" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
8 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

096. วัดช่างฆ้อง ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่

วัดช่างฆ้อง

44 ถ.กำแพงดิน ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4130.วัดช่างฆ้อง เลขที่ 44 ถ.กำแพงดิน ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4129.วัดช่างฆ้อง เลขที่ 44 ถ.กำแพงดิน ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4132. ถนน.กำแพงดิน : KAMPHANGDIN ROAD

:อาคารสีเหลือง ด้านซ้ายมือ คือ โรงแรม เลอ เมอริเดียน
:อาคารสีขาว ด้านขวามือ คือ โรงแรม เซนทารา ดวงตะวัน




4131. แนวกำแพงดิน บริเวณตรงข้ามกับ วัดช่างฆ้อง





4167. แนวกำแพงดิน บริเวณตรงข้ามกับ วัดช่างฆ้อง






4168. แนวกำแพงดิน บริเวณตรงข้ามกับ วัดช่างฆ้อง






4158. สี่แยก ถนน.ลอยเคราะห์ ตัด กับ ถนน.กำแพงดิน

: จากสี่แยกนี้ ถ้าตรงไปทางด้านทิศตะวันออก จะพบกับ ไนท์บาซาร์ ทางฝั่งซ้ายมือจะมี โรงแรมเลอเมอริเดียน และ ทางฝั่งขวามือ จะมี โรงแรม เซนทารา ดวงตะวัน และ โรงแรม สุริวงศ์ (เดิม) ชื่อใหม่จำไม่ได้

: จากสี่แยกนี้ ถ้าเลี้ยวขวามือ ไปทางทิศใต้ ฝั่งซ้ายมือ จะพบบริเวณพื้นทีของวัดช่างฆ้องส่วนหนึ่ง คือ พระอุโบสถและพระเจดีย์ และ โรงแรม อิมพีเรียลแม่ปิง พื้นที่ของวัดช่างฆ้องบริเวณนี้ได้รับการดูแลจาก โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง

: จากสี่แยกนี้ ถ้าเลี้ยวซ้ายมือ ไปทางทิศเหนือ ฝั่งขวามือ จะเป็นที่ตั้งของวัดช่างฆ้อง แน่นอน ฝั่งซ้ายมือ คือ แนวของกำแพงดิน






4159. บริเวณนี้ คือ สี่แยก ถนน.ลอยเคราะห์ ตัด กับ ถนน.กำแพงดิน






4160. บริเวณนี้ คือ สี่แยก ถนน.ลอยเคราะห์ ตัด กับ ถนน.กำแพงดิน





4162. ชุมชน.ช่างฆ้อง ยินดีต้อนรับ





4140. บ้าน.ช่างฆ้อง : อ่านจากแผ่นจารึกโลหะบรอนซ์ได้ความว่า

บ้านช่างฆ้อง

Ban Chang Khong Community

เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทำฆ้อง ถูกนำมาจากเชียงแสน ในสมัยพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ.2525 - 2358) มีวัดช่างฆ้องเป็นศูนย์กลาง ซึ่งได้รับการบูรณะในสมัยพระเจ้ามโหตรประเทศ พ.ศ.2391

ปัจจุบันชาวบ้านช่างฆ้องบางส่วน ย้ายไปอยู่ในเขตอำเภอรอบนอกของจังหวัดเชียงใหม่ จึงไม่ปรากฏว่ามีช่างฆ้องอยู่ในหมู่บ้าน






4163. ถนน.กำแพงดิน ฝั่งด้านซ้ายมือ คือ ที่ตั้งของ วัดช่างฆ้อง




4164.วัดช่างฆ้อง เลขที่ 44 ถ.กำแพงดิน ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4165. วัดช่างฆ้อง ถ.กำแพงดิน ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่




4166. ถนน.ซอย ด้านทิศใต้ วัดช่างฆ้อง





4169. ประตู ทางเข้า-ทางออก วัดช่างฆ้อง ด้านทิศตะวันออก ถ.กำแพงดิน


ข้อมูล
จาก://www.panoramio.com/photo/2109103

werayut, on September 26, 2008, said:

วัดช่างฆ้อง ตั้งอยู่ถนนลอยเคราะห์ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ทิศเหนือจรดบ้านเรือนราษฎร
ทิศใต้จรดซอยกำแพงดิน 2 และบ้านเรือนราษฎร
ทิศตะวันออกจรดบ้านเรือนราษฎร์
ทิศตะวันตก จดถนนกำแพงดินและตรงข้ามกับกำแพงดินสร้างเมื่อ พศ.1900

