แบร์แนแด็ท....น่ารัก....น่ารัก ขี้ลืม.....ขี้ลืม ...... หนังปายหนายหว่า buy แล้ววbuyอีก......... faith, hope and charity เฟศบุ๊ค http://www.facebook.com/bernadette.soubirous.3
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
1 กรกฏาคม 2551
 
All Blogs
 
Copying Beethoven (2006): The Passion behind the ginius

ในFilm สื่อ คริสต์ศตวรรษที่ 19 เบโทเฟนโด่งดังมากในฐานะคีตกวีเอก ในช่วงนี้เองที่เขาได้รับพิษจากสารตะกั่ว ไม่นานหลังจากนั้นเขาก็เริ่มสูญเสียการได้ยิน แต่ก็ยังคงประพันธ์เพลงต่อไป และ ซิมโฟนีหมายเลข 9 ที่เขาประพันธ์ออกมาเมื่อหูหนวกสนิทตั้งแต่ปี ค.ศ. 1819 เป็นต้นมา รวมทั้งบทเพลงควอเตตเครื่องสายที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเขาก็ประพันธ์ออกมาในช่วงเวลานี้

และ ในFilm สื่อ เวียนนา ปี 1824 ถึง ความสัมพันธ์ บีโทเฟนกะแอนนา ฝรั่งเรียก Friendship สำหรับเราอ่าเรามองว่าคือ.. ความเชื่อเคารพ ความศรัทธา .....ระหว่างครูกับลูกศิษย์

สิ่งที่บีโทเฟนสอนแอนนา

Why are are so frank with me Anna Holtz?
Why do you wish to be near me?
Anna: Because I esteem you as one of......
Bethofen :Don't flatter me
Anna :.....Because it makes me belive that I, too, can write music.
Bethofen:The vibrations on the air.......are the breath of God.....
Speaking to man's soul. Music is the Language of God.We musicians are as close to God as man can be.We hear his voice...We read his Lips.We give birth to the children of God who sing his prasie.That's what musicians are, Anna. And if we're not that....We're nothing

บีโทเฟน:พูดตรงๆๆเปิดเผยกับชั้น แอนนา โฮล
แอนนา:เพราะชั้นนับถือคุณเป็ฯผู้ยิ่งใหญ่ของ......
บีโทเฟน:อย่ามาสอพลอ
บีโทเฟน:เธออยากมาใกล้ชิดชั้นทำไม
แอนนา:เพราะคุณทำให้ชั้นเชื่อว่า ......ชั้นสามารถเขียนดนตรีได้

บีโทเฟน:แรงสั่นสะเทือนในอากาศ.......คือลมหายใจของพระเจ้า ....พูดกับจิตวิญญาณของมนุษย์ ......ดนตรีคือภาษาของพระเป็นเจ้า พวกเราที่เป็นนักดนตรีใกล้ชิดกับพระเป็นเจ้า เท่าที่เค้าสามารถจะใกล้ชิด พวกเราได้ยินเสียงของพระองค์ อ่านปากของพระองค์ เราให้กำเนิดลูกหลานของพระเป็นเจ้า ซึ่งร้องเพลงสรรเสริญพระองค์ นั้นก็คือนักดนตรี ........ถ้าเราไม่เป็ฯแบบนั้น....เราก็ไม่มีคุณค่าอะไร

ซีนที่ประทับใจ การร่วมมือร่วมใจระหว่างบีโทเฟนและแอนนา บีโทเฟนต้องการเป็ฯวาทยากรทั้งที่หูหนวก แอนนาให้signอยู่ข้างล่าง...ซีนนี้ยาวจริงๆๆ
โซโล 4 คอรัส เป็ฯร้อยตอนท้ายของเพลง นานเป็ฯชั่วโมงเค้าต้องเป็นบ้าไปแล้วแน่ๆ

Now music changes foreverBeethoven Symphony 9
บัดนี้ดนตรีเปลี่ยนไปแล้วตลอดกาล.......ซิมโฟนีหมายเลข 9

Copying.Beethoven貝多芬 Beethoven Symphony 9 (Movt.4)


และหลานจอมแสบของบีโทเฟนที่เข็น....จะให้เป็นนักเปียนโน ...ไม่เอาใหนวันวันเล่นแต่การพนัน ขโมยตังค์บีโทเฟน อยากเป็ฯทหารม้า ได้แอบดูถึงกับตื้นตันในบทเพลงของลุงตัวเองที่ประพันธ์และร้องไห้ออกมา

Beethoven Symphony No.9 - Bernstein 1989 (part 4)



โดย Leonard Bernstein, Symphonieorchester des Bayerischen Rundfunks, Staatskapelle Dresden, Kirov Orchestra, London Symphony Orchestra, New York Philharmonic, Orchestre de Paris, June Anderson, Sarah Walker, Klaus Konig, Jan-Hendrik Rootering. Live recording in Schauspielhaus Berlin, 25-12-1989.


ท้ายสุด ซิมโฟนีหมายเลข 9 เป็นซิมโฟนีบทสุดท้ายที่เบโทเฟนประพันธ์จบ นับเป็นอัญมณีแห่งซิมโฟนีทั้งหลาย ประกอบด้วยบทเพลงสี่ท่อน รวมความยาวกว่าหนึ่งชั่วโมง และมิได้ยึดติดกับรูปแบบของโซนาตา แต่ละท่อนของซิมโฟนีบทนี้นับได้ว่าเป็นผลงานชั้นครูในตัวเอง แสดงให้เห็นว่าเบโทเฟนได้หลุดพ้นจากพันธนาการของยุคคลาสสิก และได้ค้นพบรูปแบบใหม่ในการเรียบเรียงเสียงประสานของวงออร์เคสตราในที่สุด ในท่อนสุดท้าย เบโทเฟนได้ใส่บทร้องประสานเสียงและวงควอเตตประสานเสียงเข้าไป เพื่อขับร้อง "บทเพลงแห่งความอภิรมย์ Ode to Joy" ซึ่งเป็นบทกวีของ เฟรดริก ฟอน ชิลเลอร์ บทประพันธ์ชิ้นนี้ำได้เรียกร้องให้มีความรักและภราดรภาพในหมู่มวลมนุษย์ และซิมโฟนีบทนี้ได้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก "บทเพลงแห่งความอภิรมย์ Ode to Joy" ยังได้ถูกเลือกให้เป็นบทเพลงประจำชาติของยุโรปอีกด้วย

