VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 
อินโดนีเซียกับแนวทางการแก้ปัญหาการก่อการร้าย

อินโดนีเซียกับแนวทางการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายในประเทศ

โดย พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เส้นทางนักขาย เดือนเมษายน พ.ศ.2556

(สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ให้ใช้เพื่อการศึกษา ห้ามทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์)


ในช่วงนี้มีความสนใจกันมากเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งหากมองดูประเทศกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันแล้วเราจะเห็นว่ามีหลายประเทศที่ประสบปัญหาการก่อการร้ายเช่นเดียวกับประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นฟิลิปปินส์ซึ่งเพิ่งมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (MoroIslamic Liberation Front – MILF) ไปเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วโดยมีมาเลเซียทำหน้าที่เป็นคนกลางในการเจรจา หรือในอินโดนีเซียและมาเลเซีย วันนี้จะขอนำแนวทางการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายของอินโดนีเซียมานำเสนอต่อท่านผู้สนใจ

ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรทั้งหมดกว่า 238 ล้านคนมีผู้นับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนกว่า 205 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 86.1 ของประชากรทั้งประเทศ ในปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นศูนย์กลาง (core) ของอาเซียนและเป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก แต่การเป็นประเทศที่มีประชากรเป็นมุสลิมมากที่สุดในโลกของอินโดนีเซียก็ไม่ได้ทำให้อินโดนีเซียรอดพ้นจากการก่อการร้ายแต่ประการใดในทางตรงกันข้ามอินโดนีเซียต้องเผชิญกับการก่อการร้ายมานานหลายทศวรรษ

หากมองย้อนกลับไปในอดีดหลายคนคงจำได้ว่าเมื่อปี ..2524 เครื่องบินดีซี 9 (DC-9) ของสายการบินภายในประเทศ "การูด้า" (Garuda) เที่ยวบินที่ GA206 ของอินโดนีเซียพร้อมผู้โดยสาร 57 คน ที่กำลังเดินทางจากเมืองปาเลมบัง ไปยังเมืองเมดานของอินโดนีเซีย ได้ถูกกลุ่มก่อการร้ายหัวรุนแรง คนที่ใช้ชื่อว่า "กลุ่มคอมมานโดญิฮาด" (Commando Jihad) จี้มาลงที่ท่าอากาศยานกรุงเทพหรือสนามบินดอนเมือง 

โดยกลุ่มหัวรุนแรงที่จี้เครื่องบินเรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซียปล่อยตัวกลุ่มของตนจำนวน 80 คนที่ถูกทางการอินโดนีเซียควบคุมตัวอยู่พร้อมเงินสดอีก 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหตุการณ์ระทึกขวัญในครั้งนั้น หน่วยรบพิเศษ "โคปาสซุส" (KOPASSUS - Kommando Passugan Kusus) ของอินโดนีเซียได้ร่วมมือกับคอมมานโดของกองทัพอากาศไทยบุกชิงตัวประกันจนสำเร็จ แม้จะมีคอมมานโดของอินโดนีเซียเสียชีวิตขณะปฏิบัติการ นายส่วนกลุ่มก่อการร้ายเสียชีวิตทันที คนส่วนอีก คนยอมจำนน

การจี้เครื่องบินในครั้งนั้นนับเป็นครั้งแรกๆที่อินโดนีเซียต้องเผชิญกับการก่อการร้ายระดับสากลเรื่อยมา จนถึงการโจมตีนักท่องเที่ยวตะวันตกที่ "สาหรีคลับ" (Sari Club) ในย่านกูตา (Kuta) ของเกาะบาหลีเมื่อเดือนตุลาคม พ..2545 ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่โด่งดังไปทั่วโลก และถือเป็นการก่อการร้ายที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ เพราะมีผู้เสียชีวิตทั้งหมดถึง 202 คน บาดเจ็บอีก 209 คนในจำนวนนี้มีนักท่องเที่ยวตะวันตกเสียชีวิตจำนวน 164 คนเป็นนักท่องเที่ยวจากออสเตรเลีย 88 คน อังกฤษ 24 คนสหรัฐฯ คนและชาติอื่นๆอีกกว่่า 20 ประเทศ

จากประสบการณ์นานนับสิบปีในการต่อต้านการก่อการร้าย ทางการอินโดนีเซียได้รับบทเรียนที่ทรงคุณค่าว่า "อำนาจทางกฏหมายและ "อำนาจทางทหารไม่สามารถยุติการก่อการร้ายและการกระทำของกลุ่มศาสนาหัวรุนแรงได้ ตราบใดที่แนวคิดศาสนาแบบสุดโต่งไม่ได้ถูกทำให้มีความเป็นกลาง ตราบนั้นการก่อการร้ายที่อ้างหลักศาสนาก็ไม่มีวันหมดสิ้นไป ดังนั้นยุทธวิธีหลักของอินโดนีเซียในการต่อต้านการก่อการร้ายจึงประกอบด้วยแนวทาง แนวทางคือ

1. อินโดนีเซียจะใช้หลักกฏหมายต่อต้านการก่อการร้ายอย่างเคร่งครัด โดยการสนับสนุนของกองทัพอินโดนีเซีย แต่การบังคับใช้กฏหมายดังกล่าว จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม ความเป็นประชาธิปไตย และหลักสิทธิมนุษยชน

กล่าวง่ายๆ ก็คือในการต่อต้านการก่อการร้ายนั้นอินโดนีเซียจะไม่มีการ "ยิงก่อนถามทีหลัง" (Shoot first, ask question later) เหมือนที่เคยเป็นมาในอดีต หากแต่จะยึดหลักความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมในหมู่ประชาชน