ชาวบ้านช่างฆ้องที่อพยพมาจากเชียงแสนราวต้นรัตนโกสินทร์เป็นผู้สร้างขึ้น
มีเรื่องเล่าว่าในสมัยโบราณบริเวณนี้ชื่อ"วัดศรีพูนโต" แต่เมื่อพวกช่างทำฆ้องได้อพยพกันมาตั้งถิ่นฐานในละแวกนี้ และสร้างวัดขึ้นใหม่ จึงได้นามวัดตามอาชีพของชาวบ้านแถบนี้

แต่ต่อมามีการสร้างถนนตัดผ่านวัดและมีผู้มาสร้างบ้านเรือนขึ้นภายในพื้นที่วัดเป็นผลให้เจดีย์ และอุโบสถที่กลายเป็นส่วนนอกวัดถูกปล่อยทิ้งให้รกร้างและทรุดโทรมลงทั้งที่เป็นโบราณสถานโบราณวัตถุ

ในสมัยแรกสร้างวัดกำแพงดิน เป็นกำแพงเมือง ชั้นนอก ของเมืองเชียงใหม่ มีจุดเริ่ม ที่แจ่งศรีภูมิ คือ มุมกำแพงเมือง ชั้นใน ด้านตะวันออก เฉียงเหนือ เลื้อยยาวลงมาทางใต้ แล้วอ้อม วกขึ้นไป บรรจบกับ มุมกำแพงเมือง ชั้นใน ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่เรียกว่า แจ่งกู่เฮืองคาดว่า กำแพงนี้ สร้างขึ้นพร้อมๆกับ กำแพงเมืองชั้นใน แต่ครั้งสร้างเวียง เมื่อ 700 ปีที่แล้วนั่นเป็นความสำคัญ ในฐานะโบราณสถาน ซึ่งแทบไม่เหลือซาก ให้เห็น

ในปัจจุบัน ในความรับรู้ ของคนที่เดินผ่านไป ผ่านมากำแพงดิน ไม่ได้สลักสำคัญ อะไรนอกจากเป็นแนวเนินดิน รกร้าง ที่คนยากไร้ บุกรุกเจาะเข้าไป จับจองที่ว่าง ด้านหลังเพื่อปลูกบ้านพักอาศัย ในความรับรู้ของชาวบ้าน ดูเหมือนว่า กำแพงดิน มีความน่าสนใจ ประการเดียวคือในฐานะแหล่งบริการ ทางเพศ อันขึ้นชื่อ ขนาดนักเที่ยว ไม่ลืมบรรจุ ลงใน สโลแกนเชียงใหม่ ฉบับชาวบ้าน ว่าเที่ยวกำแพงดิน กินข้าวซอย ขึ้นดอยสุเทพ

ที่ว่าแปลกก็คืออาณาเขตของวัด ถูกแบ่งแยกด้วยชุมชน ที่มาใช้พื้นที่ของวัด และกลายเป็นร้านค้าที่ไม่สามารถถอดถอนได้จึงทำให้บริเวณวัดเก่า ซึ่งมีพระอุโบสถเก่าและเจดีย์ ถูกกั้นด้วยชุมชนและถนน และอยู่ในความดูแลของโรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง อุโบสถและสถานที่สวยมาก แต่กลายเป็นเหมือนสวนสาธารณะไปแล้ว

วิหารทรงพื้นเมืองประยุกต์ หน้าบันทำลวดลายเป็นรูปช้างสามเศียรตรงกลาง มีลายเทวดาและลายพรรณพฤกษา ปิดทอง จากการซ่อมแซมบูรณะบริเวณป้านลมส่วนบนจะทำขอบด้วยปูนทับบริเวณกรอบของป้านลม คันทวยทำเป็นลายอ่อนโค้งแบบศิลปะภาคกลาง ภายในวิหารมีจิตรกรรมฝีมือช่างพื้นบ้านเขียนเรื่องพระเจ้าสิบชาติ

เจดีย์องค์เก่าเป็นเจดีย์ทรงปราสาทที่สร้างพร้อมกับการสร้างวัดปัจจุบันอยู่ภายนอกบริเวณวัด

เจดีย์องค์ที่อยู่ภายในวัดเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบพื้นเมืองล้านนา ฐานล่างเป็นฐานเขียงเรียบถัดขึ้นไปเป็นฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มาลัยเถาเป็นเหลี่ยม องค์ระฆังกลมส่วนยอดมีฉัตร มุมทั้งสี่ของเจดีย์มีสิงห์ปูนปั้นแบบพม่า

