"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
1 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 

“นครินทร์” ชำแหละจุดพลาด “คณะราษฎร” ละเลยท้องถิ่น ขาดความไว้ใจกัน จำกัดฐานกำลังอย่างแคบ

 

 

เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. สถาบันนโยบายศึกษา โดยการสนับสนุนของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ และนิตยสารศิลปวัฒนธรรม จัดการสัมมนา “จาก 100 ปี ร.ศ.130 ถึง 80 ปี ประชาธิปไตย” ที่ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้อง 304 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์

ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ รองอธิการบดีธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ตนเองเขียนหนังสือ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ได้พบกับบุคคลหลายคน นักประวัติศาสตร์ควรพูดคุยเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากบุคคลในเหตุการณ์ ทำให้เราได้สะสมความรู้จากความทรงจำของท่านเหล่านี้ ไม่ใช่ใช้ความคิดผู้เขียนคนเดียว อย่างไรก็ตาม หากอ่านประวัติศาสตร์ ก็ต้องอ่านนักประวัติศาสตร์เสียก่อนว่ามีวิธีการทำงานอย่างไร

จากการศึกษา ก็พบเรื่องแปลกๆ มีฎีกา คำร้องทุกข์ ความเคลื่อนไหวจากข้างล่างมากมาย สามัญชน พ่อค้าชนชั้นกลาง และกลุ่มคนนอกระบบราชการ ล้วนมีข้อเรียกร้องทางการเมือง  

ผลงานที่เขียนขึ้น เป็นการเก็บข้อมูลผู้อยู่ในเหตุการณ์ และตีความโดยผู้เขียน สำหรับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 80 ปี มีทั้งด้านสำเร็จและล้มเหลว เราต้องเข้าใจแนวคิด 3 เรื่อง 

1. สมบูรณาญาสิทธิราชย์คืออะไร

2. สิทธิสภาพนอกอาณาเขต และ

3. ความเข้าใจเรื่องชาติ


1. ความหมายสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถ้าเราพรรณนามากไป จะเข้าใจการเปลี่ยนแปลงอย่างผิดพลาด มองว่า สมบูรณาญาสิทธิราชย์ หมายความว่า พระเจ้าอยู่หัว เป็นประมุขของรัฐคู่กับประมุขฝ่ายบริหาร เดิมการเมืองไทยไม่มีการประชุม แต่เกิดครั้งแรกในสมัย รัชกาลที่ 5 ประชุมเสนาบดีสภา ทุกวันอังคาร

ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงเป็นประธานประชุมเสนาบดีสภา ดังนั้น สมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงสำคัญ เพราะ เป็นการรวบรวมอำนาจจากขุนนางมาไว้ที่ศูนย์กลางคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ตระหนักอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ความสำเร็จของ 2475 คือเคลื่อนให้พระเจ้าอยู่หัวดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ แต่ไม่ใช่ประมุขฝ่ายบริหาร ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ต้องประชุมเสนาบดีสภาหรือคณะรัฐมนตรี ฉะนั้น การไม่ร่วมประชุม หมายความว่า อำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน ยกให้อีกคนหนึ่งที่แยกจากสถาบันกษัตริย์ คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา จอมพล ป. พิบูลสงคราม พระยาพหลพลพยุหเสนา จนถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  โดยความจริงแล้วรัชกาลที่ 7 เคยพูดแล้วว่า จะให้อีกคนไปนั่งประชุมแทนท่าน

2.  ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือ ระบบที่มหาอำนาจบีบบังคับสยาม ให้จำกัดการเก็บภาษีร้อยละ 3 และอำนาจทางศาลไทยมีจำกัด ปัญหาเหล่านี้ กระทบโครงสร้างทางการเมือง เพราะคนในบังคับต่างชาติ ไม่ขึ้นศาลไทย ไม่ใช่แค่ฝรั่ง แต่มีคนจีนที่มีการศึกษา มีเงิน ก็ไปซื้อใบที่บอกว่าอยู่ในบังคับต่างชาติ

สยามไม่มีเอกราชสมบูรณ์ ยังไม่รวมนักหนังสือพิมพ์ที่วิจารณ์เจ้านายเสียๆ หายๆ เพราะอยู่ในร่มธงต่างชาติ ซึ่งรัชกาลที่ 6 ทำอะไรไม่ได้จึงเขียนหนังสือตอบโต้ จะเห็นได้ว่าสิทธิสภาพนอกอาณาเขต สร้างความสะเทือนกัดกร่อน ทำให้เกิดความคิดต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 โดยเฉพาะในหมู่ผู้มีการศึกษาด้านกฎหมาย โดยมีความหมายของ เอกราชในความหมายใหม่คือ การจัดเก็บภาษีและการควบคุมคน

