Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
16 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

ดอกไม้พรรณไม้นานาชนิดที่ปลูกไว้ในรั้วบ้าน

ชอบมากที่จะเก็บภาพความงามของดอกไม้และพรรณไม้ต่าง ๆ ที่ได้ปลูกไว้ ได้ดูการเจริญเติบโตของต้นไม้ที่เราดูแล ได้เห็นดอก เห็นใบ เห็นความเปลี่ยนแปลงไป โดยภาพประทับใจนั้น ได้บันทึกไว้ในกล้องส่วนตัว แต่ต้นไม้ที่เราดูแล บางครั้งก็ไม่ได้อยู่กับเราแล้ว เหลือเพียงแต่ความทรงจำให้ได้เห็นจากภาพถ่ายที่เราได้เก็บบันทึกไว้ แต่ทุกครั้งที่ได้เห็นภาพเหล่านั้น ก็ทำให้รู้สึกสดชื่น มีพลังอย่างบอกไม่ถูก ต้นไม้ ดอกไม้ที่มีสีสันสวยงามเหล่านี้ แฝงไว้ด้วยพลังชีวิต ถึงแม้ว่าบางต้นจะตายจากเราไปแต่ก็คงเหลือไว้ซึ่งคุณค่าและความงดงามที่เคยมีให้เราได้ชื่นชม ยิ่งพรรณาไปก็จะพาให้ปลงกับชีวิตของมนุษย์ เข้าถึงสัจธรรมแห่งชีวิตทีเดียว ว่ามนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องมีการเกิด มีการดับ เป็นธรรมดาของธรรมชาติ ฉะนั้น หาทำแต่สิ่งดี ๆ ทำอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้ชีวิตมีความสุข ถึงแม้ว่าจะสั้นนักก็ตาม เฮ้อเศร้า .....
เอาเป็นว่า ถ้าได้เห็นภาพของมวลดอกไม้ ไม้ประดับ เหล่านี้แล้ว อารมณ์จะดี จะมีความสุข จะรู้สึกสดชื่นขึ้นมาทันทีเลย
ช่วงแรก ขอนำเสนอภาพดอกไม้แห่งโชคลาภ ได้แก่ โป๊ยเซียน มีหลากหลายสีสัน










ช่วงต่อไปเป็นกุหลาบสีต่าง ๆ









กล้วยไม้ต่าง ๆ













และไม้ดอกต่างสีสัน


































พืชสมุนไพรรักษาโรคได้


สมุนไพรตัวนี้มีสรรพคุณมากมายรายละเอียดนั้นต้องขอบคุณที่มานี้ค่ะ
//www.thaifitway.com/education/ndata/n2db/question.asp?QID=112

ชื่อวิทยาศาสตร์: Plumbago indica Linn., P. rosea Linn.
วงศ์: PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น: ปิดปิวแดง (อีสาน, เหนือ), คุ้ยวู่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ไฟใต้ดิน (ใต้), ตั้งชูโว้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), อุบะกูจ๊ะ (มาเลย์), Rose Colored Leadwort, Indian Leadwort, Fire Plant, Official Leadwort
ลักษณะ: เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑-๒ ม. ลำต้นสีเขียวออกแดงเข้ม ใบเดี่ยว โตกว่าใบมะลิเล็กน้อย สีเขียวอมแดง ดอกช่อสีแดง ผลเป็นฝักกลม จะแตกออกเมื่อแก่ เกิดตามป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณทั่วไป รากสีน้ำตาลดำ เป็นเส้นๆ มีรัศมีความร้อนออกรอบๆ ต้น ไม่ควรปลูกไว้ในบ้าน เป็นพืชที่น่าปลูกเพื่อทำการค้า ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการของตลาดดีมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และการปักชำ
สรรพคุณ:
ใบ: รสร้อน แก้อพัทธปิตตะสมุฏฐาน (น้ำดีนอกฝัก) แก้ลมในกองเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร ขับผายลม
ดอก: รสร้อน แก้พัทธปิตตะสมุฏฐาน (น้ำดีในฝัก)
ต้น: รสร้อน แก้โลหิตอันเกิดแต่กองกำเดา
ราก: รสร้อน บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต ขับลมในกระเพาะอาหาร และลำไส้ ขับโลหิตระดู แก้ริดสีดวงทวาร เกลื่อนฝี ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย กระจายเลือดลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย มีฤทธิ์บีบมดลูก ทำให้แท้งได้ ทาแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
สารสำคัญ:
ราก: มีสารจำพวก naphthaquinone ชื่อว่า plumbagin, d-naphthaquinone