Copying Beethoven Official Trailer




งานประพันธ์เพลง ซิมโฟนีหมายเลข 9 ยังไม่เรียบร้อยอีก 4 วันจะแสดงแล้ว Copying ผู้ช่วยคัดสำเนาโน๊ตเพลงของบีโทเฟน เวนเซล แก่ม๊ากแล้ว
ทางสถาบันดนตรีของเวียนนาได้ส่งนักเรียนที่เก่งที่สุดมาช่วย เวนเซล คือ แอนนา ซึ่งเป็ฯผู้หญิงด้วย และเด็กม๊ากๆๆ (สมัยนั้นนักประพันธ์ที่เป็ฯผู้หญิงมีน้อยมาก...ไม่เป็นที่ยอมรับ).... และในเรื่องจริง Copylist ผู้ช่วยของบีโทเฟนเป็นผู้ชายมีสองคนอะ

ด้วยความแก่ของเวนเซล ไม่ทันใจกะสำเนาโน๊ตที่จะแจกให้choir คอรัส 100กว่าคน บีโทเฟน จอมขี้โมโห เอาแต่ใจเป็นใหญ่....ประมาณว่า ....ติ๊สสสูง....ซัดเวลเซลซ๊ะน่วมเลย

เวลเซลให้แอนนาคัดสำเนาเอาโน๊ตไปส่งบีโทเฟน..........และแอนนาแอบแก้โน๊ต........
บีโทเฟน:นี้มันอะไรนิ ตรงก่อนเสียงประสาน มี B Major, D major, เธอให้มันเป็น B Mainer

แอนนา: ชั้นไม่ได้เปลี่ยนมัน .....กะแค่แก้ไขมันอะ ชั้นรู้ว่าคุณไม่ได้ตั้งใจให้มันเป็ฯ B Major .......

บีโทเฟน: ชาวอิตาเลียนทุกคนต้องให้มันเป็น B major , Rossini กะให้มันเป็ฯ B Major , Cherubini กะให้มันเป็ฯ

แอนนา: แต่คุณคงไม่......คุณจะเปลี่ยนมันแค่เพียงชั่วครู่ คุณจะสร้างความระทึกก่อนที่มันจะระเบิดอารมณ์....นี้คือบีโทเฟน คิดว่าบีโทเฟนจงใจที่จะทำมัน...คิดว่าเป็ฯกับดัก ทดสอบคุณเวลเซล เพื่อดูว่าเค้าเข้าใจจริงหรือเปล่า soul บีโทเฟนอะ.......



Source ://thecia.com.au/reviews/c/images/copying-beethoven-0.jpg

ปัญหาหูหนวกของบีโทเฟนทำให้เค้าเป็นวาทยากรConductorคุมเพลงลำบาก เคยshowแล้วกะเริ่มใหม่ตั้งสองรอบ ........บีโทเฟนเสียselfอะ ประพันธ์เพลงได้แต่Conducter คุมวงไม่ได้

แอนนาไปยืนให้จังหวะเริ่มต้นบีโทเฟน ทุกคนคิดว่าชั้นอยู่ในความเงียบ .....มันไม่จริง ในหัวของชั้นมีเสียงเพลงตลอด ชั้นไม่เคยหยุด พระเจ้าให้ชั้นมีเสียงดนตรีในใจ ......และพระองค์ทำอะไรให้ชั้นหูหนวก ไม่ยอมให้ชั้นมีความสุข ไม่มีงานตัวเอง นั้นพระเจ้าที่รักเหรอ......พระองค์คือเพื่อนเหรอ แอนนากะบอกว่า .......พระเจ้าเป็ฯพ่อของเรา บีโทเฟน พ่อชั้นเป็ฯคนขี้เมาร้ายกาจ..........ถ้าพระเจ้าเป็ฯพ่อชั้น.......ชั้นไมเอาหรอก แง๊ๆๆๆ บีโทเฟนปี่แตกกกกแอนนากะบอกว่า พระเจ้ากำลังพูดกับคุณชั้นรู้

Show ซิมโฟนีหมายเลข 9 มาถึงประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามกะการร่วมใจกันของบีโทเฟนและแอนนา

แอนนาได้เจอคุณยายข้างบ้านที่มานั่งหน้าประตูบ้านบีโทเฟนทุกวัน คุณยายบอกว่า ใครๆๆก็อิจจฉาชั้น เพราะชั้นได้ฟังเพลงของคีตากวีเอกของโลกก่อนใคร ชั้นอยู่กับเค้าตั้งแต่ ซิมโฟนีหมายเลข 7 และชั้นก็ไม่ยอมย้ายไปใหน

บีโทเฟนสอนแอนนาในการประพันธ์เพลง

แอนนา: I just don't understand it, Maestro. Where does the movement end? ชั้นไม่เข้าใจค่ะ แมสโทรว ว่าท่อนนั้นมันจบตรงใหน

บีโทเฟน: It doesn't end, It flows. You have to stop thinking in terms of beginning and ending. This is not one of the bridges you iron man builds. This is a living thing. Like clouds taking shape or tides shifting. But ,
มันไม่ได้จบ ....มันลื่นไหล เธอต้องหยุดคิดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด นี้ไม่ใช่ พวกสะพานเหล็กที่มนุษยสร้าง นี้คือสิ่งที่มีชีวิตเหมือนเมฆ มีรูปร่างหรือสายน้ำ
แอนนา:musically, how does it work?
แต่ในทางดนตรีมันใช้ยังไงค่ะ
บีโทเฟนIt doesn't work, it grows. You see, the first movement becomes the second As each idea dies, a new one's born
See,In your work, you're obsessed with structure with choosing the correct form . You have to listen to the voice speaking inside of you.I didn't even hear it myself until I went deaf. Not that I want you to go deaf, my dear.
มันไม่ได้ใช้ มันเติบโต เห็นมั๊ย ท่านแรกเคลื่อนไหวกลายเป็ฯ ท่อนที่สอง แนวคิดใหนตายไป .......ก็เกิดแนวคิดใหม่
ในงานของเธอ .......เธอหมกมุ่นอยู่กับโครงสร้าง การเลือกรูปแบบถูกต้อง
เธอต้องฟังเสียงที่พูดอยู่ข้างในของเธอ ......ชั้นไม่ได้ยินมันด้วยซ้ำจนกระทั้งชั้นหูหนวก ไม่ใช่จะให้เธอหูหนวกด้วย

แอนนา: Your're telling me that I must find the silence in myself. I can hear the music
คุณกำลังบอกว่าชั้นต้องหาความเงียบในใจของตัวเอง และชั้นจะได้ยินเสียงเพลง
บีโทเฟน: Yes, Yes. Yes. The silence is the Key.....The silence between th notes.When that silence envelops you ...then you soul can sing.
ใช่ ใช่ ใช่ นั้นแหละ ความเงียบ คือกุญแจสำคัญ ความเงียบระหว่างตัวโน๊ต เมื่อความเงียบห่อหุ้มตัวเธอ เธอจะร้องเพลงจากจิตวิญญาณ


