แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
 
กันยายน 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
30 กันยายน 2549
 
 
จุดประสงค์ของการแบ่งการดูแลสุขภาพ เป็น รูปเครือข่าย สามระดับ

ดูแลสุขภาพ เป็น รูปเครือข่าย สามระดับ คือ



1.ด่านแรก มี ร.พ.อำเภอ และ สถานีอนามัย ใกล้บ้าน ผู้ป่วย เป็นด่านแรก ดูแลคนไข้ได้ทุกเรื่องทุกโรค ถ้าเกินความสามารถค่อยเขียนใบส่งต่อ หรือ มีรถนำคนไข้ไปรักษาต่อด่านที่เหมาะสมให้
2.ด่านสอง มี ร.พ.จังหวัด เป็นด่านสอง ที่มีแพทย์เฉพาะทาง ที่อยู่ในแต่ละแผนก เช่น สูติกรรม ศัลยกรรม กุมารเวชกรรม อายุรกรรม และ แผนกอื่นๆ เป็นทีมแพทย์เฉพาะทางช่วยเหลือปรึกษากันในกลุ่มแพทย์เฉพาะทาง
3.ด่านสาม มี ร.พ.ศูนย์ ร.ร.แพทย์ และ ร.พ.เฉพาะทาง เป็นด่านสาม มีความสามารถรักษาโรคยากๆ ที่พบน้อย มีเครื่องมือที่ราคาแพง ไว้ใช้ มีหน้าที่รับส่งต่อจากด่านสอง หรือ ด่านแรก ที่เกินความสามารถ และ ยังมีหน้าที่สอน นิสิตแพทย์ ที่เข้ามาเรียนแพทย์

จุดประสงค์ของการแบ่งเป็นรูปเครือข่าย มีดังต่อไปนี้

จุดประสงค์ข้อ ที่ 1.เพื่อให้การใช้ทรัพยากรสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ละด่าน มีทรัพยากรที่เหมาะสม เช่น

ด่านแรก ร.พ.อำเภอ ควรมีเพียงแพทย์ทั่วไป หรือ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเท่านั้น ไม่ควรมีแพทย์เฉพาะทางซึ่งกำหนดให้ ร.พ.อำเภอมีแพทย์เฉพาะทางได้เพียงสาขาละ คนเดียว กลายเป็นปัญหา กับ แพทย์ทุกคน ที่ไม่ได้เป็นแพทย์เฉพาะทาง สาขา ที่คนไข้มาหา เช่น เมื่อคนไข้เข้าใจว่า ร.พ.มีศัลยแพทย์ ถ้ามานอกเวลา แต่เป็นเวรกุมารแพทย์ เมื่อพบคนไข้ศัลยกรรม จะปรึกษาก็ทำให้แพทย์ศัลยกรรม(แพทย์ผ่าตัด)ทำงานหนักต้องถูกปรึกษาผ่าตัดตลอดเดือน ทางกลับกัน หมอศัลยกรรม อยู่เวร มีคนไข้หนักทางเด็กมา จะปรึกษากุมารแพทย์คนเดียวของร.พ.ก็เช่นเดียวกันอีก
จึงกลายเป็นว่าการมีแพทย์เฉพาะทางแค่คนเดียวในร.พ.ด่านแรกกับเป็นการสร้างปัญหาให้กับแพทย์ทุกคน จนเกิดการลาออกมากดังเวบ

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=12-2006&date=17&group=11&gblog=5

ด่านสอง มีแพทย์เฉพาะทาง แยกอยู่กันเป็นแผนก เพื่อร่วมกันทำงานเป็นทีม และ ใช้เครื่องมือเฉพาะทางร่วมกันแทนที่จะไปใช้ที่ด่านแรกเพียงคนเดียว ใช้ได้ไม่คุ้มค่ากับเครื่องมือ

ด่านสาม ร.พ.ศูนย์ หรือ ร.ร.แพทย์ มีความสามารถสูงกว่า แพทย์ด่านสอง จากมีเครื่องมือพิเศษ ราคาสูง ไว้ช่วยเหลือรับส่งต่อโรคยากๆ ที่พบน้อยให้มารวมรักษาที่ด่านสาม และ ด่านสามยังเหมาะกับการทำงาน วิจัย และ สอนนิสิตแพทย์ มีแพทย์เฉพาะทาง ที่ชอบงานสอน งานวิจัย งานเผยแพร่ อยู่