ขอบคุณแหล่งที่มาของความรู้จาก
//www.mahidol.ac.th/mahidol/py/mpcenter/html/rhinacan.html

ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhinacanthus nasutus Kurz.

ชื่อวงค์ ACANTHACEAE

ชื่อท้องถิ่น หญ้ามันไก่ ทองคันชั่ง(กลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ทองพันชั่งเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 0.5-1 เมตรลำต้นมักเป็นสี่เหลี่ยม กิ่งและใบอ่อนมีขนปกคลุม รูปร่างใบเป็นรูปไข่ โคนใบและปลายใบแหลมยาว 3-12 ซม.และมักมีขน ทองพันชั่งปลูกโดยการปักชำ ขึ้นในดินทั่วไป ชอบดินชุ่มชื้นควรปลูกในฤดูฝน วิธีปลูกทำได้โดยตัดกิ่งแก่ที่มีตาติดอยู่ 2-3 ตา ปลิดใบทิ้งแล้วปักชำให้กิ่งเอียงเล็กน้อย คอยดูแลน้ำ และกำจัดวัชพืช

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสดหรือราก (สดหรือแห้ง)

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ใบเก็บช่วงที่สมบูรณ์เต็มที่

รสและสรรพคูณยาไทย ใบรสเบื่อเมา เป็นยาเย็นดับพิษไข้ ราก ป่นละเอียดแช่เหล้า 7 วัน ทาแก้กลากเกลื่อนที่ผื่นคัน

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

ไม่พบการรายงานการศึกษาทางเคมีและเภสัชวิทยา ส่วนกองวิจัยทางแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศึกษาพิษเฉียบพลันแล้วพบว่าไม่มีพิษ

วิธีใช้

ใบสดหรือรากสดหรือแห้งของทองพันชั่งใช้รักษากลากเกลื้อน โดยใช้ใบหรือราก(จำนวนที่ใช้อาจเพิ่มลดลงได้ตามอาการ) ตำให้ละเอียด แช่เหล้าหรือแอลกอฮอล์พอท่วมและทิ้งไว้ 7 วัน นำมาทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆหรือวันละ 3-4 ครั้งจนกว่าจะหาย หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน



ต้นยาแปะตำปึง

ต้นแปะตำปึงเดิมเป็นต้นยามาจากประเทศจีน ลักษณะของใบยาจะหนานุ่มคล้ายกำมะหยี่ รสชาดของใบยาคล้ายชมพูที่ยังไม่แก่

สรรพคุณ ของใบยา ได้แก่ จะฟอกเลือด ปรับระบบเลือดให้ดีขึ้น น้ำเหลืองจะดีขึ้น รักษาแผลภายใน - ภายนอก ชะล้างสารพิษภายในร่ายกายออกทาง (อุจจาระ ปัสสาวะ และทางตา) ทำให้กินข้าวใด้นอนหลับอาการปวดต่าง ๆ ก็จะหาย ระบบหายใจจะดีขึ้นไม่เหนื่อยหอบ ขับลมแน่นภายในช่องท้อง โรคที่ใบยาแปะตำปึง ได้รักษาหายมาแล้ว ได้แก่โรคเบาหวาน ความดันสูง-ต่ำ โรคหืดหอบ-ภูมิแพ้ โรคมะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวารหนัก งูสวัด โรคเก๊า ขับนิ่ว แผลสะเก็ดเงิน แผดฝีหนองทั่วไป โรคหัวใจ โรคโลหิตจาง เนื้องอกต่าง ๆ ในไต ปวดเหงือก ปวดฟันแผลอักเสบ ปวดท้องประจำเดือน คอเรสเตอรอล ไขมันในเส้นเลือด ไทรอยท์ ปวดเส้น ปวดหลัง โรคกระเพาะ ดวงตาที่เป็นต้อ ดวงตาอับเสบ ขุ่นมัว โรคผิวหนังทั่วไป (สิว ฝ้า เป็นด่าง) <โรคเอดส์ถ้าทานใบยาก็จะมีผลให้สุขภาพดีขึ้น>

