|
ประวัติศาสตร์วิเคราะห์ "กรณีสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว" 2
ผศ.นพ. เอกชัย โควาวิสารัช สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี

คุณหญิงมณีได้บันทึกพระอาการประชวร ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ในฤดูหนาวของปี ค.ศ. ๑๙๔๑ (พ.ศ. ๒๔๘๔) ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่โรงแรมเลคเวอร์นี่ดังนี้ ...ทูลกระหม่อม [พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ - ผู้เขียน] ทรงประชวรด้วยโรคหัวใจชื่อว่า angina pectoris ซึ่งเวลาทรงประชวรทีไร ก็ทรงมีพระอาการหอบอย่างหนัก หายใจไม่ออกและทรงปวดร้าวพระหฤทัย เมื่อเสวยยาทำให้หยุดการหอบแล้ว ก็ทำให้ทรงมีพระอาการอ่อนเพลียเหน็ดเหนื่อยมาก
ในฤดูหนาวที่อากาศชื้นและมีลมหนาว พระอาการหอบของพระองค์ถี่ขึ้นเป็นลำดับ พระอาการไม่ดีขึ้นเลย ดังนั้นพอเข้าฤดูใบไม้ผลิของ ค.ศ. ๑๙๔๒ ทูลกระหม่อมจึงตัดสินพระทัยเสด็จกลับไปประทับที่เวอร์จิเนียวอเตอร์ครั้งหนึ่ง...
ความจริงแล้ว angina pectoris ไม่ใช่ชื่อโรคหัวใจแต่อย่างใด เปรียบเทียบอาการแสดงที่ค่อนข้างจะจำเพาะกับโรคหัวใจ เพราะว่าสาเหตุของอาการ angina pectoris คือการที่หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบลงจากการที่มีไขมันอุดตัน (atherosclerotic narrowing of epicordial coronary arteries)
ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ถ้าเป็นมักจะมีอายุมากกว่า ๕๐ ปี หรือถ้าเป็นหญิงมักจะมีอายุมากกว่า ๖๐ ปี ลักษณะอาการปวดของ angina pectoris มีรูปแบบของอาการปวดคือ ปวดแน่นๆ (dull, tightness) สำลัก (choking) รู้สึกหนักๆ (heavy) มักจะอธิบายอาการคือ squeezing (บีบๆ) crushing (บด) burning (แสบร้อน)
ปวดๆ แต่ไม่ใช่แปล๊บๆ ปวดเหมือนมีอะไรแทง (stabbing) มีความรู้สึกคล้ายมดไต่ (pricking) หายใจไม่คล่อง (breathlessness) อาหารไม่ย่อย (indigestion) อาการปวดอาจพบบ่อยระหว่างการออกแรงหลังกินอาหารมากหรือในอากาศหนาว
จุดเริ่มต้นของความปวดมักเริ่มต้นที่กลางหน้าอก และมีการร้าวไปบริเวณอื่นๆได้ เช่น คอ ไหล่ซ้าย แขนซ้าย ขากรรไกร ฟัน แขนขวาและหลัง มีส่วนน้อยที่มีอาการร้าวไปที่ลิ้นปี่ (epigastrium) อาการปวดมักเกิดขึ้นระหว่างการออกกำลัง (exertion) และอาการปวดจะเพิ่มมากขึ้นภายใน ๓๐ วินาที และอาการปวดจะหายไปภายในเวลาน้อยกว่า ๕-๑๕ นาที ด้วยการพักผ่อน
อารมณ์มีส่วนทำให้เริ่มมีอาการปวด หรือทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้น อาการอื่นๆ ของโรคหัวใจขาดเลือด นอกจากอาการ angina pectoris แล้วยังมีอาการอื่นๆ อะไรบ้าง พบว่าอาการหอบ (dyspnea) อาการเหนื่อยอ่อนล้า (fatigue) อาการหน้ามืดวิงเวียนเป็นลม (faintness) ซึ่งอาการเหล่านี้พบบ่อยในผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยโรคเบาหวาน เมื่อกลับมาพิจารณาพระอาการของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ที่ทรงบรรยายว่าเป็นโรคหัวใจชนิด angina pectoris แล้วนั้น ผมรู้สึกว่าพระอาการที่เด่นที่เกิดขึ้นกับพระองค์คือ พระอาการหอบ หายใจไม่ออก อาการหอบนั้นอาจจะเป็นอาการของโรคระบบทางเดินหายใจได้หลายโรค เช่น ก.