แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
<<
มิถุนายน 2550
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
24 มิถุนายน 2550
 
 
"วินิจฉัยโรคได้อย่างไร,ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ,ร.พ.คุณภาพ และ การดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย คือ อะไร"



เรียบเรียงเนื้อหาทั้งหมดโดย

น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์

พ.บ.อว.เวชศาสตร์ป้องกัน และ อว.เวชศาสตร์ครอบครัว

นายแพทย์ 8 หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว และ ชุมชน ร.พ.พนมสารคาม

ปฏิบัติราชการที่ ร.พ.พนมสารคาม ที่ได้รับการพัฒนาและรับรองคุณภาพ มาแล้วจนได้รับใบประกาศ เป็น ร.พ.คุณภาพ และ ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ แล้ว

อีเมลล์แอดเดรส : tsumruang@hotmail.com

และ มีบล็อคให้ความรู้ด้านสุขภาพ และ สัพเพเหระทั่วไป ที่น่าสนใจ จำนวนมาก คลิกเข้าที่ บล้อกความรู้
ตัวอย่าง ทีนำมาเสนอ เรื่อง "อีก 5 ปีทีวีอาจสำคัญน้อยกว่าอินเทอร์เน็ต" ที่เวบ.....

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&group=11

.....................................................................



1.วินิจฉัยโรคได้อย่างไร นำมาจาก
บทที่1.การตั้งสมมติฐานเพื่อการวินิจฉัย
ในหนังสือ "อายุรศาสตร์ฉุกเฉิน" ของ ร.พ.ศิริราช ที่มี วิธีการหาคำวินิจฉัยโรค ให้ได้เร็ว และ ถูกต้อง เพราะ ถ้าช้า คนไข้ฉุกเฉิน อาจจะเสียชีวิตไปก่อน

ในภาวะมีคนไข้มาตรวจจำนวนมาก ถ้าเราวินิจฉัยช้า คนไข้ต้องรอรับบริการนาน ก็มีผลต่อ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ การนำมาใช้จึงได้ประโยชน์มาก เช่นเดียวกัน

"วินิจฉัยโรคได้อย่างไร"มีแนวทาง ดังต่อไปนี้

การหาคำวินิจฉัยโรค จะต้องประกอบด้วย

1.การซักประวัติ

2.ตรวจร่างกาย และ

3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ขั้นตอนการหาคำวินิจฉัย

1.การซักประวัติ

1.1 เมื่อคนไข้มาหา จะต้องถาม อาการสำคัญ(Chief complaint=cc.)อาจมีมากกว่า 1 อาการ และ ต้องมีระยะเวลาที่มีอาการด้วย เพราะ โรคที่เป็นมานาน กับ เพิ่งเป็นจะช่วยวินิจฉัยแยกโรคได้ เพื่อนำมาเป็นแนวทางให้ตั้งสมมติฐานตามแนวทางการหาคำวินิจฉัย (Hypothesis Testing Approach:HTA) บทที่ 1 ใน หนังสือ"อายุรศาสตร์ฉุกเฉิน"ของ ร.พ.ศิริราช

1.2. การนำอาการสำคัญตามข้อ 1.1 มาตั้งสมมติฐานว่าจะนึกถึงโรคอะไรได้บ้าง

1.3. การนำ สมมติฐาน ตามข้อ 1.2. มาเทียบเคียง กับคนไข้ว่าเหมือนกับโรคใดมากที่สุดก็จะเป็นโรคนั้นๆ ได้แก่ โรคนั้น จะต้องประกอบด้วย ประวัติที่เจ็บป่วยอย่างไรบ้าง และ ควรซักหา ประวัติสาเหตุว่าก่อนไม่สบายไปทำอะไรมา เพื่อนำมาบอกแนะนำคนไข้ไม่ให้ทำผิดเช่นนั้นอีก จะได้ไม่ป่วย ซ้ำด้วยโรคเดิมตามแนวทางการเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ที่จะกล่าวถึงต่อไป