ภายในวัดมีหอไตรซึ่งเป็นตึกสองชั้นตกแต่งด้ว ลายปูนปั้นและไม้ฉลุ เป็นศิลปะผสมระหว่างจีนและพม่า ด้านนอกอาคารมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระเจ้าสิบชาติฝีมือช่างพื้นบ้าน ซึ่งยังคงสมบูรณ์อยู่

หอไตรเป็นหอไตรที่มีลักษณะพิเศษมีการประดับตกแต่งลวดลายที่ลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะจีนกับศิลปะพม่าที่งดงามมากแห่งหนึ่ง




4170. เวลา เปิด - ปิด ประตูวัด : เปิด 05.00 น. ปิด 19.00 น.




4171.อาคาร เทพนฤมิตรสนิทรังสรรค์




4172. พระวิหาร แห่ง วัดช่างฆ้อง ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่

:วิหารทรงพื้นเมืองประยุกต์ หน้าบันทำลวดลายเป็นรูปช้างสามเศียรตรงกลาง มีลายเทวดาและลายพรรณพฤกษา ปิดทอง

จากการซ่อมแซมบูรณะบริเวณป้านลมส่วนบนจะทำขอบด้วยปูนทับบริเวณกรอบของป้านลม คันทวยทำเป็นลายอ่อนโค้งแบบศิลปะ"ภาคกลาง"

ภายในวิหารมีจิตรกรรมฝีมือช่างพื้นบ้านเขียนเรื่องพระเจ้าสิบชาติ





4179. พระวิหาร วัดช่างฆ้อง ถ.กำแพงดิน ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่






4180. พระวิหาร วัดช่างฆ้อง ถ.กำแพงดิน ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่




4181. พระวิหาร แห่ง วัดช่างฆ้อง




4182. พระวิหาร วัดช่างฆ้อง ถ.กำแพงดิน ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่




4183. พญานาค เบื้องขวา แห่ง บันไดพระวิหาร วัดช่างฆ้อง





4184. พญานาค เบื้องซ้าย แห่ง บันไดพระวิหาร วัดช่างฆ้อง





4185. บริเวณภายใน พระวิหาร วัดช่างฆ้อง

:มีการผูกด้ายสายสินธิ์ สำหรับการเตรียมทำพิธี




4186. พระประธาน แห่ง พระวิหาร วัดช่างฆ้อง





4187. พระประธาน แห่ง พระวิหาร วัดช่างฆ้อง




4188. ธรรมาสน์ล้านนา

ข้อมูล จาก ://www.sri.cmu.ac.th/elanna/elanna47/public_html/art/art4.html

ธรรมาสน์ คือ อาสนะที่จัดไว้ให้พระภิกษุนั่งแสดงธรรม มักจะยกระดับขึ้นสูงกว่าระดับสายตาของผู้นั่งฟัง ลักษณะของธรรมาสน์จะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นทรงปราสาทมากกว่าทรงอื่น วัสดุที่ใช้ทำส่วนใหญ่สร้างด้วยไม้ ประดับประดาด้วยลวดลายและเทคนิคการประดับต่างๆ กัน ธรรมาสน์จะตั้งอยู่ในวิหารทางด้านขวาของพระประธาน และอยู่ทางด้านซ้ายของอาสนสงฆ์

การสร้างธรรมาสน์ นอกจากมีจุดประสงค์เพื่อต้องการให้เป็นที่แสดงธรรมของพระสงฆ์แล้ว ในความเชื่อของชาวล้านนายังเชื่อว่า การสร้างธรรมาสน์ถวายยังเป็นการทำบุญให้สำหรับตนเองในภายภาคหน้า เป็นการถวายทานให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการค้ำจุนพุทธศาสนา และเป็นการสร้างตามปีเกิด โดยเชื่อว่า คนที่เกิดปีขาลให้สร้างธรรมาสน์จะได้กุศลมาก





4189. 1 ในบานประตู พระวิหาร วัดช่างฆ้อง





4190. 1ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่






4191. 1ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4192. 1ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4193. 1ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4194. 1ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4195. 1ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่




4196. 1ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4197. 1ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4198. 1ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4203. 1ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4204. 1ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4206. 1ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่




4207. 1ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4208. 1ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4209. 1ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4199. พระประธาน แห่ง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4200. พระประธาน แห่ง พระวิหารวัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4201. บูชาพระประจำวันเกิด




4202.