โรคปอดบวม (pneumonia) ผู้ป่วยมักจะมีไข้ ไอและหายใจเร็ว โดยที่มีพยาธิสภาพที่เนื้อปอด แต่ไม่มีการตีบตันของหลอดลมทั้งใหญ่และเล็ก ข.โรคหอบหืด (asthma) ผู้ป่วยมักมีประวัติหอบหืดมาก่อน อาจแพ้อาหารหรือสารบางอย่าง หายใจลำบาก เนื่องจากมีการหดรัดบีบตัวของหลอดลม โดยเฉพาะเวลาหายใจออก ซึ่งก็เข้าได้กับการที่พระองค์มีพระอาการหอบอย่างหนักหายใจไม่ออก โรคหอบ เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากมีการตีบตัน (obstruction) ซ้ำแล้วซ้ำเล่าและหายเองหรือหายด้วยการรักษาก็ได้ อาจมีตัวกระตุ้นให้มีการตีบตันและมีการอักเสบของทางเดินหายใจ อาการแสดงของผู้ป่วยโรคหอบมีการหายใจสั้นๆ มีเสียงหายใจดัง (wheezing) แน่นหน้าอก
อาการของโรคหอบมักจะเลวลงในเวลากลางคืน ทำให้ผู้ป่วยต้องตื่นขึ้นเช้ากว่าปกติและเมื่อตื่นขึ้นมักมีอาการแน่นหน้าอก อาการหอบอาจถูกกระตุ้นได้จากสิ่งเร้าบางอย่าง เช่น การออกกำลังกาย อากาศเย็น สัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งแมว ผู้ป่วยโรคหอบส่วนมากมักมีการหายใจสั้นๆ (shortness of breath) เมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่หายใจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความจริงแล้วอาการ angina pectoris อาจแยกจากโรคหอบ (asthma) ได้จากการตรวจปอดของผู้ป่วย เพราะว่าโรคหอบจะมีเสียงหายใจที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของโรคนี้คือ wheezing (หายใจเสียงดังวี้ดๆ) ซึ่งลักษณะนี้ไม่พบในผู้ป่วยที่มีอาการ angina pectoris
แต่เนื่องจากผมไม่สามารถหาหลักฐาน ที่เป็นเอกสารทางการแพทย์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ มาประกอบการวินิจฉัยได้ จึงไม่สามารถบอกได้ว่าพระองค์ทรงพระประชวรด้วยพระอาการ angina pectoris หรือ asthma กันแน่ การที่ คุณหญิงมณี สิริวาสาร กล้าที่จะระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงพระประชวรด้วยโรคหัวใจชื่อว่า angina pectoris ในหนังสือของท่าน ผมคิดว่าท่านน่าจะได้การบอกเล่าจากแพทย์ที่ได้ทำการตรวจรักษาพระองค์
แต่อย่างไรก็ดีบางครั้งบางคราวการวินิจฉัยของแพทย์ก็มีโอกาสที่ผิดพลาดได้เหมือนกัน แม้ว่าพระอาการหอบนั้นเพิ่งเริ่มมาประมาณเพียง ๑ ปี ก่อนเสด็จสวรรคตเท่านั้น ทำให้โอกาสที่พระองค์จะเป็นพระโรคหอบหืดน้อยลงไปบ้าง
แต่ตำราทางการแพทย์ก็เขียนไว้ว่า โรคหอบหืดอาจเป็นครั้งแรกเมื่ออายุเท่าใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเกิดในวัยเด็กเสมอไป คุณพิมาน แจ่มจรัส ได้เขียนว่า ...วันหนึ่งในฤดูหนาว พระองค์เข้าไปในเรือนกระจกกล้วยไม้นานเกินไป ทำให้ได้รับโรคปอดบวมแทรกเข้าไปมาก แต่เนื่องด้วยความสามารถของนายแพทย์ พระอาการจึงค่อยๆ ทุเลาลงเรื่อยๆ...
