รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
เมษายน 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
24 เมษายน 2557
 
All Blogs
 

วัวแม่ลูกอ่อนเล็มหญ้า แล้วชำเลืองดูลูกน้อย (วิธีภาวนาทำอย่างไร)

หลวงพ่อโพธินันทะ ได้กล่าวถีงพระไตรปิฏกเล่มที 12 การปฏิบัติตามอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
โดยอุปมาถีง โคแม่ลูกอ่อนเล็มหญ้าแล้วชำเลืองดูลูกน้อย

ในบทนี้ ผมจะได้เขียนถีงวิธีการปฏิบัติ

1..คุณสมบัติของนักภาวนาทีจะปฏิบัติได้
พระสูตรนี้ ไม่ใช่สำหรับมือใหม่ในการภาวนา แต่ต้องเป็นมือเก่าทีมีความสามารถในการภาวนามาได้ในระดับหนี่งทีสามารถเห็น **จิต**ของตนเองได้แล้ว

2..ขบวนการทำงานของความคิด เพื่อไปเห็น **จิต**
ตัวจิตนั้น จะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนทีเป็นสภาวะรู้ และ ส่วนทีเป็นตัวจิตทีจะแปรไปเป็นจิตปรุงแต่งได้เมื่อมีเหตุและปัจจัยเข้ามากระทบทีจิต

เมื่อมีเหตุและปัจจัยเข้ามากระทบทีตัวจิต ตัวจิตจะเกิดการไหวตัว ซี่งในการไหวตัวนี้จะออกมาเป็นพลังงานทีสั่นไหว ที่ผมจะเรียกว่า ความคิด

เมื่อนักภาวนาทีผ่านการภาวนามาได้ในระดับหนี่งมีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิพอสมควร เมื่อจิตไหวตัวเป็นความคิด **สภาวะรู้ของจิตจะไปเห็นความคิด** นี้ได้

พอสภาวะรู้ไปเห็นความคิด ความคิดจะดับไปเอง เพราะนี่ธรรมชาติของความคิดทีมันเป็นไตรลักษณ์ จะเป็นแบบนี้

เมื่อนักภาวนาเห็นความคิดได้หลาย ๆ ครั้ง จะรู้เองว่า ตัวจิตทีเป็นส่วนทีจะแปรไปเป็นความคิด นั่นอยู่ทีใด


3..อีกวิธีหนี่ง การรู้ว่าจิตอยู่ทีได สามารถรู้ได้ด้วยการเห็น **แสงแว๊บของจิต**
เวลานักภาวนาเกิดเผลอขึ้นมา จิตจะมืดมัวลง  แต่เมื่อใดทีจิตหลุดจากเผลอ  จะมีแสงจิตแว๊บขึ้นมา
คล้ายๆ กับแสงของกล้องถ่ายรูป ทีโผล่มาแว็บหนี่ง  ถ้ากำลังสัมมาสติของนักภาวนาว่องไวพอ นักภาวนาเห็นแสงจิตทีแว๊บนี้ได้ในตอนทีกำลังสัมมาสมาธิค่อนข้างตั้งมั่นดี ก็จะรู้ว่า จิตทีมันแว๊บอยู่ทีใด  

4..วิธีการภาวนาแบบโคแม่ลูกอ่อนเล็มหญ้าแล้วชำเลืองดูลูกน้อย

เมื่อนักภาวนารู้ว่า จิตนั้นอยู่ทีใด โดยใช้วิธีการของข้อ 2 หรือ ข้อ 3 ต่อไปก็เป็นวิธีการภาวนา

วิธีการปฏิบัติก็คือ เมื่อนีกขึ้นมาได้ว่า ให้มองไปทีจิตแว๊บเดียวสั้น ๆ เพียงเสี้ยววินาที เมื่อมองไป นักภาวนาจะพบว่า  มีอะไรนิ่งๆ ปรากฏอยู่ 

การมองจิตนั้น ใหม่ ๆ นักภาวนาจะไม่รู้จักวิธีการชำเลืองมอง แต่มักจะมองไปตรง ๆ ทีจิตเลย
ซี่งการมองตรง ๆ นี้ ผลก็คือ จะทำให้นักภาวนาเกิดการปวดศรีษะถ้ามองนาน ๆ ดังนั้น ในระยะแรก จึงแนะนำให้มองไปเพียบแว๊บเดียวสั้นๆ ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดการปวดศรีษะขึ้น

นักภาวนาจะพบเองว่า เมื่อมองไปเพียงแว๊บเดียวสั้น ๆ พอเลิกมอง แต่จะพบว่า ยังเห็นจิตได้อยู่
ต่อไปอีกสักระยะหนี่งทีไม่นานนัก แล้ว การเห็นก็จะเปลี่ยนเป็นมองไม่เห็น นี่เกิดจากทียังไม่ชำนาญในการมองของนักภาวนา

ให้นักภาวนา วนทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ กล่าวคือ พอนีกขึ้นมาได้ ก็มองไปทีจิตแว๊บหนี่งดังทีเขียนไว้ข้างต้น

ต่อเมื่อนักภาวนาเริ่มชำนาญ จะพบวิธีการมองทีเรียกว่า การชำเลืองมอง ซี่งถ้านักภาวนารู้จักวิธีการชำเลืองมอง ก็ให้มองแบบชำเลืองมองแทนการมองแบบตรง ๆ  แล้วนักภาวนาจะพบเองว่า การชำเลืองมองนี้ จะมองจิตได้นาน โดยทีไม่เกิดการปวดศรีษะแต่อย่างใด

เมื่อฝีกอย่างนี้ไปเรื่อยๆ นักภาวนาจะพบเองว่า สภาวะแห่งการชำเลืองมองจะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้เอง

ผลจากการฝีกฝนนั้น เมื่อนักภาวนาชำนาญมากขึ้น จะเกิด ญาณ  ซี่งญาณทีเกิดขึ้นนี้ จะทำให้นักภาวนาสามารถเห็นจิตได้เองอยู่เสมอโดยทีไม่ต้องไปตั้งใจเพื่อชำเลืองมองเลย





 

Create Date : 24 เมษายน 2557
1 comments
Last Update : 14 สิงหาคม 2557 16:37:19 น.
Counter : 5414 Pageviews.

 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๘. โกสัมพิยสูตร

//www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=9992&Z=10133

[๕๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึง
พร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา
นี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ อริยสาวกถึงความขวนขวายในกิจใหญ่น้อยที่ควรทำอย่างไร
ของเพื่อนสพรหมจารีโดยแท้ ถึงอย่างนั้น ความเพ่งเล็งกล้าในอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และ
อธิปัญญาสิกขา ของอริยสาวกนั้นก็มีอยู่ เปรียบเหมือนแม่โคลูกอ่อน ย่อมเล็มหญ้ากินด้วย
ชำเลืองดูลูกด้วยฉะนั้น. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบ
ด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น. นี้ญาณที่ ๕ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ
ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

 

โดย: นมสิการ 25 มกราคม 2558 18:10:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.