"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
25 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 

เสวนา "สัญญะและสามัญชนบนธนบัตร" มองโลกและมองไทย

 

 






























เมื่อไม่นานมานี้ เดอะรีดดิ้งรูม (The Reading Room) และกวีราษฎร์ จัดเสวนา “สัญญะและสามัญชนบนธนบัตร”  โดย อาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้วิเคราะห์ด้วยการเปรียบเทียบธนบัตรในประเทศต่าง ๆ ด้วยการเทียบเคียงกับประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แบ่งออกได้ 4 กลุ่ม

กุล่มแรก ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแต่ไม่มีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ปรากฏอยู่บนธนบัตร ได้แก่ สวีเดน เดนมาร์ก ญี่ปุ่น เบลเยี่ยม เนเธอแลนด์ ทั้ง 4 ประเทศจะปรากฏภาพของศิลปิน นักดนตรีและบุคคลสำคัญในด้านต่าง ๆ บนธนบัตร

กลุ่มที่สอง ประเทศที่มีเฉพาะพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ปรากฏเฉพาะด้านหน้าและบางชนิดราคาของธนบัตร เช่น สเปน ภูฏาน บาห์เรน กัมพูชา

กลุ่มที่สาม ประเทศที่มีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ปรากฏเฉพาะด้านหน้าในทุกชนิดราคาของธนบัตร ส่วนด้านหลังจะเป็นบุคคลสำคัญ เช่น อังกฤษ โมร็อกโก สวาซิแลนด์ เนปาล เป็นต้น 

 กลุ่มที่สี่  ประเทศที่มีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ปรากฏทั้งด้านหน้าและหลังในทุกชนิดราคาของธนบัตร ได้แก่ ไทย

อาจารย์ชาตรี กล่าวว่า สถาบันกษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้องกับรูปภาพที่ปรากฏบนธนบัตร โดยเป็นความสัมพันธ์กับรูปแบบการปกครอง อาจกล่าวได้ว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมักไม่ปรากฏพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์อยู่ หรือปรากฏเฉพาะด้านหน้าธนบัตรในบางชนิดราคาเท่านั้น

 ตัวอย่างธนบัตรของประเทศต่าง ๆ

 


 ตัวอย่างธนบัตรชนิดราคา 200 แรนด์ของประเทศแอฟริกาใต้

 

ธนบัตรชนิดราคา 1,000 เยน โดยมีรูปของ นัทซึเมะ โซเซกิ นักเขียนของญี่ปุ่น

 

  ธนบัตรชนิดราคา 500 เรียลกัมพูชา

 


 
ธนบัตรชนิดราคา 20 ปอนด์สเตอร์ลิงอังกฤษ ด้านหน้าแสดงภาพสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 ส่วนด้านหลังแสดงภาพของ อดัม สมิธ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ


อาจารย์ชาตรี วิเคราะห์ว่า สำหรับประเทศไทย การออกแบบธนบัตรมีความสัมพันธ์กับสภาพการเมืองและสังคมในแต่ละยุคซึ่งแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบธนบัตรแบบต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทยจะพบข้อสังเกตหลายประการ

ธนบัตรแบบ 3 ได้ออกแบบไว้ตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติ 2475 และเริ่มทยอยออกใช้ในปี พ.ศ. 2477 เป็นแบบแรกที่ปรากฏภาพบุคคลคือพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 7 และมีภาพอันแสดงถึงวัฒนธรรมประเพณีและสถาปัตยกรรมไทย ตลอดจนทัศนียภาพต่าง ๆ เป็นภาพประกอบ ส่วนด้านหลังเป็นภาพวัดระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
 
ธนบัตรแบบ 4 ทยอยออกใช้ในปี พ.ศ. 2482 ด้านหลังของธนบัตรปรากฏภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งเป็นรัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย และมีลายน้ำเป็นรูปพานรัฐธรรมนูญ สะท้อนถึงอุดมการณ์ประชาธิปไตย

ธนบัตรแบบ 8 เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช 2489 ตรงกับสมัยที่ นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พื้นที่กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของธนบัตรเป็นรูปพานรัฐธรรมนูญ ออกแบบตามอย่างตะวันตกไม่มีลวดลายไทย
 