แอนนาส่งงานเพลงประพันธ์ให้บีโทเฟนดู บีโทเฟนวิจารณ์ว่า

มันดี.........มีไม่กี่จุดที่ต้องเปลี่ยน แต่โดยรวมแล้วมันดีมาก.....มีพลังและความเร้าร้อนที่สำคัญคือความเรียบง่าย มีปัญหาอยู่อย่างเดียว.....เธอเลียนแบบชั้นอยู่........โลกไม่ต้องการบีโทเฟนอีกคน ........แต่ต้องการเธอ ...เธอยังยึดติดกับชั้น


Source ://thecia.com.au/reviews/c/images/copying-beethoven-5.jpg

Grosse Fugue บทเพลงใหม่ที่บีโทเฟนแต่ง

แอนนาบอกว่า: Ugly น่าเกลียด
บีโทเฟน :อธิบายความหมายของเพลง

It's mean to challenge your sense of beauty. I'm opening up music to the ugly to the visceral.How else can you get to the divine except through the guts of man? Here. See , this is where God Lives. Not in the head, not even in the soul but in the guts. Because this is where the people feel him. The interstines twist and coil to heaven. Bowels closer to enlightenment thant the brain. You can't have your head in the clouds unless there's shit on your boots.

ความหมายของการท้ายท้ายซาบซึ๊งถึงความงาม ชั้นเปิดดนตรีไปสู่ความอัปลักษณ์ของสัญชาติญาณ มันจะเป็ฯเลิศได้ยังไงอีก นอกจากผ่านส่วนลึกของมนุษย์ ที่นี้คือที่พระเจ้าทรงอยู่ ไม่ใช่ในหัว หรือแม้แต่จิตวิญญาณ แต่ในอยู่ในส่วนลึก เพราะนี้คือพระประสงค์ของพระองค์ ลำไส้ขดตัวคดเคี้ยวไปสู่สวรรค์........ลำไส้ใกล้ทางสว่างยิ่งกว่าปัญญาและทางสมอง....อะจิ๊ย ท่านใฝ่ฝันสูงไม่ได้ เมื่อเยียบเท้ามันต้องติดดินอยู่ด้วย

งะ........แอนนาพักอยู่ในอาราม ย่าของแอนนาเป็นแม่อธิการบอกแอนนาว่า บีโทเฟนอะ ตัวแสบศาสนาเลยละ เกือบจะโดนถูกขับออกจากศาสนาทีหนึ่งแหละ ขี้เหล้าเมายา กักขละ นอกลู่นอกทาง

Maestro,คือชื่อที่แอนนาเรียกบีโทเฟน แอนนาได้เอาผลงานการประพันธ์เพลงของเธอให้บีโทเฟนวิจารณ์ดุ

ก๊ากกกกกกก....บีโทเฟนเล่นเพลงของแอนนา พร้อมทั้งทำเสียงปู๊ดปู๊ดผายลมไปด้วยย.......แอนนาเสียใจมั๊กมั๊ก


ย่าของแอนนาที่เป็ฯแม่อธิการบอกแอนนาว่า ร้องเพลงข้างนอกไม่ได้ร้องเพลงสรรเสริญพระเป็นเจ้าข้างในนี้ก็ได้ serve God รับใช้พระเจ้าเหมือนกาลล
But that's not my calling Music is my calling I came here to study You studied with Salieri you must know that I mean
แต่นั้นไม่ใช้กระแสเรียกของหนู ดนตรีคือกระแสเรียกของหนู หนูมาที่นี้เพื่อศึกษา ย่าเคยศึกษากับ ซัลซาลิเย่ (คู่ปรับโมสารท อะ) ย่าต้องเข้าใจหนูแน่

I dind't even get to meet Salieri I worked with one of his assistants.
ย่าไม่เคยพบ กับซัลซาลิเย่ ย่าทำงานกับผู้ช่วยของเค้า

บีโทเฟน......เฮ๊ยเล่นแรงไปหรือเปล่า ไประเบิดโวยวายในอารามแม่ชี ขออคุยกะแอนนา



Source ://image.guardian.co.uk/sys-images/Music/Pix/pictures/2006/11/22/beethoven460.jpg


และบีโทเฟนคุกเข่าขอโทษแอนนาและ แก้โน๊ตบางส่วนให้แอนนา




กับความใกล้ชิดกันของบีโทเฟนและแอนนา.......บีโทเฟนบอกแอนนาว่า ..............เธอไม่ได้รักชั้น..............เธออยากเป็นชั้น


Show เพลง Grosse Fugue ต่อหน้าอาร์ทดะยุ๊กและหมู่คนชั้นสูง ไม่เป็นที่ยอมรับ อาร์ทดะยุ๊กถึงกับบอกบีโทเฟนว่า หูหนวก และใจยังหนวกด้วยหรือเปล่า

บีโทเฟน ล้มหงายหลังสลบเลยอะ

Copying Beethoven



แม่ชีในอารามมาช่วยรักษาให้บีโทเฟน......ใกล้ตายแหละ
ให้แอนนา เขียนโน๊ตเพลงที่กลั่นมาจากใจบีโธเฟน ถวายแด่พระเป็นเจ้า

Melodies,prayers,
ท่วงทำนองบทสวด

ไม่มีคีย์ กะแต่งเพลงไม่ได้อะสิ เพลงนี้ต้องไม่มีคีย์จังหวะปรกติ .........

It's a hymn. Yes a Hymn of thaksgiving
for sparing me to finish my work...............and then a voice A single frail voice emerges, soaring above the staff.
เพลงสรรสเริญ ใช่เพลงสรรเสริญขอบพระคุณพระเจ้า เพื่อให้ชั้นอยู่ทำงานจนเสร็จ ................ ดนตรีบุกทะยานต่อไปเคลื่อนไหวสุดท้ายของพื้นผิว Crescendo ไวโอลีนตัวแรกโหยหา .......อ้อนวอนพระเจ้า ......จากนั้น พระองค์ทรงตอบรับ .......เปิดทางด้วยความรักทรงยื่นพระหัตถ์ออกมาและยกขึ้น นำพาขึ้นสู่สรวงสวรรค์ เสียงดนตรีสูงขึ้นหยุดโดยฉับพลัน เชื่อมเราสามารถให้มีชีวิตนิรันดร โลกไม่ได้เปิดออก เวลาไร้ที่สิ้นสุด และมือที่ยกเราขึ้น ......ประคองใบหน้า หล่อหลอมกับพระพักต์พระเจ้า เราได้เป็ฯหนึ่งเดียว ในที่สันติสุขอย่างแท้จริง สุดท้ายเราเป็ฯ.....อิสระ

