แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
เวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน
คนคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการบริหารจัดการ
ข่าวสุขภาพที่น่าสนใจ
เรื่องสัพเพเหระที่น่าสนใจ
เรื่องแปลกที่น่าสนใจ
ที่พักข้อมูลไว้เพื่อนำมาลงต่อไป
ข่าวสุขภาพที่น่าสนใจ1
เรื่องสัพเพเหระที่น่าสนใจ1
ข่าวสุขภาพที่น่าสนใจ2
คนคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการบริหารจัดการ 1
กลุ่มเรื่องที่น่าสนใจ
เอกสารประกอบการสอน
ข่าวการเมืองที่น่ารู้และควรติดตาม
คนคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการบริหารจัดการ2
เรื่องสัพเพเหระที่น่าสนใจ2
รวมข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ที่น่าสนใจ
ข่าวสุขภาพที่น่าสนใจ3
เรื่องแปลกที่น่าสนใจ2
KAP:K-Knowledge,A-Attitude,P-Practise
ชมรมจริยธรรม ร.พ.พนมสารคาม
ข่าวการเมืองที่น่ารู้และควรติดตาม2
<<
กันยายน 2550
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
13 กันยายน 2550
"ทางดีไม่มีคนเดิน" ขอเสนอบทความ" กลวิธีในการทำให้คนมาเดินในทางดีได้"
"นำ สาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter มาให้พวกเราร่วมขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น"
"ยกบริการปฐมภูมิใน ร.พ.ไปให้บริการใกล้บ้าน ที่สถานีอนามัย(ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล)เพื่อเป็นด่านแรก"
"ทางดีไม่มีคนเดิน" ขอเสนอบทความ" กลวิธีในการทำให้คนมาเดินในทางดีได้"
"รพ.รามาฯเปิดศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองแห่งแรกลดความแออัดภายใน"
"แพทย์ไม่พอ และ ทำงานหนัก จริงหรือ"
"แก้แออัดผู้ป่วยโรงพยาบาลใหญ่ หมอมงคล ร.ม.ต.สาธารณสุข เพิ่มหน่วยตรวจคนไข้นอก"
"วินิจฉัยโรคได้อย่างไร,ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ,ร.พ.คุณภาพ และ การดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย คือ อะไร"
สถานพยาบาลด่านสามเร่งพัฒนางานโรคหัวใจและหลอดเลือดให้มีอยู่ทั่วประเทศ
"สาส์นจากนายกแพทยสภา"การมีส่วนรวมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย"
"การดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย คือ อะไร"
ตัวอย่างแพทย์ด่านแรก แสดงความสามารถจนได้รับการยกย่องเป็น"แพทย์ชนบทดีเด่นประจำปี2549 "
ตัวอย่างแพทย์ด่านสามแสดงความสามารถ"หมอไทยเก่ง ผ่าแยกแฝด "
"แนะนำแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน"แพทย์ด่านแรกที่จะแก้ปัญหาสุขภาพของชาติได้???
การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้นที่อังกฤษ และ ฟินแลนด์ พึ่งระบบPrimary health careมากประมาณ90%ของงาน
เวชศาสตร์ครอบครัวกับการปฏิรูปสุขภาพแห่งชาติ
จุดประสงค์ของการแบ่งการดูแลสุขภาพ เป็น รูปเครือข่าย สามระดับ
"ทางดีไม่มีคนเดิน" ขอเสนอบทความ" กลวิธีในการทำให้คนมาเดินในทางดีได้"
WEBSITE FOR THAI BUDDHISTS AND FUTURE GENERARION
นำบทความ"ทางดีที่ไม่มีคนเดิน"ที่ผมไปโพสท์ใน"เวบบอร์ดเสวนาประสาพุทธ"
//www.budpage.com/forum/index.php
นำมาโพสท์ในบล็อกแก็งค์ของผมด้วยเพื่อให้ทราบกลวิธีทำให้คนมาเดินตามทางดี ที่ไม่มีคนเดินได้ เพื่อให้ความรู้นี้ กระจายออกได้กว้างขวางขึ้น
...........................................................................
