Group Blog
 
 
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
16 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 
ถ้าใกล้ชิด จะจับผิดลูกได้/สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

เชื่อว่าพ่อแม่หลายท่านคงมีเทคนิคหนึ่งในการจูงใจลูกให้ขยันเรียนหนังสือนั่นคือ “การให้รางวัล” และมีครอบครัวหนึ่ง พ่อบ้านให้รางวัลจูงใจลูกชายวัยประถมต้น เป็นลูกดิ่ง (โยโย่) ตราเพชรทุกครั้งที่ลูกสอบได้คะแนนเต็ม ไม่ว่าจะเป็นการสอบย่อยหรือสอบใหญ่ เป็นที่ถูกใจของลูกชายอย่างยิ่ง เนื่องจากลูกดิ่งมีหลายรุ่น หลายแบบ หลายราคา แต่ละแบบก็มีคุณสมบัติและความโดดเด่นที่แตกต่างกัน และสามารถจูงใจลูกได้ดีตามวัตถุประสงค์


       
       แต่แล้ววันหนึ่งแม่บ้านที่ใกล้ชิดลูกและช่างสังเกตก็นึกสงสัยท่าทีลูก 2 ครั้งหลัง ที่ชวนคุณพ่อไปซื้อของรางวัลอย่างไม่ค่อยเต็มปาก เมื่อลองหยั่งเชิงสอบถามว่าพูดจริงหรือไม่ ก็เห็นลูกชายเริ่มหน้าซีด กระสับกระส่ายแต่ไม่ยอมรับ อีกสัปดาห์ต่อมาแม่ก็ลองถามอีกครั้ง ลูกชายจึงเริ่มถามแม่ว่า “ถ้าผมพูดไม่จริง พ่อแม่จะว่าอะไรไหมครับ” 
       
       พญ.ปราณี เมืองน้อย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อคิดในการให้รางวัลลูกดังนี้
       
       1. การให้รางวัลจูงใจเด็กเป็นเรื่องที่ดี แต่ควรระวังเด็กยึดติดกับสิ่งของ ในการให้รางวัลแต่ละครั้งจึงต้องชมในความมุ่งมั่นพยายามของลูก และปรับเปลี่ยนให้มีความยากที่จะคว้ารางวัลเพิ่มขึ้นตามลำดับ เช่น จากเดิมให้รางวัลทุกครั้งให้ปรับเป็นให้รางวัลทุก 2 ครั้งหรือทุก 3 ครั้งที่ทำสำเร็จ
       
       2. อย่าหลงเชื่อเด็กมากเกินไป เด็กยิ่งเล็ก ยิ่งมีการยับยั้งชั่งใจน้อย อาจอยากได้ของจนยอมโกหกพ่อแม่ ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง กังวลกลัวพ่อแม่จับได้และจะโดนดุ
       
       3. ในการให้รางวัลเด็ก ต้องมีหลักฐานคะแนนยืนยันชัดเจน และอาจตรวจสอบลายมือที่เด็กเขียนคะแนนมาจากโรงเรียน ว่ามีร่องรอยการลบแก้หรือไม่
       
       4. คอยสุ่มสอบถามลูกเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ พร้อมทั้งบอกให้ลูกรู้กฎกติกาในบ้าน และความคาดหวังของพ่อแม่ เช่น พ่อแม่ไม่อยากให้ลูกโกหกในทุก ๆ เรื่อง หากลูกไม่ซื่อสัตย์ ต้องคืนของรางวัล พร้อมกับโดนงดของรางวัลครั้งต่อไป
       
       5. หากจับผิดลูกได้แล้ว ไม่ต้องจับให้มั่นคั้นให้ตายให้ลูกพูดสารภาพผิด ควรชมลูกที่กล้าบอกความจริง เพราะในยามที่เขาสารภาพ เขาก็มีความหวาดหวั่นอยู่ในใจมากมายอยู่แล้ว กลัวพ่อแม่ลงโทษ กลัวพ่อแม่โกรธหรือไม่รัก ควรกอดลูกให้รู้สึกมั่นคงปลอดภัย ไม่แสดงความเกรี้ยวกราดใส่ลูก จะทำให้บรรยากาศระหว่างกันไม่ตึงเครียด พ่อแม่จะมีโอกาสสอนลูกอย่างมีสติ ในขณะที่ลูกก็รู้สึกปลอดภัยพอที่จะรับฟังคำสอนจากพ่อแม่




Create Date : 16 มิถุนายน 2555
Last Update : 16 มิถุนายน 2555 8:30:07 น. 0 comments
Counter : 737 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ยี่สิบห้าเดือนเจ็ด
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






Friends' blogs
[Add ยี่สิบห้าเดือนเจ็ด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.