ผมขอให้ท่านผู้อ่านกรุณากลับไปดู พระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงมีไปถึงพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ พระองค์กล่าวว่า คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ
แต่ผู้ป่วยที่มีอาการ angina pectoris ประมาณร้อยละ ๕๐ จะมีคลื่นไฟฟ้าปกติได้ เนื่องจากพระอาการไม่ค่อยเหมือนอาการ angina pectoris ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่เข้าได้กับโรคหอบหืดมากกว่า
ผมจึงขอฟันธงด้วยหลักฐานเท่าที่สืบค้นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงพระประชวรด้วยโรคหอบหืด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ พระองค์ตรัสเรียกพระอาการประชวรของพระองค์ว่า อาการตุ่ย โดยทรงรู้สึกว่ามีลมอยู่ในท้องขึ้นมาดันหัวใจ ซึ่งในครั้งนั้นยังไม่มีพระอาการหอบเลยแม้แต่น้อย
ระยะเวลาตั้งแต่ที่เสด็จฯ ไปเมืองรอย่า (พ.ศ. ๒๔๘๒) จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่เริ่มมีพระอาการหอบ แสดงว่าพระประชวรที่เป็นเรื้อรังมานาน ไม่น่าจะเป็นพระโรคเดียวกับพระอาการหอบในครั้งหลังนี้ ครั้นราวเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ พระอาการทั่วไปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงดีขึ้นมาก ทรงกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น สามารถประทับอ่านหนังสือได้และทรงคุยด้วยอารมณ์ที่สนุกสนานเมื่อมีคนมาเฝ้า
เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทรงมีพระประสงค์ที่จะไปทอดพระเนตรพระตำหนักเวนคอร์ตที่เมืองเคนต์ ซึ่งถูกเวนคืนไปทำเป็นที่ทำการของรัฐบาล เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นครั้งสุดท้าย
โดยมีหมายกำหนดการจะเสด็จทางรถยนต์ เพื่อทรงไปเก็บของและชมเวนคอร์ตเป็นครั้งสุดท้าย
เช้าวันนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงบรรทมตื่นแต่เช้าตรู่ พระอาการทั่วๆ ไปดีมาก แต่พระบาทยังบวมอยู่ ซึ่งบวมมาเป็นเวลา ๒-๓ วันแล้วยังไม่ยุบ อาการพระบาทบวมอาจเป็นอาการแสดงของโรคบางโรคได้ เช่น โรคหัวใจ โรคตับ หรือโรคไต
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีการบันทึกในขณะนั้นว่าพระองค์มีพระอาการอื่นๆ นอกจากพระบาทบวม สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงทูลลาและออกจากพระตำหนักคอมตันเฮาส์ ที่เป็นพระตำหนักที่พักอยู่ในขณะนั้น ตั้งแต่แปดโมงเช้า
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต ทรงเล่าให้ คุณหญิงมณี สิริวรสาร ฟังถึงเหตุการณ์ในขณะนั้นว่า เวลาที่สวรรคตนั้นไม่มีใครอยู่ในห้องบรรทม นอกจากพระวรวงศ์เธอฯ เพียงองค์เดียว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ นอนปิดพระเนตรอยู่เฉยๆ
สักครู่หนึ่งก็ได้ยินเสียงครางนิดหน่อย แล้วก็ทรงแน่นิ่งไป มองดูไม่นึกว่าทรงเป็นอะไรมาก แต่พอมองดูอีกครั้งเห็นพระพักตร์ซีดเซียวผิดปกติก็จับพระหัตถ์ซึ่งเย็นเฉียบ แต่คุณ ม.จ.พูนพิสมัย ดิศกุล ทรงนิพนธ์ในหนังสือของท่านว่า
...เราได้รู้เรื่องสวรรคตต่อมาภายหลังว่า สมเด็จพระปกเกล้าฯ ไม่ทรงมีพระอนามัยดีมาแต่ประชวรแล้ว ต้องมีนางพยาบาลคอยประจำดูแลเรื่องพระหทัยอยู่ด้วยเสมอ ในตอนที่ไทยทำสงครามกับอินโดจีนก็ทรงรำคาญอยู่เป็นนิตย์