ซีนนี้ได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวางจะคล้ายกับเรื่อง Amadeus อามาเดอุส เรื่องของโมสาร์ท ใกล้ตายแต่งเพลงงานศพ บทเพลงRequiem ในFilmถ้าโมสาร์ทแต่งเพลงนี้จบจะสิ้นใจทันที

แต่ของบีโทเฟน ใกล้ตาย .....ความเห็ฯส่วนตัวเราอะ ใกล้ตายแล้วกะหาสิ่งที่ยึดเหนี่ยวของจิตใจที่ดีที่สุด.....กะทำดีก่อนตายอะ

กะคีตกวีเอกของโลก ภาวะใกล้สิ้นสุด แพล๊ทฟอร์มแต่งเพลงทิ้งท้ายไว้ให้คนจำ คือสิ่งที่งดงามที่สุดแล้วอะ...........อันนี้ความเห็นส่วนตัวเราอะ


Ludwig Van Beethoven died on March 26 , 1827

His last quartets, Including the revolutionary Grosse Fugue, ultimately became an inspiration for generations of future composser.

เพลงบทสุดท้ายของเค้ารวมทั้ง Grosse Fugue เป็นแรงบันดาลใจ ต่อนักนักพันธ์เพลงในรุ่นต่อมา

Ed เอ็ดแอร์ริส เล่นเป็ฯบีโทเฟน ไดแอน ครูเกอร์ใช้เวลา4วันในการซ้อมคุมวงโอเปร่าออเคสตร้ากว่า 55 คน หนังตัดต่อเพียง 10 นาที

ในเรื่องนี้จะเห็นถึงขั้นตอนการพิมพ์โน๊ตเพลง ลงบนแผ่นทองแดง ใช้กรด ขี้ผึ้ง น้ำมันชักเงา ชอล์ก และการขูดโดยใช้ความร้อน

ผู้ออกแบบเสื้อผ้า เจนี่ เทไมท์ สร้างแก้ไขชุดย้อนยุคกว่า 650 ชุด เพื่อFilmเรื่องนี้ แรงบันดาลใจจาก ภาพเขียนจิตกรชาวฝรั่งเศส ณอง ออกุเต้ โดมินิค อิงเกรส์ 1780-1867 เสื้อผ้าทั้งหมดนำมาจากลอนดอน รวมถึงชุดกลางคืนด้วย

บีโธเฟน สังเกตการสูญเสียการได้ยิน ของเค้าตั้งแต่เริ่มเป็ฯในช่วยปลาย 1790 สาเหตุอาจมาจากไข้ไทรอยด์ ปี 1787 แต่สาธารณะชนไม่ได้รู้ถึงความเจ็บปวดของเขาจนกระทั้งปี 1802 ที่เขาเขียนไว้ใน เฮลลิเจนสตัด เทสตาเมนต์ (จดหมายที่เขาส่งถึง คาร์ล และโยฮัน)

บีโทเฟน จากช่วงที่เขามีอาการสูญเสียการได้ยิน ดิ แอพแฟสชั่นนาโต้ แอนด์ มูนไลท์ โซนาต้าส์ (โอปุส 57,27/2) ดิ อิโรอิก้า (ซิมโฟนีหมายเลข 3 โอปุส 55 )และ เดอะ ครูทเซอร์ โซนาต้า (โอปุส 4) ช่วงเวลาแห่งการสร้างสรรนี้ดำเนินต่อมาเป็ฯเวลาหลายปี มสสิ้นสุดซิมโฟนีหมายเลข 5 ในซีไมเนอร์ โอปุส 67 และเปียนโนคอนเซร์โต้หมายเลข 5 โอปุส 73 (เป็นที่รู้จักกันในชื่อ เอ็มเพอร์เรอร์ คอนเชร์โต้) จนกระทั้งปี 1815 ที่การสูญเสียการได้ยินของบีโธเฟนบีบบังคับให้เขาเลิกการแสดงต่อหน้าสาธารณะ


Source ://movies.yahoo.com/movie/1809421145/photo/970413684
//www.siamzone.com/movie/m/4429/trivia


Create Date : 01 กรกฎาคม 2551
Last Update : 2 กรกฎาคม 2551 10:34:30 น. 16 comments
Counter : 5424 Pageviews.

 


เบโทเฟน ตั้งรกรากที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่ออายุ 22 ปี และมีโอกาสเล่นเปียโนให้โมซาร์ทฟัง เมื่อโมซาร์ทได้ฟังฝีมือของเบโทเฟนแล้ว กล่าวกับเพื่อนว่าเบโทเฟนจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในโลกดนตรีต่อไป

โจเซฟ ไฮเดินได้ประพันธ์ซิมโฟนีไว้กว่า 100 บท โมซาร์ทประพันธ์ไว้กว่า 40 บท หากจะนับว่ามีคีตกวีรุ่นพี่เป็นตัวอย่างที่ดีแล้ว เบโทเฟนไม่ได้รับถ่ายทอดมรดกด้านความรวดเร็วในการประพันธ์มาด้วย เพราะเขาประพันธ์ซิมโฟนีไว้เพียง 9 บทเท่านั้น และเพิ่งจะเริ่มประพันธ์ซิมโฟนีหมายเลข 10 แต่สำหรับซิมโฟนีทั้งเก้าบทของเบโทเฟนนั้น ทุกบทต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว


Beethoven


บ้านเกิดของเบโทเฟนที่เมืองบอนน์ลุดวิก ฟาน เบโทเฟนเกิดที่เมืองบอนน์ (ประเทศเยอรมนี) เมื่อวันที่ 16 หรือ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2313(ค.ศ. 1770) เนื่องจากเราทราบเพียงวันที่เขาได้รับศีลล้างบาปแรกเกิด17 ธันวาคม) ชื่อต้นของเขาเป็นชื่อเดียวกับปู่ (ที่จริงแล้ว เขามีพี่ชายที่ชื่อลุดวิกเหมือนกัน แต่เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย) ครอบครัวของเขามีเชื้อสายเฟลมิช (จากเมืองเมเชเลนในประเทศเบลเยียม) ซึ่งก็เป็นเหตุผลว่าเหตุใด นามสกุลของเขาจึงขึ้นต้นด้วย ฟาน ไม่ใช่ ฟอน ตามที่หลายคนเข้าใจ

