เรื่องม่วงๆ ของ Purple และ Violet
ถึงแม้ว่าในภาษาไทย เราจะเรียกว่าเป็นสีม่วงเหมือนกัน อาจจะเพิ่มคำขยายความเข้าไปว่า ม่วงน้ำเงิน (violet) หรือม่วงแดง, บานเย็น (purple) เพื่อให้เห็นความแตกต่าง
แต่จริงๆ สองสีนี้ไม่เหมือนกันเลยไม่ว่าในแง่ใด

อย่างแรกที่เราควรจะรู้คือ สายตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นสีม่วง violet ที่ถูกต้องได้
เพราะ violet เกิดจากความยาวคลื่นแสงความถี่สูง (ความยาวคลื่น 380-450 nano meter) ที่ไม่มีตัวรับภาพในดวงตามนุษย์สามารถรับได้ ตัวรับภาพในดวงตาเรามีเพียงสีแดง เขียว น้ำเงินเท่านั้น ความถี่ของคลื่นแสงสูงสุดที่เราเห็นได้ และมีพฤติกรรมใกล้เคียงกับสีอื่นคือ
สีน้ำเงินอมม่วง (violet, lavender violet, 417-450 nm) ที่อาศัยเซ็นเซอร์สีน้ำเงินในดวงตามาช่วยในการเห็น แล้วค่อยถอดรหัสในสมองให้ออกมาเป็นสีม่วง lavender

ไม่ใช่สีม่วง violet แท้ๆ (vivid violet, extreme violet, 400-380 nm)
สีม่วง violet แท้ๆ ที่สายตาเราเห็น เราจะเห็นเป็นสีม่วงอมน้ำเงินลางๆ มืดๆ ดำๆ แทบไม่มีรายละเอียด

violet



ส่วนสีม่วงสูงสุด ที่อยู่ในระบบดิจิตอล และอยู่ในตารางสี CIE คือ electric violet (400 nm, RGB: 143, 0, 255)
ซึ่งสีม่วงที่เข้าใกล้ electric violet ไปจนถึงสีม่วงสูงสุดคือ extreme violet จะมีพฤติกรรมประหลาด ที่เราควรจะรู้คือ
เมื่อปรับ Saturation เพิ่มขึ้น เราจะไม่เห็นว่ามันสีสด เข้มขึ้น หรือสว่างเจิดจ้าขึ้น เหมือนที่เกิดกับสีปกติ สีอื่นๆ
พูดอย่างง่ายคือ สายตาเรามองไม่เห็นว่า violet ที่สีสดเข้ม และไม่สด ต่างกันอย่างไร
เพราะสายตาเราไม่มีเซ็นเซอร์ ที่จะรับรู้ความสด อิ่มตัวของสีในความถี่นี้


spectrum1



แปลกไปกว่าสีม่วง violet คือ สีม่วง purple

ถ้าลองดูในสเปคตรัมของแสง
ที่ฝั่งซ้าย จะเป็น violet (380 nm) เมื่อเพิ่มความยาวคลื่นของแสง (หรือลดอุณหภูมิสี ในศัพท์ที่นักถ่ายภาพรู้จักกันดี) ไล่ไปทางขวาเรื่อยๆ
สีจะค่อยๆ เปลี่ยนจากม่วง (violet) เป็นน้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม ไปสุดสเปคตรัมที่ตามองเห็นได้ คือสีแดง (700 nm) ที่ฝั่งขวาสุดของชาร์ต
สิ่งที่เราจะเห็น (หรือที่จริงคือไม่เห็น) คือไม่เห็นมี purple ตรงไหนเลย ในสเปคตรัมของแสง


spectrum2



ดูสิ purple ไม่มีอยู่ในสเปคตรัมของแสง

เนื่องจาก purple เป็นสีที่ไม่มีจริงในจักรวาล มันเป็นสีที่เกิดขึ้นในสมองของเราเท่านั้น
เป็นสีที่ไม่มีเซ็นเซอร์ใดๆ ในโลกนี้ ไม่ว่าดิจิตอล อนาล็อก หรือ เซ็นเซอร์ชีวภาพในสิ่งมีชีวิตใด ที่จะจับภาพสีนี้ได้
สีที่เราเห็นเกิดจากตัวรับภาพสีน้ำเงิน และสีแดง ในตาเรา ส่งสัญญาณมาผสมกันในสมองเท่านั้น