วิธีการรับประทาน ใบสด ควรรับประทานวันละ 1 ครั้ง ประมาณ 2,3 หรือ 5 ใบ เวลาที่ควรรับประทานใบยาที่ดีที่สุดคือ ตี 5-7 โมงเช้า เพราะลำไส้เริ่มทำงาน ท้องยังว่างอยู่จะได้ผลเร็ว ถ้าบางท่านที่ปวดเหงือก - ปวดฟัน ปากเป็นแผลลำคออักเสบ ควรรับประทานใบยาในเวลากลางคืน (แปรงฟันให้เรียบร้อย) ค่อยรับประทานใบยาเคี้ยวและอมทิ้งไว้สักระยะเวลาหนี่งแล้วค่อยกลืน ผลที่จะได้รับคือ ตื่นเช้าอาการปวดจะหายไป จะขับถ่ายโล่งสบาย จะมีขี้ตาออกมาเยอะหน่อย เพราะใบยาจะขับสารพิษออกทางตา ถ้าใครปวดท้องและเป็นโรคกระเพาะให้รับประทานใบยาเดี่ยวนั้น สักพักหนึ่งอาการปวดของโรคกระเพาะก็จะหายไป ยังช่วยขับลมแก๊สที่แน่นในท้องออกด้วย ยังสามารถนำใบยาแปะตำปึงใปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก นอกเหนือจากรับประทานใบสดแล้ว ได้แก่

1.นำใบยามาทำเป็นอาหาร เช่น แกงจืด (15-20 ใบต่อ 1 ท่าน)

2.นำมาพอกตาสำหรับคนที่ดวงตาเป็นต้อ ดวงตาอักเสบ ตามัว นำใบยาประมาณ 7-8 ใบ มาขยี้ หรือใช้ครกตำก็ได้ บีบน้ำยาใส่ที่ดวงตา แบ่งใบยาเป็น 2 ส่วน พอกไว้ 20-30 นาที ค่อยล้างออก ผลที่ได้รับคือ ดวงตาจะสว่างขึ้น แผลต่าง ๆ จะหายไป รวมทั้งต้อด้วย ถ้าท่านใดเป็นมาก ควรทำไว้สักระยะหนึ่ง

3. ท่านที่เป็นริดสีดวงทวารหนัก ควรทานใบสด และควรนำใบยามาขยี้หรือตำให้ได้พอเหมาะยัดใส่ทวารหนัก จำทำให้แผลหายเร็ว ติ่งที่โผล่ยุบเลือดที่ออกก็จะหยุด

การเก็บรักษาให้ได้นาน ถ้ามีใบยาที่แก่และเหลือง นำมาล้างแล้วผึ่งให้แห้ง นำมาปั่นหรือตำก็ได้ บีบน้ำยาใส่ถ้วย นำไปนึ่งให้สุกปล่อยให้เย็นแล้วใส่ขวดเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บไว้ใช้ได้นาน ถ้าเป็นงูสวัด และแผลต่าง ๆ ใช้น้ำยาทา หรือนำใบยาสดมาตำพอกก็ได้ ตากแห้งทำใบชาได้

อาหารแสลงที่ควรระวัง เช่น เนื้อ กุ้ง ปลาหมึก ปู ปลาทู ปลาร้า หูฉลาม กะปิ ข้าวเหนียว หน่อไม้ แตงกวา หัวผักกาด เผือก สาเก เครื่องดองของเมา น้ำชา กาแฟ (ถ้าสุขภาพไม่แข็งแรงควรงด) <สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน>

