แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
เวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน
คนคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการบริหารจัดการ
ข่าวสุขภาพที่น่าสนใจ
เรื่องสัพเพเหระที่น่าสนใจ
เรื่องแปลกที่น่าสนใจ
ที่พักข้อมูลไว้เพื่อนำมาลงต่อไป
ข่าวสุขภาพที่น่าสนใจ1
เรื่องสัพเพเหระที่น่าสนใจ1
ข่าวสุขภาพที่น่าสนใจ2
คนคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการบริหารจัดการ 1
กลุ่มเรื่องที่น่าสนใจ
เอกสารประกอบการสอน
ข่าวการเมืองที่น่ารู้และควรติดตาม
คนคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการบริหารจัดการ2
เรื่องสัพเพเหระที่น่าสนใจ2
รวมข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ที่น่าสนใจ
ข่าวสุขภาพที่น่าสนใจ3
เรื่องแปลกที่น่าสนใจ2
KAP:K-Knowledge,A-Attitude,P-Practise
ชมรมจริยธรรม ร.พ.พนมสารคาม
ข่าวการเมืองที่น่ารู้และควรติดตาม2
<<
เมษายน 2550
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
6 เมษายน 2550
ตัวอย่างแพทย์ด่านสามแสดงความสามารถ"หมอไทยเก่ง ผ่าแยกแฝด "
"นำ สาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter มาให้พวกเราร่วมขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น"
"ยกบริการปฐมภูมิใน ร.พ.ไปให้บริการใกล้บ้าน ที่สถานีอนามัย(ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล)เพื่อเป็นด่านแรก"
"ทางดีไม่มีคนเดิน" ขอเสนอบทความ" กลวิธีในการทำให้คนมาเดินในทางดีได้"
"รพ.รามาฯเปิดศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองแห่งแรกลดความแออัดภายใน"
"แพทย์ไม่พอ และ ทำงานหนัก จริงหรือ"
"แก้แออัดผู้ป่วยโรงพยาบาลใหญ่ หมอมงคล ร.ม.ต.สาธารณสุข เพิ่มหน่วยตรวจคนไข้นอก"
"วินิจฉัยโรคได้อย่างไร,ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ,ร.พ.คุณภาพ และ การดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย คือ อะไร"
สถานพยาบาลด่านสามเร่งพัฒนางานโรคหัวใจและหลอดเลือดให้มีอยู่ทั่วประเทศ
"สาส์นจากนายกแพทยสภา"การมีส่วนรวมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย"
"การดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย คือ อะไร"
ตัวอย่างแพทย์ด่านแรก แสดงความสามารถจนได้รับการยกย่องเป็น"แพทย์ชนบทดีเด่นประจำปี2549 "
ตัวอย่างแพทย์ด่านสามแสดงความสามารถ"หมอไทยเก่ง ผ่าแยกแฝด "
"แนะนำแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน"แพทย์ด่านแรกที่จะแก้ปัญหาสุขภาพของชาติได้???
การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้นที่อังกฤษ และ ฟินแลนด์ พึ่งระบบPrimary health careมากประมาณ90%ของงาน
เวชศาสตร์ครอบครัวกับการปฏิรูปสุขภาพแห่งชาติ
จุดประสงค์ของการแบ่งการดูแลสุขภาพ เป็น รูปเครือข่าย สามระดับ
ตัวอย่างแพทย์ด่านสามแสดงความสามารถ"หมอไทยเก่ง ผ่าแยกแฝด "
ข่าวจาก น.ส.พ.ไทยรัฐ [วันศุกร์ที่ 6 เม.ย. 50 - 04:27]