ต้องมาดูในชาร์ท CIE ครับ
เป็นชาร์ที่จะเอาเส้นสเปคตรัมมางอ เพื่อบอกว่าเวลาเอาสีต่างๆ ในสเปคตรัมของแสงมาผสมกันแล้วจะได้เป็นสีอะไร
ลองดูที่ด้านล่างครับ จะเห็นเส้นตรง ระหว่าง violet กับแดง
จะเห็นสีม่วง purple แอบอยู่ตรงนั้น
เราเรียกเส้นตรงนี้ว่า line of purples หรือ purple boundary

สมาชิกสี ในป่าม่วงนี้ ประกอบไปด้วยสีม่วงชื่อ crimson, amaranth, raspberry, ruby, rose, magenta
รวมทั้งพลพรรคสีแดง ที่มีความสว่างสูงๆ (หมายถึง luminance ไม่ใช่ saturate) อันได้แก่
hot pink, deep pink, และ shocking pink ซึ่งมักจะถูกสมองตีความให้เป็นสีในตระกูล purple ด้วย


cie



Magenta

ใช่แล้วครับ Magenta ก็อยู่ตรงนี้ด้วย จัดเป็นสีกลุ่ม purple ถ้าดูชาร์ท CIE จะเห็นว่ามาเจนต้า อยู่ตรงที่มีแถบขาวจางๆ พาดผ่านพอดี
ใครที่แม่น Color Wheel อย่างที่ผมเคยเชียร์ให้จำ จะมองหา Yellow และ Cyan ทันทีเช่นกัน
และควรจะเดาได้ว่ามันจะอยู่ตรงแถบขาวพาดทางซ้าย และทางขวาบนนั่นแหละ

และถ้านึกถึง RGB ก็จะเห็นว่ามันก็อยู่ตรงเกือบปลาย และตรงจุดพับของชาร์ทเลย
ถ้าสงสัย ว่าทำไมเป็น blue แทน violet ก็ย้อนกลับไปอ่านเรื่อง violet ข้างบนได้
ตรง violet จะเห็นชัดเลยว่า ปลายชาร์ทมันจะโค้งพับเข้ามาหน่อย ไม่ยืดปลายแหลมออกไปเหมือนปลายฝั่งสีแดง ปล่อยให้สีน้ำเงินโค้งยื่นออกไปแทน ด้วยสาเหตุอย่างที่บอกไป

--------------------------------------

อะไรที่เราควรรู้เกี่ยวกับ purple

Saturation

สิ่งที่เราควรรู้เกี่ยวกับ purple ก็เช่นเดียวกับ violet ก็คือ สีในกลุ่ม purple จะไม่ตอบสนองต่อการปรับ Saturation
ต่างกันหน่อยตรงที่ ไม่ใช่ว่าสายตาเราไม่เห็นความต่าง เหมือนในกรณี violet
แต่มันไม่มีคำว่า saturate สำหรับสีใน line of purple อยู่เลยตั้งแต่แรก
เพราะสีกลุ่มนี้มันเกิดจาก extreme saturated red กับ extreme saturated violet ผสมกัน
ทุกสีใน line of purple คือสีที่เข้ม สด และอิ่มตัวสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้อยู่แล้ว

การปรับ Saturation จะไม่ทำให้สีกลุ่มนี้เข้มขึ้น
แต่จะทำให้สมองเรามองเห็นว่าสีบน line of purple เปลี่ยนค่าไปเป็นสีอื่น หรือที่ผมเรียกว่า shift ไปแทน
จำได้ไหมว่าผมเคยเตือนเรื่องการปรับ saturation เอาไว้ว่าจะทำให้สีชิฟท์ เพราะสาเหตุนี้แหละ
และการ Clean กับ Boost สี รวมทั้งปรับ Vibrant จะไม่ทำให้สีชิฟท์ ก็ด้วยสาเหตุนี้เช่นกัน

ย้อนไปดูบทความเกี่ยวกับเรื่องปรับสี ตอน

พหุรงค์

เผื่อจะลืมไปแล้ว

------------------------------

ในการถ่ายภาพ

จะให้ได้สีกลุ่ม purple (ซึ่งไม่มีจริงในธรรมชาติ) อย่างแม่นยำ กล้องต้องผสมสีแดง และน้ำเงินให้ได้อย่างพอเหมาะพอดี
เพื่อให้ได้ภาพที่หลอกสมองของเราให้ตีความออกมาเป็น purple เฉดต่างๆ ให้ได้