วิธีการปลูก ต้นยาแปะตำปึงเมื่อปลูกได้ระยะหนึ่งประมาณปีกว่าต้นแม่ก็จะตาย ควรหักปักชำใหม่ เมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีช่อดอกสีเหลืองไม่มีฝักและเมล็ด ต้องปักชำเท่านั้น ต้นยาชอบน้ำ อากาศดี ชอบแสงแดดพอสมควร และดินร่วน สิ่งที่ควรระวัง คือ เพี้ยแป้งชอบเกาะลำต้นและใบ ถ้ามีเพี้ยแป้งก็จะมีมดแดง จะทำให้ต้นยาเหียวแห้ง และตาย ต้องระวังสัตว์บางชนิดชอบกิน



สรรพคุณมีไว้ในบล๊อก km และ space ของ tummydeday
แต่ขอเขียนเพิ่มเติมไว้ในนี้ด้วยเพื่อเป็นความรู้ทางสมุนไพรไว้ใช้ในบ้านได้
หญ้าเกล็ดหอย (โพวตี่กิ้ม) ชื่ออื่น ๆ : โพวตี่กิ้ม. เทียงโอ่วซุย (จีน) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydrocotyle sibthorpioides Lam. ชื่อวงศ์ : UMBELLIFERAE ลักษณะทั่วไป : ไม้ล้มลุก ขนาดเล็ก ลำต้นมีลักษณะ เป็นเส้นเล็กยาวแผ่สาขา ปกคลุมดินเป็นแผ่น ลำต้นมีข้อจะแตกรากฝอยยึดดิน ใบ : ใบมีลักษณะค่อนข้างกลม หรือคล้ายรูปไต โคนใบเว้าเหากัน เป็นรูปหัวใจ ริมขอบใบมีรอยหยัก 5-7 รอย พื้นผิวหลังใบเป็นสีเขียวเข้ม เป็นมัน ส่วนใต้ท้องใบเป็นสีเขียวมีขนสั้นอ่อนนุ่มขึ้นเล็กน้อย ขนาดของใบมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-1.6 ซม. ก้านใบเป็นเส้นบางเล็กยาว ประมาณ 0.5-3 ซม. ดอก : ดอกออกเป็นช่อ หรือเป็นกระจุกคล้ายร่ม ออกตามบริเวณข้อลำต้น ดอกช่อหนึ่งมีดอกย่อยประมาณ 10-15 ดอก ลักษณะของดอกมีสีเขียวออกขาว กลีบดอกเป็นรูปกลมรีไม่มีก้านดอก ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปคล้ายรูปหัวใจ ผลมีขนาดยาวประมาณ 1-1.25 มม. กว้างประมาณ 1.5-2 มม. การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ดีในที่ที่ ชุ่มชื้น ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด หรือการแยกต้น สรรพคุณ : ใช้ทั้งต้น ใช้ลำต้นสด ประมาณ 15-30 กรัม (แห้ง 10-15 กรัม) นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้บวม แก้ไข้ ดีซาน ขับปัสสาวะ เจ็บคอ ต้อตา ตาแดง ตับอักเสบ โรคบิดถ่ายเป็นมูกเลือด ไอกรน นิ่วในไต หรือคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่ผื่นคัน บวม ฟกช้ำจากหกล้ม แผลมีหนองเรื้อรัง หูอักเสบมีหนอง แผลเป็นตุ่มพองรอบเอว เป็นต้น ข้อมูลทางคลีนิค : การรักษาคนไข้ที่เป็นโรคดีซ่านการอักเสบเฉียบพลันจำนวน 10 คน โดยการใช้ลำต้นสด ประมาณ 30-60 กรัม. ใส่น้ำและเหล้าหมักจากข้าวเหนียว ใบปริมาณที่เท่ากัน นำมาตุ๋นกิน หลังอาหารเช้า และกลางวัน ผลปรากฏว่าคนไข้ตัวหายเหลืองหมด