บิดาเป็นนักดนตรีไม่มีอันดับ และเป็นคนที่ขาดความรับผิดชอบ เบโทเฟนจำต้องรับภาระดูแลครอบครัวตั้งแต่เยาว์วัย ความสามารถทางดนตรีของเขาโดดเด่นตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้บิดาของเขาพยายามจะหาผลประโยชน์จากเขาด้วยการบอกว่าเขาเป็นเด็กอัจฉริยะ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ บิดาของเขาได้ให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง โดยถึงกับโกงปีเกิดของเบโทเฟน บอกว่าเขาเกิดเมื่อปีค.ศ. 1772 ซึ่งที่จริงแล้วเขาเกิดในปีค.ศ. 1770

เบโทเฟน ตั้งรกรากที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่ออายุ 22 ปี และมีโอกาสเล่นเปียโนให้โมซาร์ทฟัง เมื่อโมซาร์ทได้ฟังฝีมือของเบโทเฟนแล้ว กล่าวกับเพื่อนว่าเบโทเฟนจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในโลกดนตรีต่อไป เบโทเฟนมีโอกาสศึกษาดนตรีกับโจเซฟ ไฮเดินพักหนึ่ง เขาประสบความสำเร็จในการแสดงคอนเสิร์ตในฐานะนักเปียโนเอก และผู้ที่สามารถเล่นได้โดยคิดทำนองขึ้นมาได้สดๆ จากนั้นเขาก็เริ่มประพันธ์บทเพลงบทแรกขึ้นมา แล้วจึงหันเหจากนักดนตรีมาเป็นผู้ประพันธ์เพลงในขณะที่อายุใกล้ 30 ปี เขาสร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวแตกต่างไปจากดนตรียุคคลาสสิคคือ ใช้รูปแบบยุคคลาสสิค แต่ใช้เนื้อหาจากจิตใจ ความรู้สึกในการประพันธ์เพลง จึงทำให้ผลงานเป็นตัวของตัวเอง เนื้อหาของเพลงเต็มไปด้วยการแสดงออกของอารมณ์อย่างเด่นชัด
มีกลุ่มผู้ชื่นชมในผลงานของเบโทเฟนสนับสนุนการเงิน โดยมีข้อสัญญาว่าเบโทเฟนต้องอยู่ในเวียนนา ทำให้เขาสามารถอยู่ได้อย่างสบาย ๆ และผลิตผลงานตามที่เขาต้องการโดยไม่ต้องรับคำสั่งจากใคร


โดย: Bernadette วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:9:08:06 น.  

 


ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เบโทเฟนโด่งดังมากในฐานะคีตกวีเอก ในช่วงนี้เองที่เขาได้รับพิษจากสารตะกั่ว ไม่นานหลังจากนั้นเขาก็เริ่มสูญเสียการได้ยิน แต่ก็ยังคงประพันธ์เพลงต่อไป อาการสูญเสียการได้ยินมีมากขึ้น แต่เขาพยายามสร้างสรรค์ผลงานจากความสามารถและสภาพที่ตนเป็นอยู่ มีผลงานชั้นยอดเยี่ยมให้กับโลกแห่งเสียงเพลงเป็นจำนวนมาก ผลงานอันโด่งดังในช่วงนี้ได้แก่ ซิมโฟนีหมายเลข 5 ที่เบโทเฟนถ่ายทอดท่วงทำนองออกมาเป็นจังหวะ สั้น - สั้น - สั้น - ยาว อาการไม่ได้ยินรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และ ซิมโฟนีหมายเลข 9 ที่เขาประพันธ์ออกมาเมื่อหูหนวกสนิทตั้งแต่ปี ค.ศ. 1819 เป็นต้นมา รวมทั้งบทเพลงควอเตตเครื่องสายที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเขาก็ประพันธ์ออกมาในช่วงเวลานี้เช่นกัน

ก่อนเสียชีวิต เบโทเฟนมีอารมณ์แปรปรวน เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับหลานชายที่เขารับมาอุปการะ เขาถูกหาว่าเป็นคนบ้า และถูกเด็กๆขว้างปาด้วยก้อนหินเมื่อเขาออกไปเดินตามท้องถนน แต่ก็ไม่มีใครสามารถปฏิเสธความเป็นอัจฉริยะของเขาได้ เบโทเฟนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1827 งานพิธีศพของเขาได้จัดขึ้นอย่างอลังการในโบสถ์เซนต์ ตรินิตี โดยมีผู้มาร่วมงานกว่า 30,000 คน ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่สุสานกลางในกรุงเวียนนา

รูปแบบทางดนตรีและนวัตกรรม
ในประวัติศาสตร์ดนตรีแล้ว ผลงานของเบโทเฟนแสดงถึงช่วงรอยต่อระหว่างยุคคลาสสิก (ค.ศ. 1750 - ค.ศ. 1810) กับ ยุคโรแมนติก (ค.ศ. 1810 - ค.ศ. 1900) ในซิมโฟนีหมายเลข 5 ของเขา เบโทเฟนได้นำเสนอทำนองหลักที่เน้นอารมณ์รุนแรงในท่อนโหมโรง เช่นเดียวกับในอีกสี่ท่อนที่เหลือ (เป็นรูปแบบที่พบเห็นได้บ่อยในผลงานประพันธ์ช่วงวัยเยาว์ของเขา) ช่วงต่อระหว่างท่อนที่สามกับท่อนสุดท้าย เป็นทำนองหลักของอัตทากาโดยไม่มีการหยุดพัก และท้ายสุด ซิมโฟนีหมายเลข 9 ได้มีการนำการขับร้องประสานเสียงมาใช้ในบทเพลงซิมโฟนีเป็นครั้งแรก (ในท่อนที่สี่) ผลงานทั้งหลายเหล่านี้นับเป็นนวัตกรรมทางดนตรีอย่างแท้จริง

เขาได้ประพันธ์โอเปราเรื่อง "ฟิเดลิโอ" โดยใช้เสียงร้องในช่วงความถี่เสียงเช่นเดียวกับเครื่องดนตรีในวงซิมโฟนี โดยมิได้คำนึงถึงขีดจำกัดของนักร้องประสานเสียงแต่อย่างใด

หากจะนับว่าผลงานของเขาประสบความสำเร็จต่อสาธารณชน นั่นก็เพราะแรงขับทางอารมณ์ที่มีอยู่อย่างเปี่ยมล้นในงานของเขา

