บล็อกนี้ไม่มี VIP ค่ะ ทุก ๆ คนเป็น VIP อยู่แล้ว เมื่อคลิกเข้ามา
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
22 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
เจาะลึก...หายนะ 'คันกั้นน้ำ'สร้างผิด4กฎ

เจาะลึก...หายนะ 'คันกั้นน้ำ'สร้างผิด4กฎ









พริบตาเดียว...เสียหายทันที 1 แสนล้านบาท
มูลค่าเบื้องต้นหลังน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรม 4 แห่งของอยุธยา
เพื่อไม่ให้สูญเสียมากกว่าเดิม
รัฐบาลสั่งระดมกองกำลังทหารและพลเรือน
สร้าง "พนังกั้นน้ำ"
ป้องกันนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.ปทุมธานี
นานกว่า 2 อาทิตย์ที่รถบรรทุกขนดิน หิน และถุงทราย
ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านถุง ลำเลียงเข้าไปก่อสร้างอย่างเร่งด่วน
แต่สุดท้ายช่วงบ่ายวันที่ 17 ตุลาคม
พนังกั้นน้ำฉุกเฉินสูงเกือบ 6 เมตรของนิคมนวนคร
ก็สไลด์ตัวพังพินาศลงมา
น้ำท่วมทะลักพื้นที่กว่า 1 พันไร่อย่างรวดเร็ว
คนงานและชุมชนที่อาศัยอยู่ด้านใน
วิ่งหนีตายอลหม่าน !!



ล่าสุด 21 ตุลาคม ที่ผ่านมา
ระหว่างอาสาสมัครช่วยกันเรียงกระสอบทราย
ทำแนวกั้นน้ำคลองเปรมประชากร
บริเวณนิคมอุตสาหกรรมบางกระดี
ในที่สุดก็ไม่สามารถต้านทานกระแสน้ำได้
น้ำไหลล้นท่วมโรงงานด้านใน 47 แห่งทันที



หลายคนเริ่มตั้งคำถามว่า
การสร้างพนังกั้นน้ำหรือคันกั้นน้ำถูกวิธีจริงหรือไม่
ทำไมพังทลายอย่างง่ายดาย ?



ศ.ดร.ชัยยุทธ ชินณะราศรี
ผู้เชี่ยวชาญวิศวกรรมแหล่งน้ำ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
แสดงความเห็นว่า
จากรูปภาพ "พนังกั้นน้ำ" และ "คันกั้นน้ำ"
ที่ลงตามสื่อต่าง ๆ นั้น
เห็นชัดว่าเป็นการก่อสร้างชั่วคราว
ทำอย่างรีบร้อนโดยไม่คำนึงถึงหลักโครงสร้างทางวิศวกรรม
และหลักการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
โดยเฉพาะการใช้ดินและถุงทรายมาวางเรียง
เป็นกำแพงสูงหลายเมตรอย่างผิดวิธีนั้น
อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง
ต่ออาสาสมัครยกถุงทรายเหล่านั้นได้
เพราะน้ำที่ไหลบ่าลงมาจากภาคเหนือ
มีมวลพละกำลังมหาศาล



ผู้เชี่ยวชาญข้างต้นอธิบายต่อว่า
"พนังกั้นน้ำ" คือ สิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำขนาดใหญ่
มีความสูงหลายเมตร
ส่วน "คันกั้นน้ำ" คือสิ่งก่อสร้างขนาดเล็กลงมา
เช่น คันดินขนาดเล็กหรือถุงทรายที่วางเรียงกัน
การก่อสร้างเพื่อสู้กับกระแสน้ำนั้น
ต้องคำนึงถึงหลักวิศวกรรม
และไม่ก่อสร้างอย่างตื่นตะหนก
โดยสูตรสำคัญเบื้องต้นคือ
ความลาดด้านหน้าที่สัมผัสน้ำของ "คันกั้นน้ำ"
ต้องเหมาะสมและมีความกว้างด้านหน้าฐานเป็น 2 เท่าของความสูง
ส่วนความกว้างของฐานด้านหลังนั้นต้องกว้าง
อย่างน้อย 1.5 เท่าของความสูง
เพราะวัสดุด้านหน้าที่กระทบน้ำไหล
จะถูกกัดเซาะมากกว่าด้านหลัง
รวมแล้วฐานควรกว้างเป็น 3-4 เท่าของความสูง



"จากรูปพนังกั้นน้ำของนิคมนวนคร
ประมาณได้คร่าวๆ ว่ามีความสูงเฉลี่ย 4 เมตร
ฐานล่างเป็นคันดินก่อนวางถุงทรายด้านบน
แต่ฐานแคบมาก
ดูแล้วกว้างกว่าความสูงไม่มากนักคือ 5 -6 เมตรเท่านั้น
ทำให้โครงสร้างไม่มั่นคงแข็งแรง
หากจะสร้างให้ได้มาตรฐานปลอดภัย
ต้องทำฐานกว้าง 3-4 เท่า
หรือประมาณ 14 เมตร
เปรียบเทียบกับคนที่ยืนขาชิดกัน
กับคนยืนขยับขาให้กว้างออกมา
หากถูกผลักคนที่ยืนขาชิดกันจะล้มลงทันที
เพราะวิธียืนไม่มั่นคง
นอกจากนี้ดินที่นำมาใช้
ไม่ควรมีเศษกิ่งไม้และวัสดุสิ่งแปลกปลอมในเนื้อดิน
เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลซึมผ่านช่องว่างเหล่านี้
เข้าใจว่าเป็นเรื่องฉุกละหุก
ไม่สามารถเก็บเศษแปลกปลอมออกได้หมด
เมื่อเนื้อดินไม่ประสานสนิทดีพอ
พนังกั้นน้ำก็แตกง่ายอย่างที่เป็นข่าว"