จุดประสงค์ข้อ ที่ 2.ผู้ป่วยได้รับความพึงพอใจ มีแพทย์ประจำครอบครัว ในสถานพยาบาลใกล้บ้าน สะดวกในการมารักษา เมื่อเริ่มป่วย ถ้าเกินความสามารถก็ได้รับการส่งต่อ ในสถานพยาบาลที่เหมาะสม แทนผู้ป่วยเลือกเอง และ ดูแลเบื้องต้น ให้ โดยไม่ต้องเสียค่าบริการ

จุดประสงค์ข้อ ที่ 3.ทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขพึงพอใจได้ทำงานตามขีดความสามารถ ไม่เครียด ไม่ลาออก กันตามที่เป็นข่าวแพทย์ลาออก เนื่องจากได้ทำงานที่เกินขีดความสามารถ เพราะยังไม่แบ่งเครือข่ายให้แพทย์เลือกทำงานอย่างชัดเจน ตามเวบแพทย์ลาออกปีละ 800-1,000 คนต่อปี
ข้างต้นในข้อ 1.

จุดประสงค์ข้อ ที่ 4.ประเทศชาติประหยัดงบประมาณทางด้านสาธารณสุขลงได้อย่างมาก จากได้รับการดูแลแบบองค์รวมให้ความรู้ ร่วมกับการรักษา ทำให้ไม่เจ็บป่วยบ่อย สุขภาพแข็งแรงตามแนวทาง ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ ที่กำลังปฏิรูปให้ทุก ร.พ.มุ่งสู่การเป็น ร.พ.ดังกล่าว

ทำไมต้องมีการดูแลรูปเครือข่าย

สาเหตุ เนื่องจากการเจ็บป่วย จะเริ่มป่วยเป็นขั้นตอน จากการปฏิบัติตัวผิด ที่ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคสูงเมื่อไม่ได้รับการแนะนำแก้ไข จะป่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ
ถ้ายังไม่ได้รับการแก้ไขอีก ก็อาจจะป่วยรุนแรง เพิ่มขึ้น มีความพิการ หรือ อาจจะเสียชีวิตได้

กลุ่มที่ปฏิบัติตัวผิด หรือ เริ่มป่วยจะมีมากกว่าป่วยแล้ว หรือ ป่วยหนักมาก จะมีประมาณ มากกว่า 90% มีส่วนน้อยเพียงไม่ถึง 10% เท่านั้น ที่ต้องพบแพทย์เฉพาะทาง


ดังนั้น ถ้ามีการกระจายทรัพยากรสาธารณสุขตาม ความเป็นจริงของการเจ็บป่วย ข้างต้น ควรจะต้องดูแลสุขภาพ เป็นรูปเครือข่าย ตามช่วงอาการ ที่ป่วยของคนไข้ อย่างเหมาะสม โดย แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

1.ด่านแรก ใช้แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว หรือ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป เดิม ที่เปลี่ยนมาเป็นสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ในปัจจุบัน ดูแลสุขภาพ ร่วมกับทีมสุขภาพของร.พ.อำเภอ (ประกอบด้วยแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และ เจ้าหน้าที่สุขภาพอื่นๆ ตามเกณฑ์คุณภาพที่กระทรวงสาธารณสุข กำหนดขึ้น)มาดูแลใกล้บ้านประชาชนที่ศูนย์สุขภาพชุมชน (หรือ สถานีอนามัยเดิม ที่ได้รับการพัฒนา โดย มีทีมสุขภาพ ของร.พ.อำเภอมาดูแล จนพัฒนาครบเกณฑ์ฯ จนได้รับการยกฐานะเป็นศูนย์สุขภาพชุมชน) โดยทีมสุขภาพ จะทำหน้าที่ให้การดูแลสุขภาพ ทุกๆคนในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยเดิม(ศูนย์สุขภาพชุมชนในอนาคต) การดูแล สุขภาพ ตามอุดมการณ์.............................