หมายเหตุ:ต้องถามประวัติการแพ้ยา และ โรคประจำตัว ที่คนไข้เป็นอยู่ก่อนด้วย เพื่อเมื่อให้การรักษา จะได้ไม่มีอันตรายต่อคนไข้



2.การตรวจร่างกายที่พบของโรคนั้น โดยค้นหาตามสมมติฐาน ตามข้อ 1.2.ข้างต้น และ

3. ผลทางห้องปฏิบัติการ โดยค้นหาตามสมมติฐาน ตามข้อ 1.2.ข้างต้น

ถ้าเหมือน กับโรคใดมากที่สุดก็น่าจะเป็นโรคนั้นนั่นเอง

การค้นหาคำวินิจฉัยโรค ข้างต้น จะเหมือนการค้นหาไวรัสคอมพิวเตอร์ ของโปรแกรม แสกนไวรัสของ คอมพิวเตอร์ ที่เครื่องคอมพ์จะต้องมีโปรแกรมแสกนไวรัส แล้วนำแฟ้ม ที่จะแสกนไวรัส ผ่านโปรแกรม แล้วโปรแกรม จะตรวจสอบตามโปรแกรมที่เขียนเพื่อแสกนไวรัส เมื่อผ่านการตรวจสอบตามที่เขียนไว้ จะบอกว่ามีไวรัสอะไร ต้องใช้แอนตี้ไวรัส อะไร เหมือนการจ่ายยารักษาโรค

การ ค้นหาคำวินิจฉัย และ การให้การรักษาตามแนวทางการตั้งสมมติฐานนั้นก็เหมือนการแสกนไวรัส นักวิศวกรคอมพิวเตอร์สามารถสร้างซอฟแวร์ ปรแกรม ค้นหาโรค ได้เช่นเดียวกับ แสกนหาไวรัสในคอมพิวเตอร์
ผู้ที่จะใช้งานค้นหาโรค และ วิธีรักษาโรค จะต้องตอบคำถามที่โปรแกรมคอมพ์ถาม อย่างเป็นจริง เครื่องประมวลผลในคอมพ์ จะนำไปเทียบกับหน่วยความจำที่แพทย์ให้วิศวกรคอมพิวเตอร์ เก็บไว้ ก็จะบอกคำวินิจฉัย พร้อม การรักษาพร้อมคำแนะนำพิมพ์ออกมาให้คนป่วยได้เลย



ในประเทศอเมริกา มีเวบไซด์บอกเกี่ยวกับโรคและยาให้ประชาชนเข้าถึงได้ที่เวบMedlineplus:

//www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001064.htm


หมายเหตุ:

1.การวินิจฉัยโรค(Provisional Diagnosis) จากการวิจัย พบว่า

ซักประวัติอย่างเดียว ได้ครบถ้วนถูกต้องจะสามารถให้คำวินิจฉัยถึง 80% และ

เมื่อตรวจร่างกายเพิ่มขึ้นจากซักประวัติ ได้ครบถ้วนถูกต้องจะได้คำวินิจฉัยเพิ่มอีก10% เป็น 90%

การได้คำวินิจฉัยที่ได้นี้เพียงแต่ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ก็พอรู้คำวินิจฉัยได้ เรียก

การวินิจฉัยข้างเตียง(Bedside Diagnosis)

เมื่อทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ(แล็ป) จะได้คำวินิจฉัยเพิ่มขึ้นอีก 5% รวมได้เพียง 95 %

จะยังคงมีเหลืออีก 5% ที่ไม่สามารถให้คำวินิจฉัยได้ซึ่งเรียกว่า

ข้อเท็จจริงทางการแพทย์ ที่แพทย์สภา กำลังชี้แจงให้ประชาชนทราบว่า ทางการแพทย์ บางครั้ง คนไข้อาจให้ประวัติ ตรวจร่างกาย หรือ ทำแล็ป ตรวจแล้ว อาจไม่ทราบคำวินิจฉัยได้ เรียกว่าข้อเท็จจริงทางการแพทย์ นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม แพทย์ก็จะให้การรักษาได้ทั้งหมด ไม่ว่า จะรู้หรือไม่รุ้คำวินิจฉัยก็ ตาม โดยรักษาไปเท่าที่รู้ และ นัดตรวจซ้ำ ถ้าคิดว่าไม่อันตราย หรือ