ศ.ดร.ชัยยุทธ ชินณะราศรี
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมแหล่งน้ำ
ร่วมกับ ผศ.ดร.อนันต์ ปัจวิทย์
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา ร.ร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้า
จัดทำ "แนวทางก่อสร้างคันป้องกันน้ำท่วมชั่วคราว"
โดยสรุปหลักการหรือกฎเหล็กสำคัญ 4 ข้อ ได้แก่





1. "สร้างเป็นรูปทรงพีระมิด" มีฐานกว้างอย่างน้อย 3-4 เท่าของความสูง แบ่งเป็นความกว้างด้านติดน้ำ 2.5 เท่า ด้านหลัง 1.5 เท่า เช่น คนทั่วไปอยากวางเรียงกระสอบทรายกันน้ำท่วมด้านหน้าประตูบ้าน หากเรียงกระสอบทรายสูง 6 ถุง หรือประมาณ 2 ฟุต ต้องนำถุงทรายมาวางเรียงฐานล่าง 24 ถุง แบ่งเป็นด้านหน้า 15 ถุง ด้านหลัง 9 ถุง

2. "ห้ามมีช่องว่าง" ดินที่ใช้ต้องไม่มีวัสดุแปลกปลอม เพราะเศษกิ่งไม้หรือขยะทำให้เนื้อดินไม่ประสานน้ำซึมไหลผ่านได้ เมื่อน้ำไหลผ่านจะเกิดแรงพลศาสตร์เพิ่มขึ้น บวกกับแรงดันสถิตทำให้ช่องว่างใหญ่จนคันกั้นน้ำแตก จากช่องว่างไม่กี่เซนติเมตรจะขยายกว้างเป็นร้อยเมตรภายในไม่กี่ชั่วโมง ทำให้ขนของหนีน้ำไม่ทัน นอกจากนี้ควรก่อสร้างบนพื้นดินแน่น หรือบนคันดินเดิม และบดอัดดินให้แน่นเป็นชั้น สูงไม่เกินชั้นละ 20 เซนติเมตร

3. "สร้างขนานทิศทางไหลของน้ำ" การวางถุงทรายหรือคันดินควรสร้างขนานกับทิศทางการไหลของน้ำ และมีความสูงกว่าระดับน้ำที่กำลังท่วมอย่างน้อย 30 เซนติเมตร แนะนำให้ใส่ทรายแค่ครึ่งถุง เพื่อให้ถุงทรายปรับรูปร่างได้ตามสภาพที่ถูกกดทับ วางปากถุงไว้ด้านในที่ไม่ถูกน้ำ

4. "วางสลับฟันปลา" การวางถุงทรายหรือการก่ออิฐบล็อกชั่วคราวที่ประตูบ้าน ต้องวางแบบสลับฟันปลา เพื่อเสริมกำลังต้านทาน





ศ.ดร.ชัยยุทธ กล่าวสรุปอย่างน่าสนใจว่า เหตุการณ์คันกั้นน้ำหลายแห่งพังพินาศลงนั้น เนื่องจากหน่วยงานรัฐและเอกชนที่รับผิดชอบการก่อสร้างไม่ปรึกษาวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง การสร้างคันกั้นน้ำที่ไม่ได้มาตรฐานนั้น นอกจากป้องกันน้ำท่วมไม่ได้และเป็นอันตรายต่อประชาชนแล้ว ยังทำให้ประเทศชาติสูญเสียงบประมาณมหาศาลด้วย เพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นทุกปี รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีผู้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างเพื่อป้องกันภัยพิบัติน้ำอย่างจริงจัง






ขอขอบคุณที่มาของข่าวค่ะ

//www.komchadluek.net/detail/20111022/112537/เจาะลึกคันกั้นน้ำสร้างผิด4กฎ.html




Create Date : 22 ตุลาคม 2554
Last Update : 22 ตุลาคม 2554 14:36:47 น. 2 comments
Counter : 1325 Pageviews.

 
อ่านแล้วอึ้งค่ะ


โดย: AdrenalineRush วันที่: 22 ตุลาคม 2554 เวลา:15:45:27 น.  

 
คงจะสร้างพนังกั้นน้ำแบบชั่วคราว
แถม ทำแบบทำไปก่อน คงจะคิด
อะไรไม่ออก.

เพราะตามปกติแล้วผมเห็นพนัง
แถวเรือกสวน เวลาทำจะทำไว้
ฐานใหญ่ ทำก่อนน้ำจะมา พอ
ทำเสร็จยังใช้ไม้ไผ่ตอกลงไปบน
พนัง สลับฟันปลา เผื่อกันดิน
สไลค์. ปีแรกเขาทำไปอย่างนั้น
เอง เขากะว่าจะกันน้ำได้ในปีที่
3 เพราะดินมันแน่นแข็ง

เวลาน้ำมามันจะไม่ "หัก" เขาใช้
คำแบบนี้ ผมว่าคน "บางเลน" จะ
ชำนาญในทำ พนังกั้นน้ำ

เอ...พิมพ์ไปเยอะแล้ว เดี๋ยวขอ
ออกไปดู นอกบ้านก่อน น้ำจะมา
ถึงหรือยัง 555 เสียวจริง ๆ


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 23 ตุลาคม 2554 เวลา:5:14:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add 's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.