"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
15 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
โรงอุปรากรเบย์รึท (เยอรมัน: Bayreuth Festspielhaus)







โรงอุปรากรเบย์รึท





โรงอุปรากรเบย์รึท (เยอรมัน: Bayreuth Festspielhaus; อังกฤษ: Bayreuth Festival Theatre) เป็นโรงละครที่ส่วนใหญ่ใช้สำหรับแสดงอุปรากร ที่ตั้งอยู่ที่ทางเหนือของเมืองเบย์รึท ในแคว้นบาวาเรียในประเทศเยอรมนี สร้างเมื่อปี ค.ศ. 1872 และเปิดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1876

โรงอุปรากรเบย์รึทเป็นโรงละครที่ส่วนใหญ่ ใช้สำหรับแสดงอุปรากรโดยริชาร์ด วากเนอร์ โดยเฉพาะระหว่างเทศกาลเบย์รึท ซึ่งเป็นเทศกาลประจำปีที่มีแต่การแสดงอุปรากรโดยริชาร์ด วากเนอร์เท่านั้น

โรงละครเป็นความคิดของวากเนอร์ หลังจากที่ถูกขับจากราชสำนักที่มิวนิคของพระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรีย วากเนอร์ต้องการจะมีสถานที่สำหรับแสดงอุปรากรที่ตนเองเขียน ที่ห่างไกลจากวัฒนธรรมคู่แข่งอื่นๆ

และนอกจากจะเป็นที่แสดงตามปกติแล้ว ก็ยังเป็นที่จัดเทศกาลอุปรากรประจำปีซึ่งเป็นงานที่เชิดหน้าชูตาของเบย์รึท

วากเนอร์เลือกเบย์รึทด้วยเหตุผลหลายประการ: โรงอุปรากรสร้างสำหรับมากราฟเฟรดริคแห่งเบย์รึทและภรรยาฟรีเดอริเค โซฟี วิลเฮลมีนแห่งเบย์รึท พระขนิษฐาของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1747

ซึ่งมีระบบเสียงดีและเหมาะกับความคิดของวากเนอร์ ประการที่สองเมืองเบย์รึทอยู่นอกบริเวณ ที่วากเนอร์ไม่สามารถแสดงอุปรากรของตนเองเพราะได้ขายลิขสิทธิ์ไปหมดเมื่อปี ค.ศ. 1864 เพราะปัญหาทางการเงิน

ประการสุดท้ายเบย์รึทขณะนั้น ไม่มีวัฒนธรรมที่เด่นที่จะเป็นคู่แข่งได้ทำให้วากเนอร์เป็นที่เด่นโดยไม่มีใครลบได้ เมื่อเทศกาลอุปรากรเริ่มขึ้นก็จะกลายเป็นจุดสนใจทางวัฒนธรรมของเบย์รึท

วากเนอร์นำการออกแบบมาจากสถาปนิกกอดฟรีด เซมเพอร์ซึ่งวากเนอร์ มิได้รับการอนุญาต แบบของเซมเพอร์เดิมออกสำหรับโรงอุปรากรที่มิวนิค ที่สร้างภายใต้การควบคุมของวากเนอร์

ทุนการก่อสร้างส่วนใหญ่มาจากพระเจ้าลุดวิกที่ 2 วากเนอร์วางศิลาฤกษ์ในวันเกิดของตนเองเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1872 สิ่งก่อสร้างเปิดเป็นครั้งแรกด้วยการแสดงอุปรากร “แหวนแห่งนิเบลลุงเก็น” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “แหวน” (Der Ring des Nibelungen) ทั้งสี่องค์อย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรก (ความยาวทั้งหมดประมาณ 15 ชั่วโมง)

ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1876 ถึงวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1876 อุปรากรเรื่องนี้มักจะแสดงทั้งชุดในงานเทศกาลอุปรากรที่เบย์รึท

ด้านหน้าของโรงละครเท่านั้น ที่มีลักษณะการตกแต่งที่พบกันในสมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนั้นภายนอกก็มีลักษณะเรียบง่าย ไม่มีการตกแต่งเท่าใดนักนอกไปจากอิฐที่ก็มิได้มีการตกแต่ง

ลักษณะที่เด่นของโรงละครแห่งนี้คือ ที่นั่งของหลุมวงออร์เคสตรา (orchestra pit) ซึ่งตั้งลึกเข้าไปภายใต้เวที และคลุมด้วยเพดานบางๆ เพื่อที่จะซ่อนวงดนตรีจากผู้ชม ซึ่งเป็นสิ่งที่วากเนอร์เน้นเพื่อที่จะให้ผู้ชมสนใจแต่เฉพาะอุปรากรบนเวที แทนที่จะมีผู้กำกับดนตรื (Conductor) ที่โบกบาทองทำให้เสียสมาธิ

นอกจากนั้นการออกแบบก็ยังพยายามแก้ความสมดุล ระหว่างนักร้องและออร์เคสตราซึ่งทำให้เป็นเสียงที่ออกมา อย่างที่วากเนอร์ต้องการ แต่การจัดระบบเสียงเช่นนี้ทำความลำบาก ให้แก่ผู้กำกับดนตรืเป็นอันมาก แม้ว่าจะเป็นผู้กำกับที่มีชื่อเสียงก็ตาม

นอกจากผู้ชมที่ถูกซ่อนอยู่ในความมืดแล้ว เสียงสะท้อนกังวานทำให้การประสานเสียงระหว่างวงออร์เคสตรากับนักร้องเป็นไปได้ยาก ฉะนั้นผู้กำกับดนตรืจึงจำต้องไม่สนใจสัญญาณจากนักร้อง นอกจากนั้นผู้กำกับดนตรืยังพบว่าการกำกับดนตรี ที่เบย์รึทเป็นงานที่ท้าทายความสามารถมากที่สุดในอาชีพของตนเองงานหนึ่ง

ลักษณะที่เด่นทางสถาปัตยกรรมอีกอย่างหนึ่ง คือการใช้เพดานโค้งซ้อน (proscenium) ซึ่งทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าโรงละครลึกกว่าความเป็นจริง

เพดานโค้งซ้อนและหลุมสำหรับวงออร์เคสตราเกือบใต้เวทีทำให้เกิดบรรยากาศที่วากเนอร์เรียกว่า “เหวแห่งความลึกลับ” (mystic gulf) ระหว่างผู้ชมและเวที อันทำให้การแสดงที่ออกมาบนเวทีเหมือนฝัน ซึ่งเป็นการย้ำความลึกลับของเนื้อหา และบรรยากาศของอุปรากรที่วากเนอร์ต้องการ


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์ศุกรวาร สิริมานรมเยศค่ะ


Create Date : 15 กันยายน 2553
Last Update : 18 กันยายน 2553 14:31:53 น. 0 comments
Counter : 1295 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.