ถ้าคิดว่าถ้ารอไปจะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยก็จะเขียนใบส่งต่อไปให้ด่านสอง หรือ ด่านสาม ที่มีความสามารถสูงกว่า ตามความเหมาะสมเพื่อให้ได้คำวินิจฉัย ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย นั่นเอง เมื่อเข้าสู่ตามระบบจะใช้สิทธิรักษาฟรี โดยรัฐได้

2.การให้การรักษา(Treatment)

1..ให้นอนรักษาตัวในร.พ.เมื่อดูว่าคนไข้ป่วยหนัก

2..ให้รักษาแบบผู้ป่วยนอกไม่ต้องนอนค้าง เมื่อดูว่าไม่หนักมาก ให้การรักษาแล้วนัดมาตรวจซ้ำโดยให้คำแนะนำ ให้กลับมาตรวจซ้ำถ้าไม่ดีขึ้น

แนวทางการให้การรักษา ไม่ว่าให้นอน หรือ ให้กลับบ้านก็ตามจะประกอบด้วย

1. Supportive Treatment : รักษาให้รอดปลอดภัย ก่อน ค้นหาคำวินิจฉัย เช่น
ถ้ามาด้วย ช็อค ความดันวัดไม่ได้ต้องรีบช่วยชีวิตคนไข้ก่อน โดย ให้น้ำเกลือ เพื่อ รักษาความดันให้ผ่านพ้นการช็อค ได้ก่อน เป็นต้น

2. Specific Treatment : รักษาเฉพาะสำหรับโรคนั้นๆ มีแนวทางที่กำหนดการรักษา(Guideline Treatment)เป็นมาตรฐานการรักษาแน่นอน ที่แพทย์ทุกคนจะต้องรักษาไปแนวทางนี้ ซึ่งจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เช่น แนวทางปัจจุบันของ ไข้มาเลเรีย รักษาเฉพาะ คือ การให้ยาฆ่าเชื้อมาเลเรีย ที่เหมาะสม เป็นต้น

3. Symptomatic Treatment : รักษาตามอาการที่คนไข้ไม่สบายด้วย เช่น มีอาการไข้ ก็ควรให้ยาลดไข้ด้วย เป็นต้น

4. Palliative Treatment : รักษาให้ไม่ทุกข์ทรมาน และ มีความสุข ก่อน ที่จะต้องเสียชีวิต ในรายที่ป่วยเป็นโรคที่ทราบแล้วว่ารักษาไม่ได้ ต้องเสียชิวิต ภายในระยะเวลาอันสั้น หรือ การช่วยให้ได้ตายอย่างมีความสุข สมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

3. การให้ความรู้กับผู้ป่วย

ตามการรักษาข้างต้น เป็นแนวทางที่ปฏิบัติ ในการให้การดูแลแบบ เดิม ผลจากการดูแล ยังทำให้ ค่าดูแลสุขภาพ เพิ่มขึ้น ทุกปี ปีละ 20%

ถ้าไม่ปฏิรูประบบสุขภาพ จะทำให้ประเทศเราไม่สามารถมีงบประมาณไปพัฒนาด้านอื่นๆ ของประเทศได้ จึงต้องมีการพัฒนา ปฏิรูประบบสุขภาพใหม่ เป็น

ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion Hospital:HPH)ดูแลแบบองค์รวม สร้างนำซ่อม โดย นอกจากให้การรักษา แล้ว จะต้องให้ความรู้คนไข้ ในหัวข้อ ต่อไปนี้ ได้แก่

