Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
 
16 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
เด็ก 5 ขวบกับอาการขี้โมโห-ใจร้อนเกินพิกัด!

 อาการขี้โมโห-ใจร้อนของเด็ก เป็นปัญหาที่พ่อแม่หลาย ๆ ท่านหนักใจ เพราะไม่อยากให้ลูกสุดที่รักกลายเป็นเด็กก้าวร้าว เอาแต่ใจ ขี้วีน และพูดจาไม่น่ารัก ซึ่งปัญหานี้มีพ่อแม่เขียนเข้ามาปรึกษาอยู่บ่อยครั้ง เช่นเดียวกับคุณแม่เจ้าของคำถามในสัปดาห์นี้ที่กำลังหนักใจกับเรื่องดังกล่าวอยู่เช่นกัน แต่ไม่ใช่แค่ตัวเด็กอย่างเดียว ผู้ใหญ่ที่อยู่ร่วมกันในบ้าน คือเรื่องที่เธอค่อนข้างหนักใจไม่แพ้กัน เนื่องจากบางครั้งมีความคิดเห็นไม่ตรงกันในเรื่องการอบรมเด็ก โดยส่วนใหญ่จะลงโทษด้วยการตี ในกรณีนี้ คุณหมอสินดี จำเริญนุสิต กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรมจากโรงพยาบาลเวชธานี จะมีวิธีรับมือกับทั้งตัวเด็กและผู้ใหญ่อย่างไร ไปติดตามอ่านกันได้เลยครับ

ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
       คำถาม : ลูกอายุ 5 ขวบ เป็นเด็กหญิงค่ะ มีอารมณ์เอาแต่ใจ ร้องเรียกความสนใจเกินระดับ เด็กต้องการเอาชนะโดยร้องไห้เสียงดัง พูดจาไม่เพราะ เราจะควบคุมให้เขาลดอาการโมโหใจร้อนลงได้อย่างไรค่ะ ซึ่งปัญหาตอนนี้ เด็กอยู่ในครอบครัวที่มีหลายคนในบ้าน การลงโทษเวลาเด็กทำผิด ผู้ใหญ่ในบ้านใช้วิธีลงโทษด้วยการตี จากการทำท่าทาง คำพูดก้าวร้าว ควรจะรับกับสถานการณ์แบบนี้อย่างไรกับคนที่ตีเด็กและเด็กที่ถูกตี แต่เวลาน้องอยู่ที่โรงเรียนเป็นเด็กเรียบร้อยมากค่ะ พออยู่ที่บ้านกลับกลายเป็นเด็กเอาแต่ใจ เถียง และทำตัวไม่น่ารักบ่อย ๆ ทำให้ผู้ใหญ่เวียนหัวรับกับความดื้อของน้องทุกวันเลย
       
       คุณหมอสินดี : จริง ๆ คำตอบหรือต้นตอของปัญหาบางส่วนก็อยู่ในสิ่งที่คุณเล่ามาแล้วนะคะ คือ การลงโทษด้วยความรุนแรงหรือใช้อารมณ์ในเด็กเล็กรวมถึงการที่ผู้ใหญ่ในบ้านมีความเห็นไม่ตรงกันเรื่องการอบรมเด็ก ก็ทำให้เด็กไม่เกิดการเรียนรู้ว่าการจัดการกับความโกรธต้องทำอย่างไร ส่วนเหตุที่เด็กไม่มีปัญหาที่โรงเรียนนั้น แสดงว่า เขาสามารถควบคุมตนเองได้บ้างและไม่น่ามีปัญหาการควบคุมอารมณ์ในสังคมค่ะ
       
       อย่างไรก็ตาม เด็กวัยนี้ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาการควบคุมตัวเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะเมื่อต้องพบเจอกับความเครียดหรือความไม่ได้ดั่งใจ สถานที่หรือบุคคลที่เขามั่นใจว่าจะรับกับอารมณ์ของเขาได้ก็คือคนที่เขาผูกพันด้วย นั่นก็คือ ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กที่บ้านไงค่ะ ดังนั้น เริ่มต้นเลยวิธีรับมือในวัยนี้ คือ 
       
       1) ผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กต้องรู้วิธีจัดการอารมณ์ของตนเอง ข้อดีของการที่มีผู้ใหญ่หลายคนคือ ถ้าคนหนึ่งคิดว่าจะควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ก็อาจจะเลี่ยงไปก่อน ให้คนที่ควบคุมอารมณ์ได้อยู่มาจัดการเด็กแทน แต่ข้อเสียก็มีถ้าแต่ละคนมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องของกฎของบ้านที่เด็กต้องปฏิบัติตาม
       
       2) ในครอบครัวมีเวลาดี ๆ ร่วมกันหรือไม่ หรือมีการแสดงความรักต่อกันบ้างหรือไม่ นอกจากนั้นเมื่อเด็กมีพฤติกรรมดี เขาได้รับคำชมเชยหรือมีผู้ใหญ่มองเห็นจุดดีของเด็กหรือเปล่า
       
       3) สร้างค่านิยมแก่เด็กในเรื่องของการทำความดี ผ่านการเล่น การเล่านิทาน หรือการเป็นแบบอย่างที่ดี
       
       4) ลดสิ่งที่เด็กจะได้รับด้วยความพึงพอใจ หลังจากมีพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ถ้าผู้ใหญ่บางคนหัวเราะกับคำพูดของเด็ก หรือ ถ้าสุดท้ายความก้าวร้าวทำให้เขาได้ในสิ่งที่ต้องการ เด็กก็จะยังคงทำต่อไป
       
       5) ช่วยให้เด็กสงบสติอารมณ์และเมื่อเด็กมีอารมณ์สงบลงแล้ว ก็เข้าไปคุยให้เข้าใจว่า เรารับรู้อารมณ์โกรธของเด็กและหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก เราต้องการให้เด็กทำอะไร เพื่อที่เด็กจะได้เรียนรู้ว่าสิ่งไหนผิดและผลของมันคืออะไร
       
       6) หากที่บ้านได้ลองปรับวิธีการจัดการกับเด็กแล้ว ยังมีปัญหาพฤติกรรมมากและส่งผลเสียต่อครอบครัว หมอแนะนำว่าลองปรึกษากุมารแพทย์หรือจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นก่อนนะคะ
       



Create Date : 16 กรกฎาคม 2555
Last Update : 16 กรกฎาคม 2555 7:58:14 น. 0 comments
Counter : 1046 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ยี่สิบห้าเดือนเจ็ด
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






Friends' blogs
[Add ยี่สิบห้าเดือนเจ็ด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.