แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
<<
ธันวาคม 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
15 ธันวาคม 2549
 
 
หมอลาออกปีละเกือบพันคน.....เกิดอะไรขี้นกับหมอ???

ข่าวจาก น.ส.พ.คมชัดลึก วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2549

ปลัด สธ.เผยหมอถอดใจลาออกปีละ 800-1,000 คน เหตุงานหนักแถมกดดันถูกคนไข้ร้องเรียน

จัด 4 โครงการตั้งเป้าภายในปี 2553-2562
ผลิตหมอจบใหม่กว่า 22,000 คน

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ที่โรงแรมทวินโลตัส อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช



น.พ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทระหว่าง สธ.และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์และกระจายแพทย์สู่ชนบทให้เหมาะสม ซึ่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
จะเปิดรับนักศึกษาแพทย์ รุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2550 จำนวน 48 คน
เป็นนักศึกษาแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท 32 คน และ
โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน 16 คน

น.พ.ปราชญ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีแพทย์ตามโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค 18,900 คน
เฉลี่ยแพทย์ต่อประชากร 1 ต่อ 3,305 คน
หากเปรียบเทียบรายภาค
แพทย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรับภาระมากที่สุด แพทย์ 1 คนต้องดูแลประชากร 7,466 คน
ขณะที่มีแพทย์ทำงานอยู่ในสถานพยาบาลสังกัด สธ.เพิ่ม 9,300 คน แนวโน้มทำงานหนักมากขึ้น เมื่อเทียบกับปริมาณงานและความรับผิดชอบที่สูงกว่าอาชีพอื่นๆ

"การเรียนที่หนักและนานถึง 5-6 ปี ทำให้ปัจจุบันเยาวชนรุ่นใหม่สนใจเข้าเรียนแพทย์น้อยลงไปมาก และแพทย์หลายคนยังถูกกระแสสังคมกดดัน มีปัญหาถูกร้องเรียนจากการรักษาเกิดขึ้นเกือบทุกวัน ทำให้แพทย์แทบจะหมดขวัญกำลังใจในการทำงาน ลาออกปีละ 800-1,000 คน บางจังหวัดขาดแคลนแพทย์ถึงร้อยละ 50 แม้รัฐบาลได้ให้การดูแลสวัสดิการ โดยเพิ่มค่าเสี่ยงภัยในจังหวัดชายแดน ค่าวิชาชีพแล้ว ขณะที่มีแพทย์จบใหม่ปีละประมาณ 1,200 คน" ปลัด สธ. กล่าว


น.พ.ปราชญ์ กล่าวอีกว่า การแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ นอกจากจะผลิตในระบบปกติปีละ 1,000 คนแล้ว
ในปี 2547-2556 ผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นอีกปีละไม่น้อยกว่า 1,200 คน มีแผนรับนักศึกษาแพทย์รวม 4 โครงการ โดยผลิตในสถาบันสังกัด
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงกลาโหม และ
กรุงเทพมหานคร 2 โครงการ
ได้แก่ แผนรับนักศึกษาแพทย์ปกติของสถาบันผลิตแพทย์ปีละ 1,032 คน

แผนเร่งรัดผลิตแพทย์เพิ่มของสถาบันผลิตแพทย์ ปีละ 521-734 คน

ส่วนอีก 2 โครงการเป็นการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทของ สธ.ได้แก่
โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทตั้งแต่ 2538-2549 จำนวน 3,000 คน และ
โครงการเร่งรัดผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ตั้งแต่ปี 2547-2556 จะผลิตได้ 3,807 คน หากรวม 4 โครงการจะมีแพทย์จบใหม่ในระหว่างปี 2553-2562 ได้ถึง 22,242 คน ซึ่งเป็นการผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เมื่อเทียบกับจำนวนแพทย์ที่มีอยู่ประมาณ 27,000 คน

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ตั้งแต่ พ.ศ.2548-2556 รวม 9 ปี จำนวน 3,232 ทุน และเงื่อนไขทำสัญญาปฏิบัติงานชดใช้ทุน 12 ปี หรือชดใช้เงิน 2 ล้านบาท ในกรณีที่ผิดสัญญา
.........................................................................

ผมคิดว่าที่หมอลาออกเพราะไม่มีการวางคนให้เหมาะกับงาน

"Put The Right Man to The Right Jobs"

นำแพทย์เฉพาะทางไปอยู่ร.พ.อำเภอ เพียงอำเภอละคนเดียว ต้องรับปรึกษาตลอดทุกวันทุกเวลา เวลาทำงานก็ต้องตรวจทุกแผนกไม่ใช่เฉพาะแผนกที่ตนเรียนเฉพาะทางมา เช่น