1.บอกว่าเขาป่วยเป็นอะไรตามภาษาชาวบ้านเข้าใจได้

2.บอกเขาว่าที่เขาป่วยเพราะเขาไปทำอะไรมาที่ผิดจากการมีสุขภาพดีจึงป่วยให้เขาทราบเพื่อจะได้ไม่ไปทำอย่างเดิมอีก

3.บอกว่าเราให้ยาอะไรบ้าง และ ควรปฏิบัติตัวอย่างไรระหว่างไม่สบายอยู่

4.บอกว่าถ้าทานยาและปฏิบัติตัวดีแล้วไม่หายให้มาดูใหม่ โดยควรถือยาเก่ามาให้ดูด้วย เพื่อ

แพทย์ จะได้สื่อสารกับคนไข้ง่ายเวลาพูดถึงยาตัวใด จะได้ชี้ที่ซองยา , ทราบว่าคนไข้ทานยาตามที่เราจัดให้หรือไม่ และ

ถ้าต้องให้นอนรักษาตัวใน ร.พ. จะได้ใช้ยาเดิมต่อไป ไม่ต้องเปลืองเบิกยาใหม่ หรือ ต้องเสียเวลากลับไปเอายาเก่ามา เป็นการใช้ยาอย่างคุ้มค่า

และการกลับมารักษาที่เดิม ทำให้แพทย์ได้รู้การเปลี่ยนแปลง ตามแนวทางสถานพยาบาลประจำครอบครัว ไม่ต้องเสียค่าบริการ ดัวย ดีกว่า ไปหา แพทย์ท่านอื่น ซึ่งไม่รู้ประวัติการรักษา และ ยังใช้สิทธิรักษาฟรี ไม่ได้ด้วย

เมื่อเราให้ความรู้คนไข้พิ่มแล้ว ทำไมค่าดูแลสุขภาพ ลดลงได้ ดังนี้

เมื่อคนไข้รู้แล้ว จะได้ปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ไม่ป่วยด้วยโรคเดิมอีก ไม่ป่วยบ่อย สุขภาพแข็งแรง ตามแนวคิด ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ สุขภาพดีในราคาถูก นอกจากนั้นยังมีประโยชน์ ทำให้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทำงานสบายขึ้น

.....................................................................

เรื่องต่อไปเรื่อง ร.พ.ส่งเสริมสุข่ภาพ คือ อะไร ในข้อ ต่อไปข้างล่าง

ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ คือ ร.พ.อะไร ขอสรุปโดยย่อ คือ ร.พ.ที่ไม่ได้มุ่งรักษาให้หายเท่านั้น ดังที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน
แต่เพิ่มการให้ความรู้เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพ , การป้องกันโรค และ การฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อให้คนไข้ได้รับความรู้ หรือ ได้รับการดูแลแบบองค์รวม จะได้ไม่ป่วยด้วยโรคเดิมอีก เมื่อได้รับความรู้ที่แนะนำ โดยมีแนวทางของร.พ.ที่จะได้รับใบรับรองว่า เป็น ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ จะต้องปฏิบัติตาม แนวทางการพัฒนาและรับรองการเป็น ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ ของกรมอนามัย
ตัวชี้วัดที่จะบอกว่า ร.พ.ได้ทำหน้าที่เป็นร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ ได้ถูกต้อง ได้แก่

1.เมื่อคนไข้มารับบริการแล้วจะต้องได้รับความรู้เรื่องที่เขาป่วยไข้ว่า
ป่วยเป็นอะไร รู้ว่าไปทำอะไรมาจึงป่วย เช่น ไปตากฝนมาเมื่อวาน วันนี้จึงป่วยเป็นหวัด รู้ว่าจะได้รับการรักษาอย่างไรมียาอะไรบ้าง, ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรระหว่างป่วย,รู้วิธีที่จะไม่ป่วยเป็นไข้หวัดอีก โดย พยายามหลีกเลี่ยงการโดนฝน เช่น รอฝนหยุด หรือ กางร่ม ฯลฯ และ รู้ว่าถ้าไม่ดีขึ้นต้องกลับมาตรวจซ้ำ(ตามแนวทางให้คำแนะนำ 4 ข้อที่ ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ ให้เพิ่ม)