การเปิดรับแสงให้ได้อย่างแม่นยำ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก สำหรับการถ่ายภาพวัตถุที่มีสี purple (และ violet)
เพราะมันจะมีปรากฎการณ์ ที่เรียกว่า Bezold–Brücke shift คือถ้าภาพมีความสว่างต่ำๆ purple จะกลายเป็นสีน้ำเงิน ถ้าความสว่างสูงๆ มันจะกลายเป็นสีแดง
จะเพิ่มความยากให้แก่ซอฟท์แวร์ประมวลผลภาพ และการวัดแสง การถ่ายภาพเข้าไปอีก

และ White Balance ก็ยังต้องให้ถูกต้องเป๊ะๆ อีกด้วย จึงจะได้รูปวัตถุ มีสีม่วง puple ที่สวย ถูกต้อง ตามที่ตาเห็น
(หรือพูดให้ถูกคือ ตามที่สมองถูกหลอกให้เห็น)

การสร้างสีบน line of purple จึงเป็นจุดตาย ของกล้องดิจิตอล
วัดประสิทธิภาพกันได้ว่ากล้องไหนจะสร้างสีกลุ่มนี้ได้เก่งแค่ไหน
หรือความชำนาญของผู้ถ่ายจะปรับเงื่อนไขการถ่ายภาพได้ดีแค่ไหน
กระนั้นก็ยังไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนสีอื่นอยู่ดี

มีข้อน่าสังเกตอยู่ว่า กล้อง (รวมผู้ใช้กล้อง) ที่สร้างสี purple ได้สวย ก็มักจะสร้างสีทองได้สวยด้วยเช่นกัน
และถ้าทำ purple ไม่สวย สีทองก็มักจะเน่าตามไปด้วย เหมือนว่าสองสีนี้ เป็นญาติสนิทกัน

และสีม่วง มันก็เป็นสีที่มหัศจรรย์ อย่างนี้แล

.

purple1



Create Date : 17 มิถุนายน 2554
Last Update : 17 มิถุนายน 2554 7:15:52 น.
Counter : 10218 Pageviews.

5 comments
  
ได้ความรู้เพียบเลย ขอบคุณค่ะ
โดย: pamaano วันที่: 17 มิถุนายน 2554 เวลา:9:06:41 น.
  
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีดีค่ะ
โดย: DesignAmay วันที่: 17 มิถุนายน 2554 เวลา:9:13:03 น.
  
มีภาพตัวอย่างบ้างไหมครับ เช่น สีของดอกไม้
ขอบคุณมากๆครับ
โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 17 มิถุนายน 2554 เวลา:11:16:26 น.
  

มานั่งศึกษาตามค่ะ
โดย: อุ้มสี วันที่: 17 มิถุนายน 2554 เวลา:23:10:31 น.
  
ตามมาอ่านเรื่องนี้ให้ลึกซึ้งอีกครั้งครับ หลังจากประสบปัญหาให้เป็นที่สงสัยเหลือเกินว่าทำไมถ่ายดอกไม้สีม่วงแล้วภาพที่ได้ดอกไม้เป็นสีฟ้าทุกที กระจ่างขึ้นเยอะเลยครับ ขอบคุณสำหรับความรู้นี้ครับ
โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:9:16:25 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อะธีลาส
Location :
Sydney  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 44 คน [?]



Photographer, photo educator, writer and more.......

อนุญาตให้ ใช้ ดัดแปลง แก้ไข ตัดต่อ ทำสำเนา เผยแพร่ อ้างอิง จำหน่าย จ่ายแจก ภาพ และบทความในบล็อกนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด เพื่อสาธารณะประโยชน์ เพื่อการศึกษา เพื่อกิจส่วนตัว และเพื่อการค้าได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตามสัญญาอนุญาตใช้งาน Creative Commons: Attribution.


Website
http://mister-gray.bloggang.com
https://twitter.com/nickdhapana
http://500px.com/NickDhapana
https://plus.google.com/+NickDhapana
http://nickdhapana.tumblr.com
http://instagram.com/nickdhapana
https://www.facebook.com/dhapana/about


Skype & Email
cmosmyp@gmail.com


Line
nickdhapana


My Project's Page

Public Telephone
https://www.facebook.com/PublicTelephoneProject

They didn't say that.
https://www.facebook.com/pages/They-didnt-say-that/116827521834600

Exposure to the RIGHT
https://www.facebook.com/pages/Exposure2the_RIGHT/538556252881951

Thailand Perspective Project
https://www.facebook.com/ThailandPerspective

Dead on Arrival
https://www.facebook.com/pages/Dead-on-Arrival/666461363385961
มิถุนายน 2554

 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog