แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
 
กรกฏาคม 2552
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
22 กรกฏาคม 2552
 
 

"นำ สาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter มาให้พวกเราร่วมขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น"



ขอนำเรื่องที่องค์การอนามัยโลกต้องการให้ประเทศสมาชิก

มีประชากรที่แข็งแรง มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ

มีการเข้าถึงบริการได้ทั่วถึง และ

เป็นบริการที่มีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนทั้งโลกมี สุขภาพดี

ไม่เจ็บป่วยง่าย ด้วย

การสาธารณสุขมูลฐาน

เริ่มทำเมื่อปี 2529 จนถึง ปัจจุบัน ปี 2552 ผ่านมา 23 ปีแล้วแต่ยัง

ไม่บรรลุความสำเร็จ ประชาชน ยังอ่อนแอ

เชื้อโรครุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ การเข้าถึงบริการ

ยังเข้าถึงยาก และ ไม่มีคุณภาพ

ยังมีการฟ้องร้อง กันให้เห็นประจำ


จึงขอนำเรื่องการสาธารณสุขมูลฐานมาให้พวกเราได้รู้

ถ้าเห็นดีด้วย พวกเราจะได้ช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นในประเทศเรา

จากหลักการทางระบาดวิทยา การเกิดโรค

เกิดจากการเสียสมดุลย์ของ ปัจจัย 3 อย่าง คือ

1.Host คือ ประชาชน อ่อนแอ ทำให้ป่วยง่าย และ

มีโรคแทรกซ้อนรุนแรง

ถ้าแข็งแรง จะป่วยยาก ป่วยแล้วเป็นไม่รุนแรง

ไม่มีโรคแทรกซ้อนหายเร็ว

2.Agent คือ สิ่งที่ทำให้เกิดโรค จะรุนแรง

ถ้าได้รับการรักษาช้า การรักษาไม่ถูกต้อง ไม่มีคุณภาพ

สิ่งที่ทำให้เกิดโรคจะรุนแรง

ถ้าตรงกันข้าม ได้รับการรักษาที่มีคุณภาพที่เข้าถึงได้ง่าย

ใกล้บ้าน ใกล้ใจ

สิ่งที่ทำให้เกิดโรค ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ

จะไม่รุนแรง หายง่าย

3.Environment คือ สิ่งแวดล้อม

ถ้าสุขาภิบาลไม่ดี จะทำให้ป่วยง่าย

ถ้าสุขาภิบาลดี จะเกิดโรคได้ยาก และ การกระจายโรคยาก

ไม่ระบาดรุนแรง

การสาธารณสุขมูลฐาน นี้จะทำให้ปัจจัยทั้ง 3 อยู่ในเกณฑ์ ที่ดี

ทำให้สุขภาพร่างกายประชาชนแข็งแรง


เริ่มต้น ในปี พ.ศ.2529 หรือ ปี ค.ศ.1986 มีการประชุม

องค์การอนามัยโลก : WHO เพื่อหาวิธีการทำให้ชาวโลกสุขภาพดี

ได้พบ กลวิธีที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ ที่เมือง Ottawa

ประเทศ Canada ได้ข้อสรุป

“ Ottawa Charter ”



เรื่อง “การสาธารณสุขมูลฐาน” หรือ “ Primary Health Care : PHC”

//www.swu.ac.th/royal/book6/b6c2t2.html

//www.who.int/healthpromotion/conferences/previous/ottawa/en/

โดยให้แต่ละประเทศไปดำเนินการให้สำเร็จ

ประเทศไทยกำหนดตัวชี้วัดความก้าวหน้า

ของงานสาธารณสุขมูลฐาน 4 ข้อ ดังนี้ คือ

1.การที่ทุกคนได้มีสิ่งจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)

ที่จำเป็นต่อชีวิต ตามเกณฑ์พื้นฐานทุกคนถ้วนหน้า


ซึ่งแต่ละกระทรวง ที่เกี่ยวข้อง รับไปดำเนินการ

ยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีความสุขมีกินมีใช้

พอเพียงก่อน จึงเริ่มลงทุนด้วยเงินที่มีไม่กู้หนี้ยืมสินโดยไม่จำเป็น

ซึ่งจะแก้ปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 ตัวทางระบาดวิทยาได้

2.การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการมีสุขภาพดี

เช่น

2.1 -ประชาชนในหมู่บ้านอาสาสมัคร มาเป็น

"อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน"(อสม.)

เพื่อทำหน้าที่ช่วยงานสาธารณสุขด้วยการเข้ารับ

การอบรมความ รู้จาก ร.พ.หรือ สถานีอนามัย

เพื่อนำความรู้ไปเผยแพร่ ตามอุดมการณ์ของ อสม.