2.เจ้าหน้าที่ ร.พ.ทำงานสบายขึ้น จากคนไข้น้อยลง จากคนไข้นำความรู้ที่เราให้คำแนะนำ ข้างต้นทำให้ไม่ป่วยง่ายๆเหมือนเดิม เช่น
แทนที่จะให้ยาปวดหลังติดต่อเป็นเดือนๆ เมื่อคนไข้รู้ว่าเป็นอะไร เกิดจากยกของผิดวิธี นำไปปฏิบัติให้ถูก ระยะเวลารักษาจะสั้นลง แทนที่ต้องรับยาเรื่อยๆ กลายเป็นรับยาเพียงครั้งสองครั้งก็หาย

3.ค่ารักษาพยาบาลโดยรวม ของ ร.พ.จะลดลง คนไข้ร.พ.จะน้อยลง จากคนป่วยลดลง สุขภาพแข็งแรง ตามแนวทาง"สุขภาพดีถ้วนหน้า ในราคาถูกแบบยั่งยืน"เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำงานสบายขึ้นการลาออกน้อยลง ได้ในที่สุดนั่นเอง

ดูเพิ่มเติมได้ที่เวบ...

//advisor.anamai.moph.go.th/hph/

3.ร.พ.คุณภาพ คือ ร.พ.อะไร ขอสรุปโดยย่อว่า คือ ร.พ.ที่มีการกำหนดแนวทางการทำงาน เป็นลายลักษณ์อักษรโดยผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ โดยความช่วยเหลือจากคณะกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพ (พ.ร.พ.) ได้ร่วมพัฒนางานนั้นๆ จัดทำเป็นเอกสารการทำงานอย่างมีคุณภาพ ไว้อ้างอิง ให้กรรมการตรวจสอบภายใน ร.พ.เอง และ ภายนอก(พ.ร.พ.) ใช้ตรวจสอบ ว่า ร.พ.ได้ปฏิบัติตาม แนวทางในเอกสาร ที่ได้รับการรับรองได้ครบถ้วนจริง ก็จะได้รับใบประกาศรับรอง"โรงพยาบาลคุณภาพ" จาก สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ(พ.ร.พ.)เป็น "โรงพยาบาลคุณภาพ"
หลังจากได้ใบรับรองแล้ว จะต้องรักษาคุณภาพไว้ตามที่ได้รับการรับรองต่อไป โดยจะต้องมีการตรวจสอบภายใน จากกรรมการตรวจสอบภายใน ร.พ.เอง เป็นระยะ ให้สามารถคงรักษาคุณภาพ ได้เหมือนที่เขียนไว้ในเอกสาร และ คณะกรรมการตรวจสอบจากภายนอก จะมีการเข้ามาตรวจสอบ ตามระยะเวลา เพื่อยืนยันคุณภาพ ว่ายังคงมีคุณภาพตามเอกสารอ้างอิงอยู่ ถ้าไม่เป็นไปตามเอกสารอ้างอิงก็จะให้แก้ไข เมื่อแก้ไขได้ ก็จะได้ต่อใบรับรองคุณภาพ ต่อไป ตลอดการตรวจประเมินตามระยะของกรรมการตรวจสอบภายนอก(พ.ร.พ.)
ตัวชี้วัดที่จะบอกว่า ร.พ.ได้ทำหน้าที่เป็นร.พ.คุณภาพ ได้ถูกต้อง ได้แก่

1.คำชม ร.พ.เพิ่มขึ้น คำติ ร.พ.ลดลง (ร.พ.คุณภาพ จะมีตู้รับฟังความคิดเห็นการได้รับบริการทุกจุด ให้คนมารับบริการประเมิน ร.พ.)