ครั้นพอเห็นหนังสือพิมพ์ว่า ญี่ปุ่นจะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยก็หมดกำลังพระทัย...เช้าวันที่ ๓๐ นั้นก็ยังทรงสบายเป็นปกติ จนสมเด็จพระนางเจ้ารำไพฯ ทูลลาเสด็จออกไปซื้อของ แต่พอถึง ๔ แยกแห่งหนึ่ง ตำรวจรักษาการณ์ ก็เข้ามาหยุดรถบอกว่าเขาโทรศัพท์มาให้เสด็จกลับเดี๋ยวนี้
ถึงที่ประทับ เห็นสมเด็จพระปกเกล้าฯ เสด็จสวรรคตแล้วอย่างบรรทมหลับสบาย ตามคำของนางพยาบาลรายงานว่า หลังจากเสวยเช้าแล้วก็ทรงหนังสือพิมพ์ สักครู่ใหญ่ก็ทรงบ่นว่ามีอาการเวียนหัว ไม่สบาย นางพยาบาลลุกไปหยิบยา พอกลับมาก็เห็นพระหัตถ์ห้อยลงมาข้างๆ หนังสือพิมพ์นั้นก็ตกอยู่กับพื้น
สมเด็จพระปกเกล้าฯ หลับพระเนตรเหมือนหลับอย่างสบาย จับพระชีพจรดูจึงรู้ว่าสวรรคตเสียแล้ว
ส่วน คุณพิมาน แจ่มจรัส ได้บรรยายเหตุการณ์ตอนนี้ว่า เวลา ๙.๓๐ น. ในวันนั้นสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พร้อมด้วยมิสเตอร์เคร้คส์ ที่ปรึกษากฎหมายและนายบวย ก็พากันออกจาก Compton House โดยรถยนต์ Wolesley ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก็เสด็จเข้าสู่ห้องพระบรรทม
ตราบจนเวลา ๑๑ น. เศษ ดูเหมือนจะมีเสียงกริ่งดังขึ้นจากห้องบรรทม แต่เสียงเบามาก กระนั้นก็ตามนางพยาบาลก็ยังอุตส่าห์กระวีกระวาดเข้าไปดูพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ ๔๗ และนับเป็นองค์ที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีได้เสด็จสวรรคตเสียแล้ว
ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าบันทึกกรณีสวรรคตทั้ง ๓ เล่มมีความแตกต่างบ้าง กล่าวคือบันทึกของคุณหญิงมณี ไม่มีนางพยาบาลอยู่ด้วยกับพระองค์ มีแต่พระวรวงศ์เธอฯ เพียงองค์เดียว
แต่บันทึกของ ม.จ. พูนพิสมัย มีแต่นางพยาบาลอยู่เพียงคนเดียวที่อยู่กับพระองค์ในขณะนั้น
ส่วนหนังสือของ คุณพิมาน แจ่มจรัส เขียนว่า พระองค์อยู่ตามลำพังพระองค์เดียว ซึ่งถ้าประมวลจากบันทึกทั้ง ๓ เล่ม ผมคิดว่าในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เสด็จสวรรคตนั้นน่าจะมีเพียงพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตอยู่กับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เพียงพระองค์เดียว
แล้วจึงทรงกดกริ่งเรียกพยาบาลเข้ามาช่วยอีกทีหนึ่ง โดยที่พยาบาลอาจจะไม่ทันสังเกตเห็นพระวรวงศ์เธอฯ เพราะว่าอยู่ในภาวะชุลมุนวุ่นวายอยู่ก็เป็นได้
ดังเช่นที่ คุณพิมาน แจ่มจรัส เขียนไว้ว่า พระองค์อยู่ตามลำพังพระองค์เดียว อาจเป็นไปได้ว่าผู้ที่ได้ให้ข้อมูลแก่คุณพิมาน อาจไม่เห็นพระวรวงศ์เธอฯ ก็เป็นไปได้ จึงคิดว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงอยู่เพียงพระองค์เดียว
นอกจากนี้ ม.จ. พูนพิสมัย อาจทรงได้รับข้อมูลจากแหล่งข่าวอื่นซึ่งไม่ได้ทรงระบุไว้ ทำให้ไม่แน่ใจว่าข้อมูลของ ม.จ. พูนพิสมัย ถูกต้องหรือไม่
ผมมีข้อสังเกตจากพระนิพนธ์ของ ม.จ. พูนพิสมัย ดิศกุล ที่เพิ่งยกตัวอย่างไปคือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงห่วงใยในประเทศชาติ และอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ท่านยิ่งนัก ดังนั้นหลังจากที่พระองค์ทรงหนังสือพิมพ์ในเช้าวันที่ ๓๐ พฤษภาคมนั้น
