เอกรงค์ - ตอน 1 - แนวคิด
ตอนนี้เขียนขึ้นเพื่อขยายความบล็อกเดิมที่เคยเขียนไว้เกี่ยวกับเทคนิคการทำภาพเอกรงค์ และการเร่งสี
สาเหตุอันเนื่องมาจากความรำคาญส่วนตัว เกี่ยวกับภาพสี และขาวดำที่โพสกันอยู่
ข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการโพสภาพโชว์ ที่ผมเห็นมากที่สุดมีสองอย่างครับ คือ เร่งสี กับทำขาวดำ


1. เร่งสี

เรื่องนี้เป็นความผิดพลาดพื้นฐานอันดับแรกที่สุดเลย และเจอได้บ่อยที่สุด เวลาโพสรูปตามเว็บบอร์ด
ถ้านึกอะไรไม่ออก กลัวภาพไม่สวย แม่ก็เร่งสีไว้ก่อน เพื่อความมั่นใจ

แต่ความเป็นจริงแล้ว การเร่งสี มันไม่ใช่แค่เลื่อน Saturation Slider ไปทางขวาซัก 20 แล้วจบ เอารูปไปโพสอวดชาวบ้านได้นะเออ
มันมีเรื่องที่ต้องปรับ และต้องทำความเข้าใจเยอะกว่านั้นมากนัก ก่อนที่จะได้รูปที่ใช้ได้

เวลาที่เราเร่ง sat. รวมทั้ง Contrast ขึ้นไปดื้อๆ มันจะทำให้สีของภาพทั้งภาพ shift ไปจากเดิม
สีของภาพจะเพี้ยนไป เห็นได้ชัดที่สุดก็คือการติดสีแดง-ส้ม ในส่วนเงาของสีผิว
ดูง่ายๆ ว่า ถ้าเมื่อไหร่ที่ส่วนเงา หรือใต้ไรผม ติดสีส้มแดง เป็นอันมั่นใจได้ว่า มาผิดทางแล้ว

เอาเป็นว่าตอนนี้ระหว่างที่ยังหัดถ่ายรูป ยังอยู่ระหว่างการศึกษาเทคนิคการทำภาพ
ควรงดใช้ Saturation ชั่วคราว และให้ใช้ Vibrant แทนไปก่อน มันก่อปัญหาน้อยกว่ากัน

และข้อควรจำยิ่งไปกว่าจะใช้ Tools อะไรในการทำสีภาพ คือ ภาพสีแปร๋นๆ ไม่ได้แปลว่าภาพนั้นสวยนะครับ
ควรคิดหลายๆ รอบก่อน ว่าการเพิ่ม saturation เป็นทางเลือกที่ดีแล้ว ถึงค่อยทำ


FishingBoat



2. ทำขาวดำ

เรามักจะเห็นคนถ่ายภาพเก่งๆ เค้าทำรูปขาวดำกัน และทางศิลปะทั้งหลาย ภาพขาวดำจะเป็นภาพส่วนใหญ่ในแกลเลอรี่
ดังนั้นเราจึงนิยมถ่ายภาพ หรือทำภาพเอกรงค์ เราจะได้ดูติสต์ๆ มากขึ้นกว่าเดิม

แต่การทำภาพขาวดำโดยไม่ถูกวิธี เป็นความผิดพลาดที่เจอได้บ่อยในการโพสรูปเลย
เพราะภาพเอกรงค์ทำให้สวยยาก ไม่ใช่ยากธรรมดา แต่ยากมาก ระดับสุดขีด
ในห้องกล้องพันทิป ทั้งห้องย่อย ห้องรวม คนที่ทำภาพเอกรงค์ได้โทนสวยจริงๆ ผมเห็นไม่เกิน 5 คน
ในขณะที่ภาพสีโทนสวยๆ นี่ผมเห็นหลายสิบคน จะเป็นร้อยเอาด้วย