4210. ภายใน พระวิหาร แห่ง วัดช่างฆ้อง





4215. พระวิหาร ด้านทิศใต้ วัดช่างฆ้อง ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4216. พระวิหาร แห่ง วัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4217. พระวิหาร แห่ง วัดช่างฆ้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4222.





4236.





4237. พระวิหาร ด้านทิศเหนือ วัดช่างฆ้อง ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4238. พระวิหาร ด้านทิศเหนือ วัดช่างฆ้อง ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4221. พระวิหาร ด้านทิศตะวันตก แห่ง วัดช่างฆ้อง





4240. พระวิหาร วัดช่างฆ้อง ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4219. พระอุโบสถแห่งวัดช่างฆ้อง ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4220. พระอุโบสถ แห่ง วัดช่างฆ้อง ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4223. พระเจดีย์ แห่ง วัดช่างฆ้อง ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่

เจดีย์องค์ที่อยู่ภายในวัดเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบพื้นเมืองล้านนา
ฐานล่างเป็นฐานเขียงเรียบถัดขึ้นไปเป็นฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม
มาลัยเถาเป็นเหลี่ยม
องค์ระฆังกลมส่วนยอดมีฉัตร
มุมทั้งสี่ของเจดีย์มีสิงห์ปูนปั้นแบบพม่า





4224. พระเจดีย์ แห่ง วัดช่างฆ้อง ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4225. มุมทั้งสี่ของเจดีย์มีสิงห์ปูนปั้นแบบพม่า





4227. สิงห์ปูนปั้นแบบพม่า แห่ง มุมของเจดีย์ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ





4228. สิงห์ปูนปั้นแบบพม่า แห่ง มุมของเจดีย์ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้





4229. พระเจดีย์ แห่ง วัดช่างฆ้อง ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่




4230. สิงห์ปูนปั้นแบบพม่า แห่ง มุมของเจดีย์ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ





4211.ศาลาบำเพ็ญอุโบสถศีล





4213. อาคาร...





4218.อาคาร...





4232. เข้าใจว่าเป็น โรงครัว





4226. พระกัจจายานะมหาเถระ แห่ง วัดช่างฆ้อง





4231. กู่ :





4233. จิรวฑฺโก : กุฏิพระภิกษุสงฆ์





4234.




4235. เข้าใจว่าเป็น ศาลเสื้อวัด





4241. ศาลาเอนกประสงค์ และ หอไตร แห่ง วัดช่างฆ้อง

:เมื่อผ่านเข้าประตูวัดช่างฆ้องเข้ามาจะเห็นอยู่ทางด้านซ้ายมือ





4173. ศาลาเอนกประสงค์ (ซ้าย) และ หอไตร (ขวา) แห่ง วัดช่างฆ้อง




4174. หอไตร วัดช่างฆ้อง

ข้อมูล จาก //thai-heritage-building.org

ข้อมูล ความสำคัญของอาคารหอไตรวัดช่างฆ้อง

ความสำคัญของหอไตรวัดช่างฆ้อง

หอไตร วัดช่างฆ้อง ปรากฎหลักฐานตามจารึกซึ่งเขียนด้วยอักษรล้านนาบนแผ่นทองแดง กล่าวว่าอาคารหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2446 (จุลศักราช 1265) โดยระบุว่า มีคนจีนชื่อ บุญยืน และภริยาชื่อนางบัวคำ เป็นผู้อุปถัมภ์ สร้างขึ้นในสมัยครูบาเจ้า โปธา เป็นเจ้าอาวาส นับอายุของอาคารถึงปัจจุบัน ได้ 104 ปี

อาคารหลังนี้ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ส่วนทิศเหนือของถนนลอยเคราะห์ เป็นอาคารสองชั้นก่ออิฐฉาบปูน ตัวอาคารตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระวิหาร ลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นอาคารแบบอิทธิพลจีน มีหลักฐานลวดลายปูนปั้นประดับส่วนต่างๆ ของอาคาร ได้แก่ บริเวณผนัง หัวเสา หน้าจั่ว สันหลังคา ซุ้มประตู โดยมีไม้แกะสลักฉลุลาย บริเวณราวระเบียง เชิงชาย และประตูหน้าต่าง นอกจากนี้ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังบริเวณระเบียงชั้นสองของอาคาร ซึ่งเขียนเรื่องปัญญาสชาดก ตอนเจ้าสุวัตรกับนางบัวคำ สอดคล้องชื่อภริยาของผู้สร้าง โดยสันนิษฐานว่าช่างเขียนน่ามีจะเป็นช่างฝีมือพื้นเมือง อาคารหลังนี้ถือว่าเป็นตัวอย่างของอาคารที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เนื่องจากมีความสำคัญที่สามารถกล่าวเป็นข้อๆ ได้ดังนี้


