รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2556
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
15 มิถุนายน 2556
 
All Blogs
 
จ้อง VS ชำเลือง/รู้สีก/สังเกต

ความสำเร็จของการฝีกฝนการภาวนานั้น อยู่ที่ การรู้ความต่างระหว่าง จ้อง และ ชำเลือง/รู้สีก/สังเกต

1. จ้อง
คำว่า จ้อง ผมว่าทุกคนรู้จักกันดี เช่น ผู้ชายเวลาจ้องมองผู้หญิง หรือ ผู้หญิงจ้องมองกระเป๋าถือใบงาม หรือ นักภาวนา ไปจ้องที่ปลายจมูกเพือ่รู้ลม การจ้องเท้าเวลาเดินจงกรม การจ้องมือเวลาเคลื่อนมือแบบหลวงพ่อเทียน การจ้องท้องเพื่อดูท้องพองยุบ

ลักษณะอาการของจ้อง คือ
1. เป็นวัตถุที่ตามองเห็นได้ จะอยู่นอกตัวก็ได้ อยู่ทีตัวก็ได้ อยู่ภายในตัวก็ได้
อยุ่นอกตัวก็เช่น เสื้อผ้า รถยนต์ ผู้หญิง ผู้ชาย อื่น ๆ อีกมาก
อยู่ทีตัว เช่น ปลายจมูก แขน ขา ท้อง และ อื่นๆ
อยู่ภายในตัว เช่น ปอด ลำไส้ อื่น ๆ จะมองเห็นได้ เมื่อมีการผ่าท้องออกมาให้ดู ทีนักเล่นอสุภะชอบทำกัน

2. เมื่อจ้องมองสิ่งใด จิตจะไหลออกไปจับยีดกับสิ่งนั้น เมื่อจิตจับยีด
ก็จะมีแต่สิ่งนั้นให้สัมผัสได้ เช่น ชายจ้องมองหญิง ก็จะเห็นแต่หญิงอย่างเดียว
ไม่เห็นสิ่งอื่นๆ นอกจากหญิงคนนั้น เมื่อจ้องปลายจมูก ก็จะมีแต่ปลายจมูก
เมื่อจ้องมือ ก็จะมีแต่มือ เป็นต้น

3. ขอให้สังเกต เมื่อจ้องสิ่งใด ตาที่เคยเห็นกว้่าง ๆ ที่สอนในธรรมล้อมวง ก็จะไม่เห็นความกว้างนี้อีก เพราะจิตไหลออกไปยีดสิ่งทีจ้องมอง ทำให้ไม่เห็นความกว้างนี้

การจ้องนี้ ถ้าเป็นมือใหม่ภาวนา อย่าไปฝีกจ้อง เพราะจิตจะไหลออก แล้วการภาวนาจะไม่ได้ผล
แต่ถ้า มือเก่าชำนาญงาน จ้องไม่มีปัญหา เพราะฝีกมาดีแล้ว จิตไม่ไหลออก

2.. ชำเลือง/ รู้สีก / สังเกต

คำ 3 คำนี้เหมือนกัน แต่มีผู้ใช้ 3 คำนี้มาจากต่างอาจารย์ที่สอนภาวนากัน

ลักษณะอาการของการ ชำเลือง /รู้สีก/ สังเกต
1..ไม่เป็นวัตถุทีตาธรรมดามองเห็นได้ คือ ตาธรรมดามองไม่เห็น จะรับรู้ได้ด้วยจิตหรือสติระลีกได้เท่านั้น
2..เมื่อ ชำเลือง/รู้สีก/สังเกต จิตจะไม่ไหลออกไปจับยีดเหมือนจ้อง จิตยังคงอยู่ที่ฐานทีตั้งของจิต
3..ขอให้สังเกต เวลา ชำเลือง / รู้สีก / สังเกต ตาที่มองจะเห็นกว้างๆ เหมือนทีสอนในธรรมล้อมวงได้ และ ภาพทีตามองเห็น วัตถุภายนอก จะมัวๆ นิดหน่อย
แต่ถ้า ชำเลือง/รู้สีก/สังเกต หนัก ๆ ภายวัตถุภายนอกจะมัวมาก

4. ในขณะที ชำเลือง / รู้สีก / สังเกต จะสามารถรับรู้อาการทางกาย ทางใจได้หลายๆ อย่างพร้อมกันไป
เช่น ตาก็มองเห็นวัตถุที่อยุ่ข้างหน้าได้กว้างๆ แต่อาจเห็นมัว ๆ ก็ไม่เป็นไร
หูก็ได้ยินเสียงสิ่งแวดล้อม
สามารถรับรู้ความรู้สีกทางกายได้ ก้นสัมผัสเก้าอี้ ก็รุ้สีกได้ เท้าสัมผัสพื้นก็รู้สีกได้ บางคนก็อาจรู้สีกได้ถึงหัวใจเต็น ลมหายในได้ด้วย และ อื่นๆ ที่กาย

***************
นี่คือ ความต่างระหว่าง สมาธิแบบฤาษี ทีใช้จ้อง และ สัมมาสมาธิที่ใช้ ชำเลือง /รู้สีก / สังเกต
ให้ฝีก สัมมาสมาธิแบบนี้บ่อยๆ แล้วจิตจะตั้งมั่น รู้เห็นสภาวะธรรมได้ต่อไป เมื่อจิตตั้งมั่นพอเพียง

ใครทียังหาความต่างนี้ไม่พบ ให้หาความต่างนี้ก่อน รุ้จักก่อน มิฉะนั้น ฝีกไป ก็มีแต่ผิดทาง ไปเข้าทางฤาษีกันหมด ทำให้เสียเวลาเปล่า ๆ



Create Date : 15 มิถุนายน 2556
Last Update : 15 มิถุนายน 2556 6:51:46 น. 0 comments
Counter : 1756 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.