สมุนไพรตัวนี้ก็สรรพคุณมากอนันต์ควรมีติดบ้านไว้
วิธีใช้
ส่วนสำคัญคือ ใบ ใช้เคี้ยวกินสดๆ หรือคั้นและกรองเอาน้ำข้นๆ รับประทานหรือต้มเป็นน้ำแกงรับประทานก็ได้ ส่วนเปลือกและรากไม้ สามารถต้มกลั่นเป็นสุราได้ด้วย ใบไม่มีกลิ่นและรส สามารถต้มเอาน้ำใสๆ ดื่มได้ ส่วนการรับประทานมากหรือน้อย อยู่ที่ธาตุ หนัก-เบา ของแต่ละคน โดยทั่วไปจะรับประทานกัน 1-4 ใบ คนที่มีอาการหน้ามืดตาลายหลังรับประทานอาหาร 15 นาที จะหาย ให้รับประทานติดต่อกัน 7 วัน วันละ 2 ครั้ง กินก่อนอาหาร
จากหลักฐานคนไข้รายหนึ่ง หลังจากรักษาโรคมะเร็งตับจากยานานาชนิดไม่หาย เมื่อได้รับประทานใบสดของต้นฮว่านง็อก คนไข้มีปฏิกิริยาตอบรับอย่างไม่น่าเชื่อจากการมีไข้สูงถึง 40 องศา ลดลงเหลือ 37 องศา การเจ็บปวดลดลงมาก ผิวหนังเคยเหลืองก็ลดลง หน้าท้องแฟบลง ตัวเบาทำให้คนไข้ลุกขึ้นมาสนทนาได้
ทำไม คนไข้จึงฟื้นตัวเร็วขนาดนั้น หลังจากรับประทานได้ 20 นาที ยาได้ออกฤทธิ์รับประทาน
5 ใบ จะลดความเจ็บปวดได้ 3 ชั่วโมง รับประทาน 7 ใบ ลดได้ 5 ชั่วโมง เสมือนหนึ่งยาวิเศษเพราะคนไข้โรคตับได้เจ็บป่วยมาถึงวาระสุดท้ายแล้วกลับฟื้นและมีความหวัง ต้นฮว่านง็อกเป็นต้นไม้ใบยาที่มีคุณค่าสูงส่ง เป็นของขวัญจากสวรรค์ มอบให้แก่มวลมนุษย์

สรรพคุณของต้นสมุนไพร (จากเอกสาร ฮานอย 2-9-1995 ถ่ายทอดจากต้นฉบับจริง)
1. รักษาคนสูงอายุ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำงานหนัก เกิดประสาทหลอน
2. รักษาเป็นไข้หวัด ความดันโลหิตสูง ท้องไส้ไม่ปกติ
3. รักษาอาการมีบาดแผล เคล็ด ขัดยอก กระดูกหัก
4. รักษาอาการทางเดินอาหารไม่ปกติ
5. รักษาอาการโรคกระเพาะอาหาร โรคเลือดออกในลำไส้ เกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ
6. รักษาอาการคอพอก ตับอักเสบ
7. รักษาอาการไตอักเสบ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่นข้น
8. รักษาอาการโรคมะเร็งปอดมีอาการปวดต่างๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ ให้รับประทานต่อไป
100-200 ใบ อาการจะหายขาด
9. รักษาโรคตาทุกชนิด เช่น ตาแดง ตาต้อ ตาห้อเลือด
10. รักษาอาการมดลูกหย่อนของหญิงคลอดบุตรใหม่ได้ผลดี ช่วยให้มดลูกเข้าอู่
11. รักษาโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ โรคประสาทอ่อนๆ (เพื่อเป็นการสนับสนุน
เหตุผลโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งผู้เขียนก็เป็น จึงกินเข้าไปครั้งละ 5 ใบ เช้า-เย็น 1 วัน อาการ
หน้ามืดหนักหัวหายไป รู้สึกสบาย เบาสมอง)
12. สามารถใช้กับสัตว์ได้ จากเอกสารระบุว่าใช้กับไก่ชนหลังจากชนไก่แล้ว ต้องการให้ไก่ฟื้นจาก
อาการบาดเจ็บ ให้ไก่กินใบของต้นสมุนไพรฮว่านง็อก จะฟื้นตัวได้เร็ว