1. ความสำคัญในฐานะเป็นตัวแทนทางด้านประวัติศาสตร์ของชุมชน อาคารหลังนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นตัวแทนของการเข้ามาของชาวจีนในเมืองเชียงใหม่ ดังได้กล่าวแล้วว่าบริเวณโดยรอบของวัดช่างฆ้องเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อพยพเข้ามาทำการค้าในเมืองเชียงใหม่ในสมัยเจ้าผู้ครองนคร ซึ่งสันนิษฐานว่าคงอยู่ในช่วงราว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวจีนเหล่านี้ได้เข้ามาวางรากฐานด้านเศรษฐกิจการค้าให้กับเมืองเชียงใหม่ และได้อุปถัมภ์พุทธศาสนาด้วยการสร้างศาสนสถานขึ้นภายในวัดและชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ หอไตรวัดช่างฆ้อง ซึ่งสร้างโดยคนจีนหลังนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของการเข้ามาของกลุ่มคนจีนในเมืองเชียงใหม่ในระยะแรก และเป็นหลักฐานด้านประวัติศาสตร์และสังคมล้านนายุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่แสดงถึงบทบาททางด้านพุทธศาสนาของชาวจีนซึ่งเป็นกลุ่มคนกลุ่มใหม่ที่ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในสังคมแทน กลุ่มเจ้านายที่กำลังถูกริดรอนอำนาจ

2. ความสำคัญในฐานะที่เป็นตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม หอไตรหลังนี้ถือเป็นหลักฐานที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ในฐานะตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมอิทธิพลจีนประเภทหอไตรซึ่งปรากฎหลักฐานเพียงแห่งเดียวในเมืองเชียงใหม่
อาคารหลังนี้มีลักษณะเฉพาะตัวที่แสดงถึงรูปแบบและกระบวนการช่างที่เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมจีนและสถาปัตยกรรมแบบพื้นเมือง ภายใต้ช่างฝีมือที่ผสมผสานกันระหว่างช่างพื้นเมืองล้านนากับช่างชาวจีนเช่นเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญในเรื่องพัฒนาการของกระบวนการช่างล้านนาได้เป็นอย่างดี เนื่องจากคนจีนที่เข้ามาในเมืองเชียงใหม่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ นอกเหนือจากความสามารถด้านการค้าขายแล้ว ยังได้นำเอาความก้าวหน้าทางด้านการช่างมาสู่ภาคเหนืออีกด้วย อาคารหอไตรวัดช่างฆ้อง ซึ่งสร้างด้วยระบบโครงสร้างแบบก่ออิฐฉาบปูนและคอนกรีตเสริมเหล็กบางส่วน แสดงถึงพัฒนาการในงานก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมซึ่งเปลี่ยนจากโครงสร้างไม้ผสมการก่ออิฐฉาบปูนแบบโบราณของล้านนา มาสู่อาคารสมัยใหม่ที่มีคุณค่าต่อการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ส่วนประดับตกแต่งของอาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งลวดลายปูนปั้นประดับกระจกแก้วจืน และไม้แกะสลัก ก็เป็นตัวอย่างงานตกแต่งที่มีลักษณะเฉพาะตัว กล่าวคือมีการใช้เทคนิคการผูกลายอย่างจีน แต่ใช้เทคนิคในการตกแต่งด้วยกระจกแก้วจืน และทาสีแดงด้วยชาด (รัก+หาง) พร้อมทั้งปิดทองคำเปลวแบบล้านนา ฝีมือช่างชาวจีนและล้านนาผสมกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่กล่าวได้ว่าเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญในการศึกษาเรื่ององค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญยิ่งต่อการศึกษาด้านศิลปสถาปัตยกรรม