คือ

"แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงาน

สาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี"

2.2 -การที่ประชาชนยินดีเข้าร่วมชมรมสร้างสุขภาพ

ประจำหมู่บ้าน ซึ่งมี อสม.แต่ละหมู่บ้าน เป็นแกนนำ

โดย มี ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งเปลี่ยนมาจาก

สถานีอนามัยเดิม ภายในอำเภอนั้น เป็นพี่เลี้ยง

ให้ความช่วยเหลือตามที่ ต้องการ

2.3 -ประชาชนร่วมปฏิบัติตัว เพื่อให้มีสุขภาพดี

ตามสุขบัญญัติ 10 ประการ ของ กรมอนามัย

//www.tkc.go.th/eng/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=140&directory=2783&contents=2670

2.4 -การที่ประชาชนเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดี

ด้วยการเสนอสภาพบังคับด้วยการเสนอออกกฏหมาย ทางเวบ

//ilaw.or.th/

ถ้าเป็นไปได้ ด้วยการช่วยกัน เสนอ สมาชิกสภา

ผู้แทนราษฎร(สส.)ให้ออก

กฏหมายให้ผู้ไม่ปฏิบัติตัวให้มีสุขภาพดี

ต้องร่วมจ่ายค่ารักษาด้วยบางส่วน เช่น 20%

ของค่ารักษา เพื่อเป็นการเพิ่มเงินให้กับการรักษา

และ ยังเป็นการเตือนให้ผู้ไม่ดูแลสุขภาพ

จะได้ฉุกคิดไม่อยากจ่ายร่วมค่ารักษาต้อง

เปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้อง และ ป่วยน้อยลง

เงินที่เพิ่มขึ้นนี้ สามารถนำมาตรวจร่างกายให้

ประชาชน ฟรี ได้ปีละครั้ง

ตามแนวทาง การป้องกัน ดีกว่า การรักษา

ในประเทศอเมริกามี กฏระเบียบ ให้ผู้ไม่ปฏิบัติตัว

เพื่อการมีสุขภาพดี เช่น สูบบุหรี่ อ้วน ฯลฯ

ต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วย


ตามที่ นายกแพทยสภา ศ.น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา

ไปเห็นมาที่เวบ.....

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=06-2007&date=24&group=1&gblog=11

3.การเข้าถึงสถานบริการได้สะดวก เข้าถึงได้ง่าย โดยถ้วนหน้า

-ประเทศเราได้มีสถานีอนามัยอยู่ทุกตำบล ใกล้บ้าน

ใกล้ใจ ประชาชนทุกแห่งแล้ว

ถ้าพัฒนาเป็นสถานพยาบาลด่านแรกที่มีแพทย์

ออกตรวจเพื่อพัฒนาให้มีคุณภาพ จนได้รับมาตรฐานเป็น

ศูนย์แพทย์ชุมชน จนถึง ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล

มีแพทย์ประจำรับผิดชอบ ให้บริการประจำช่วงเช้า

ทุกวันราชการ ช่วงบ่ายกลับมาดูผู้ป่วยใน ที่ ร.พ.

และ รับปรึกษาจากศูนย์แพทย์ทางโทรศัพท์มือถือ

ในเวลา ส่วน นอกเวลา ปรึกษาแพทย์เวร ร.พ. หรือ

เรียก รถฉุกเฉิน 1669 มารับไปรักษาในที่ที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง

"ยกบริการปฐมภูมิออกนอก ร.พ.เพื่อลดคนไข้ที่ไม่จำเป็นต้องมา

ให้รักษาที่ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล"


//www.cmadong.com/board/index.php/topic,3201.0.html

4.การมีสถานพยาบาลที่ให้บริการอย่างมีคุณภาพ ทุกระดับ

โดยมีเอกสารอ้างอิงการรักษา ให้แพทย์ร่วมกันเขียนขึ้น ให้

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ ร.พ.

//www.ha.or.th/m_06_02.asp

ให้การรับรองว่า เป็นเอกสารคุณภาพ ใช้อ้างอิงได้

ทำให้การรักษาพยาบาล เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ตามเอกสารอ้างอิงที่ได้รับการรับรอง

แพทย์ , ผู้เข้ารับการรักษา , ญาติผู้ป่วย ตลอดจน

ผู้พิพากษา ในศาล ใช้อ้างอิงได้

เมื่อเกิดการรัองเรียนเรื่องรักษาไม่มีมาตรฐานจะได้ใช้ตรวจสอบ

โดยใช้เอกสารอ้างอิงการรักษานี้

ปัจจุบัน มีสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ ทำหน้าที่นี้ ได้แก่

4.1 ระดับสถานีอนามัย เรียกว่า

“สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานีอนามัย”

: Health Center Accreditation:HCA

4.2 ระดับโรงพยาบาล เรียกว่า

”สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล”

