"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
24 มกราคม 2555
 
All Blogs
 
กรุงศรีปฏิวัติ : ๑๐๐ ปีแห่งความเงียบ ไร้ "ปฏิวัติ" ในราชวงศ์สุพรรณภูมิ (2)



โดย ปรามินทร์ เครือทอง




กรุงศรีปฏิวัติ : ๑๐๐ ปีแห่งความเงียบ
ไร้ "ปฏิวัติ" ในราชวงศ์สุพรรณภูมิ (2)



สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ อุปราช “เมือง” อยุธยา

“ความเงียบ” ทางการเมืองในกรุงศรีอยุธยา ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ เนื่องด้วยทรงปกครองกรุงศรีอยุธยา “แทน” สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชบิดา ในฐานะอุปราช นานถึง ๒๕ ปี

ก่อนจะได้ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา “อย่างเป็นทางการ” เพียง ๓ ปี ก็เสด็จสวรรคต ระหว่างที่ทรงครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น ศูนย์กลางอำนาจที่แท้จริงย่อมอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ดังนั้นหากจะมีคนคิด “เคลื่อนไหว” ใดๆ ก็ย่อมก่อการที่เมืองพิษณุโลกมากกว่ากรุงศรีอยุธยา

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ได้ปกครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะ “อุปราช” แม้ศูนย์กลางอำนาจจะอยู่ไกลถึงเมืองพิษณุโลก แต่ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่พระองค์จะ “เคลื่อนไหว” เพื่อยึดกรุงศรีอยุธยา

เพราะอย่างไรเสียราชสมบัติย่อมเวียนมาถึงพระองค์อย่างแน่นอน ในฐานะพระราชโอรส และ “อุปราช”

นอกจากนี้ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถยังทรงรับเอา “พระราชโอรส” ของพระองค์ ไปเลี้ยงไว้ที่เมืองพิษณุโลกด้วย ตามที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารตอนหนึ่ง ที่กล่าวถึงเจ้านายที่ทรงผนวช ๒ พระองค์

องค์หนึ่งคือ “พระเชษฐาธิราช” พระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อีกองค์หนึ่งคือ “พระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ทรงพระผนวชทั้ง ๒ พระองค์”

การรับพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ซึ่งก็เป็น “หลานปู่” ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มาอยู่ด้วยนั้น ย่อมเป็นเครื่องกีดกันที่ดีทางหนึ่งหากสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ทรงมีความคิดที่จะ “เคลื่อนไหว” ใดๆ ในกรุงศรีอยุธยา

หลังจากครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาอย่างเป็นทางการได้ ๓ ปี สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ก็เสด็จสวรรคตในปี ๒๐๓๔ โดยไม่ทรงคิดทำรัฐประหาร และไม่ถูกทำรัฐประหาร ตลอดรัชสมัย


สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ กับ “แรงกระเพื่อม” ของขุนนาง

ระหว่างที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ทรงเป็นอุปราชอยู่กรุงศรีอยุธยานั้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ หรือสมเด็จพระเชษฐาธิราชขณะนั้น ก็ทรงเป็นอุปราชอยู่เมืองพิษณุโลกเช่นกัน

ครั้นเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคต สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ อุปราชแห่งกรุงศรีอยุธยาได้ครองราชสมบัติสืบต่อพระราชบิดา ส่วนสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ยังคงเป็นอุปราชเมืองพิษณุโลกอยู่เช่นเดิม

จนกระทั่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ เสด็จสวรรคตลง ราชสมบัติจึงตกมาถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เมื่อพระชนมายุ ๑๙ พรรษา

การเมืองในรัชสมัยนี้ยังคงสงบเรียบร้อย ไม่มีความเคลื่อนไหวใดที่เป็นชนวนไปสู่การรัฐประหาร กิจการสำคัญคือการสร้างพระวัดพระศรีสรรเพชญ์ การทำตำราพิชัยสงคราม และการกำหนดสารบัญชีเกณฑ์ทหาร เป็นต้น