ในแง่ของเทคนิคทางดนตรีแล้ว เบโฟเทนได้ใช้ทำนองหลักหล่อเลี้ยงบทเพลงทั้งท่อน และนับเป็นผลสัมฤทธิ์ทางดนตรีที่ไม่มีผู้ใดปฏิเสธได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้มข้นทางจังหวะที่มีความแปลกใหม่อยู่ในนั้น เบโทเฟนได้ปรับแต่งทำนองหลัก และเพิ่มพูนจังหวะต่างๆเพื่อพัฒนาการของบทเพลงเดียวกันตั้งแต่ต้นจนจบ
เขาใช้เทคนิคนี้ในผลงานเลื่องชื่อหลายบท ไม่ว่าจะเป็นท่อนแรกของคอนแชร์โตหมายเลข 4 (ที่ใช้ตั้งแต่ห้องแรก) ท่อนแรกของซิมโฟนีหมายเลข 5 (ที่ใช้ตั้งแต่ห้องแรกเช่นกัน) ท่อนที่สองของซิมโฟนีหมายเลข 7 (ในจังหวะอนาเปสต์) การนำเสนอความสับสนโกลาหลของท่วงทำนองในรูปแบบแปลกใหม่ตลอดเวลา ความเข้มข้นของท่วงทำนองตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นที่ย้อนกลับมาสู่โสตประสาทของผู้ฟังอยู่เรื่อยๆอย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลให้เกิดความประทับใจต่อผู้ฟังอย่างถึงขีดสุด

Beethoven - Fidelio Overture


โดย: Bernadette วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:9:17:49 น.  

 
เบโทเฟนยังเป็นบุคคลแรกๆที่ศึกษาศาสตร์ของวงออร์เคสตราอย่างพิถีพิถัน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบทเพลง การต่อบทเพลงเข้าด้วยกันโดยเปลี่ยนรูปแบบ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโน้ตแผ่นที่เขาเขียนให้เครื่องดนตรีช้นต่างๆนั้นได้แสดงให้เห็นวิธีการนำเอาธีมหลักกลับมาใช้ในบทเพลงเดียวกันในรูปแบบที่มีเอกลักษณ์ โดยมีการปรับเปลี่ยนเสียงประสานเล็กน้อยในแต่ละครั้ง การปรับเปลี่ยนโทนเสียงและสีสันทางดนตรีอย่างไม่หยุดยั้ง เปรียบได้กับการเริ่มบทสนทนาใหม่ โดยที่ยังรักษาจุดอ้างอิงของความทรงจำเอาไว้

สาธารณชนในขณะนี้จะรู้จักผลงานซิมโฟนีและคอนแชร์โตของเบโทเฟนเสียเป็นส่วนใหญ่ มีน้อยคนที่ทราบว่าผลงานการคิดค้นแปลกใหม่ที่สุดของเบโทเฟนนั้นได้แก่แชมเบอร์มิวสิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโซนาตาสำหรับเปียโน 32 บท และบทเพลงสำหรับวงควอเตตเครื่องสาย 16 บท นั้นนับเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางดนตรีอันเจิดจรัส --- โซนาตาสำหรับเครื่องดนตรีสองหรือสามชิ้นนับเป็นผลงานสุดคลาสสิก --- บทเพลงซิมโฟนีเป็นผลงานคิดค้นรูปแบบใหม่ --- ส่วนบทเพลงคอนแชร์โตนั้น ก็นับว่าควรค่าแก่การฟัง

ผลงานซิมโฟนี
โจเซฟ ไฮเดินได้ประพันธ์ซิมโฟนีไว้กว่า 100 บท โมซาร์ทประพันธ์ไว้กว่า 40 บท หากจะนับว่ามีคีตกวีรุ่นพี่เป็นตัวอย่างที่ดีแล้ว เบโทเฟนไม่ได้รับถ่ายทอดมรดกด้านความรวดเร็วในการประพันธ์มาด้วย เพราะเขาประพันธ์ซิมโฟนีไว้เพียง 9 บทเท่านั้น และเพิ่งจะเริ่มประพันธ์ซิมโฟนีหมายเลข 10 แต่สำหรับซิมโฟนีทั้งเก้าบทของเบโทเฟนนั้น ทุกบทต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ซิมโฟนีสองบทแรกของเบโทเฟนได้รับแรงบันดาลใจและอิทธิพลจากดนตรีในยุคคลาสสิก อย่างไรก็ดี ซิมโฟนีหมายเลข 3 ที่มีชื่อเรียกว่า "อิรอยอิเคอร์" จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการเรียบเรียงวงออร์เคสตราของเบโทเฟน ซิมโฟนีบทนี้แสดงถึงความทะเยอทะยานทางดนตรีมากกว่าบทก่อนๆ เฮโรอิกโดดเด่นด้วยความสุดยอดของเพลงทุกท่อน และการเรียบเรียงเสียงประสานของวงออร์เคสตรา เพราะแค่ท่อนแรกเพียงอย่างเดียวก็มีความยาวกว่าซิมโฟนีบทอื่นๆที่ประพันธ์กันในสมัยนั้นแล้ว ผลงานอันอลังการชิ้นนี้ได้ถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นโปเลียน โบนาปาร์ต และส่งเบโทเฟนขึ้นสู่ตำแหน่งสุดยอดสถาปนิกทางดนตรี และเป็นคีตกวีคนแรกแห่งยุคโรแมนติก

Karajan - Beethoven Symphony No. 3 'Eroica' - Part 1


โดย: Bernadette วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:9:21:05 น.  

 
แม้ว่าจะถูกมองว่าเป็นซิมโฟนีที่สั้นกว่าและคลาสสิกกว่าซิมโฟนีบทก่อนหน้า ท่วงทำนองของโศกนาฏกรรมในท่อนโหมโรงทำให้ซิมโฟนีหมายเลข 4 เป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการทางรูปแบบของเบโทเฟน

Karajan - Beethoven Symphony No. 4 in B Flat Major, Op. 60




ต่อจากนั้นก็ตามมาด้วยซิมโฟนีสุดอลังการสองบทที่ถูกประพันธ์ขึ้นในคืนเดียวกัน อันได้แก่ซิมโฟนีหมายเลข 5 และซิมโฟนีหมายเลข 6 - หมายเลข 5 นำเสนอทำนองหลักเป็นโน้ตสี่ตัว สั้น - สั้น - สั้น - ยาว สามารถเทียบได้กับซิมโฟนีหมายเลข 3 ในแง่ของความอลังการ และยังนำเสนอรูปแบบทางดนตรีใหม่ด้วยการนำทำนองหลักของโน้ตทั้งสี่ตัวกลับมาใช้ตลอดทั้งเพลง

Beethoven Symphony No 5



Karajan - Beethoven Symphony No. 6 In F Major 'Pastoral'


ส่วนซิมโฟนีหมายเลข 6 ที่มีชื่อว่า ปาสตอราล นั้นชวนให้นึกถึงธรรมชาติที่เบโทเฟนรักเป็นหนักหนา นอกเหนือจากช่วงเวลาที่เงียบสงบชวนฝันที่ผู้ฟังสามารถรู้สึกได้เมื่อฟังซิมโฟนีบทนี้แล้ว มันยังประกอบด้วยท่อนที่แสดงถึงพายุโหมกระหน่ำที่เสียงเพลงสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างเหมือนจริงที่สุดอีกด้วย





โดย: Bernadette วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:9:26:14 น.  