: Hospital Accreditation : HA

ดังนั้น สถานพยาบาลทุกระดับ ต้องผ่านขบวน

การพัฒนาและรับรองคุณภาพ ให้ผ่านเกณฑ์

จนได้ใบประกาศรับรอง ให้ผู้ใช้บริการมั่นใจ

ในคุณภาพการบริการ ลดความผิดพลาดในการ

รักษา ทำให้ประชาชนพึงพอใจการฟ้องร้องลดลง



ปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศให้ถูกต้อง

มีการดูแลรูปเครือข่าย 3 ระดับช่วยเหลือกัน

มีสถานพยาบาลด่านแรก คือ

ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล มีแพทย์ประจำครอบครัว

ที่ทำงาน 2 สถานที่ คือ

1. สถานีอนามัย ซึ่งจะพัฒนาเป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล

ดูแลคนไข้นอก เดินเข้ามาตรวจ

2. ร.พ.อำเภอ ดูแลคนไข้ในที่ส่งต่อมาจาก ร.พ.ตำบล

ที่ตนเองส่งมานอนรักษา

เพราะ ป่วยควรนอน ร.พ.แต่ไม่ป่วยถึงกับต้อง

พบแพทย์เฉพาะทาง ที่ ร.พ.จังหวัด


ผมโพสท์ไว้ในเวบบอร์ด สุขภาพและความงาม ข้างล่าง

//www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html

นำมาไว้ที่ บอร์ด พูดคุยประสาพี่น้อง ด้วยเพื่อให้พวกเราพี่น้องได้ อ่าน

จะรู้สึกยากที่จะทำให้ การสาฐารณสุขมูลฐาน เกิดขึ้น

เหมือนการเขยื้อนภูเขา ผ่านมา 23 ปีแล้ว

แต่ยังทำไม่สำเร็จ อาจเพราะ ไม่มีการสื่อสารกันเหมือนสมัยนี้

ที่มีเวบบอร์ด สื่อสารกันเช่นปัจจุบัน

ผมจึงขออนุญาต ใช้สื่อซีมะโด่ง เวบบอร์ดของพวกเรานี้

เสนอวิธีช่วยขับเคลื่อน ให้พวกเราอ่าน

ถ้าเห็นด้วยจะได้ช่วยกันโดยใช้

สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของ ศ.น.พ.ประเวศ วะสี

โดยขอให้พวกเรา ช่วยในด้านใดด้านหนึ่ง หรือ ทุกด้าน ของสามเหลี่ยม

เพื่อให้เกิดการแก้ไข ซึ่งควรจะทำให้สำเร็จตั้งแต่ปี 2529

ช้ามา 23 ปีแล้ว แต่ถ้าทำสำเร็จ ก็ยังดีกว่า ไม่ทำอะไรเลย เช่น

การที่ประชาชนเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดี

ด้วยการเสนอสภาพบังคับด้วยการเสนอให้ออกกฏหมาย

ให้คนไม่ดูแลสุขภาพต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล 20%

ของค่าใช้จ่าย เพื่อเพิ่มเงินให้สถานบริการสุขภาพ

และ เตือนให้ผู้ไม่ปฏิบัติตัวต้องปฏิบัติตัว เพราะ

ไม่อยากเสียค่าบริการ

ผลทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น ค่ารักษาพยาบาลก็จะลดลง

เงินที่ได้เพิ่มขึ้นจะได้นำมาตรวจสุขภาพประชาชนฟรีได้ปีละครั้ง

เมื่อรู้ว่ามีอะไรผิดปรกติ จะได้รีบดูแลแก้ไขให้ถูกต้อง

ตามแนวทางการดูแลสุขภาพดีกว่าปล่อยให้ป่วยแล้วมารักษา


เวบไซด์ ilaw ที่ข้างล่าง ร่วมเสนอกฏหมายได้

//ilaw.or.th/

สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา

ดูรายละเอียดเพิ่ม ที่

"การแก้ปัญหาสังคมที่ยากๆด้วยแนวทางสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา"

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=01-2007&date=14&group=14&gblog=8

ประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ ใช้การสาธารณสุขมูลฐาน

ประสบความสำเร็จ ทำให้ประชาชนสุขภาพดี

โดยเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าประเทศที่ไม่ใช้

ที่เวบบ์

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4










 

Create Date : 22 กรกฎาคม 2552
1 comments
Last Update : 27 สิงหาคม 2552 14:06:49 น.
Counter : 17518 Pageviews.

 

ขอบคุณครับ

 

โดย: Polball 14 กุมภาพันธ์ 2554 13:18:40 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 

samrotri
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน
ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ร.พ.พนมสารคาม และ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โทรฯ 0896112714
[Add samrotri's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com