เรียน เฉพาะทางมาทางกุมารแพทย์ เพื่อหนีงาน ผ่าตัด แต่ถ้ามาอยู่ ร.พ.อำเภอ จะดูเฉพาะ เด็กอย่างเดียว ก็ไม่ได้ต้องช่วยกันดูคนไข้ที่มาหาทุกคน ต้องอยู่เวร ถ้ามีคนไข้ต้องผ่าตัดก็ผ่าไม่ได้ จะปรึกษาศัลยแพทย์ ที่มีอยู่เพียงคนเดียว ก็ เป็นการรบกวน แพทย์ศัลยกรรม ที่มีเพียงคนเดียวซึ่งตอนเช้าต้องมาช่วยดูคนไข้ด้วย กลายเป็น

แพทย์ทุกคนเครียดโดยถ้วนหน้า แทน ที่จะมีความสุขในการทำงาน จึงลาออกกันตามข่าว

ขอเสนอว่าถ้า ทำให้ ร.พ.อำเภอ มีเฉพาะ แพทย์ทั่วไป จบมา จากการเรียนแพทย์ เพียง 6 ปี ปริญญา แพทย์ศาสตร์บัณฑิต สามารถดูแล คนไข้ได้ทั้งหมด เพราะ ผ่านการเรียนมาทุกแผนก แล้ว ถ้าเกินความสามารถ ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่ ที่มาหา จะเพิ่งเริ่มป่วย ที่เกินความสามารถต้องส่งต่อ น้อยมากแทบไม่ต้องส่งต่อ อ่านดูตามหนังสือมักประมาณ ว่า น้อยกว่า 10 % น่าจะลองทำวิจัย ที่ ร.พ.อำเภอ ดู แต่ความรู้สึกที่ผมเป็นแพทย์อยู่ ร.พ.อำเภอ มา 26 ปี พบว่าผมรักษาได้เกือบหมด น้อยมากจะส่งต่อ

การนำแพทย์เฉพาะทางมาอยู่ที่ ร.พ.อำเภอจะมีงานเฉพาะทางให้ทำน้อยมาก ต้องตรวจคนไข้ทุกแผนกช่วยกัน กลายเป็นใช้คนไม่ตรงกับงาน น่าจะนำแพทย์เฉพาะทาง ที่อยู่ ร.พ.อำเภอ ที่เรียนมาแล้ว เกือบทุกอำเภอมี อยู่แผนกละ 1 คน

ถ้าเชิญชวนให้กลับไปทำงานเฉพาะทางใน ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์ น่าจะเหมาะสมกว่า อยู่ ร.พ.อำเภอ และ ตำแหน่งที่ว่างก็ให้แพทย์จบใหม่ มาอยู่ทำงาน ด้านเวชปฏิบัติทั่วไป ที่ ร.พ.อำเภอ เท่านั้น ไม่ต้องไปอยุ่ร.พ.จังหวัดเพิ่มพูนความสามารถ เหมือนที่ให้แพทย์จบใหม่ มาอยู่ ร.พ.อำเภอต้องไปอยู่ร.พ.จังหวัดเพิ่มพูนวิชา

น่าจะให้เป็นความสมัครใจมากกว่าการบังคับให้ไป ตามที่เป็นอยู่ แพทย์จะมีความสุข ได้ เลือก ทำงานที่ตนอยากทำ อยากเป็นแพทย์ด่านแรก ทำงานที่ ร.พ.อำเภอ และ มาตรวจคนไข้นอก ที่สถานีอนามัย หรือ เมื่อมีเกณฑ์ครบ จะได้รับการเปลี่ยน เป็น ศูนย็สุขภาพชุมชน (สถานพยาบาลด่านแรก) ที่มีคุณภาพ แพทย์ออกตรวจ 15 ชั่วโมง ต่อ สัปดาห์ หรือ มาตรวจทุกเช้า 5 วัน ๆ ละ 3 ชั่วโมง

แพทย์จบใหม่ ที่อยากทำงานด่านแรก ก็มาอยู่ร.พ.อำเภอ ตรวจคนไข้ทั่วไป คนไข้นอก ที่ใกล้บ้าน คนไข้ ที่สถานีอนามัย หรือ ในอนาคตจะต้องกลายเป็น

ศุนย์สุขภาพชุมชน



ก็ให้เลือกอยู่ไม่ต้องไป ร.พ.จังหวัดเพิ่มพูนวิชา เพราะ ถ้าเลือกอยู่ ร.พ.อำเภอแล้วไม่จำเป็นต้องทำงานยาก ๆ เหมือน ร.พ.จังหวัด ก็ให้อยู่ไปตลอด น่าจะเหมาะสมกว่า พออยู่ได้ 5 ปี ก็สามารถสอบอนุมัติบัตร เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ได้ ซึ่ง ราชวิทยาลัยเวชศาสตร์ครอบครัว ได้เปิดสอบอนุมัติบัตร ให้แพทย์ ที่ทำงานครบ 5 ปี เข้ามาสอบได้ โดยการเข้ามาอบรมระยะสั้น ก่อนสอบ หรือ ลงทะเบียนเรียนทางไกล เอง ไม่ต้องเข้ามาอบรม ก็ได้

แพทย์ท่านใดจบใหม่ เมื่อมาอยู่ ร.พ.อำเภอ แล้ว อยากเป็นแพทย์เฉพาะทางก็ให้มาเพิ่มพูนทักษะตามต้องการ ไม่ต้องมีการกำหนดให้มา แพทย์ทุกคนจะมีความสุข และ แพทย์ที่ลาออกถ้าทราบข่าวการจัดแพทย์เป็นรูปเครือข่าย ให้ได้เลือกตามความสมัครใจ จะทำให้แพทย์ที่ลาออก กลับเข้ามาทำงาน ร.พ.ทางราชการเพิ่มขึ้นได้ แน่นอน ไม่ต้องไปรอ ผลิต แพทย์เพิ่มต้องรออีก 6 ปี




Create Date : 15 ธันวาคม 2549
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2550 21:35:46 น. 5 comments
Counter : 1073 Pageviews.

