"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
14 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
สุจิตต์ วงษ์เทศ "ไม่อยากให้จำ ต้องทำให้ลืม" คอลัมน์ สยามประเทศไทย


มติชนรายวัน 13 ส.ค.2555







"ชิงสุกก่อนห่าม", "ปลูกไม้เมืองหนาวในป่าเขตร้อน", ฯลฯ เป็นวลีเปรียบเปรยเพื่อเย้ยหยันการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ส่งผลให้มีคำสั่งยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายน

คณะราษฎร (อ่านว่า คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน) ไม่ใช่คณะแรก และไม่ใช่คณะเดียวในยุคนั้น ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบเก่าเป็นระบอบใหม่

แต่มีกลุ่มอื่นๆ ทั้งยุคก่อนหน้าและยุคนั้นอีกหลายกลุ่มต้องการระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมักเรียกด้วยภาษาปากทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "ดีโมเครซี" หรือ "ดีมอคเครซี"

ประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทยไม่มีประวัติศาสตร์สังคมและการเมือง รวมทั้งไม่มีมิวเซียมเกี่ยวกับสังคมและการเมืองของไทย ที่แสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวของผู้คนทุกระดับที่มีต่อการเมืองการปกครองทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ตั้งแต่ยุคแรกๆสืบเนื่องมาจนถึง ร.5, 6, 7...

ด้วยเหตุดังนั้นสังคมไทยจึงถูกทำให้รับรู้ด้านเดียว ทั้งโดยมือที่มองเห็นและมองไม่เห็น คือด้านอนุรักษนิยมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อความเปลี่ยนแปลงในทางก้าวหน้า

"วิภาษา" นิตยสารราย 45 วัน (ฉบับวันที่ 16 มิ.ย. - 31 ก.ค. 2555) มีบทบรรณาธิการของ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ (คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง) เรื่อง เราเริ่มกันที่ระบอบรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการประเมินค่ามรดกของคณะราษฎร จะขอคัดตอนสำคัญมาแบ่งปันเผยแพร่ให้กว้างขวางออกไปอีกดังนี้

"หากจะประเมินค่ามรดกของคณะราษฎร คงต้องเข้าใจเสียก่อนว่าสิ่งที่คณะราษฎรได้กระทำเมื่อกว่า 80 ปีก่อนนั้น มิอาจถูกลดทอนลงอย่างตื้นเขินเหลือเพียงการกระทำเรื่องที่ชิงสุกก่อนห่าม หรือปลูกไม้เมืองหนาวในป่าเขตร้อน หากแต่ต้องพิจารณาในเงื่อนไขอื่นประกอบ ทั้งในแง่ผลพวงของวิกฤติเศรษฐกิจโลกและปัจจัยภายในที่เซาะกร่อนตัวมันเอง

ถึงแม้จะมีการศึกษาในทางประวัติศาสตร์ ที่โต้แย้งคำอธิบายผิวเผินข้างต้น แต่คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าคำวิจารณ์อย่างตื้นเขินเหล่านั้นสำเร็จรูปและน่าคล้อยตามมากกว่า "อะไรที่มันซับซ้อน"

การประเมินค่ามรดกคณะราษฎรจึงตกอยู่ในกรอบของการกระทำ ความล้มเหลวและชะตากรรมของคนไม่กี่คน เช่น นายปรีดี พนมยงค์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หรือตัวละครหลัก หาใช่ระบอบการเมืองหรือระนาบของมนุษย์และปัจจัยทางวัฒนธรรม เงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนจุดหักเหของมัน

ในความเป็นจริง คณะราษฎรได้พยายามเปลี่ยนแปลงฐานรากสำคัญ เช่น การวางแผนเค้าโครงเศรษฐกิจ แต่ก็ต้องประนีประนอมกับพลังหลากหลายในสังคมไทยอยู่พอควร จึงเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดว่าคณะราษฎรมีความเป็นอิสระกี่มากน้อย และมีพลังต่อต้านหรือเหนี่ยวรั้งการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนพยายามดึงอำนาจทวนกลับอย่างไรบ้าง

กล่าวอย่างเป็นธรรม คณะราษฎรดำเนินการในฐานะ "คณะการเมือง" ในช่วงเวลาที่สั้นมากๆ ได้แก่ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงก่อนกบฏบวรเดช และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนถูกรัฐประหาร 2490 จึงถือว่าปิดฉากบทบาทของคณะราษฎร

ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องของตัวบุคคลและคณะที่รองรับอำนาจต่างกันไป เช่น ในยุคของ จอมพล ป. ในฐานะนายกรัฐมนตรีครั้งแรกและครั้งที่สองอยู่ห่างไกลจากการกำกับและรับผิดชอบของคณะราษฎรอย่างเห็นได้ชัด

การกล่าวโทษในหลายๆ กรณีออกจะเกินจริงและมองข้ามภารกิจสำคัญที่สุดและกระทำการสำเร็จ ได้แก่ การจำกัดอำนาจที่เหลือล้นพ้นประมาณของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และความไร้น้ำยาในการจัดการกับความเปลี่ยนแปลงและแรงกดดันจากภายนอกอย่างมีนัยสำคัญของระบอบเก่า

การ "มี" รัฐธรรมนูญ จึงไม่ใช่เรื่องของการเขียนกฎหมายขึ้นมาลอยๆ ดังที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ได้ต่อรองและมีการประนีประนอมระหว่างคณะราษฎรกับพระองค์จนถึงจุดสำคัญคือ การจัดพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475

ที่สะท้อนให้เห็นความพยายามในการกำกับความหมายเชิงประเพณีของการถ่ายโอนอำนาจจากระบอบเก่าสู่ระบอบการเมืองใหม่"

น่าประหลาด ที่สังคมไทยทำตัวทันสมัย ต้องการประชาธิปไตย แต่ "ไม่อยากให้จำ ต้องทำให้ลืม" ข้อดีของคณะราษฎรและ 24 มิถุนายน 2475



ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
คอลัมน์ สยามประเทศไทย
คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ

สิริสวัสดิ์ภุมวารค่ะ


Create Date : 14 สิงหาคม 2555
Last Update : 14 สิงหาคม 2555 12:17:25 น. 0 comments
Counter : 3328 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.