"ดูแล แต่แรก แทรกทุกเรื่อง อย่างต่อเนื่องผสมผสาน ดูแลใกล้บ้าน ประสานส่งต่อ"

เมื่อประชาชนป่วย หรือ รู้สึกไม่สบาย หรือ อยากปรึกษาปัญหาสุขภาพ ก็สามารถมาหาได้ทันที เพราะ อยู่ใกล้บ้าน ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ 90% กว่า ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ได้รับความสะดวกในการมารับบริการ ตามสิทธิบัตรสุขภาพ ที่มีคุณภาพ เพราะ อยู่ใกล้บ้านฟรี
ถ้าด่านแรกพบว่าเกินความสามารถซึ่งพบได้น้อย น้อยกว่า 10 % ที่จะเกินความสามารถ ก็จะได้รับคำแนะนำและใบส่งตัวให้ไปรักษาต่อตามสิทธิได้ ในสถานพยาบาลที่ด่านสอง หรือ สามที่ เหมะสม ต่อไป

ยกเว้น:กรณีอุบัติเหตุ หรือ ฉุกเฉิน สามารถเข้ารักษาที่สถานพยาบาล ด่านใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ที่สุด ไม่ต้องมีใบส่งตัว จากสถานพยาบาลใกล้บ้าน ใช้สิทธิบัตรสุขภาพ ฟรี ได้

ดังนั้นในประเทศอังกฤษ หรือ ฟินแลนด์ แพทย์ส่วนใหญ่จะเป็นแพทย์ด่านแรก ในประเทศไทยเรากำลังพยายามปฏิรูปให้เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้วให้มีแพทย์ด่านแรก (แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว หรือ แพทย์เวชปฏิบัติเดิม)มากขึ้นกว่าแพทย์เฉพาะทาง
ดูอ้างอิงได้ที่ "การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้น(ระดับปฐมภูมิ)ที่อังกฤษ และ ฟินแลนด์"ที่เวบบ์ข้างล่างนี้

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&blog=16

ด่านสอง ใช้ กลุ่มแพทย์เฉพาะทาง แต่ละสาขา ดูแลคนไข้ที่เกินความสามารถด่านแรก ที่เขียนใบส่งตัวมาให้รักษา ประมาณน้อยกว่า 10 % ที่เกินความสามารถ
ถ้ามาโดยไม่ผ่านด่านแรก ไม่มีใบส่งตัว มา ถ้าจะรักษาจะต้องเสียเงินเองเพราะมาผิดขั้นตอน
ด่านสองจะดูแลเฉพาะ คนไข้ตามแผนก ของตน ที่สมควรต้องมาพบแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น
ผลจากการต้องมีการผ่านการตรวจคัดกรองก่อนมาจากด่านแรก จะทำให้คนไข้ในด่านสอง น้อยลง
ในด่านนี้มี กลุ่ม แพทย์เฉพาะทางในแต่ละสาขา จำนวนหลายคน มีเครื่องมือ เครื่องใช้ในการบริการพร้อมใช้ มีแพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขามากพอที่จะจัดให้อยู่เวรนอกเวลาราชการตลอด 24 ชม.ได้ทุกวันได้ ต่างกับ ร.พ.อำเภอ มีแพทย์เฉพาะทางเพียง สาขาละ 1 คน เป็นด่านแรก ไม่สามารถจัดแพทย์เฉพาะทาง อยู่เวร ได้ตลอด ทุกวันได้

ข้อเสนอที่อยากเสนอ ให้จัดใหม่ แพทย์เฉพาะทาง ควรให้มารวมกันเป็นแผนกทำงานอยู่ที่ร.พ.ด่านสอง ที่มีทีมแพทย์หลายคน เครื่องมือก็พร้อม บุคคลากร ด้านช่วยเหลืออื่นๆ ก็พร้อม เพื่อ รอรับส่งต่อจากด่านแรกที่ควรให้มีเฉพาะแพทย์ทั่วไปหรือ เวชศาสตร์ครอบครัวอยู่เท่านั้น ไม่ควรมีแพทย์เฉพาะทางเพียงคนเดียว ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่ามีแพทย์เฉพาะทางตลอดเวลามาเมื่อไรก็ตามจะต้องพบหมอเฉพาะทางซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับแพทย์เฉพาะทางคนเดียวที่จะมาอยู่เวรตลอดทุกวันได้