ที่โรงพยาบาลศิริราช (ร.พ.ด่านสาม ในการดูแลสุขภาพในรูปเครือข่าย 3 ระดับ ที่จะร่วมมือดูแลสุขภาพประชาชน ให้ได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยใช้สิทธิรักษาฟรี ได้ถ้าอยู่ในเงื่อนไขการส่งต่อที่ถูกต้อง) ตามลิงค์ข้างล่างจุดประสงค์การดูแลสุขภาพเป็นรูปเครือข่าย 3 ระดับ
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=09-2006&date=30&group=1&gblog=3
เมื่อวันที่ 5 เม.ย. โดย
ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช
เป็นประธานนำทีมแพทย์แถลงข่าว
ศิริราชประสบความสำเร็จผ่าตัดแยกแฝดสยามที่มีหัวใจและตับติดกัน รอดชีวิตทั้งคู่เป็นครั้งแรกของโลก
โดย ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกลกล่าวว่า ขณะนี้ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับประเทศไทย เนื่องจากทีมแพทย์ของศิริราชได้ผ่าตัดช่วยชีวิตเด็กฝาแฝดเพศหญิงที่มีลำตัว หัวใจ และตับติดกันเป็นผลสำเร็จ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะที่ผ่านมาการผ่าตัดในลักษณะของฝาแฝดส่วนใหญ่มักจะไม่รอดชีวิต หรือรอดชีวิตเพียงคนเดียว ที่สำคัญไม่ได้มีกรณีที่มีหัวใจ ตับติดกัน และจากการสืบค้นรายงานทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ที่มีอยู่ในโลก
ปัจจุบันพบว่ายังไม่เคยมีการยืนยันความสำเร็จเหมือนกับกรณีที่คณะแพทย์โรงพยาบาลศิริราชได้ผ่าตัดเด็กแฝดที่มีหัวใจ ตับติดกัน แล้วรอดชีวิตทั้งคู่สำเร็จ ดังนั้น ความสำเร็จครั้งนี้จึงถือเป็นครั้งแรกของโลก
ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกลกล่าวต่อว่า โรงพยาบาลศิริราชได้รับการส่งต่อคนไข้คือนางอุษา ทิเย็นใจ มาจากโรงพยาบาลสมุทรสาคร เมื่อต้นปี 2549 หลังจากที่ตรวจพบว่าการตั้งครรภ์ของนางอุษา ซึ่งขณะนั้นมีอายุครรภ์ประมาณ 26 สัปดาห์ เป็นทารกฝาแฝดที่มีตัว หัวใจ และตับติดกัน ซึ่งไม่เคยพบมาก่อนในประเทศไทย กรณีดังกล่าวถือว่าพบได้น้อยมาก ประมาณ 1 : 50,000-1 : 100,000 ของการตั้งครรภ์ปกติ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น และน่าสนใจ ไม่เฉพาะวงการแพทย์เท่านั้น แต่ยังเป็นที่สนใจของประชาชนโดยทั่วไปอีกด้วย เนื่องจากแฝดที่มีลำตัวติดกัน ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วโลกคู่แรก คือ แฝดอิน-จัน ซึ่งเกิดในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2354 หรือเกือบ 200 ปีที่ผ่านมา และได้รับฉายาว่าแฝดสยามนั้น มีแต่เฉพาะตับที่ติดกันเท่านั้น
คณบดีคณะแพทยศาสตร์กล่าวอีกว่า นางอุษามารดาของเด็กแฝด ได้คลอดเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2549 โดยการผ่าตัดเมื่ออายุครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ แฝดทั้งคู่มีน้ำหนักแรกคลอดรวมกันประมาณ 3,570 กรัม มีลำตัวด้านหน้าติดกันตั้งแต่บริเวณทรวงอกลงมาถึงผนังหน้าท้อง จากการตรวจโดยละเอียดพบว่ามีตับติดกันเป็นบริเวณกว้างและยังมีหัวใจเชื่อมต่อกันด้วย หลังคลอดทารกได้รับการตั้งชื่อว่า ด.ญ.ปานวาด และ ด.ญ.ปานตะวัน และได้รับการดูแลรักษา จนกระทั่งทีมแพทย์ได้ตัดสินใจผ่าตัดแยกร่างเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2550 ในขณะที่ทารกทั้งคู่อายุได้ 8 เดือน มีน้ำหนักตัวรวมกัน 10.9 กิโลกรัม หลังจากผ่านการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยเฉพาะตับที่ติดกันเป็นบริเวณกว้างแล้ว ยังมีหัวใจเชื่อมต่อกันด้วย โดยหัวใจห้องบนขวาของแฝดพี่คือ ด.