Maquilapolis ฉันทนาทำหนัง
Maquilapolis ฉันทนาทำหนัง
พล พะยาบ คอลัมน์ run way , way มีนาคม 2550
ณ เมืองติฮัวนา ประเทศเม็กซิโก
คาร์เมนเป็นลูกจ้างในโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าข้ามชาติยี่ห้อหนึ่งเป็นเวลากว่า 6 ปี แล้ว เธออาศัยอยู่ในเพิงพักซึ่งประกอบขึ้นด้วยชิ้นส่วนประตูโรงรถเก่าๆ ในย่านที่ไม่มีแม้กระทั่งท่อระบายน้ำและไฟฟ้า ทั้งยังทุกข์ทรมานด้วยโรคไตเพราะพิษสารตะกั่วที่เธอได้รับจากการทำงานมาตลอดหลายปี
วันหนึ่งโรงงานย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอินโดนีเซีย คาร์เมนตกงานโดยไม่ทันตั้งตัว ตามกฎหมายแรงงานของเม็กซิโก เจ้าของธุรกิจต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนย้ายหรือปิดกิจการ แต่เพราะกฎหมายไม่เข้มงวด ธุรกิจดังกล่าวจึงพยายามหลบเลี่ยงลอยนวล ไม่ยอมจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่โดนลอยแพ
หลังจากต่อสู้เรียกร้องยาวนาน คาร์เมนและเพื่อนคนงานได้รับเงินชดเชยคนละ 2,000-2,500 ดอลลาร์ มากกว่าอัตราปกติที่อยู่ราวๆ 300-400 ดอลลาร์ หลายเท่าตัว
ลัวร์เดส สาวโรงงานแห่งติฮัวนาอีกคนหนึ่ง และเพื่อนบ้านของเธอ ป่วยเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังและมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ อันเป็นผลมาจากขยะพิษที่ถูกปล่อยทิ้งไว้บนที่สูงเหนือชุมชน หลังจากโรงงานแปรสภาพแบตเตอรี่ปิดตัวลงด้วยคดีด้านสิ่งแวดล้อม
เจ้าของกิจการชาวอเมริกันหนีการจับกุมข้ามพรมแดนไปยังซาน ดิเอโก ทิ้งอาคารที่รายล้อมด้วยขยะพิษทั้งสารตะกั่ว สารหนู และแคดเมียม รวมกันกว่า 23,000 เมตริกตัน ไว้เบื้องหลัง ขยะพิษเหล่านี้ไหลลงไปยังย่านชุมชนจนทำให้มีคนเจ็บป่วยจำนวนมาก
ลัวร์เดสซึ่งกลายมาเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและพรรคพวก ใช้เวลาหลายปีกดดันให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโกบังคับให้เจ้าของกิจการเข้ามาจัดการสารพิษให้หมด ในที่สุด สหรัฐและเม็กซิโกลงนามในข้อตกลงจัดการขยะพิษร่วมกัน โดยกระบวนการต่างๆ กำลังเดินหน้าอยู่ในขณะนี้
เรื่องราวการต่อสู้ของ 2 สาวโรงงานแห่งติฮัวนาผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากโลกาภิวัตน์และข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ(NAFTA) เป็นเรื่องจริงที่อยู่ในภาพยนตร์สารคดีความยาว 60 นาที ปี 2006 เรื่อง Maquilapolis(City of Factories) ผลงานกำกับฯร่วมกันของ วิคกี้ ฟูนารี และเซอร์จิโอ เดอ ลา ตอร์เร
ลักษณะพิเศษของหนังสารคดีเรื่องนี้คือ นี่ไม่ใช่การถ่ายทอดเรื่องราวชะตากรรมของใครบางคนผ่านมุมมองของนักสร้างหนัง แต่ผู้ที่ประสบชะตากรรมนั้นเป็นคนถ่ายทอดเรื่องราวตามแนวทางของตนเอง
วิธีที่ผู้กำกับฯทั้งสองเลือกใช้นับว่าแหกขนบการทำหนังสารคดีโดยสิ้นเชิง พวกเขาจัดเวิร์คช้อปให้สาวโรงงานในติฮัวนา 14 คน ที่เข้าร่วมโครงการได้รู้จักทุกๆ ขั้นตอน-วิธีการในกระบวนการผลิตภาพยนตร์สารคดี ตั้งแต่การวางแผน เขียนบท ถ่ายทำ จากนั้นจึงมอบกล้องวิดีโอ 2 ตัว ให้ผู้เข้าอบรมกลับไป ทำหนัง ของแต่ละคนในติฮัวนา ก่อนจะนำกลับมาส่งให้ 2 ผู้กำกับฯคัดเลือก รวบรวม ตัดต่อ ออกมาเป็นหนังในที่สุด