ธนบัตรแบบ 9 เริ่มทยอยออกใช้เมื่อปี พ.ศ. 2491 การออกแบบธนบัตรมีลักษณะย้อนไปสู่ยุคแรก ๆ โดยปรากฏรูปของรัฐสภาและมีลวดลายไทยประกอบ ส่วนธนบัตรแบบ 10 พบว่ารัฐสภาหายไป โดยด้านหน้าเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็นภาพประธาน ด้านหลังเป็นภาพเรือสุพรรณหงส์

ธนบัตรแบบ 11 เริ่มทยอยออกใช้ในปี พ.ศ. 2512 ซึ่งเป็นช่วงที่ไทยเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาคอมมิวนิสต์ โดยจะปรากฏพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ของธนบัตร

ธนบัตรแบบ 12 เริ่มทยอยออกใช้ในปี พ.ศ. 2523 ซึ่งเป็นยุคหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ได้มีการออกธนบัตรเพื่อเผยแผ่พระเกียรติคุณของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ได้รับการถวายพระราชสมัญญาภิไธย "มหาราช"

ได้แก่ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ณ ลานพระราชวังดุสิต พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย จ. จันทบุรี และพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จ. สุพรรณบุรี

ธนบัตรแบบ 13 เป็นภาพเฉลิมฉลองงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยด้านหน้าเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ ทรงฉลองพระองค์ครุย และหลังจากธนบัตรแบบ 13 เป็นต้นมา

ปรากฏพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งด้านหน้าและหลังธนบัตร และมีภาพพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ประกอบลวดลายธนบัตรจึงเป็นเครื่องมือสื่อสารอุดมการณ์ในรูปแบบการปกครองที่เปลี่ยนแปลงไปได้เป็นอย่างดี 
 
ทั้งนี้ หาก เปรียบเทียบธนบัตร พบว่า 1 ใบมีพื้นที่เฉลี่ย 0.03 ตารางเมตร ในประเทศไทยมีธนบัตร 20, 50, 100, 500 และ 1,000 บาท เฉลี่ยอย่างน้อยที่สุดชนิดละ 10 ล้านฉบับ จะพบว่าจำนวนธนบัตรหมุนเวียนในประเทศไทยถึง 50 ล้านฉบับ

และเมื่อคูณกับพื้นที่เฉลี่ยของธนบัตร 1 ใบ จะกินพื้นที่ถึง 1.5 ล้านตารางเมตร ขณะที่คนไทยใช้ธนบัตรไม่ต่ำกว่า 5-10 ครั้งต่อวัน ในแง่สื่อสารมวลชน ธนบัตรจึงเป็นสื่อโฆษณาอย่างหนึ่งที่มีอำนาจในการสื่อกับผู้คนในสังคมเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด

 

การออกแบบธนบัตรของไทยในยุคต่าง ๆ

 


 ธนบัตรชนิดราคา 100 บาท เริ่มทยอยใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468

 


ธนบัตรแบบ 3 ชนิดราคา 1, 5 และ 10 บาท เริ่มทยอยใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477

 


  
 ธนบัตรแบบ 4  ชนิดราคา 20 และ 100 บาท ออกใช้เมื่อ พ.ศ. 2488


 

ธนบัตรแบบ 8 สั่งพิมพ์ในสมัยราชกาลที่  8 โดยรัฐบาลไทยติดต่อให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจัดพิมพ์ธนบัตรให้ชั่วคราวเนื่องจากได้รับความเสียหายจากสงครามมมหาเอเชียบูรพา

 


 

ธนบัตรแบบ 9 มีรูปแบบเหมือนกับธนบัตรแบบ 4 แต่เปลี่ยนพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์เป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  เริ่มทยอยออกใช้เมื่อปี พ.ศ. 2491


 
ธนบัตรชนิดราคา 100 บาท ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช 
สยามมกุฎราชกุมาร

 


ขอบคุณ มติชนออนไลน์

 สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ




 

Create Date : 25 กรกฎาคม 2555
0 comments
Last Update : 16 ตุลาคม 2555 19:47:50 น.
Counter : 8824 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.