2.คนไข้ ปลอดภัย จากการ ลดโรคแทรกซ้อน ลดความผิดพลาด จากการรับบริการลง จากการที่ ร.พ.คุณภาพ ต้องนำความผิดพลาด มาประชุม "การประเมินความเสี่ยง:Risk Management"อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดไม่ให้เกิดซ้ำอีก

3.เจ้าหน้าที่ทำงานด้วยความสบายขึ้น มีการกำกับการทำงานคุณภาพ ด้วยเอกสารอ้างอิง ที่เจ้าหน้าที่จุดนั้นๆ ได้เขียนขึ้นเองร่วมกับกรรมการคุณภาพ มารับรอง และ ตรวจสอบ อย่างใกล้ชิด ถ้าไม่เหมือนตามเอกสารจะได้รับใบให้แก้ไข ทำให้มีเส้นทางทำงานที่ชัดเจน โอกาศผิดพลาด โดนฟ้องร้อง จะน้อยลง

ดูเพิ่มเติม ได้ที่ แนวทางการพัฒนาและรับรองคุณภาพ ของ คณะกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพ(พ.ร.พ.) ที่เวบ..

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=01-2007&date=18&group=12&gblog=2

ร.พ.พนมสารคาม ได้รับการพัฒนาและรับรอง เป็นทั้ง ร.พ.คุณภาพ และ ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ แล้ว และ ได้รับการยกย่อง ให้เป็นร.พ.ต้นแบบ จาก กระทรวงสาธารณสุข

ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ร.พ.พนมสารคามได้ที่เวบข้อมูลภายใน ร.พ. ซึ่งจัดเป็นส่วนหนึ่งของการเป็น ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ ที่จะต้องเป็น"องค์กรแห่งการเรียนรู้" ด้วย โดยอาศัยช่องทางทางการมีเวทีอินเตอร์เนต ให้เจ้าหน้าที่ ร.พ.ได้ใช้เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นได้ในเวบบอร์ดของ ร.พ. เชิญเข้ามาอ่านเวบบอร์ด ได้ ภายในเวบของข้อมูล ร.พ. ...

//www.cco.moph.go.th/p/

4.การดูแลสุขภาพเป็นรูปเครือข่าย คือ จุดหมายที่จะปฏิรูประบบสาธารณสุข ให้ไปสู่ "สุขภาพดีในราคาถูก"เหมือน ประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ หรือ ประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาระบบสุขภาพ ให้ดีที่สุด ขึ้นนั่นเอง โดยมีสถานพยาบาลด่านแรก ดูแลประชาชน เป็นแพทย์ประจำครอบครัว ดูแลได้ทุกเรื่องทุกโรค เมื่อพบว่าเกินความสามารถก็จะส่งต่อ ไปตามขั้นตอน พบ ด่านสอง หรือ ด่านสาม ตามความเหมาะสม ให้ แทนที่จะให้ประชาชน เลือกว่าจะไปรักษาที่ใด อย่างไร เอง เป็นแพทย์ประจำครอบครัว ดูแลให้ มีหนังสือส่งตัวให้ หรือ ถ้าจำเป็นก็จะจัดหารถส่งให้
เหมือน ที่ ร.พ.พนมสารคาม จัดคลินิกโรคหัวใจ โดยเชิญ แพทย์โรคหัวใจ จาก ร.พ.เกษมราษฏร์ มาตรวจรักษาให้โดย ร.พ.พนมสารคาม จะนัดคนไข้ที่ควรพบแพทย์โรคหัวใจ จำนวน 30-50 คน มาตรวจ ให้ที่ ร.พ.พนมสารคามใกล้บ้านผู้ป่วย ไม่ต้องเดินทางไปถึง ร.พ.เกษมราษฏร์ เมื่อต้องไปตรวจต่อพิเศษ ก็จะรวมกันไปโดย ร.พ.พนมสารคาม จัดรถนำส่งให้ สะดวก โดย ค่าบริการ เป็นไปตามเงื่อนไข สิทธิการรักษาฟรี และ
กำลังจัดหาแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นๆ ที่มีคนไข้มาก มาตรวจให้อีก ได้แก่ โรคตา , โรคหูคอจมูก ฯลฯ ตามแต่จะมีคนไข้มากด้านใด