 
แม้ว่าซิมโฟนีหมายเลข 7 จะมีท่อนที่สองที่ใช้รูปแบบของเพลงมาร์ชงานศพ แต่ก็โดดเด่นด้วยรูปแบบที่สนุกสนานและจังหวะที่รุนแรงเร่าร้อนในท่อนจบของเพลง ริชาร์ด วากเนอร์ได้กล่าวถึงซิมโฟนีบทนี้ว่า เป็น "ท่อนจบอันเจิดจรัสสำหรับการเต้นรำ"
Karajan - Beethoven Symphony No. 7


ซิมโฟนีบทต่อมา
(ซิมโฟนีหมายเลข 8) เป็นการย้อนกลับมาสู่รูปแบบคลาสสิก ด้วยท่วงทำนองที่เปล่งประกายและสื่อถึงจิตวิญญาณ

Karajan - Beethoven Symphony No. 8 in F Major, Op. 93



ท้ายสุด ซิมโฟนีหมายเลข 9 เป็นซิมโฟนีบทสุดท้ายที่เบโทเฟนประพันธ์จบ นับเป็นอัญมณีแห่งซิมโฟนีทั้งหลาย ประกอบด้วยบทเพลงสี่ท่อน รวมความยาวกว่าหนึ่งชั่วโมง และมิได้ยึดติดกับรูปแบบของโซนาตา แต่ละท่อนของซิมโฟนีบทนี้นับได้ว่าเป็นผลงานชั้นครูในตัวเอง แสดงให้เห็นว่าเบโทเฟนได้หลุดพ้นจากพันธนาการของยุคคลาสสิก และได้ค้นพบรูปแบบใหม่ในการเรียบเรียงเสียงประสานของวงออร์เคสตราในที่สุด ในท่อนสุดท้าย เบโทเฟนได้ใส่บทร้องประสานเสียงและวงควอเตตประสานเสียงเข้าไป เพื่อขับร้อง "บทเพลงแห่งความอภิรมย์" ซึ่งเป็นบทกวีของ เฟรดริก ฟอน ชิลเลอร์ บทประพันธ์ชิ้นนี้ำได้เรียกร้องให้มีความรักและภราดรภาพในหมู่มวลมนุษย์ และซิมโฟนีบทนี้ได้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก "บทเพลงแห่งความอภิรมย์" ยังได้ถูกเลือกให้เป็นบทเพลงประจำชาติของยุโรปอีกด้วย




โดย: Bernadette วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:9:30:24 น.  

 
นอกเหนือจากซิมโฟนีแล้ว เบโทเฟนยังได้ประพันธ์ คอนแชร์โตสำหรับไวโอลิน ที่สุดแสนไพเราะไว้อีกด้วย และได้ถ่ายทอดบทเพลงเดียวกันออกมาเป็นคอนแชร์โตสำหรับเปียโน ที่ใช้ชื่อว่า คอนแชร์โตหมายเลข 6
นอกจากนั้นก็ยังมี คอนแชร์โตสามชิ้นสำหรับไวโอลิน เชลโล และ เปียโน และคอนแชร์โตสำหรับเปียโนอีก 5 บท ซึ่งในบรรดาคอนแชร์โตทั้งห้าบทนี้ คอนแชร์โตหมายเลข 5 สำหรับเปียโน นับว่าเป็นรูปแบบของเบโทเฟนที่เด่นชัดที่สุด แต่ก็ไม่ควรลืมช่วงเวลาอันเข้มข้นในท่อนที่สองของคอนแชร์โตหมายเลข 4 สำหรับเปียโน

Beethoven Piano Concerto No. 4, 3rd Mvt -- Claudio Arrau


Beethoven - Piano Concerto no.5 by Claudio Arrau 1


เบโทเฟนยังได้ประพันธ์เพลงโหมโรงอันเยี่ยมยอดไว้หลายบท (เลโอนอร์, ปิศาจแห่งโพรเมเธอุส) ฟ็องเตซีสำหรับเปียโน วงขับร้องประสานเสียง และวงออร์เคสตราอีกหนึ่งบท ซึ่งทำนองหลักทำนองหนึ่งของเพลงนี้ได้กลายมาเป็นต้นแบบของ "บทเพลงแห่งความอภิรมย์"

David Bernard/Park Avenue Chamber Symphony/Beethoven pt. 3

Avenue Chamber Symphony in Beethoven's Overture to Leonore No. 3. Part 3 of 3 ... David Bernard Park Avenue Chamber ...



นอกจากนี้ยังมีเพลงสวดมิสซา ซึ่งมี มิสซา โซเลมนิส โดดเด่นที่สุด ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผลงานดนตรีขับร้องทางศาสนาที่สำคัญที่สุดเท่าที่เคยมีมา

Beethoven-Missa Solemnis-Bernstein 5



ท้ายสุด เบโทเฟนได้ฝากผลงานประพันธ๋โอเปราเรื่องแรกและเรื่องเดียวไว้ มีชื่อเรื่องว่า ฟิเดลิโอ นับเป็นผลงานที่เขาผูกพันมากที่สุด อีกทั้งยังทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจไปมากที่สุดอีกด้วย

Karajan - Beethoven: ''Fidelio'' Overture


Source ://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81_%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%99_%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%99


โดย: Bernadette วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:9:43:00 น.  

 
แหม..กลับมาจากเมืองคอน
เข้ามาฟังเพลง..โดยเฉพาะ Symphony#5
หายเหนื่อยเมื่อยล้าไปเยอะเลยละค่ะ




โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:19:10:03 น.  

 
แหม..กลับมาจากเมืองคอน
เข้ามาฟังเพลง..โดยเฉพาะ Symphony#5
หายเหนื่อยเมื่อยล้าไปเยอะเลยละค่ะ






โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:19:10:03 น


ตอบ อือช่ายๆๆพี่นางฟ้าชอบฟังออเคสตร้า จำได้จำได้ เพราะพี่นางฟ้าเคยเขียนได้ดูอ่า

ดีจายยจังพี่นางฟ้าหายเหนื่อย หนูกะมะรู้เรื่องอ่า อาศัยหาฟามรู้เรื่องบีโทเฟนงั๊บ


โดย: Bernadette วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:21:37:17 น.  