3. ความสำคัญในฐานะเป็นที่ตั้งของหลักฐานด้านศิลปกรรมที่สำคัญ หอไตรหลังนี้ปรากฎหลักฐานการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังด้วยเทคนิคสีฝุ่นบริเวณผนังระเบียงชั้นสอง เป็นภาพเขียนสีเรื่องราวเกี่ยวกับปัญญาสชาดก เรื่องเจ้าสุวัตรกับนางบัวคำ ปัจจุบันภาพเขียนดังกล่าวลบเลือนไปบ้างบางส่วนแต่ยังคงเห็นหลักฐานอยู่ชัดเจน ภาพเขียนดังกล่าวสันนิษฐานว่าน่าจะเขียนขึ้นพร้อมกับการสร้างอาคาร มีอายุราว 100 ปี ช่างฝีมือน่าจะเป็นการเขียนร่วมกันระหว่างช่างชาวจีนและช่างพื้นเมือง ตัวภาพมีลักษณะพิเศษในเรื่องของการใช้โครงสีฟ้า-เทา และลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่มีอิทธิพลรูปแบบจิตรกรรมแบบรัตนโกสินทร์ ซึ่งถือเป็นหลักฐานของภาพเขียนที่แสดงถึงพัฒนาการของงานจิตรกรรมฝาผนังล้านนายุคเปลี่ยนแปลงการปกครองที่สำคัญชิ้นหนึ่ง ดังนั้นอาคารหลังนี้จึงมีความสำคัญยิ่งในฐานะที่เป็นที่ตั้งของหลักฐานด้านศิลปกรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาทางด้านวิชาการ






4175. หอไตรวัดช่างฆ้อง


เหตุผลในการเสนอเพื่อขึ้นทะเบียนอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

เหตุผลด้านวิชาการ

หอไตรวัดช่างฆ้อง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอาคารที่มีคุณค่าต่อการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอย่างยิ่ง เนื่องจากตัวอาคารมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นอาคารแบบอิทธิพลจีนที่ถือว่าเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่มีการก่อสร้างโดยช่างฝีมือชาวจีนผสมผสานกับช่างล้านนา อันแสดงถึงพัฒนาการทางด้านสถาปัตยกรรมช่วงหนึ่งของงานสถาปัตยกรรมล้านนา นอกจากนี้ยังเป็นหลักฐานที่สำคัญต่อการศึกษาเรื่ององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ประเภทปูนปั้น ไม้แกะสลัก และภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งถือว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการค้นคว้าและศึกษาของนักวิชาการในอนาคต ทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม
ดังนั้นหากอาคารหลังนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ จะทำให้ประชาชนทั้งในส่วนของชุมชนช่างฆ้องเอง และนักวิชาการต่างๆ เกิดความภาคภูมิใจ เกิดความหวงแหนและเห็นคุณค่าของโบราณสถานในพื้นที่ ซึ่งเป็นสมบัติของเมือง นำมาซึ่งการให้ความสำคัญแก่อาคารหลังนี้ในฐานะหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของเมืองเชียงใหม่และของชาติต่อไป

เหตุผลด้านการอนุรักษ์

อาคารหลังนี้ปัจจุบันไม่ได้รับการใช้งานตรงจุดประสงค์เดิมของอาคาร ทางวัดช่างฆ้องใช้เป็นที่สำหรับเก็บของและเครื่องใช้ของวัด อาคารไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร มีการต่อเติมอาคารใหม่ที่ไม่เหมาะสมชิดด้านหลังของอาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาเรื่องน้ำฝนและความชื้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อตัวอาคารในอนาคต นอกจากนี้ตัวอาคารยังตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สง่างาม เนื่องจากมีศาลาเอนกประสงค์ขวางอยู่ด้านทิศตะวันออก แต่เนื่องด้วยโครงสร้างของอาคารยังคงมีสภาพแข็งแรงมั่นคง จึงทำให้สภาพอาคารโดยทั่วไปยังอยู่ในสภาพที่ดี อย่างไรก็ตามด้วยเหตุผลเรื่องการจัดการในปัจจุบัน รวมถึงบทบาทของวัดและชุมชนที่มีต่อการให้ความสำคัญแก่ตัวอาคารเองที่ยังมีน้อย และหากปล่อยให้อาคารหลังนี้ถูกทิ้งร้างและไม่ได้รับการปรับปรุง ดูแลโดยเร็ว โอกาสที่อาคารหลังนี้จะทรุดโทรมและเสียหายย่อมเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

ดังนั้นหากอาคารหลังนี้ได้รับการประกาศให้เป็นอาคารที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ จะทำให้ชาวบ้านในชุมชนกลับมาให้ความสนใจแก่โบราณสถานในฐานสมบัติของชุมชนและของเมืองอย่างจริงจัง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์หลักฐานทางด้านวิชาการให้คงอยู่ต่อไป