ตัวชี้วัดที่จะบอกว่า มี "การดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย" ได้ถูกต้อง ได้แก่

1.คนไข้ สะดวกสบายในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ของรัฐ มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น จากคนไข้ได้รับการตรวจที่มีคุณภาพ จากสถานพยาบาลใกล้บ้าน ที่ได้รับยกฐานะเป็นศูนย์สุขภาพชุมชน มีคุณภาพตามเกณฑ์ ได้แก่
มีแพทย์ออกตรวจสัปดาห์ละ 15 ช.ม.หรือ ตรวจช่วงเช้าทุกวันวันละ3ช.ม.(3 ช.ม. x 5 วัน = 15 ช.ม.) มีทันตแพทย์ หรือ ทันตาภิบาล มีเภสัช ฯลฯ และ มีพยาบาลเวชปฏิบัติดูแลตลอด เวลา ทำหน้าที่แพทย์ เมื่อแพทย์กลับไป ร.พ.โดยยังคงปรึกษาแพทย์เจ้าของพื้นที่ทางโทรศัพท์ได้ ฯลฯ
ช่วงบ่าย ได้รับการเยี่ยมบ้าน ซึ่งมีเกณฑ์ว่าทุกหลังคาเรือน ในพื้นที่ รับผิดชอบ จะได้รับการเยี่ยมบ้านอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี ประชาชน จะได้ขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้านส่งเสริม ป้องกัน รักษาเจ็บป่วยเล็กน้อย หรือ ฟื้นฟู ผู้ป่วยที่ไม่สามารถมา สถานพยาบาลได้

2.แพทย์ และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะได้ทำงาน ที่สบายขึ้นคนป่วยลดลง จากข้อ 1 คนไข้มีสถานพยาบาลที่มีคุณภาพใกล้บ้าน และ ได้รับการเยี่ยมบ้าน ทำให้ได้รับการพัฒนาทางด้านสาธารณสุข

3.ร.พ.ลดความแออัด มีคนไข้มาร.พ.ลดลง ทำให้ทำงานได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ตามความจริงที่ว่า ปริมาณงาน จะแปรผกผันกับ คุณภาพของงาน

ดูเนื้อหา"การดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย"เพิ่มเติมได้ที่เวบ..

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=09-2006&date=30&group=1&gblog=3

ดูตัวอย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ใช้ระบบเครือข่ายมีแพทย์ประจำครอบครัว ได้ที่
"การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้น(ระดับปฐมภูมิ)ที่ประเทศอังกฤษและฟินแลนด์ " ที่เวบ...

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4

และ ด่านแรก มี มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและการมีแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน เป็นแพทย์ผู้ดูแลด่านแรกอยู่ ดูเนื้อหาเพิ่มเติมที่เวบ..

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=03-2007&date=27&group=1&gblog=5

ถ้าอยากให้เป็นจริงตามแนวทางปฏิรูปคงต้องอาศัยสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของ ศ.น.พ.ประเวศ วะสี มี 3 มุม

มุมที่ 1 การให้ประชาชน ได้รับความรู้เรื่องการปฏิรูปสุขภาพจะมีประโยชน์กับการเข้าพบแพทย์ได้สะดวก จะมีแพทย์ประจำตัว ที่ดูแลได้ทุกเรื่อง ทุกโรคในแพทย์คนเดียว(แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปเดิม ที่ เปลี่ยนชื่อมาเป็น แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ที่มีหน้าที่ดูแลคนไข้ประจำที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ หรือ ประชาชนมาเลือกให้เป็นแพทย์ประจำครอบครัว ซึ่งรักษาฟรี รัฐจ่ายค่าบริการแทน) และ