คำนำ
เมื่อเข้ามาในบล็อกแก็งค์ นี้แล้ว จะพบกับบทความเรื่องแรก ของบล็อกในกลุ่มข่าวด้านขวามือ ที่มีคำว่า now here กระพริบอยู่
ส่วนพื้นที่ใต้บล็อกกลุ่มข่าวนี้ จะมีเรื่องในกลุ่มข่าวนั้น ให้กดเข้ามาอ่านได้ มีข่าวให้เลือกอ่านอีก ถึง 15 เรื่อง และ
ยังมีลิงค์เวบที่หน้าสนใจทางด้านซ้ายมือ กดเข้าชมลิงค์ได้อีกด้วย
หมายเหตุ
ได้เก็บสะสมข่าว และ ลิงค์ เวบที่น่าสนใจไว้มากมาย เพื่อจะนำมาใช้อ้างอิงในวันหน้า เมื่อต้องการจะนำมาอ้างอิงจะได้เข้ามาค้นหา
ผู้เข้ามาเยี่ยมชมก็สามารถเข้ามาค้นหาและนำไปอ้างอิงได้ เพราะ เป็นข่าวที่เผยแพร่ เป็นสาธารณะ ใครจะนำไปใช้ เพียงขอให้อ้างอิงที่มาว่าได้มาจากที่ใดก็ไม่น่าจะมีปัญหา
..................................................................................................
ผมเข้ามาอ่านกระทู้
"ทางดีไม่มีคนเดิน"
มีเนื้อหาว่า "ทางดี" หรือ คำสอนที่มุ่งให้
"เสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ของคนส่วนรวม เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ไม่เบียดเบียนกัน"
มีในทุกศาสนา แต่ทุกศาสนา ยังไม่สามารถทำให้เกิดเป็นจริงตามคำสอนได้ ยังมีการเบียดเบียนเอาเปรียบกันดังคำที่ว่า
"ปลาใหญ่ กิน ปลาเล็ก"
ปัจจุบันจึงเกิดมีแนวทางเพื่อทำให้คนต้องปฏิบัติตามแนวทาง
"ทางดีที่ไม่มีคนเดิน"ได้แล้ว เป็นรูปธรรม ปฏิบัติได้จริง โดย
แนวคิดเรื่อง
"วงจรคุณภาพของเดมมิงส์"
William Edwards Deming (October 14, 1900December 20, 1993) was an American statistician, college professor
ดูประวัติของท่านได้ที่
//en.wikipedia.org/wiki/W._Edwards_Deming
ดูผลงานเรื่องวงจรคุณภาพที่
//www.balancedscorecard.org/bkgd/pdca.html
วงจรคุณภาพ เป็นกุศโลบายที่จะทำให้เจ้าหน้าที่ทุกๆ คนในหน่วยงานทำสิ่งที่มีคุณภาพได้ โดยนำมาประยุกต์ใช้ให้เป็นรูปธรรมขึ้น
โดย
-มีการตั้งบริษัทรับรองคุณภาพ ขึ้นมารับจ้างพัฒนา และ รับรองคุณภาพ ปัจจุบัน ในต่างประเทศ มีหลายบริษัทให้เลือกแล้วแต่ความเชื่อถือ บริษัทที่ได้รับความเชื่อถือราคาในการเข้ามาพัฒนาและรับรองให้ป้ายประกาศจะแพง
แต่สำหรับเรื่อง คุณภาพของโรงพยาบาลในประเทศไทย มีหน่วยงานของไทยเอง ไม่ต้องไปพึ่งบริษัทต่างชาติ ชื่อ
"สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล พรพ."
ดูเพิ่มเติมได้ที่เวบบ์
//www.ha.or.th/
ที่ทำงานผมเป็นโรงพยาบาลได้รับการรับรองจากสถาบันข้างต้นแล้ว ได้ใบประกาศรับรอง เพื่อให้ความมั่นใจกับผู้มาใช้บริการ
-จะขอย้อนความเดิมให้เข้าใจว่าในระบบประกันสุขภาพ จะมีระเบียบว่า สถานพยาบาลที่จะเข้ามารับเงินงบประมาณ การรักษาฟรี จากกระทรวงสาธารณสุขได้จะต้องมีใบรับรองคุณภาพจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ พรพ.ก่อนดังนั้นทุกโรงพยาบาลจะต้องพัฒนาโดยว่าจ้าง พรพ.เข้ามาพัฒนาและรับรองให้ป้ายรับรองคุณภาพ ให้ไว้แสดงกับประชาชนผู้เข้ามาใช้บริการ
ดังนั้นทุกโรงพยาบาลที่พร้อมว่าสามารถรับการพัฒนา เพื่อให้ได้รับการรับรอง เพื่อจะได้ป้ายประกาศรับรองมาประกาศโชว์ ให้ประชาชนเห็น และ กระทรวงสาธารณสุขเลือก เพื่อให้เงินงบประมาณ มาดำเนินการ ร.พ.ทั้งเงินเดือน และ ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ โดย