โดยโจทย์สำคัญสำหรับหนังเรื่องนี้คือ เป็นเรื่องราวของชนชั้นแรงงานเม็กซิกันที่หลั่งไหลเข้าไปอยู่ในชุมชนโรงงานข้ามชาติ ต้องเผชิญกับสภาพความยากลำบาก ไร้ที่อยู่อาศัย ค่าจ้างต่ำ การละเมิดแรงงาน ละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นเสมือนปากเสียงของสาวโรงงานชาวติฮัวนาอย่างแท้จริง
เมืองโรงงานติฮัวนา คือหนึ่งในแหล่ง มากีลาโดรา(maquiladora) หรือโรงงานต่างชาติ(ส่วนใหญ่คือบริษัทอเมริกัน) ที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตตามพรมแดนสหรัฐ-เม็กซิโก ตั้งแต่ทศวรรษ 60 มีจุดประสงค์คือนำเข้าวัตถุดิบปลอดภาษีมาประกอบเป็นสินค้าส่งกลับไปยังประเทศแม่ ภายใต้เงื่อนไขเอื้อประโยชน์มากมาย ทั้งแรงงานราคาถูก การบังคับใช้กฎหมายแรงงานและกฎหมายสิ่งแวดล้อมหละหลวม
ติฮัวนาเป็นเมืองแรกๆ ที่ถูกแปรสภาพเป็นเมืองโรงงานของสหรัฐ อัตราการเติบโตพุ่งสูงจนน่าหวาดหวั่น ชาวเม็กซิกันพากันทิ้งถิ่นฐานไร่นาหลั่งไหลมาขายแรงงาน เมื่อข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ(NAFTA) มีผลบังคับใช้ในปี 1994 เมืองโรงงานยิ่งขยายตัวแบบฉุดไม่อยู่ เพาะพันธุ์ไปทั่วประเทศและทั่วภูมิภาคอเมริกาใต้ เฉพาะที่ติฮัวนา สภาพเมืองไม่พอรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนงานตกต่ำย่ำแย่ ยังไม่พูดถึงการถูกกดขี่จากบรรดาโรงงาน
เคราะห์ซ้ำกรรมซัดเกิดขึ้นในปี 2001 วิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้โรงงานทยอยปิดกิจการ บ้างย้ายฐานการผลิตไปยังเอเชียซึ่งค่าแรงถูกกว่า คนเม็กซิกันจำนวนมากกลายเป็นคนว่างงาน นั่นยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าชะตากรรมของผู้คนที่นี่ขาดไร้หลักประกันใดๆ ในระยะยาว ชีวิตของพวกเขาและเธอถูกพันธนาการไว้กับระบบเศรษฐกิจโลกที่มีประเทศนายทุนอย่างสหรัฐคอยชักใย
Maquilapolis ซึ่งนำเสนอเรื่องราวจริงของสาวโรงงานที่ลุกขึ้นต่อสู้กับความอยุติธรรม จึงไม่ใช่เพียงสะท้อนชะตากรรมของบรรดาแรงงานอย่างเข้าถึงเท่านั้น แต่ยังช่วยปลอบและปลุกให้ทุกคนอย่ายอมตกเป็นเหยื่ออยู่ฝ่ายเดียว
หนังไม่มีกำหนดฉายตามโรงภาพยนตร์ แต่เดินสายฉายทางโทรทัศน์ เทศกาลหนัง ตามชุมชน องค์กร หรือสถาบันต่างๆ พร้อมกับรณรงค์ให้สังคมหันมาใส่ใจกับปัญหาโลกาภิวัตน์ ความไม่ชอบธรรมในสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลเสียของการค้าเสรี โดยมีนักเคลื่อนไหวทั้งจากสหรัฐและเม็กซิโก สื่อมวลชน รวมทั้งสาวโรงงานร่วมเดินสายไปพร้อมกับหนังด้วย
เป็นความเคลื่อนไหวที่น่าเอาใจช่วยอย่างยิ่ง
Create Date : 10 มิถุนายน 2550 |
|
15 comments |
Last Update : 10 ตุลาคม 2550 21:32:54 น. |
Counter : 835 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
โดย: G IP: 203.113.76.72 10 มิถุนายน 2550 21:14:01 น. |
|
|
|
| |
โดย: G IP: 203.113.76.71 13 มิถุนายน 2550 21:35:55 น. |
|
|
|
| |
โดย: G IP: 203.113.76.9 14 มิถุนายน 2550 22:43:04 น. |
|
|
|
| |
โดย: G IP: 203.113.76.7 15 มิถุนายน 2550 20:57:51 น. |
|
|
|
|
|
|
|
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]
|
บทวิจารณ์ภาพยนตร์รางวัลกองทุน ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ปี 2549 ..............................
พญาอินทรี
ศราทร @ wordpress
|
|
|
|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
จากตอนแรกว่าอยากดู กลายเป็นอยู่ในลิสต์รายชื่อหนังที่"ดูก็ได้ ไม่ดูก็ได้"ไปเลย