มุมที่ 2ประชาชน ที่ได้รับความรู้แล้วรวมตัวกันเป็นองค์กร โดยมีผู้นำองค์กร นำการเปลี่ยนแปลง ให้เป็นไปตามแนวทางปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งมีอยู่แล้ว ได้แก่
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (นายก อบต.)ที่มีความสามารถ ซึ่งประชาชน เลือกตั้งเข้ามาบริหารท้องถิ่น
ซึ่งในอนาคต หน่วยงานต่างในตำบลจะต้องอยู่ภายใต้การบริหาร จาก นายกอบต. ประชาชนในตำบลสามารถรวมตัวกัน ขอให้ นายก อบต.ประสานงาน กับ ผู้อำนวยการร.พ.อำเภอ ของตำบลนั้นให้แพทย์ประจำพื้นที่ตำบลนั้น(แพทย์ประจำครอบครัว)มาตรวจที่สถานีอนามัยเพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์สุขภาพชุมชน ในช่วงเช้าทุกวัน ส่วนตอนเที่ยงและบ่ายกลับมาดูผู้ป่วยใน ตามพื้นที่ ที่มานอนรักษาตัวในร.พ.ได้ ตามการดูแลรูปเครือข่าย และ ตามแนวทางการมีแพทย์ประจำครอบครัว ได้

มุมที่ 3 การใช้กฏหมาย มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตามความรู้ ใน มุมที่ 1 ข้างต้น กฏหมายที่จะเกี่ยวข้อง ได้แก่ พ.ร.บ.สุขภาพ เป็นกฏหมายซึ่งประเทศเรากำลัง ปฏิรูประบบสุขภาพ ไปสู่การดูแลรูปเครือข่าย ที่กำลังดำเนินการเปลี่ยนแปลง ให้เป็นจริง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน ได้พบแพทย์ประจำครอบครัว ที่มาตรวจให้ทุกเช้าที่สถานีอนามัย ซึ่งเมื่อพัฒนาจนครบเกณฑ์การเป็นศูนย์สุขภาพชุมชน ก็จะได้ป้ายไปติดที่สถานีอนามัย ที่พัฒนาได้ เปลี่ยนป้าย เป็น ศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นสถานพยาบาลด่านแรก ที่ประชาชนจะเข้าถึงได้สะดวก นั่นเอง

ดูสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เพิ่มเติม ได้ที่ เวบบ์....

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=01-2007&date=14&group=11&gblog=11

และเวบ..การปฏิรูประบบสุขภาพ และ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ที่เวบ...

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=10-2006&date=02&group=1&gblog=1

........................................................

ปัจฉิมลิขิต

1.เนื่องจาก ร.พ.พนมสารคาม เป็นที่ฝึกสอนทั้งนิสิตแพทย์รังสิต และ ยังมีนิสิตแพทย์ จุฬาฯ มาเรียนบริหาร ร.พ.ด้วย นอกจากนี้ยังมี นักเรียนพยาบาล มาเรียน จึงทำไว้เพื่อ จะได้ ไม่ต้องพิมพ์เอกสารการบรรยาย แจก แต่ ให้เปิดดูทาง เวบไซด์ ได้

2.ผู้เขียน บทความนี้ สามารถเข้ามาแก้ไขได้ตลอดเวลาเมื่อต้องการปรับปรุงบทความให้ดียิ่งขึ้น

3.การทำบทความนี้ ยังมีจุดประสงค์ ไว้เผยแพร่ ให้ผู้สนใจ ที่อยากทราบว่า แพทย์ จะรู้คำวินิจฉัย และ ให้การดูแลเขา อย่างไร ???





Create Date : 24 มิถุนายน 2550
Last Update : 15 สิงหาคม 2551 16:08:22 น. 0 comments
Counter : 1138 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samrotri
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน
ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ร.พ.พนมสารคาม และ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โทรฯ 0896112714
[Add samrotri's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com