-ขั้นตอนแรก คือ หัวหน้าหน่วยงาน หรือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล จะต้องแจ้งความจำเป็นที่จะต้องทำให้ได้ป้ายรับรองของ พรพ.ให้ได้ ถ้าไม่ได้ จะไม่ได้รับเงินงบประมาณรักษาฟรี จากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีผลกับความเป็นอยู่หรือรายได้ของเจ้าหน้าที่ทุกคน เมื่อเจ้าหน้าที่ทุกคนเข้าใจเรื่องความจำเป็นที่จะต้องมีป้ายรับรองคุณภาพ ของ พรพ.แล้ว ผู้อำนวยการและกรรมการบริหาร ร.พ.จะต้องร่วมกันคิดนโยบายคุณภาพ เพื่อเสนอ พรพ.เมื่อพร้อมจะให้ พรพ.เข้ามาพัฒนา โรงพยาบาลที่ผมทำงานเป็นหัวหน้างานเวชกรรมชุมชนที่เวบ
//www.cco.moph.go.th/p/
เมื่อพร้อมให้พัฒนา ได้เชิญ พรพ. เข้ามาร่วมพัฒนา โดย ผอก.และ คณะกรรมการบริหารร่วมกันกำหนด นโยบายซึ่ง พรพ.ให้การรับรองเป็นนโยบายที่ครอบคลุมกิจกรรมคุณภาพได้ มีใจความว่า
"มุ่งมั่นบริการ มาตรฐานสากล ส่งเสริมสุขภาพ"
ผ่านขั้นตอนแรก เรื่องมีนโยบาย แล้ว ขั้นต่อไป คือ ทุกฝ่ายทุกงาน จะนำนโยบาย ของ ร.พ.ที่ได้ นำไปเป็นแผนการดำเนินงาน (Work In) ในส่วนที่รับผิดชอบ โดยมี พรพ.เข้ามาร่วมดูแผนการดำเนินการ เขียนเป็นเอกสารการดำเนินการเพื่อใช้ตรวจสอบโดยกรรมการตรวจสอบ ทั้งภายใน และ ภายนอก ต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง
เมื่อ พรพ.ดูว่า แผนการดำเนินการ ครอบคลุม คุณภาพ ของจุดทำงานนั้นได้ก็จะให้การรับรองเอกสาร นั้น และ ให้เก็บเอกสาร นั้น เป็นหลักฐาน เพื่อไว้ให้การการตรวจสอบภายใน ของ ร.พ.เอง ที่ได้รับการอบรม จาก พรพ.ว่า เป็นตัวแทนของ พรพ.ในการตรวจสอบคุณภาพ ได้
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน จะคอยตรวจการดำเนินงาน ของแต่ละฝ่าย แต่ละงาน ว่าเป็นไปตามเอกสารที่รับรอง ทุกประการ หรือ ไม่
ถ้าไม่เป็นไปตามที่เอกสารที่รับรอง(เอกสารอ้างอิง)ก็จะได้รับใบให้แก้ไขให้เป็นไปตามเอกสารอ้างอิง ตามระยะเวลา ที่ กรรมการตรวจสอบภายใน กำหนด ซึ่งต้องทำให้เสร็จตามกำหนด ส่วนใหญ่ จะทำได้เพราะ เอกสารอ้างอิงนั้น เป็นเอกสารที่ผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ ร่วมคิดร่วมเขียนขึ้นมากันเอง และ ให้ พรพ.รับรอง ดังนั้น จะเขียนในสิ่งที่ทำได้ ถ้าไม่ทำส่วนใหญ่ จะเป็นการลืม แนวทาง ทำไปตามความสบาย เมื่อได้รับใบแก้ไข(CAR)มักไม่มีปัญหาแก้ได้
เมื่อ พรพ.พอใจ แนวทางการดำเนินงานที่แต่ละฝ่ายละงานเขียนเป็นเอกสารแล้ว ก็จะมีระยะเวลา ให้ดำเนินงานตามเอกสารอ้างอิงที่เขียนขึ้นปฏิบัติจริง โดยมี คณะกรรมการตรวจสอบภายใน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ใน ร.พ.นั้นเอง คอยตรวจสอบ ว่าเป็นไปตามเอกสารทุกประการ เมื่อ กรรมการตรวจสอบภายใน รวมทั้ง ผอก.และ คณะกรรมการบริหาร เห็นว่าทุกอย่างเป็นไปตามเอกสารอ้างอิงทุกประการไม่บกพร่อง ก็จะเชิญ พรพ.มาตรวจซ้ำว่าเป็นจริงตามคณะกรรมการตรวจสอบภายใน แจ้งไป
เมื่อมาตรวจสอบถ้าเป็นจริงตามเอกสารอ้างอิง ก็จะให้ใบรับรองคุณภาพ ให้ ร.พ.ไว้ประกาศเป็น
โรงพยาบาลคุณภาพที่ได้รับการรับรองจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ.)