เหตุผลด้านการท่องเที่ยวและการรื้อฟื้นประวัติศาตร์ของชุมชนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของเมือง

ตำแหน่งของวัดช่างฆ้อง อยู่ในพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ ไนท์บาร์ซ่า เขตกำแพงเมืองเก่า และย่านท่าแพ อาคารหลังนี้หากได้รับการบูรณะและดูแลให้อยู่ในสภาพที่ดี ทั้งในแง่ของสภาพแวดล้อมและตัวอาคาร รวมถึงการบริหารจัดการต่างๆ ของวัด เช่น การจัดการเรื่องข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง หรือการผลักดันให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของเมืองด้านกระบวนการช่างล้านนาและเอกสารโบราณ จะทำให้วัดช่างฆ้องกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดอีกแห่งหนึ่งที่อยู่กลางเมือง ที่มีสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าอยู่ในพื้นที่

ดังนั้นถ้าหากอาคารหลังนี้ได้รับการประกาศให้เป็นอาคารที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ด้วย ก็จะทำให้วัดช่างฆ้องมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังจะทำให้วัดและชาวบ้านในชุมชนเกิดความตื่นตัวและเห็นคุณค่าความสำคัญของโบราณสถาน นำมาซึ่งการผลักดันกิจกรรมต่างๆ ภายในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรื้อฟื้นประวัติศาสตร์และความสำคัญของชุมชนในอดีตขึ้นมา เพื่อเพิ่มความสำคัญของชุมชนและวัด ซึ่งยังผลดีต่อบทบาทของชุมชนและการท่องเที่ยวในอนาคตนั่นเอง


ความสำคัญด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม

อาคารหอไตรหลังนี้มีส่วนประดับตกแต่งของอาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งลวดลายปูนปั้นประดับกระจกแก้วจืน และไม้แกะสลัก เป็นตัวอย่างงานตกแต่งที่มีลักษณะเฉพาะตัว กล่าวคือมีการใช้เทคนิคการผูกลายแบบล้านนา ผสมผสานลวดลายแบบพม่า แต่ใช้เทคนิคในการตกแต่งด้วยกระจกแก้วจืน และทาสีแดงด้วยชาด (รัก+หาง) พร้อมทั้งปิดทองคำเปลวแบบล้านนา ฝีมือช่างชาวจีนและล้านนาผสมกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่กล่าวได้ว่าเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญในการศึกษาเรื่ององค์ประกอบในงาน
สถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญยิ่งต่อการศึกษาด้านศิลปสถาปัตยกรรม





4176. ภาพจิตรกรรม แห่ง หอไตร วัดช่างฆ้อง


จิตรกรรมฝาผนัง เขียนเรื่องปัญญาสชาดก ตอนเจ้าสุวัตรกับนางบัวคำ


หอไตรหลังนี้ปรากฎหลักฐานการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังด้วยเทคนิคสีฝุ่นบริเวณผนังระเบียงชั้นสอง เป็นภาพเขียนสีเรื่องราวเกี่ยวกับปัญญาสชาดก เรื่องเจ้าสุวัตรกับนางบัวคำ ซึ่งเป็นนิทานที่กล่าวถึงการบำเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้า ในครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งตอนนี้ได้จุติมาเกิดเป็นเจ้าสุวัตรและต้องบำเพ็ญเพ็ญและต้องทนทุกข์ต่อการพลัดพราก ปัจจุบันภาพเขียนดังกล่าวลบเลือนไปบ้างบางส่วนแต่ยังคงเห็นหลักฐานอยู่ชัดเจน ภาพเขียนดังกล่าวสันนิษฐานว่าน่าจะเขียนขึ้นพร้อมกับการสร้างอาคาร มีอายุราว 104 ปี โดยสันนิษฐานว่าช่างฝีมือน่าจะเป็นช่างพื้นเมือง ตัวภาพมีลักษณะพิเศษในเรื่องของการใช้โครงสีฟ้า-เทา และลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่มีอิทธิพลรูปแบบจิตรกรรมแบบรัตนโกสินทร์ ซึ่งถือเป็นหลักฐานของภาพเขียนที่แสดงถึงพัฒนาการของงานจิตรกรรมฝาผนังล้านนายุคเปลี่ยนแปลงการปกครองที่สำคัญชิ้นหนึ่ง




4177.ภาพจิตรกรรม แห่ง หอไตร วัดช่างฆ้อง





4239. เทพนฤมิตรสนิทรังสรรค์


ออกจากวัดช่างฆ้อง แวะไปชมพระอุโบสถและพระเจดีย์ที่ข้างโรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิงจะดีไหมเอ่ย