นอกจากนั้นก็เป็น “ศึกนอก” กับล้านนาอีกครั้ง เพราะเหตุว่าทรงทิ้งเมืองพิษณุโลกลงมาปกครองกรุงศรีอยุธยา ทำให้หัวเมืองเหนือไม่มั่นคงดังก่อน จนถูกฝ่ายล้านนารบกวน เช่น สุโขทัย เชลียง กำแพงเพชร

ศึกสำคัญคือในปีจุลศักราช ๘๗๗ (พ.ศ. ๒๐๕๘) ล้านนา ยกลงมาถึงเมืองกำแพงเพชร ทำให้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ยกขึ้นไปรับศึกจนยึดเมืองลำปางได้ในคราวเดียวกัน

เหตุที่ทรงทิ้งเมืองพิษณุโลกไว้ โดยไม่ทรงตั้งอุปราชขึ้นไปปกครอง ทำให้เกิดเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่เป็น “แรงกระเพื่อม” ของขุนนางกลุ่มหนึ่ง ซึ่งพระราชพงศาวดารไม่ได้บอกชัดเจนว่ามูลเหตุคืออะไร แต่น่าจะเป็นเหตุร้ายแรงอยู่ อาจถึงขั้นก่อการกบฏ

เพราะพระราชพงศาวดารบันทึกไว้ว่า จากเหตุการณ์นี้ทำให้มีการ “กำจัด” ขุนนางไปเป็นจำนวนมาก “อนึ่งในเดือน (นั้นมีผู้ทอดบัตร สนเท่ห์ ครั้งนั้นให้) ฆ่าขุนนางเสียมาก”

เรื่องราวอาจจะเป็นเพราะ หลังจากที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรง “ทิ้ง” เมืองพิษณุโลกไว้ โดยไม่ได้จัดการให้เรียบร้อยก่อนจะมารับราชสมบัติที่กรุงศรีอยุธยา เนื่องจากเมืองพิษณุโลกนับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

ถือว่าเป็นเมืองสำคัญเกือบจะเทียบเท่ากรุงศรีอยุธยา บรรดาขุนนางอำมาตย์จึงน่าจะเติบโตและมีอำนาจขึ้นตามความสำคัญของเมือง ครั้นเมื่อพระมหากษัตริย์ย้ายลงมากรุงศรีอยุธยา ทำให้การเมืองในเมืองพิษณุโลกเกิดสุญญากาศขึ้นชั่วขณะ

ขุนนางอำมาตย์ที่ “ตกค้าง” อยู่เมืองพิษณุโลก อาจจะมีการแบ่งขั้วแย่งอำนาจกัน จึงมีการทอดบัตรสนเท่ห์ทำร้ายฝ่ายตรงข้ามนั่นเอง

ดังนั้นในเวลา ๒ ปีต่อมาหลังจากเกิด “แรงกระเพื่อม” ขึ้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ จึงส่ง “พระอาทิตยวงศ์” ขึ้นไปปกครองในฐานะ “อุปราช” ในพระนาม “สมเด็จหน่อพุทธางกูร” เรื่องราวจึงสงบลง


จากนั้น ก็ไม่มีเหตุการณ์ “พิเศษ” ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหารเกิดขึ้นอีกจนกระทั่งสิ้นรัชสมัยในปี ๒๐๗๒ หลังจากอยู่ในราชสมบัตินานถึง ๓๘ ปี (พ.ศ. ๒๐๓๔-๗๒)


สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ผู้จุดชนวนรัฐประหารในรอบ ๑๐๐ ปี

สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร พระนามเดิมคือ พระอาทิตยวงศ์ เป็นผู้สืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระมหากษัตริย์พระองค์นี้มีพระราชประวัติที่ค่อนข้างสับสน มีการตีความกันเป็น ๒ แนวทาง

ทางหนึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ รวมทั้ง วัน วลิต กล่าวตรงกันว่า เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ อันเกิดจากพระมเหสีจึงทรงเป็น “หน่อพระพุทธเจ้า” ตามกฎมนเทียรบาล

“สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรพระองค์นี้ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เกิดแต่พระมเหสี บางทีพระอัครมเหสีพระองค์นั้น จะเป็นเชื้อพระวงศ์สมเด็จพระร่วง จึงตั้งพระนามว่า พระอาทิตยวงศ์ หมายความว่าเป็นวงศ์ของสมเด็จพระร่วงศรีอินทราทิตย์”

อีกทางหนึ่ง พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างน่าสนใจว่า สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร น่าจะเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ก็เป็นได้

“ที่กล่าวว่าพระเยาวกุมารโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ผู้อยู่คู่กันมากับพระเชษฐาโอรส ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในราชสำนักเมืองพิษณุโลกนั้น เป็นพระองค์เดียวกับพระอาทิตยวงศ์

มีหลักฐานอยู่ในเอกสารของล้านนาที่กล่าวถึงเหตุการณ์ ตอนที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ยกทัพไปตีเมืองลำปางได้ในปีหนึ่งนั้น

ในพงศาวดารของล้านนาได้กล่าวถึงว่า ในกองทัพของกรุงศรีอยุธยามี พระเอก กับ พระอาทิตย์ เป็นแม่ทัพ พระเอกก็คือนามเรียกเดิมของพระเชษฐาหรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ผู้เป็นพระยาเอกสัตราชพระมหาอุปราช พระอาทิตย์ก็คือพระอาทิตยวงศ์นั่นเอง”

นั่นหมายความว่า “พระราชโอรส” ของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ องค์ “ปริศนา” ในพระราชพงศาวดารสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถที่ผนวชพร้อมกับ “พระเชษฐาธิราช” ตามข้อความที่ว่า “สมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้า แลพระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ทรงพระผนวชทั้ง ๒ พระองค์”

ก็คือ “พระอาทิตยวงศ์” หรือสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรนั่นเอง

เหตุที่ต้องสืบหาพระราชประวัติและความสัมพันธ์อย่างระมัดระวังนี้ ก็เพราะปัญหา “ใครลูกใคร” ถือเป็นเรื่องสำคัญที่มักจะเป็น “ชนวน” ในการ “รัฐประหาร” อยู่เสมอๆ

ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาว่า สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร หรือพระอาทิตยวงศ์ เป็นลูกใคร ระหว่าง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ จึงต้องย้อนกลับไปดู “เนื้อความ” ในพระราชพงศาวดารอย่างละเอียดอีกครั้ง

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา และฉบับที่มีเนื้อความใกล้เคียงกัน เช่น ฉบับพันจันทนุมาศ ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ เป็นต้น กล่าวถึงในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ว่าทรงตั้ง “พระเจ้าลูกเธอ” พระอาทิตยวงศ์ ไปเป็นอุปราชเมืองพิษณุโลก ในปี ๒๐๔๙

“ครั้งนั้นประดิษฐานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระอาทิตยวงศ์ ไว้ในที่อุปราช ให้ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก”

แต่ใน พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐฯ ไม่ได้อ้างถึง “ความสัมพันธ์” ใดๆ ไว้

“ครั้งนั้นประดิษฐานสมเด็จหน่อพุทธางกูรเจ้าในที่อุปราช แลให้เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก”

สิ่งที่น่าสนใจคือ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐฯ มักจะจดคำ “พระราชกุมาร” กำกับไว้เสมอ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแผ่นดิน จาก พ่อ สู่ ลูก หากการเปลี่ยนแผ่นดินเป็นแบบ พี่ สู่ น้อง หรืออื่นๆ ก็จะไม่มีคำกำกับความสัมพันธ์ไว้ เช่น


สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง - สมเด็จพระราเมศวร (พ่อ-ลูก)

“ครั้นนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้านฤพาน จึงพระราชกุมารท่านสมเด็จพระ (ราเม) ศวรเจ้าเสวยราชสมบัติ” (น. ๑)

สมเด็จพระราเมศวร - สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พ่องั่ว) (หลาน-ลุง)

“สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จมาแต่เมืองสุพรรณบูรี ขึ้นเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุทธยา” (น. ๑)

สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พ่องั่ว) - เจ้าทองลัน (พ่อ-ลูก)

“สมเด็จพระบรมราชาเจ้านฤพาน แลจึงเจ้าทองลันพระราชกุมารท่านได้เสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุทธยา” (น. ๒)

เจ้าทองลัน - สมเด็จพระราเมศวร (ลูกพี่ลูกน้อง)

“จึงสมเด็จพระราเมศวรยกพลมาแต่เมืองลพบูรี ขึ้นเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุทธยา” (น. ๓)

สมเด็จพระราเมศวร - สมเด็จพระรามราชาธิราช (พ่อ-ลูก)

“สมเด็จพระราเมศวรเจ้านฤพาน จึงพระราชกุมารท่านเจ้าพระญาราม เสวยราชสมบัติ” (น. ๓)

สมเด็จพระรามราชาธิราช - สมเด็จพระนครอินทราธิราช (เครือญาติ)

“จึงเชิญสมเด็จพระอินทราชาเจ้าขึ้นเสวยราชสมบัติ” (น. ๓)

สมเด็จพระนครอินทราธิราช - สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) (พ่อ-ลูก)

“จึงพระราชกุมารเจ้าสามพระญา ได้เสวยราชสมบัติพระนครอยุ (ทธยา)” (น. ๓)

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) - สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ่อ-ลูก)

“สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้านฤพาน จึงพระราชกุมารท่านสมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามสมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า” (น. ๔)

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ - สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (พ่อ-ลูก)
(ไม่มีบันทึกเรื่องการครองแผ่นดินใหม่คราวเปลี่ยนแผ่นดิน)

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ - สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พี่-น้อง)

“สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้าเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุทธยา ทรงพระนามสมเด็จพระรามาธิบดี” (น. ๗)

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ - สมเด็จบรมราชาหน่อพุทธางกูร (?)

“สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระอาทิตยเจ้าเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุทธยา ทรงพระนามสมเด็จบรมราชาหน่อพุทธางกูร” (น. ๙)

จะเห็นได้ว่า “แบบแผน” ในการจดพระราชพงศาวดารในเรื่อง “พระราชกุมาร” เป็นไปอย่างเคร่งครัด แต่ถึงคราวเปลี่ยนแผ่นดินจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ มาสู่สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร กลับไม่ได้จดกำกับเรื่อง “พระราชกุมาร” ไว้เช่นในคราวอื่นๆ

ข้อสังเกตนี้สนับสนุนแนวคิดของ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ที่ว่า สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร น่าจะเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ไม่ได้เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเสนอไว้

อย่างไรก็ดี การที่สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ขึ้นสืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ นั้น ยังถือว่าเป็น “ธรรมเนียม” ปกติ คือทรงเป็น “อุปราช” เมืองพิษณุโลก แล้วลงมาครองราชสมบัติในกรุงศรีอยุธยา

แต่ถึงกระนั้น ทั้งเรื่องการลำดับราชวงศ์ และเรื่องอุปราชเมืองพิษณุโลก ก็มักจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ “จุดชนวน” การรัฐประหารขึ้น เช่นในกรณี “ศึกเจ้าพี่เจ้าน้อง” ในสมัยเจ้าสามพระยา หรือประมาณ ๑๐๐ ปี ก่อนหน้านี้

สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ครองราชสมบัติอยู่เพียง ๕ ปี ก็เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคไข้ทรพิษ และส่งราชสมบัติต่อให้กับพระราชโอรสที่มีพระชนมายุเพียง ๕ พรรษา


ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
คุณปรามินทร์ เครือทอง


สิริสวัสดิ์ภุมวารค่ะ



Create Date : 24 มกราคม 2555
Last Update : 24 มกราคม 2555 12:02:41 น. 1 comments
Counter : 1723 Pageviews.

 
เพิ่งจะได้เข้ามาอ่านครับ.


โดย: เจียวต้าย วันที่: 15 เมษายน 2556 เวลา:8:39:31 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.