 
เป็นปัญหาลูกโซ่กันไป
หมอทำงานหนักเลยมีรักษาผิดพลาดกันบ้าง

มัคนร้องเรียน หมอกดดัน ลาออก
หมอน้อย ทำงานหนัก ที่เหลืออยู่เครียด

โอ๊ยยย
จะบ้าตาย



โดย: DiamondTom วันที่: 15 ธันวาคม 2549 เวลา:12:56:53 น.  

 
เคยมีคนใกล้ตัวเป็นหมอ
ที่ลาออก หลักๆก็เพราะระบบราชการ
เงินไม่เท่าเอกชน แถมงานก็เครียด
เราไม่รู้หมอคนอื่นคิดยังไง
แต่อดีตคนใกล้ตัวเราเค้าว่างั้นนะ...


โดย: Osaka girL วันที่: 15 ธันวาคม 2549 เวลา:15:59:01 น.  

 
เรายังมะทันฟ้องเลยอ่ะ หมอรีบถอดใจซะแล้ว

เราคิดตรงนี้เหมือนกัน หมอทำงานหนัก เพื่อรักษาดูแลชีวิตคนไข้ บางท่านตั้งใจที่จะทำให้ดีที่สุดเพื่อช่วยชีวิตคนไข้ แต่เกิดความผิดพลาดขึ้น ซึ่งบางสิ่งบางอย่างหมอเองก็ไม่อาจคาดคิด และไม่ได้อยากให้เกิดความผิดพลาด

แต่หมอมีน้อยกว่าจำนวนคนไข้ ทำให้การดูแลคนไข้ไม่ทั่วถึง ความผิดพลาดหลายๆอย่างจึงเกิดขึ้น เพียงแต่ว่าสิ่งที่หมอต้องรับผิดชอบคือชีวิตคนไข้ทั้งชีวิต

การผิดพลาด จึงหมายถึงทั้งชีวิตคนไข้ต้องสูญเสียไป คนไข้บางคนที่โชคดีหน่อยก้อจะกลายเป็นอัมพาตตลอดชีวิต ส่วนที่โชคร้ายอาจจะต้องตาย

อย่างเราสมองขาดอ๊อกซิเจนเกลือบครึ่ง ต้องนอนเป็นเจ้าหญิงนิทราอยู่หลายเดือน มีแต่คนถามเราว่าทำไมเราไม่ฟ้องร้อง แต่อยากให้หลายๆคนคิดดูว่า หมอหลายท่านรักษาคนไข้ด้วยจิตวิญญาญ หมอต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยดีที่สุด แต่หลายสิ่งหลายอย่างที่คาดการณ์ไม่ได้เกิดขึ้นอยู่เสมอ

แต่เราขอลงความเห็นตรงนี้ว่า มีหมอบางท่าน (ส่วนน้อย) ที่รักษาคนไข้เหมือนการทำธุรกิจ และมีหมออีกมากมายที่รักษาคนไข้ด้วยจิตวิญาณ ...

ไม่มีใครสามารถตัดสินใครว่าผิดหรือถูกได้ กรรม และการกระทำเท่านั้นที่จะบอกว่าสิ่งไหนถูกสิ่งไหนผิด ทุกชีวิตดำเนินไปตามกรรม กรรมคือผู้กำหนด...


โดย: กรวี (กรวี ) วันที่: 15 ธันวาคม 2549 เวลา:16:40:33 น.  

 
หมอทำงานหนักเนื่องจากคนไข้มากขึ้นทุกวัน บางครั้งแทบไม่มีเวลาพักทานข้าว คนไข้ที่รพ.แม่สอดเยอะมากค่ะ ทั้งพม่า กะเหรี่ยง หมอที่นี่ทำงานหนักมาก แต่น่ารักเกือบทุกคนค่ะ ^__^

หนูเป็นพยาบาลอยู่ ER รพ.แม่สอดค่ะ :)))

ยินดีที่ได้รู้จักคุณหมอนะคะ


โดย: random-4 วันที่: 15 ธันวาคม 2549 เวลา:17:25:35 น.  

 
บล็อคคุณหมอ สีหวานมั่กมาก


โดย: iiou104 (1104 ) วันที่: 15 ธันวาคม 2549 เวลา:19:26:44 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samrotri
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน
ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ร.พ.พนมสารคาม และ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โทรฯ 0896112714
[Add samrotri's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com