ญ.ปานตะวัน เชื่อมกับหัวใจห้องบนซ้ายของแฝดน้องคือ ด.ญ.ปานวาด และมีเลือดจาก ด.ญ.ปานตะวันไหลผ่านมายัง ด.ญ.ปานวาด ตลอดเวลา ทำให้คณะแพทย์ไม่แน่ใจว่าหัวใจทั้งสองดวงมีการทำงานโดยพึ่งพากันหรือไม่ และการแยกร่างโดยการตัดรอยเชื่อมต่อของหัวใจ อาจเป็นอันตรายต่อฝาแฝดคนหนึ่งคนใดได้ จนในที่สุดกุมารแพทย์ต้องสวนหัวใจด้วยสายสวนติดบัลลูน เข้าไปปิดบริเวณรอยเชื่อมต่อของหัวใจ เสมือนเป็นการแยกหัวใจชั่วคราว ปรากฏว่าไม่เกิดผลเสียต่อทารกทั้งสองแต่อย่างใด
สำหรับขั้นตอนการผ่าตัด เริ่มจากการผ่าตัดแยกหัวใจ ด้วยการหนีบปิดส่วนเชื่อมต่อของหัวใจ จากนั้นจึงตัดรอบเชื่อมต่อของหัวใจ ซึ่งเป็นรูขนาดประมาณ 1 ซม. และมีเลือดไหลผ่านตลอดเวลากระทั่งสำเร็จ จากนั้นจึงผ่าตัดแยกตับ ซึ่งมีระบบท่อน้ำดีแยกกัน และต้องทำด้วยความระมัดระวังในการควบคุมไม่ให้มีเลือดออก เพราะทารกทั้งคู่ยังอ่อนแอและเพิ่งผ่านการผ่าตัดหัวใจมาใหม่ๆ แต่ในที่สุดก็ผ่านไปได้ กระทั่งถึงขั้นตอนสุดท้าย คือการแยกร่างทารกทั้งคู่ออกจากกันโดยสิ้นเชิงสำเร็จ จากนั้นนำทั้งคู่ ไปเย็บแผลปิดโดยทีมศัลยแพทย์ตกแต่ง เพื่อให้แผลดูดีและสวยงามที่สุด กระบวนการผ่านตัดใช้เวลาทั้งสิ้น 12 ชั่วโมงเศษ ใช้ทีมงานทั้งสิ้น 61 คน เป็นวิสัญญีแพทย์ 14 คน ศัลยแพทย์หัวใจ 5 คน ศัลยแพทย์ ตกแต่ง 7 คน กุมารศัลยแพทย์ 5 คน และพยาบาลห้องผ่าตัด 30 คน
หลังการผ่าตัด ทารกทั้งคู่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในห้องไอซียู ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นก็หายใจเองได้ และกลับมาเป็นเด็กปกติ 2 คน ที่แยกร่างกายจากกัน ขณะนี้เป็นเวลาประมาณ 7 สัปดาห์หลังผ่าตัด ทารกทั้งคู่แข็งแรงดี ปัจจุบัน ด.ญ.ปานตะวัน มีน้ำหนัก 5,735 กรัม ด.ญ.ปานวาด 4,900 กรัมและอยู่ในขั้นการฝึกพัฒนาการบางอย่างที่ช้าไปในช่วงที่ลำตัวติดกัน เช่น การให้อาหาร และจะได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้ในเร็วๆนี้
สำหรับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทั้งหมด โรงพยาบาลศิริราชเป็นผู้รับผิดชอบ หากคิดเป็นมูลค่าในการใช้จ่าย ตั้งแต่เด็กคลอดออกมาจนถึงปัจจุบันตกประมาณ 1.5 ล้านบาทต่อคน ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกลกล่าว มาตามขั้นตอนส่งต่อรูปเครือข่าย จะใช้สิทธิรักษาฟรีได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทารกที่เติบโตขึ้นและมีหัวใจที่แบ่งกันมามีข้อควรระวังอย่างไร ผศ.นพ.มงคล เลาหเพ็ญแสง กุมารศัลยแพทย์ หัวหน้าทีมผ่าตัดกล่าวว่า หัวใจที่มีความผิดปกติคือ ด.ญ.ปานวาดซึ่งห้องหัวใจบนมีช่องรั่วแต่ไม่รุนแรง เมื่อเด็กโตขึ้นสามารถมาปิดช่องที่รั่วได้ภายหลัง ส่วน ด.ญ.ปานตะวันไม่มีปัญหา ในส่วนของตับก็ไม่มีข้อที่น่ากังวล เพราะมีขนาดใหญ่และเติบโตได้