ให้ผู้ใช้บริการมั่นใจ ว่ามาใช้บริการจะได้รับบริการที่ดี ที่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้น เมื่อการกระทำต่างๆ ในแต่ละฝ่าย แต่ละงาน ใน ร.พ.มีแนวทางที่แน่นอนตามเอกสารอ้างอิงที่ พรพ.ตรวจสอบ ก็จะทำให้คุณภาพคงที่ตามที่ นโยบาบาย และ แนวทางการปฏิบัติงานระบุไว้ แน่นอน
หมายเหตุ สามารถขอเสนอเปลี่ยน นโยบาย หรือ แผนได้ตลอด ถ้าเห็นว่า จะปรับปรุงงานให้มีคุณภาพ ขึ้น ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติ ให้เปลี่ยนได้จาก พรพ.เมื่อพิจารณาว่าการเปลี่ยนทำให้การบริการดีขึ้น
..................................
สรุป
: ทางดีที่ไม่มีคนเดิน สามารถทำให้คนเดินได้ โดย ระบบคุณภาพ มีองค์กรภายนอก มาพัฒนา และ รับรองคุณภาพองค์กรให้ ซึ่งองค์กร ที่จะได้ป้ายรับรองคุณภาพ จะต้องมีเอกสารขั้นตอนการดำเนินการไว้ให้กรรมการตรวจสอบทั้งภายใน และ ภายนอก เข้ามาตรวจสอบคุณภาพว่ายังคงเป็นเหมือนเอกสารที่ให้การรับรอง ตลอดไปหรือไม่
จึงทำให้ทุกคนต้องเดินตามทางดี ที่เขียนเป็นเอกสารอ้างอิงอย่างเคร่งครัด ทำให้ทางดีที่ไม่มีคนเดิน เป็นทางที่จำเป็นจะต้องเดินเพื่อให้คงได้รับป้ายรับรองคุณภาพ ไว้ไม่ถูกยึดคืนนั่นเอง
Create Date : 13 กันยายน 2550
Last Update : 29 ตุลาคม 2550 16:26:41 น.
1 comments
Counter : 1190 Pageviews.
Share
Tweet
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ เดี๋ยวนี้
รับรองเอกสาร
สะดวกขึ้นเยอะเลยนะครับ
โดย:
ต้าโก่ว
วันที่: 17 มิถุนายน 2553 เวลา:17:05:37 น.
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
samrotri
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [
?
]
น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน
ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ร.พ.พนมสารคาม และ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โทรฯ 0896112714
ป่ามืด
Marquez
เจ้าหญิงไอดิน
อีคิวศูนย์
แมงดาตัวเมีย
panomsarakham
forceps
BlogGang.com
samrotri
หนูเล็กนิดเดียว
โยเกิตมะนาว
wicsir
Webmaster - BlogGang
[Add samrotri's blog to your web]
เวบบ์ร.ร.เบญจมราชรังสฤษฏิ์ ฉ.ช.
สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สารานุกรมเสรี(Wikipedia)
กระทรวงสาธารณสุข
ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย
ศูนย์คุณธรรม
ข้าวใจดอทคอม
วิทยุธรรมะออนไลน์
ขบวนการสร้างสุข
โครงการเผยแพร่ธรรมะสู่เยาวชน
อุทยานการเรียนรู้
ศูนย์กลางการเรียนรู้ไอทีแห่งชาติ
เวบบ์หอพักนิสิตเก่าจุฬาฯ
โครงการรักหัวใจใส่ใจโคเลสเตอรอล
Medline Encyclopedia
รับฟังเสียงธรรมจากเวบไซด์
เวบไซด์ของทุกคนในครอบครัว
budpage" เพื่อชีวิตและชุมชนชาวพุทธ
พระจันทร์ ดวงเดือน เพื่อนชีวิต
เวบไซด์อนุรักษ์ธรรม เพื่อผู้ที่ศึกษาธรรม
เวบไซด์วิธีทำอาหารโหระพาดอทคอม
เวบไซด์ออกกำลังกายด้วยไม้พลองป้าบุญมี
Thaipoem.comร้องเพลงกันดีกว่า
คอมพ์ทายใจเราได้
เวบศิษย์เก่านักเรียนเตรียมอุดมฯรุ่น35
เวบประตูสู่ธรรม
เวบคลังสมองชุมชน
ปฏิจสมุปบาท
บล็อกOKNATIONSAMROTRI
"เวบสืบค้นกฎหมายไทย "
ความรู้เรื่องโรคและสุขภาพภาษาไทย
เวบบอร์ดร.พ.พนมสารคาม
เวบบ์ภายในโรงพยาบาลพนมสารคาม
"พุทธศาสนาแนววิทยาศาสตร์สำหรับปัญญาชนผู้แสวงหา"
หลวงพ่อชา สุภัทโท ตอบปัญหาธรรม
Bloggang.com