4133. พื้นที่ วัดช่างฆ้อง





4134.พระอุโบสถแห่งวัดช่างฆ้อง ในบริเวณพื้นที่วัดช่างฆ้อง ถ.ลอยเคราะห์





4135. น้ำบ่อ ในบริเวณพื้นที่วัดช่างฆ้อง





4136.พระอุโบสถแห่งวัดช่างฆ้อง ในบริเวณพื้นที่วัดช่างฆ้อง ถ.ลอยเคราะห์





4137. มกรคายนาค แห่ง พระอุโบสถแห่งวัดช่างฆ้อง ในบริเวณพื้นที่วัดช่างฆ้อง ถ.ลอยเคราะห์





4138.พระอุโบสถแห่งวัดช่างฆ้อง ในบริเวณพื้นที่วัดช่างฆ้อง ถ.ลอยเคราะห์





4139.พระเจดีย์แห่งวัดช่างฆ้อง ในบริเวณพื้นที่วัดช่างฆ้อง ถ.ลอยเคราะห์




4141. บ้านช่างฆ้อง





4142. พระเจดีย์แห่งวัดช่างฆ้อง ในบริเวณพื้นที่วัดช่างฆ้อง ถ.ลอยเคราะห์
ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ อยู่ข้าง โรงแรม อิมพีเรียล แม่ปิง




4144. โรงแรม อิมพีเรียล แม่ปิง

: THE IMPERIAL MAE PING HOTEL




4146. พระเจดีย์แห่งวัดช่างฆ้อง ในบริเวณพื้นที่วัดช่างฆ้อง ถ.ลอยเคราะห์





4147. พระเจดีย์แห่งวัดช่างฆ้อง





4148.พระพุทธรูปแห่งพระเจดีย์ ด้านทิศตะวันตกในบริเวณพื้นที่วัดช่างฆ้อง





4149. พระเจดีย์แห่งวัดช่างฆ้อง





4150. พระอุโบสถแห่งวัดช่างฆ้อง





4151.ประตูและกำแพงวัดช่างฆ้อง บริเวณใกล้โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง






4153. มกรคายนาคคู่ แห่ง พระอุโบสถ วัดช่างฆ้อง





Moonfleet ได้มาเยือน วัดช่างฆ้อง ถ.กำแพงดิน ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่

วันเสาร์ ที่ 7 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2552




นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง




 

Create Date : 08 พฤศจิกายน 2552
5 comments
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2552 22:26:26 น.
Counter : 9078 Pageviews.

 

แยกลอยเคราะห์ตัดกำแพงดินไม่เคยเห็นมานานแล้ว ไม่ได้ผ่านไปแถวนั้นนานมาก ๆ จำไม่ได้เลยค่ะ

หอไตร กับโบสถ์ สวยมากเลยค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 8 พฤศจิกายน 2552 15:49:05 น.  

 

เมื่อวันที่3กุมภาพันธ์2553หลังเลิกงานออกบู๊ทที่โรงแรมอิมพีเรียลริมปิงผมได้เดินไปไหว้พระที่พระวิหารวัดช่างฆ้องวัดนี้เก่ามากพระวิหารสวยมากถ้าโอกาสหน้าผมได้ไปจ.เชียงใหม่ก็จะไปที่วัดช่างฆ้องอีกครับ

 

โดย: ปรีชา รัตนประสิทธิ์ IP: 113.53.188.131 6 กุมภาพันธ์ 2553 0:23:31 น.  

 

ขอแสดงความยินดีที่วัดช่างฆ้องมีเว็บครับ

 

โดย: ไม่มีชื่อครับ IP: 223.204.213.136 27 มกราคม 2554 15:47:30 น.  

 

เว็บ วัดช่างฆ้อง //www.watchangkong.com

 

โดย: ไปร์ IP: 180.183.147.140 22 พฤษภาคม 2554 13:26:41 น.  

 

วัดนี้รุ่งเรื่องสมัยท่านเจ้าครูบาสนิท (พระครูสุวรรณสารพิศิษฐ์ ) ท่านป๋าระมีแก่กล้าลูกศิษย์ลูกหานักหลายเสียดายรุ่นหลังๆป๋าระมีลดถอยหาแป๋งยายาก..

 

โดย: หน๋านสา IP: 118.174.134.13 31 พฤษภาคม 2555 13:53:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.