และก็เช่นเดียวกัน แค่เอาสีออกจากภาพ ไม่ได้ทำให้ภาพนั้นกลายเป็นภาพเอกรงค์ที่ดี
จริงๆแล้วเป็นการทำให้ภาพนั้นแย่ลงมากๆ ต่างหาก
ภาพจะเสียน้ำหนัก เสียโทน เสียคอนทราสท์ ขาดมิติตื้นลึก รายละเอียด
ไม่ว่าความเลวร้ายอันใดที่พึงจะมีได้ ในภาพถ่ายเลวๆ
ก็จะพลันบังเกิดขึ้นในภาพนั้นทันที ที่เราถอดเอาสีออกไปจากภาพ

ดังนั้นหากจะอวดภาพขาวดำ ให้คิดหลายๆ รอบก่อนโพส ว่าได้ปรับเคิร์ฟ เลเวล
แก้โทนภาพส่วนมืด ส่วนสว่างจนออกมาใช้การได้แล้ว ก่อนจะเผยแพร่
ไม่ใช่แค่ลด sat เหลือศูนย์แล้วโพสเลย มันจะได้ภาพตุ่นๆ เทาๆ พิลึกๆ

แล้วที่น่าหงุดหงิดกว่าการที่ใครซักคน หรือซักหลายๆ คนโพสรูปขาวดำโทนพิลึกๆ คือ
เราก็ดันดูกันไม่ออกเสียด้วย ว่ารูปนี้โทนภาพมันผิด
แต่ผมก็เข้าใจ ทั้งคนโพส และคนดูภาพนั่นแหละ เพราะผมก็เป็นมาก่อน

เนื่องจากปกติแล้วไม่เคยมีใครเค้าสอนกัน ว่าภาพขาวดำที่ดี โทนภาพมันเป็นอย่างไร
นอกจากมันเป็นไม้ตายในการทำมาหากินแล้ว มันยังสอนกันไม่ได้ หรือเกือบไม่ได้ซะด้วย
ถ้าไม่พาเข้าห้องมืดไปยืนทำภาพขาวดำจากฟิล์มด้วยกัน
หรือไม่เคยไปเจอภาพขาวดำงามๆ บนกระดาษ Fiber based

เอาน่า.. ไม่เป็นไร ถึงยังไม่เคยเห็นภาพเจ๋งๆ แบบนั้น
แต่การได้เห็นภาพขาวดำงามๆ ก็พอทดแทนกันได้นะ
เว็บของนักถ่ายภาพมืออาชีพที่ทำภาพเอกรงค์สวยๆ มีให้ดูมากมาย


LillyBook



ในเมื่อฝีมือไม่ถึง ดังนั้นเราจึงไม่ควรทำภาพขาวดำ?
-ไม่ใช่ครับ กลับกัน ที่จริงเราควรจะทำภาพขาวดำเยอะๆ ต่างหาก
ภาพห่วยๆ นี่แหละสอนถ่ายรูปได้เก่งกว่าภาพสวยๆ



ภาพเอกรงค์ เป็นเทคนิคในการฝึกการถ่ายภาพที่ดีมาก ไม่ว่าจะมองจากแง่มุมไหน

ภาพเอกรงค์จะฝึกเรื่องการวัดแสงได้ดีมาก เพราะภาพที่เราเห็นจะไม่ถูกรบกวนด้วยสี
เราจะเห็นเป็นโทนมืด-สว่างของแสง เท่านั้น ทำให้เข้าใจเรื่องการวัดแสงได้ง่าย

เวลาสอนการอ่านฮิสโตแกรม ดูภาพที่ไม่มีสีจะเข้าใจฮิสโตแกรมได้เร็วกว่า และเข้าใจง่ายกว่าการดูภาพสี
ถ้ากราฟมันไปโด่งทางซ้าย โทนภาพมันจะมืดชัดเจน ถ้าโด่งทางขวาภาพก็จะซีดๆ เห็นชัดเลย
แต่ภาพสีบางทีมันก็ดูยาก ว่าสีนั้นสีนี้มันสว่างหรือมืดแค่ไหนบนฮิสโตแกรม

เวลาเราอ่านทิศทางของแสง ภาพที่มีแต่สว่างกับมืด ไม่มีสี จะเห็นผลของแสงได้อย่างชัดเจน
ว่าแสงกระทำอะไรกับภาพบ้าง เข้าทางไหน กระทบ สะท้อนอย่างไร
ทำให้แสงเงา รูปทรง พื้นผิวเป็นอย่างไร

