที่ยังไม่เติบโตเต็มที่ และใช้ในการเก็บน้ำผึ้งและเรณูดอกไม้ ในการที่ผึ้งที่ทำหน้าที่ในการสร้างขี้ผึ้ง (ผึ้งน้ำหวานอายุ 12 วัน) จะผลิตขี้ผึ้งได้นั้น อุณหภูมิภายในรังผึ้งจะต้องอยู่ระหว่าง 33 ถึง 36°C (องศาเซลเซียส)
โดยผึ้งที่มีหน้าที่ดังกล่าวจะต้องบริโภคน้ำผึ้งถึงประมาณแปดปอนด์ (ประมาณ 3.6 กิโลกรัม) ในการที่จะผลิตขี้ผึ้งเพียงปอนด์เดียว (ประมาณ 0.4 กิโลกรัม) เมื่อผู้เก็บน้ำผึ้งเข้าไปทำการเก็บน้ำผึ้ง พวกเขาจะตัดฝาปิดโพรงผึ้งออกในแต่ละโพรงของรังน้ำผึ้ง
สีของขี้ผึ้งมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อนไล่ไปจนถึงสีเหลืองแกมน้ำตาล ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของขี้ผึ้ง ขี้ผึ้งจากรวงเพาะเลี้ยงในรังผึ้งจะมีสีเข้มกว่าขี้ผึ้งจากรวงน้ำผึ้ง ที่ๆ ซึ่งความปนเปื้อนเกิดขึ้นได้น้อยกว่า
ขี้ผึ้งเป็นสสารที่มีจุดหลอมเหลวสูง โดยอยู่ระหว่าง 62 - 64°C ขี้ผึ้งไม่มีจุดเดือด แต่จะกักเก็บความร้อนต่อไปจนมันลุกเป็นไฟเมื่ออุณหภูมิประมาณ 120°C เมื่อขี้ผึ้งได้รับความร้อนจนถึงอุณหภูมิ 85°C สีของขี้ผึ้งจะเริ่มหลอมละลายออกไป ความหนาแน่นสัมพัทธ์ที่อุณหภูมิ 15°C คือตั้งแต่ 0.958 - 0.970 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
มนุษย์นำขี้ผึ้งไปใช้ในการผลิตเทียนคุณภาพดี เครื่องสำอาง รวมถึงวัสดุและสารขัดเงา (มักจะเป็นยาขัดรองเท้า) และเป็นส่วนประกอบในการประดิษฐ์หุ่นขี้ผึ้ง รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ
ขี้ผึ้งเมื่อนำมาใช้เป็นเทียนจะไม่เกิดน้ำตาเทียน และมีควันที่น้อยกว่าธูปหรือเทียนธรรมดาอย่างมาก ซึ่งทำให้มันเป็นที่นิยมใช้ในการประกอบพิธีทางคริสต์ศาสนา
ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โสรวารสิริสวัสดิ์ ปรีดิ์มนัสวัฒนสิริค่ะ
Create Date : 12 มิถุนายน 2553 |
Last Update : 31 กรกฎาคม 2553 14:58:22 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1106 Pageviews. |
 |
|
|
|
|