การใช้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายนี้ จะเป็นการปฏิบัติการร่วมกันของหน่วยทหารและตำรวจ ซึ่งมีทั้งการปฏิบัติการด้านการข่าวและการต่อต้านด้วยกำลังติดอาวุธเพื่อป้องกันและขัดขวางการก่อการร้ายในทุกวิถีทาง

2. นอกจากการใช้หลักกฎหมายอย่างเข้มงวดและเคร่งครัดแล้ว อินโดนีเซียยังมีแนวทางในการต่อสู้กับกลุ่มศาสนาหัวรุนแรง โดยการเอาชนะทางความคิดและเอาชนะทางจิตใจ มุ่งเน้นการใช้หลักศาสนาสายกลางที่เน้นสันติวิธีมากกว่าความรุนแรง รวมไปถึงการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักศาสนาในชุมชนต่างๆ 

โดยเฉพาะชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการโน้มน้าวจิตใจของกลุ่มหัวรุนแรง อีกทั้งยังมีการใช้แนวทางประนีประนอมกับผู้ก่อการร้ายที่อยู่ระหว่างถูกคุมขัง เพื่อมุ่งหวังให้ผู้ต้องขังเหล่านั้น เปลี่ยนแนวความคิดจากหลักศาสนาแบบ "สุดโต่งมาเป็น "สายกลาง

รวมถึงมีแนวทางในการใช้ครอบครัวเป็นแกนนำในการต้อนรับกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่พ้นโทษให้กลับคืนสู่สังคม โดยอาศัยความอบอุ่นของครอบครัวและความเข้าใจของสังคมเป็นเครื่องช่วยในการปรับเปลี่ยนแนวความคิดของผู้ก่อการร้ายเหล่านั้น

หากพิจารณาให้ดีแล้ว จะเห็นได้ว่าแนวทางที่อินโดนีเซียใช้ในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายทั้งสองแนวทางนั้น คล้ายคลึงกับแนวทางในการต่อสู้ของหลายๆ ประเทศ เช่น มาเลเซีย  ไทย อัฟกานิสถาน เป็นต้น เพราะเป็นการเน้นการเอาชนะทางความคิดมากกว่าการเอาชนะทางยุทธวิธีหรือทางกายภาพ จึงอาจกล่่าวได้ว่าแนวทางที่อินโดนีเซียใช้ ทั้งหลักกฏหมายและความปรองดองสมานฉันท์ควบคู่กันนั้น เป็นแนวทางที่มีความเป็นสากลตลอดจนได้รับการยอมรับว่า เป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายหัวรุนแรงที่อิงกับหลักศาสนา

อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ที่ออกมาจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆอีกมากมาย ทั้งนี้อยู่ที่ประเทศที่นำไปปฏิบัติจะมีความจริงจังและเที่ยงตรงมากน้อยเพียงใด ในกรณีของอินโดนีเซียนั้นค่อนข้างประสบความสำเร็จมากพอสมควร เพราะมีการดำเนินงานและวางแผนอย่างจริงจังเป็นระบบ แตกต่างการดำเนินการของรัฐบาลบางประเทศ เช่น อัฟกานิสถานที่การดำเนินงานไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ทั้งที่ได้รับงบประมาณจำนวนมหาศาลจากชาติตะวันตก ทั้งนี้เพราะติดขัดปัญหาต่างๆมากมาย โดยเฉพาะปัญหาคอร์รัปชั่นที่มีอยู่ทุกภาคส่วนในหน่วยงานของประเทศ

ในบทสรุปของอินโดนีเซียที่ได้นำเสนอเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้ายนั้น ระบุไว้อย่างน่าสนใจว่า การก่อการร้ายไม่สามารถเอาชนะได้ด้วยความรุนแรงและไม่สามารถเอาชนะได้ด้วยกฏหมายเพียงอย่างเดียว หากแต่เพราะการก่อการร้ายคือลัทธิ (Ideology) ความเชื่อ (Belief) และแรงโน้มน้าวทางการเมือง (Political Motivation) 

ดังนั้นการก่อการร้ายจึงต้องเอาชนะด้วยการตอบโต้ทางลัทธิความเชื่อและแรงโน้มน้าวทางการเมืองที่ถูกต้อง ยุติธรรม สายกลางและยึดมั่นในสันติวิธี ซึ่งนับเป็นวิธีเดียวที่จะเอาชนะการก่อการร้ายที่มีพื้นฐานมาจากหลักศาสนาหัวรุนแรงได้อย่างเด็ดขาดและถาวร

นอกจากนี้บทสรุปของกองทัพอินโดนีเซียยังชี้ให้เห็นว่า ศาสนาทุกศาสนาล้วนสั่งสอนให้คนทุกคนเป็นคนดี เป็นผู้ใฝ่ในสันติ ปราศจากความรุนแรง ดังนั้นศาสนาจึงไม่ใช่้ต้นเหตุของปัญหา หากแต่ความคิดและจิตใจของมนุษย์ต่างหากที่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหา อันนำมาซึ่งการเข่นฆ่า ทำลายล้างชีวิตผู้บริสุทธิ์ การเอาชนะทางความคิดจึงเป็นหนทางสำคัญที่สุดหนทางหนึ่ง ที่จะสามารถยุติปัญหาการก่อการร้ายได้ในทุกๆภูมิภาค ทั้งนี้เพื่อนำความสงบและสันติกลับคืนสู่สังคมโลกอย่างยั่งยืนตลอดไป




Create Date : 09 มิถุนายน 2556
Last Update : 9 มิถุนายน 2556 15:29:44 น. 0 comments
Counter : 2617 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.