รายละเอียดในการใช้รักษาแต่ละโรค
1. โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล รับประทานครั้งละไม่เกิน 7 ใบ วันละ 2 ครั้ง รับประทาน
ติดต่อกันไปจนครบ 50 ใบ
2. โรคเลือดออกในลำไส้ รับประทานใบสด 7-13 ใบ หรือคั้นเอาน้ำ วันละ 2 เวลา
3. โรคเกี่ยวกับลำไส้ใหญ่เป็นบิด รับประทานครั้งละไม่เกิน 7 ใบ วันละ 2 ครั้งรับประทาน
ติดต่อกันไปประมาณ 100 ใบ
4. โรคตับอักเสบ คอพอก รับประทานครั้งละ 7 ใบ วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันไปจนครบ 150 ใบ
5. โรคไตอักเสบ ปวดเป็นประจำรับประทานครั้งละ 3-4 ใบ วันละ 3 ครั้ง ทานจนครบ 30 ใบ
6. อาการท้องไส้ไม่ปกติ รับประทาน 7-14 ใบ 2 ครั้ง หาย
7. ปวดเมื่อยตามร่างกาย รับประทาน 7-14 ใบ 2 ครั้ง หาย
8. อาการปัสสาวะแสบ ปัสสาวะเป็นเลือด รับประทาน 14-21 ใบ คั้นเอาน้ำข้นๆ รับประทาน
9. โรคตาแดง รับประทาน 7 ใบ และบด 3 ใบ ปิดที่ตา เวลานอน 1 คืน จะหาย
10. โรคความดันสูงจะลดทันทีเมื่อรับประทาน 5-9 ใบ (ผู้เขียนได้ทดลองด้วยตนเองดีสมราคาคุย)
11. แก้โรคเบาหวาน ผู้ชายรับประทานวันละ 7 ใบ ผู้หญิงวันละ 9 ใบ ภายใน 90 วัน หาย
12. ใช้กับสัตว์ เช่น ไก่เหงา เป็นอหิวาห์ หรือนิวคาสเซิล ให้ไก่กิน 2-3 ใบ ไก่ชนหลังจากการชน
แล้วให้กิน 2-3 ใบ (น่าจะประยุกต์ใช้กับสัตว์อื่นๆได้)
13. สตรีหลังคลอด รับประทานวันละ 1 ใบ รับประทานทุกวันจะทำให้ฟื้นสุขภาพได้เร็ว

การรับประทานหรือกินใบสมุนไพร ให้กินก่อนอาหารเสมอ

ที่มาข้อมูลจากหนังสือเทคโลยีชาวบ้านและหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โดยคุณทอม แม่โจ้




 

Create Date : 16 พฤศจิกายน 2552
12 comments
Last Update : 29 เมษายน 2555 17:00:01 น.
Counter : 10883 Pageviews.

 

มาดูดอกไม้,ต้นไม้สวยๆ แถมด้วยความรู้อีก...

 

โดย: kitpooh22 16 พฤศจิกายน 2552 19:07:09 น.  

 

ดอกไม้งาม สีสวย พ่วงด้วยความรู้ ดีจริง ๆคะ

 

โดย: Aoy (Violeta Lady ) 16 พฤศจิกายน 2552 20:38:20 น.  

 

แวะมาชมดอกไม้ค่ะ เยอะแยะเลย สวยค่ะ

 

โดย: ก้อนหิน (cator ) 16 พฤศจิกายน 2552 22:59:42 น.  

 

สวย ๆ ทั้งนั้นเลยค่ะ

 

โดย: phatchaintr 17 พฤศจิกายน 2552 19:08:25 น.  