เป็นไปได้ที่ข่าวในหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวกับการที่ญี่ปุ่น จะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยสงครามระหว่างไทยกับอินโดจีน ทำให้พระองค์ทรงโทมนัสอย่างยิ่ง ทำให้เกิดพระอาการเกี่ยวกับพระหทัย ดังที่จะได้กล่าวต่อไปและเสด็จสวรรคตในที่สุด
อย่างไรก็ตามจากบันทึกทั้ง ๒ เล่มดังกล่าวช่วยบอกให้เราทราบว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เสด็จสวรรคตอย่างปัจจุบันทันด่วน (Sudden death) เพราะว่านับจากเริ่มกินเวลาไม่นานนัก แม้ว่าจะไม่มีบันทึกเวลาไม่ชัดเจน
ในตำราตามธรรมชาติทางการแพทย์กล่าวว่า ส่วนใหญ่แล้วสาเหตุการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนตามธรรมชาติ (Sudden natural death) เกิดจากความผิดปกติของระบบหัวใจ ดังนั้นโดยทั่วไปจึงเรียกภาวะการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน โดยรวมว่าเป็นการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนที่มีสาเหตุจากหัวใจ (Sudden cardiac death)
มีคำถามว่า เมื่อใดจึงจะถือว่าตายอย่างปัจจุบันทันด่วน โดยทั่วไปนิยมใช้เวลาไม่เกิน ๑ ชั่วโมง ตั้งแต่เริ่มต้นมีการเปลี่ยนแปลงของอาการโรคครั้งสุดท้าย จนกระทั่งหัวใจหยุดเต้น
สาเหตุที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นที่พบบ่อยที่สุด (ร้อยละ ๖๕-๘๕) คือการเต้นของหัวใจห้องล่างผิดปกติ (Ventricular fibrillation) (VF) เมื่อเริ่มต้นมีภาวะหัวใจหยุดเต้น (Cardiac arrest) ก็จะมีอาการของโรคหัวใจเฉียบพลัน เช่น เจ็บหน้าอกนาน (prolonged angina) หายใจหอบ ใจสั่นเฉียบพลัน แต่บางครั้งก็ไม่มีอาการใดๆ เตือนเลย
ดังนั้นถ้ากรณีสวรรคตอย่างฉับพลัน ก็อาจเป็นไปได้ว่าพระองค์อาจทรงพระประชวรด้วยพระโรคเกี่ยวกับพระหทัย ตำราแพทย์กล่าวว่า ถ้าหัวใจเต้นเร็วผิดปกติชนิด VF แล้วไม่ได้รับการรักษาภายใน ๘ นาทีตั้งแต่เริ่มมีอาการ พบว่ามีเพียง ๒-๓ รายเท่านั้นที่สามารถรอดชีวิตได้
มีสิ่งที่ช่วยชี้แนะพระโรคคือพระอาการวิงเวียนไม่สบาย ซึ่งแม้ว่าอาจเป็นพระอาการที่ไม่ค่อยจำเพาะเท่าใดนัก แต่ก็ทำให้ชวนสงสัยว่าอาจมีพระโรคเกิดขึ้น ที่ระบบประสาทเกิดขึ้นหรือไม่
แต่โดยทั่วไปโรคหรือภาวะทางระบบประสาท มีหลายระยะของโรคตั้งแต่น้อยไปหามากได้แก่ ภาวะสับสนคือภาวะทางจิตใจและพฤติกรรมโดยความเข้าใจ ความเชื่อมโยงและความสามารถในการใช้เหตุผลลดลง (Confusion) ภาวะง่วงซึมคล้ายๆ เคลิ้มหลับ (Drowsiness) มึนงงต้องปลุกอย่างแรง (Stupor) และภาวะหลับลึกไม่สามารถปลุกได้ (Coma)
แต่กรณีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ พระองค์ทรงรู้สึกพระองค์ดีมาโดยตลอด แม้กระทั่งเช้าวันสวรรคตที่ทรงอนุญาตให้สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จไปดูพระตำหนักเวนคอร์ตได้ และตรัสได้ว่าวิงเวียนไม่สบายเป็นประโยคสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ
อีกประการหนึ่งคือ โรคทางระบบประสาทมักไม่ค่อยทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตโดยฉับพลัน แต่มักจะทำให้อาการเลวลงตามลำดับ จนกระทั่งโคม่าและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
คราวนี้ถ้าลองมาพิจารณาโรคพระหทัยวาย (โรคหัวใจวาย) จะเป็นสาเหตุการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ หรือไม่