ด่านสาม ใช้แพทย์เฉพาะทาง ที่ดูแลคนไข้ที่เกินขีดความสามารถของด่านสอง หรือ ด่านแรกที่ต้องใช้เครื่องมือราคาแพงควรมีไว้ใช้ที่ด่านสาม ใช้รวมกันภายใน ศูนย์ หรือ เขตนั้น มี ร.พ.หลายโรง ใช้ร่วมกัน มีใบส่งตัว ส่งต่อมาให้ ใช้สิทธิบัตรสุขภาพรักษาฟรีได้

ถ้ามาเองโดยไม่มีใบส่งตัวให้มาจะต้องเสียเงินเอง เพราะ ไม่ผ่านตามเครือข่ายที่กำหนด ที่ด่านสาม จะมี เครื่องมือพิเศษ ราคาแพง เช่น เครื่องฉายแสงรักษามะเร็ง ราคาสูง หลัก ล้าน ต้องอาศัยความชำนาญพิเศษ ที่มีแพทย์เฉพาะทางกลุ่มนี้จำนวนน้อยมารวมกัน อยู่ที่ด่านสาม เช่น ศูนย์มะเร็ง เพื่อให้คนไข้แต่ละด่านได้ส่งคนไข้มาร่วมรักษาจากทุกจังหวัดในศูนย์ หรือ เขตนั้น

นอกจากนี้ ด่านสาม มีเครื่องมือ และ วิชาการสามารถทำการวิจัยหาวิธีการรักษา แล้วนำมาทำเป็นแนวทางการรักษาเผยแพร่ ให้นักเรียนแพทย์ หรือ ถ่ายทอด ทางเวบไซด์ ทางอินเตอร์เนต ของแต่ละด่านสาม ให้แพทย์ ด่านสอง หรือ ด่านแรกได้เลือก ที่จะยึดเป็นแนวทางการรักษา ที่มีประสิทธิภาพ ที่เหมาะสมต่อพื้นที่ นำไปใช้ต่อไปในด่านของตนที่รับผิดชอบได้ ให้แพทย์ เลือกประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อสถานพยาบาลแต่ละแห่งต่อไป

ตัวอย่าง ผลงานที่ ร.พ.ด่านสามวิจัย เพื่อความก้าวหน้าทางการแพทย์ จาก ข่าว น.ส.พ.คมชัดลึก วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม 2550 20:38 น.
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ขอนแก่น วิจัยค้นพบวิธีตรวจการแสดงออกของยีนชนิดหนึ่ง ช่วยให้แพทย์ใช้ยากดภูมิคุ้มกันในขนาดที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยเปลี่ยนไต ลดความเสี่ยงที่ทำให้การปลูกถ่ายไตล้มเหลว

ผศ.พ.ญ.สุดา วรรณประสาท อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) หัวหน้าคณะนักวิจัย กล่าวว่า คณะวิจัยพบวิธีตรวจการแสดงออกทางพันธุกรรมของยีนชื่อ ทีพีเอ็มที ผลการตรวจนี้จะช่วยให้แพทย์วิเคราะห์การใช้ยากดภูมิคุ้มกันในปริมาณที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคไตแต่ละราย ทำให้ลดความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงของยา หรือความเสี่ยงที่จะประสบความล้มเหลวในการปลูกถ่ายไต

โครงการวิจัยและพัฒนาวิธีตรวจการแสดงออกของยีน เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2549 ขณะนี้ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

"ภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนไต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาระหว่างเนื้อเยื่อของผู้ป่วยกับไตที่ได้รับบริจาค" หัวหน้าคณะนักวิจัย กล่าว

สำหรับยากดภูมิคุ้มกันที่ใช้แพร่หลายในปัจจุบัน เป็นยาที่ถูกสลายด้วยเอนไซม์ทีพีเอ็มที และปัจจุบันพบว่า ความผิดแผกทางพันธุกรรมของยีนดังกล่าว มีผลให้เอนไซม์ทีพีเอ็มทีในผู้ป่วยแต่ละรายทำงานแตกต่างกัน จึงต้องการขนาดยาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ หากผู้ป่วยได้ยาขนาดน้อยเกินไป อาจทำให้เกิดความล้มเหลวในการปลูกถ่ายไต แต่หากได้ยามากเกินความจำเป็น อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงของยา ซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้