3. ความเป็นชาติ ในทางการเมือง มี 2 ความหมาย อย่างแรกคือ ชาติทางวัฒนธรรม แต่ชาติทางการเมือง ต้องอยู่ภายใต้การปกครองชาติเดียวกัน นี่คือ ความสำเร็จ 2475 เป็นความสำคัญยิ่ง จาก 3 แง่มุมนี้คือความสำเร็จ   ขอย้ำว่า ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง 3 เรื่อง อยากเรียก 2475 ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงการปกครองธรรมดา แต่เรียก การปฏิวัติสยาม ตอนนั้น เป็นสยามไม่ใช่ไทย

อีกด้าน ความล้มเหลว มีความล้มเหลว ข้อจำกัดหลายเรื่อง แต่ไม่ใช่ความล้มเหลว ในแง่ที่มีการโจมตีสุดขั้วว่า เหตุการณ์นั้นไม่ได้นำมาสู่ประชาธิปไตย แต่หมายถึงฐานคณะราษฎร เป็นฐานที่กำลังจำกัด ขอให้ดู ส.ส. 70 คน ส่วนหนึ่ง เป็น ข้าราชการ ระบอบเก่า และคณะราษฎร ที่ไม่ใช่ 2 กลุ่มนั้น ก็มี 3 คน

ทำไมคณะราษฎร ไม่เชิญคนนอกมามากกว่านี้ ทำไมไม่มีเจ้านายจากภูมิภาคต่างๆ แสดงว่าฐานแคบ ไม่ไว้ใจกันและไม่ไว้ใจคนอื่น อาทิ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร บอกว่า คณะราษฎรตัดสิทธิเจ้านายแต่ต้น เจ้านายเล่นการเมืองไม่ได้ เพราะคณะราษฎรอยู่ด้วยง่อนแง่นไม่ปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า เรื่องใหญ่อีกประการ คือ การไม่มีการพัฒนาระบบเลือกตั้ง ซึ่งประเทศไทยจัดการเลือกตั้งอย่างง่ายภายใต้ระบบราชการ ขณะที่ประชาธิปไตยจะหยั่งลึกได้ ต้องมาจากการปกครองท้องถิ่น การจัดตั้งเทศบาลหลัง 2475 มีจำกัดมาก

ส่วนตัวอยากถามนายปรีดี พนมยงค์ ว่า ทำไมไม่ตั้งเทศบาลให้คลุมทั้งประเทศ แม้ท้องถิ่นจะมีชีวิตลุ่มๆ ดอนๆ แต่ท้องถิ่นคือฐานประชาธิปไตย ปัจจุบัน การปกครองท้องถิ่นมี 7,500 แห่งจากที่คณะราษฎรทำไว้ 120 แห่ง

สำหรับรัฐธรรมนูญไทย ฉบับที่ใช้ยาวนานที่สุดคือ ฉบับ 10 ธ.ค. 2475 อายุยาวกว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ที่ตนยกร่างด้วย อยากถามนายปรีดีว่า ทำไมต้องร่างฉบับใหม่ ซึ่งจากการศึกษาท่านบอกว่าต้องการประชาธิปไตยสมบูรณ์ ทั้งที่ความจริงแก้ไขได้

เรามีความล้มลุกคลุกคลานของประชาธิปไตย 80 ปี แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ความผิดของคณะราษฎรเท่านั้น เพราะมีปัจจัยนอกเหนือการควบคุมของคณะราษฎร เช่น สงครามญี่ปุ่น สงครามเย็น คอมมิวนิสต์ และ การขยายตัวของระบบราชการ ราชการขยายตัวออกไปมาก สร้างวัฒนธรรมแบบข้าราชการไม่อำนวยส่งเสริมความเป็นพลเมืองและประชาธิปไตย

80 ปีที่ผ่านมา เป็นการล้มลุกคลุกคลานที่ไม่ซ้ำรอยเดิม แต่เปลี่ยนรูปร่างไปตามพลังการเมือง เช่น เปลี่ยนรูปตามระบบราชการและทหารในยุคจอมพลถนอม ซึ่งทำให้เรากลายเป็นรัฐราชการ

ส่วนอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่ผ่านมา มักอยู่ในสโมสรหรือในกลุ่ม แต่อุดมการณ์ที่จะสร้างความมั่นคง ต้องอยู่ในเชิงปฏิบัติโดยประชาชน ซึ่งการให้ความสำคัญกับหน่วยย่อยอย่าง “เมือง”  คือการปฏิบัติของประชาธิปไตยอย่างแท้จริงยิ่งกว่าการคิดแบบอุดมคตินามธรรม

 

 

 ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์

อาทิตยวารสิริสวัสดิ์ค่ะ




 

Create Date : 01 กรกฎาคม 2555
0 comments
Last Update : 1 กรกฎาคม 2555 12:11:17 น.
Counter : 1500 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.