 
แรงสั่นสะเทือนในอากาศ.......คือลมหายใจของพระเจ้า ....พูดกับจิตวิญญาณของมนุษย์ ......ดนตรีคือภาษาของพระเป็นเจ้า

รัชกาลที่หกเคยทรงนิพนธ์ไว้เหมือนกันว่า

ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก

เราว่าเอ็ด แฮร์ริส เล่นหนังดีนะแบร์ เราชอบ แต่เรื่องนี้ยังไม่ได้ดู

แต่หนังเข้าใจทำ คนหูหนวกกลับได้ยินเสียงที่บริสุทธิ์ที่สุดที่คนมีหูไม่ได้ยิน

จริงไหมแบร์


โดย: mr.cozy วันที่: 3 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:56:59 น.  

 
ลืมบอกไปเราอัฟเราะ แบร์


โดย: mr.cozy วันที่: 3 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:57:49 น.  

 
มาส่งเข้านอนจ้า...

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 3 กรกฎาคม 2551 เวลา:23:46:00 น.  

 
แรงสั่นสะเทือนในอากาศ.......คือลมหายใจของพระเจ้า ....พูดกับจิตวิญญาณของมนุษย์ ......ดนตรีคือภาษาของพระเป็นเจ้า

รัชกาลที่หกเคยทรงนิพนธ์ไว้เหมือนกันว่า

ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก

เราว่าเอ็ด แฮร์ริส เล่นหนังดีนะแบร์ เราชอบ แต่เรื่องนี้ยังไม่ได้ดู

แต่หนังเข้าใจทำ คนหูหนวกกลับได้ยินเสียงที่บริสุทธิ์ที่สุดที่คนมีหูไม่ได้ยิน

จริงไหมแบร์



โดย: mr.cozy วันที่: 3 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:56:59 น.


ตอบ จริงงั๊บ รัชกาลที่ 2 และ 6 และ 9 ท่านเป็ฯอัฉริยะทางด้านวรรณกรรมและดนตรี



ไม่มั่นใจเรื่องโหมโรง หนังไทยสื่อได้ดีม๊ากกกเลยอะ ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงยุคสมัย ที่คนฟังระนาดเอกงะ


โดย: Bernadette วันที่: 4 กรกฎาคม 2551 เวลา:13:06:18 น.  

 
ลืมบอกไปเราอัฟเราะ แบร์



โดย: mr.cozy วันที่: 3 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:57:49 น.

ตอบ เข้าไปอ่าน ชอบชอบ


โดย: Bernadette วันที่: 4 กรกฎาคม 2551 เวลา:13:07:11 น.  

 
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 3 กรกฎาคม 2551 เวลา:23:46:00 น.

ตอบ หวัดกินฮัดเช๊ย ฮิ้ววววววววว


โดย: Bernadette วันที่: 4 กรกฎาคม 2551 เวลา:13:09:14 น.  

 
สวัสดีครับหนูแบร์ฯ ข้อมูลเยอะมาก ยังอ่านไม่จบ ซิมโฟนี่หมายเลข 5 เลข 9 นี่พอรู้เหมือนกัน เพิ่งรู้สาเหตุหูพิการของเขานะนี่
คุณหนูแบร์ฯ เวลาไปเมนท์เพื่อนๆ อารมณ์ดีจังนะครับ แต่ผมว่า คงเป็นคนจริงจังมากเลย บล็อคแต่ละบล๊อคนี่ ตั้งใจทำมากเลย


โดย: dj booboo วันที่: 5 กรกฎาคม 2551 เวลา:0:30:51 น.  

 
สวัสดีครับหนูแบร์ฯ ข้อมูลเยอะมาก ยังอ่านไม่จบ ซิมโฟนี่หมายเลข 5 เลข 9 นี่พอรู้เหมือนกัน เพิ่งรู้สาเหตุหูพิการของเขานะนี่
คุณหนูแบร์ฯ เวลาไปเมนท์เพื่อนๆ อารมณ์ดีจังนะครับ แต่ผมว่า คงเป็นคนจริงจังมากเลย บล็อคแต่ละบล๊อคนี่ ตั้งใจทำมากเลย



โดย: dj booboo วันที่: 5 กรกฎาคม 2551 เวลา:0:30:51 น.


ตอบ สภาวะทำงานกะเครียดๆๆๆกานนทุกคน พักผ่อนหย่อนจายยงั๊บบบ อยากแบ่งปันฟามรู้กานนงั๊บ ใครมีข้อคิดอารายยย กะแบ่งปันกานนน ได้ฟามรู้เพิ่มงั๊บบบบ

เขียนหลักวิชาการ ตอบหลักวิชาการ เครียดยกกำลังสองงั๊บบ

อย่างพี่เดเจ บางเรื่อง แบร์กะมะรู้เรื่อง แบร์กะได้พี่ดีเจแบ่งปันฟามรู้งั๊บบบ..........ฟามรู้รอบตัวจากเพื่อนๆๆรอบๆๆเยอะจริงๆๆๆๆ......อ่านกะไม่เครียดดดด้วยยย .....หย่อนจายยย ได้ฟามรู้


โดย: Bernadette วันที่: 5 กรกฎาคม 2551 เวลา:8:28:33 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Bernadette
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




In the name of the Father, and of the Son, and of the Holy Spirit

The Ave Maria asks Mary to "pray for us sinners."

Amen

PaPa for all Father W e pray year of priests.



Card Michael Michai Kitbunchu, Archbishop of Bangkok, is the first member of the College of Cardinals from Thailand.

source :http://www.asianews.it/news-en/Michai-Kitbunchu,-first-cardinal-from-Thailand-3038.html

พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู คณะเชนต์ปอล part1

ฺBishop ฟรังซิส เซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พิธีรับPallium Metropolitans Bangkok Thailand >

สารคดี เทศกาลแห่ดาว สกลนคร Welcome
Sakonnakorn Christmas Thailand
Metropolitans Tarae Sakornakorn Thailand


Orchestra and four vocal Choir - *Latin* Recorded for the Anniversary of the Pope Benedict XVI April 19 This is the Anthem of the Vatican City. The Songs are called Inno e Marcia Pontificale ...

We are Catholic.

หน้าเฟส อัพรูป หาที่อัพรูปใหม่อยู่ http://www.facebook.com/bernadette.soubirous.3


MusicPlaylist
MySpace Music Playlist at MixPod.com

Friends' blogs
[Add Bernadette's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.