เวลาที่เราถ่ายรูป หรือได้รูปมาเป็นไฟล์ JPEG, JPG มีข้อแนะนำจากผู้ชำนัญว่า
อย่าไปยุ่งกับไฟล์ต้นฉบับ ให้เซฟเก็บไว้แยกต่างหากในที่ปลอดภัย (อย่างน้อย 2 ก็อปปี้)
เหตุผลเบื้องหลังก็คือ ไฟล์ jpg นั้นเป็นไฟล์ประเภท Lossy คือเวลาที่คอมพิวเตอร์จะเซฟข้อมูล มันจะมีกระบวนการบีบอัดไฟล์ให้เล็กลง และจะตัดข้อมูลทิ้งออกไปบางส่วน เพื่อให้ขนาดไฟล์เล็กกระทัดรัดลง
ผลที่เกิดขึ้นคือ ทุกครั้งที่เซฟ ข้อมูลภาพจะถูกทิ้งออกไปบางส่วนทุกครั้ง ยิ่งเซฟหลายครั้ง ก็ยิ่งถูกทิ้งมาก ยิ่งบีบอัดให้ไฟล์เล็กลง หรือที่ในโปรแกรมแต่งภาพเรียกว่าการเลือก Quality ของภาพ ยิ่งต่ำก็ยิ่งถูกทิ้งมาก (แต่ก็ทำให้ขนาดไฟล์เล็กลงมากด้วยเช่นกัน)
ตัวอย่างนี้เป็นภาพที่เซฟแบบ High Quality แต่มีการบันทึกซ้ำลงไปหลายๆ ครั้ง
จากซ้าย 4 ครั้ง 12, 24, 36, 48 จะเห็นได้ว่ายิ่งเซฟมากครั้งเท่าไหร่ คุณภาพไฟล์ภาพก็ยิ่งลดลงมากขึ้นเรื่อยๆ
ในความเป็นจริง เราอาจจะไม่ได้เซฟกันหลายครั้งขนาดนี้ แต่การเซฟคุณภาพระดับ Medium สัก 5-10 ครั้ง เป็นเรื่องที่เราเจอกันได้อยู่แล้วในการใช้งานจริงของมือสมัครเล่น
ซึ่งที่คุณภาพระดับ Medium (6-8 ในโฟโต้ชอป) เซฟแค่ 5-6 ครั้ง คุณภาพก็ลดลงจนเห็นได้แล้ว
ดังนั้นสิ่งที่ควรทำให้เป็นนิสัยคือ แยกไฟล์ภาพต้นฉบับไว้ต่างหาก แล้วจะตกแต่ง จะย่อ หรือจะทำอะไรก็ตาม ให้ก็อปปี้มันมาก่อน แล้วจัดการในไฟล์ที่ก็อปมาจะดีที่สุด หากจะลงมือกันหนักๆ หรือเซฟไว้เพื่อทำซ้ำอีกในครั้งต่อไป ก็ควรจะเซฟเป็น TIFF หรือ PSD ออกมา ไม่ควรเซฟเป็น jpg
ภาพนี้จำไม่ได้ว่าเซฟไปกี่รอบ เพราะใช้แอคชั่นหมุนแล้วเซฟแบบวนลูป รู้แต่ว่าแอคชั่นมันรันนานมาก
เวลาจะเอามาใช้ก็ก็อปลงเครื่อง
คงไม่มีผลอะไรต่อต้นฉบับนะครับ
...