 

ยินดีครับที่แวะมาเยี่ยมกัน
ขอบคุณครับ

 

โดย: Insignia_Museum 18 พฤศจิกายน 2552 20:51:37 น.  

 

ต้นพญาวานร หรือว่านฮง็อกนี่ เห็นทีไร
ปวดใจทุกทีเลยค่ะ T_T

 

โดย: ณ ปลายฉัตร 18 พฤศจิกายน 2552 22:42:08 น.  

 

ชมแล้วชื่นใจจัง (อยากไปชมของจริง)
เห็นทองพันชั่งแล้วชอบมาก สมัยก่อนเคยปลูกไว้แล้วเอาใบมาตากแห้ง ชงดื่มชื่นใจค่ะ

 

โดย: ป้ามด 19 พฤศจิกายน 2552 10:57:41 น.  

 

แบบนี้ก็สวยแล้วค๊า แต่รอเด๋วนะวิวจะส่ง code ให้หลังไมค์ แต่ตอนนี้ยุ่งๆๆค่ะ

 

โดย: yaii vivi 25 พฤศจิกายน 2552 19:54:04 น.  

 

รูปสวยมากเลยค่ะ ดูแล้วสดชื่นดีจัง

ขอบคุณที่ไปทักทายที่บล็อคนะคะ

 

โดย: หมูน้อยแก้มใส IP: 128.100.119.37, 210.1.4.206 27 พฤศจิกายน 2552 10:20:03 น.  

 

เอื้องเขาแกะงามม๊าก
ภาพสวยๆ ทั้งนั้น แถมความรุ้เรือ่งยารักษาโรคให้อีก
เข้ามาแล้วคุ้มจริงค่ะ อิอิ

ช่วงนี้ฉัตรอาจไม่ค่อยได้มาทักทายบ่อยๆ นะคะ
เพราะกำลังวุ่นๆ กับการตามเก็บบทความเก่าๆ มาไว้ที่บล๊อก แล้วก้อเดินทางตามโต๊ะโตะจังไปในโลกของเธอด้วยค่ะ อิอิ

มาอ่านด้วยกันมั้ยคะ

"อะไรเอ่ย ทั้งน่ากลัว ทั้งเหม็น ทั้งอร่อย"

 

โดย: ณ ปลายฉัตร 28 พฤศจิกายน 2552 15:18:45 น.  

 

ขอบคุณทุกท่านนะคะที่แวะมาเยี่ยมชมและทักทายกัน มีสาระใหม่ ๆ น่าสนใจหน้าอื่น ๆ อย่าลืมคลิกชมนะคะ

 

โดย: tummydeday 20 มกราคม 2553 15:37:29 น.  

 

เข้ามาบล็อกนี้แล้วสดชื่นจังเลยค่ะ

 

โดย: kithe 23 เมษายน 2553 14:15:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


dreamdodee
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




บ้างก็มีเรื่องราวสนุกจากนวนิยาย การทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่บอกเล่าเรื่องราวผ่านบล็อกด้วยภาพ ทั้งจากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนความรู้ ผ่านประสบการณ์ประทับใจ มีทั้งการบอกเล่าเรื่องราวเป็นคำกลอน ศิลปะ การผจญภัย การเดินทางท่องเที่ยว ที่ล้วนแล้วแต่ผ่านประสบการณ์จริง ความสวยงามเหล่านี้ เป็นความประทับใจและความสุข ที่ จขบ.คนนี้ เคยได้สัมผัส ก็เลยอยากมีส่วนร่วมแบ่งปันความรู้สึกดี ๆ ให้กับชาวบล็อกแก็งค์ทุกคน ขอขอบคุณบล็อกที่ช่วยให้ จขบ. ได้นำภาพสวย ๆ และวิธีการสร้างสีสันให้กับบล็อก อาทิ ป้ามด, paradijs, kungguenter, yadegari, nooyingja เนยสีฟ้า ฯลฯ ขอบคุณอย่างใจจริงค่ะ
New Comments
Friends' blogs
[Add dreamdodee's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.