สรุป การดูแลเป็นรูปเครือข่าย ทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก ได้แก่ ประชาชนมีความพึงพอใจ ได้รับการรักษาที่มีคุณภาพใกล้บ้าน อีกทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขก็มีความพึงพอใจได้ทำงานตามขีดความสามารถที่มี และ ประเทศชาติประหยัดงบสาธารณสุขลงได้อย่างมาก
.....................................................................

ขอยกตัวอย่างข่าวการใช้การดูแลรูปเครือข่ายมาลดความแออัด ของผู้ป่วยในร.พ.ดังนี้

รพ.อยุธยานำร่องปฏิบัติการ 'ลดความแออัด พัฒนาเครือข่ายปฐมภูมิ'

โครงการลดความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เป็นหนึ่งในนโยบาย “บริการมีคุณภาพ ฉับไว ไร้ความแออัด” ที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศไว้เมื่อต้นปี 2549 ที่ผ่านมา

สาเหตุที่เกิดโครงการดังกล่าวเป็นเพราะนับจากปี 2545 หลังประเทศไทยเกิดระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำนวนผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งมีแนวโน้มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 20 ขณะที่ผู้ป่วยในก็ “ล้น” เตียงปกติที่มีจนต้องจัดหาเตียงเสริม

สภาพเช่นนี้ไม่เป็นผลดีทั้งต่อผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ เพราะผู้ป่วยเองก็ไม่ได้รับคุณภาพการรักษาที่ดี เนื่องจากต้องแบ่ง (หรือแย่ง) เวลาจากแพทย์และทรัพยากรจากโรงพยาบาลร่วมกับผู้ป่วยจำนวนมากเกินขีดพอดี ขณะที่แพทย์และบุคลากรทุกฝ่ายต่างประสบปัญหาความเครียดเรื้อรัง

มีรายงานที่ชี้ชัดว่า คนไข้ที่ไปรอคิวในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ นั้น ส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพที่สถานบริการระดับปฐมภูมิสามารถดูแลได้ดีกว่า เพราะบางโรคนั้นต้องการความรู้ ความเข้าใจในรากของปัญหามากกว่าต้องอาศัยยาหรือเทคโนโลยีทางการแพทย์เสียด้วยซ้ำ

นั่นจึงเป็นที่มาของโครงการที่เรียกว่า โครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในเขตเมือง หรือที่คนวงในเรียกกันว่า

โครงการลดความแออัดแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลใหญ่

ซึ่งมีเป้าหมายทั้งพัฒนาบริการปฐมภูมิและลดภาระของโรงพยาบาลใหญ่ไปในเวลาเดียวกัน

โรงพยาบาลที่ก้าวเข้ามาเป็นหัวขบวนในโครงการดังกล่าวก็คือ

โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

ซึ่งประสบปัญหาไม่ต่างจากโรงพยาบาลใหญ่อื่น ๆ ในประเทศไทย จากสถิติการใช้บริการพบว่าภายในเวลาแค่ 3 ปี จำนวนผู้ป่วยนอกที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลแห่งนี้เพิ่มขึ้นถึงเฉลี่ยวันละ 540 คน จาก 882 คน ในปี 2546 เป็น 1,422 คน ขณะเดียวกันอัตราการครองเตียงของผู้ป่วยที่ขยับจากร้อยละ 103 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 106 ในปี 2548 ก็สะท้อนถึงภาวะคนไข้ล้นเตียงอย่างต่อเนื่อง

“จำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น 20-30% เป็นสิ่งที่เกิดคล้ายกันในโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพราะประชาชนมีโอกาสเข้าถึงบริการมากขึ้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงภาระค่าใช้จ่าย แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่เข้ามาในแต่ละวันไม่จำเป็นต้องมาเจอแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และผู้ป่วยกลุ่มนี้มีสัดส่วนถึง 40-50% ของคนไข้นอกในแต่ละวัน” นพ.วีระพล ธีระพันธ์เจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ระบุ

โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาได้เริ่มดำเนินโครงการลดความแออัดในโรงพยาบาลอย่างเป็นทางการเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยได้พัฒนาคุณภาพศูนย์เวชปฏิบัติครอบครัว และศูนย์สุขภาพชุมชน ให้ประชาชนไว้วางใจ ควบคู่กับการจัดระบบเชื่อมต่อระหว่างโรงพยาบาลและสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิเหล่านี้ให้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ

นพ.วีระพล มองว่า การจัดระบบรองรับในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านมีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดศูนย์เวชศาสตร์ครอบครัวขึ้นข้าง ๆ โรงพยาบาลเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยที่เดินทางมาไกลต้องผิดหวังเมื่อโรงพยาบาลไม่รับตรวจก็สามารถส่งมาที่นี่ก่อนที่จะทำความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติแบบนุ่มนวล หรือแม้กระทั่งการเตรียมการเปิดศูนย์ประสานการส่งต่อผ่าน call center 24 ชั่วโมง การจัดให้มีแพทย์ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแก่ศูนย์สุขภาพชุมชนในด้านการดูแลผู้ป่วยตลอดเวลา เหล่านี้คืองานที่ทีมสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทั้งจังหวัดกำลังเร่งดำเนินการ โดยนับถอยหลังวันที่จะงดให้บริการผู้ป่วยระดับปฐมภูมิที่แผนกผู้ป่วยนอกในราวเดือนตุลาคม 2549 ที่จะถึงนี้

อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับค่านิยมและวัฒนธรรมในการ “หาหมอ” ของชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งหยั่งรากลึกมานาน สิ่งเหล่านี้ยังไม่มีพลังพอที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นหลังเดินหน้าเตรียมการตามนโยบายลดความแออัดฯ ได้ไม่นาน จึงได้เกิดเสียงร่ำลือตามมาว่า โรงพยาบาลจะปิดไม่รับคนไข้นอก ทำให้เกิดความไม่พอใจขึ้นแก่คนหลายกลุ่มในพื้นที่ ทำให้โครงการตกอยู่ในสภาพล่อแหลมอย่างยิ่ง

ทางโรงพยาบาลจึงได้เปิดเวทีระดมความคิดเห็นต่อก้าวใหม่ของการพัฒนาโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นระหว่างโรงพยาบาลและตัวแทนประชาชนฝ่ายต่าง ๆ ประมาณ 100 คน ทั้งเรื่องทิศทางในการพัฒนาโรงพยาบาล และบริการปฐมภูมิ และเตรียมการที่จะจัดกิจกรรมทำความเข้าใจในกลุ่มต่าง ๆ ในระยะถัดไป

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องพึ่งพาระบบบริการสุขภาพในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คงไม่ต้องแปลกใจที่จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะต้องกระทบกับความคุ้นเคยของประชาชนบ้าง แต่นั่นก็คือก้าวหนึ่งของการปฏิรูปที่เกิดจากความตั้งใจดีที่จะเพิ่มคุณภาพการบริการให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง และคุณก็เป็นคนหนึ่งที่จะสามารถมีส่วนร่วมสะท้อนความคิดเห็นป้อนกลับไปยังทีมงานและผู้บริหารโครงการได้เช่นกัน.

โครงการสนับสนุนการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข
Health Care Reform Project (HCRP)



Create Date : 30 กันยายน 2549
Last Update : 15 สิงหาคม 2550 22:43:27 น. 2 comments
Counter : 3242 Pageviews.

 
ขอบคุณที่เอามาให้อ่านค่ะ


โดย: กล้วย (nana_d0 ) วันที่: 30 กันยายน 2549 เวลา:22:31:20 น.  

 
แอบเข้ามาอ่านครับคุณหมอ


โดย: Clinical Pharmacist (Epinephrine ) วันที่: 1 ตุลาคม 2549 เวลา:3:26:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samrotri
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน
ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ร.พ.พนมสารคาม และ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โทรฯ 0896112714
[Add samrotri's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com