คำนี้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า heart failure ซึ่งเป็นคำที่กินความหมายกว้างมาก อย่างไรก็ดีความสำคัญของโรคนี้คือ เริ่มต้นจากประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจลดลง โดยเฉพาะห้องล่างซ้ายซึ่งสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายเกือบทั้งหมด สัมพันธ์กับอาการทั้งที่ออกแรงน้อยหรือขณะพักอยู่ สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสรีระวิทยาของระบบอวัยวะหลายๆ ระบบของร่างกาย
นอกจากนี้โรคหัวใจวายยังแบ่งได้เป็นชนิดเฉียบพลัน (Acute) หรือเรื้อรัง (Chronic) ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันทางคลินิกหลายประการ ผู้ป่วยหัวใจวายเฉียบพลันนั้น จะมีอาการแสดงของการทำงานของหัวใจที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น หายใจหอบ หัวใจเต้นเร็ว บวมที่แขนขา อวัยวะต่างๆ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
ส่วนผู้ป่วยโรคหัวใจวายเรื้อรังนั้น จะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปซึ่งทั้งแพทย์และผู้ป่วยอาจจะไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกๆ อาการที่เริ่มแสดงออกมาให้เห็นคือการเริ่มต้น และคงอยู่ของการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจห้องล่างซ้าย และการเปลี่ยนแปลงทางสรีระพยาธิวิทยาในอวัยวะต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการและทำให้กิจกรรมต่างๆ ลดน้อยลง
ดังนั้น ผมคิดว่าแม้ว่าพระโรค ที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เสด็จสวรรคต น่าจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหัวใจ แต่ก็น่าจะเป็นภาวะเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจห้องล่างผิดปกติ (VF) เพราะทำให้สวรรคตได้รวดเร็ว แต่ไม่น่าจะเป็นโรคพระหทัยวาย
แม้ว่าถึงพระองค์จะเป็นโรคพระหทัยวายเฉียบพลัน ก็ไม่ทำให้สวรรคตเร็วขนาดนี้ได้ และมักมีอาการต่างๆ อีกดังที่ได้บรรยายไปแล้ว
โดยสรุปแล้ว ผมขอฟันธงว่าส าเหตุที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ สวรรคตน่าจะเกิดจากภาวะหรือโรคทางระบบหัวใจชนิดการเต้นของหัวใจห้องล่างผิดปกติ (Ventricular fibrillation) โดยที่พระองค์อาจจะมี หรือไม่มีพระโรคของพระหทัยมาก่อนก็ได้
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์พร้อมภาพประกอบและเชิงอรรถได้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับประจำเดือนพฤษภาคม 2555
ขอบคุณ มติชนออนไลน์ ผศ.นพ. เอกชัย โควาวิสารัช
สิริสวัสดิ์ศุกรวารค่ะ
Create Date : 08 มิถุนายน 2555 |
|
0 comments |
Last Update : 8 มิถุนายน 2555 9:23:58 น. |
Counter : 3051 Pageviews. |
|
 |
|
|
|
|
|
/
2558
2556
2555
น้ำใจจากคุณ krittut 2554
2553
สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ
ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ
เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ
๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์
ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ
เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552
08.27 - 250811
207 flags collected 300316
|
|
|
|
|
|
|
|