ในการแถลงข่าวครั้งนี้ นายถาวรและนางอุษา ทิเย็นใจ พ่อแม่ของเด็กแฝด ได้อุ้ม ด.ญ.ปานตะวันและ ด.ญ.ปานวาดมาร่วมแถลงข่าวด้วย โดยนายถาวร กล่าวว่า ดีใจที่ลูกรอดชีวิตมาได้ ตอนที่แพทย์ผ่าตัดรู้สึกรอนานมาก รอจนกลัวว่าลูกจะเป็นอะไร แต่เมื่อสำเร็จก็ดีใจมาก ขอขอบคุณแพทย์ทุกคนที่ช่วยชีวิตลูก ขณะที่นางอุษากล่าวว่า ครั้งแรกเมื่อทราบว่าลูกเป็นแฝดและตัวติดกันตั้งแต่ทั้งคู่อยู่ในท้อง ตอนนั้นเสียใจมากที่ลูกไม่เหมือนเด็กคนอื่นและสงสารมาก ร้องไห้ไม่กินข้าวอยู่หลายวัน แต่เมื่อมาตรวจที่โรงพยาบาลศิริราช มีหมอ พยาบาลดูแลอย่างดี เมื่อคลอดแล้วคณะแพทย์ก็ดูแลโดยตลอด และแจ้งให้ทราบว่าระยะห่างของหัวใจตั้งแต่คลอด จนถึงช่วงเวลาก่อนผ่าเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง จึงตัดสินใจให้แพทย์ผ่าทั้งคู่ เพราะสงสารลูก เช่น เวลานอน แฝด คนน้องคือ ด.ญ.ปานวาด ซึ่งตัวเล็กกว่า จะตัวลอยจากที่นอนมาก และหัวของลูกมีลักษณะแบนมาก เพราะนอนได้ข้างเดียว เมื่อปรึกษาแพทย์แน่ใจแล้วจึงให้ผ่าตัดแยก ตอนแรกแพทย์ให้ทำใจไว้บ้างว่าผลการผ่าตัดอาจทำให้ต้องเสียทั้งคู่หรือเสียคนใดไป แต่เมื่อผลการผ่าตัดออกมาสำเร็จก็ดีใจมาก ที่ทั้งคู่มีชีวิตรอด ขอขอบคุณแพทย์ พยาบาล ที่ให้กำลังใจมาโดยตลอด ตอนนี้รักลูกมากและอยากอยู่กับทั้งคู่ตลอดเวลา
Create Date : 06 เมษายน 2550
Last Update : 6 เมษายน 2550 11:33:41 น.
1 comments
Counter : 1131 Pageviews.
Share
Tweet
เข้ามาอ่านและยินดีด้วยกับความสำเร็จในครั้งนี้
โดย: ลุงไม้ (
ไม้หลักปักมั่นคง
) วันที่: 6 เมษายน 2550 เวลา:13:15:29 น.
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
samrotri
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [
?
]
น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน
ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ร.พ.พนมสารคาม และ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โทรฯ 0896112714
ป่ามืด
Marquez
เจ้าหญิงไอดิน
อีคิวศูนย์
แมงดาตัวเมีย
panomsarakham
forceps
BlogGang.com
samrotri
หนูเล็กนิดเดียว
โยเกิตมะนาว
wicsir
Webmaster - BlogGang
[Add samrotri's blog to your web]
เวบบ์ร.ร.เบญจมราชรังสฤษฏิ์ ฉ.ช.
สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สารานุกรมเสรี(Wikipedia)
กระทรวงสาธารณสุข
ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย
ศูนย์คุณธรรม
ข้าวใจดอทคอม
วิทยุธรรมะออนไลน์
ขบวนการสร้างสุข
โครงการเผยแพร่ธรรมะสู่เยาวชน
อุทยานการเรียนรู้
ศูนย์กลางการเรียนรู้ไอทีแห่งชาติ
เวบบ์หอพักนิสิตเก่าจุฬาฯ
โครงการรักหัวใจใส่ใจโคเลสเตอรอล
Medline Encyclopedia
รับฟังเสียงธรรมจากเวบไซด์
เวบไซด์ของทุกคนในครอบครัว
budpage" เพื่อชีวิตและชุมชนชาวพุทธ
พระจันทร์ ดวงเดือน เพื่อนชีวิต
เวบไซด์อนุรักษ์ธรรม เพื่อผู้ที่ศึกษาธรรม
เวบไซด์วิธีทำอาหารโหระพาดอทคอม
เวบไซด์ออกกำลังกายด้วยไม้พลองป้าบุญมี
Thaipoem.comร้องเพลงกันดีกว่า
คอมพ์ทายใจเราได้
เวบศิษย์เก่านักเรียนเตรียมอุดมฯรุ่น35
เวบประตูสู่ธรรม
เวบคลังสมองชุมชน
ปฏิจสมุปบาท
บล็อกOKNATIONSAMROTRI
"เวบสืบค้นกฎหมายไทย "
ความรู้เรื่องโรคและสุขภาพภาษาไทย
เวบบอร์ดร.พ.พนมสารคาม
เวบบ์ภายในโรงพยาบาลพนมสารคาม
"พุทธศาสนาแนววิทยาศาสตร์สำหรับปัญญาชนผู้แสวงหา"
หลวงพ่อชา สุภัทโท ตอบปัญหาธรรม
Bloggang.com