เวลาถ่ายภาพจริงๆ ถ้าเห็นแค่แสง กับเงา ก็จะหาทางจัดองค์ประกอบ ใส่เรื่องราว ได้
โดยไม่ต้องพะวงกับสีสัน บางทีสีสันมันก็จะแย่งความสนใจจากเราไป จนลืมเรื่องอื่น
เช่น ฉากหลังรบกวนตัวแบบหรือไม่ ใส่ฉากหน้าดีหรือยัง องค์ประกอบโดยรวมของภาพเป็นอย่างไร
อารมณ์ภาพเป็นอย่างไร มีเรื่องราวหรือไม่

การปรับภาพเอกรงค์ให้ออกมาสวย เป็นการทำความเข้าใจกับแสง ความมืดสว่าง
พฤติกรรมของพิกเซล เมื่อถูกจัดการด้วยเครื่องมือต่างๆ จะตอบสนองต่างกันไป

Monochrome Processing ถือเป็นการทำความเข้าใจหนึ่งในเทคนิค และความรู้สำคัญที่สุด
หัวใจของการถ่ายภาพ และ Post Processing ภาพถ่ายเลยทีเดียว คือความรู้เกี่ยวกับ แสง
เพราะภาพถ่ายนั้นแท้จริงแล้วไม่มีอะไรเลย นอกจากแสง แสง และแสงเท่านั้น
แสงคือหัวใจ คือทุกสิ่งทุกอย่างในภาพถ่าย

ดังนั้นนักถ่ายภาพทุกคน สมควรศึกษาการปรับภาพเอกรงค์แบบดิจิตอลให้เข้าใจ
เช่นเดียวกับที่นักถ่ายภาพสมัยฟิล์ม ถูกบังคับให้เข้าห้องมืดล้างอัดภาพนั่นแหละ


ตอนเรียนผมถูกฝึกให้ปรับจอหลังกล้องเป็นขาวดำ ไฮคอนทราสท์ ในเวลาถ่ายภาพ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเอาใจใส่กับจอมากนัก
อย่างที่ผมเคยบอกบ่อยๆ ว่าจอภาพหลังกล้อง ประโยชน์หลักคือ ดูเมนู และอ่านฮิสโตแกรม
รองลงมาคือดูแถบ เส้นของแสง ที่สว่าง และเงาส่วนมืดขององค์ประกอบ ในลักษณะของภาพกราฟฟิก
ประมาณนี้ครับ


SinCity



Create Date : 26 มีนาคม 2554
Last Update : 26 มีนาคม 2554 18:39:17 น.
Counter : 4399 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อะธีลาส
Location :
Sydney  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 44 คน [?]



Photographer, photo educator, writer and more.......

อนุญาตให้ ใช้ ดัดแปลง แก้ไข ตัดต่อ ทำสำเนา เผยแพร่ อ้างอิง จำหน่าย จ่ายแจก ภาพ และบทความในบล็อกนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด เพื่อสาธารณะประโยชน์ เพื่อการศึกษา เพื่อกิจส่วนตัว และเพื่อการค้าได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตามสัญญาอนุญาตใช้งาน Creative Commons: Attribution.


Website
http://mister-gray.bloggang.com
https://twitter.com/nickdhapana
http://500px.com/NickDhapana
https://plus.google.com/+NickDhapana
http://nickdhapana.tumblr.com
http://instagram.com/nickdhapana
https://www.facebook.com/dhapana/about


Skype & Email
cmosmyp@gmail.com


Line
nickdhapana


My Project's Page

Public Telephone
https://www.facebook.com/PublicTelephoneProject

They didn't say that.
https://www.facebook.com/pages/They-didnt-say-that/116827521834600

Exposure to the RIGHT
https://www.facebook.com/pages/Exposure2the_RIGHT/538556252881951

Thailand Perspective Project
https://www.facebook.com/ThailandPerspective

Dead on Arrival
https://www.facebook.com/pages/Dead-on-Arrival/666461363385961
มีนาคม 2554

 
 
1
3
4
5
6
7
8
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
30
 
 
All Blog