VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 
ภัยด้านความมั่นคงของประชาคมอาเซียน

ภัยด้านความมั่นคงของประชาคมอาเซียน

โดย พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เส้นทางนักขาย เดือนมีนาคม พ.ศ.2556

(สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ให้ใช้เพื่อการศึกษา ห้ามทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์)


รศ.ดร.สุเนตรชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กล่าวถึงภัยด้านความมั่นคงของประชาคมอาเซียนในอนาคตมีอยู่สามประการคือ

1.ภัยด้านความมั่นคงของมนุษย์

2.ภัยพิบัติจากธรรมชาติและ

3.การแผ่ขยายอำนาจของประเทศมหาอำนาจนอกภูมิภาค

สิ่งแรกที่ประชาคมอาเซียนจะต้องเผชิญคือ ภัยด้านความมั่นคงของมนุษย์ทั้งนี้เพราะในปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนมีความแตกต่างทางเศรษฐกิจอย่างมากอาเซียนมีประเทศที่ประชากรมีรายได้สูงติดอันดับโลกอย่างสิงคโปร์และบรูไนในขณะเดียวกันก็มีประเทศสมาชิกที่มีประชากรยากจนอย่างมากด้วยเช่นกันความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจนี้เองที่จะทำให้เกิดการหลั่งไหลและการเคลื่อนย้ายของประชากร จากประเทศสมาชิกที่ยากจนไปสู่ประเทศสมาชิกที่ร่ำรวยเพื่อแสวงหาชีวิตและโอกาสที่ดีกว่า

การอพยพโยกย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่นี้ จะทำให้เกิดปัญหาความมั่นคงของมนุษย์มากมายทั้งปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติปัญหาการขยายตัวของเครือข่ายก่อการร้ายสากลปัญหายาเสพติดปัญหาการก่อกำเนิดของกลุ่มแก็งค์อิทธิพลเหนือชนชาติของตนในดินแดนประเทศอื่นเหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นในสหภาพยุโรปอันส่งผลให้กลุ่มมาเฟียจากยุโรปตะวันออกเข้าไปแผ่ขยายอิทธิพลในยุโรปตะวันตกหรือกรณีกลุ่ม"โรฮิงยา"(Rohingya) ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบันนอกจากนี้ยังมีปัญหาการค้ามนุษย์ที่สามารถกระทำได้ง่ายขึ้นเมื่อเส้นแบ่งเขตแดนของประเทศสมาชิกอาเซียนได้จางหายไปกับความเป็นประชาคมอาเซียน

ปัญหาด้านสาธารณสุขเป็นภัยด้านความมั่นคงของมนุษย์ที่จะต้องจับตามองเช่นกันเพราะประชาชนผู้โยกย้ายถิ่นฐานเหล่านี้จะนำโรคภัยไข้เจ็บนานาชนิดติดตัวไปยังประเทศอื่นรวมไปถึงการก่อมลภาวะทางสาธารณสุขขึ้นในประเทศที่ตนอพยพไปอยู่อันเนื่องมาจากความยากจนและด้อยการศึกษาเช่น การกำเนิดสลัมใหม่ๆขึ้นในชุมชนเมืองการละเลยสุขภาพตลอดจนสุขอนามัยจนอาจก่อให้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในทศวรรษหน้าได้เช่นการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกที่อาจกลับมาสู่กลุ่มประเทศอาเซียนอีกครั้งหากปราศจากความระมัดระวังในการโยกย้ายถิ่นฐาน

นอกจากนี้การรวมตัวของประชาคมอาเซียนยังอาจก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมในหลายๆด้านซึ่งผลของความไม่เท่าเทียมนี้จะตกอยู่กับประเทศสมาชิกที่ด้อยโอกาสตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันคือกรณีการบริหารน้ำในลุ่มน้ำโขงซึ่งแต่ละประเทศพยายามแสวงหาประโยชน์ของตนเองโดยไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศสมาชิกอื่นหรือต่อสภาวะสิ่งแวดล้อมของภูมิภาคหรือกรณีการลักลอบตัดไม้พะยูงบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาที่หากปราศจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจะกลายเป็นปัญหาอีกปัญหาหนึ่งของอาเซียนในอนาคต

ปัญหาด้านความมั่นคงอีกปัญหาหนึ่งที่ประชาคมอาเซียนจะต้องเผชิญก็คือภัยพิบัติจากธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีความรุนแรงมากขึ้นปัญหานี้เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ประชาคมจะต้องรีบหาแนวทางแก้ไขร่วมกันเพราะจากสถิติที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีความรุนแรงจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งในโลกเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้แทบทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์สึนามิในไทยและอินโดนีเซียเมื่อปีพ..2547พายุไซโคลนนาร์กิสในพม่าการระเบิดของภูเขาไฟ "เมอราปิ"(Merapi) และแผ่นดินไหวในเมืองยอคยาการ์ต้าและบันดุงของอินโดนีเซียพายุไต้ฝุ่นในเวียดนามและฟิลิปปินส์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

ปัญหาด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ทำให้กองทัพของแต่ประเทศสมาชิกอาเซียนปรับบทบาทจากการเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาอำนาจอธิปไตยมาสู่ความเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากภัยธรรมชาติซึ่งในอนาคตกองทัพอาเซียนจะมีบทบาทอย่างมากในการทำหน้าที่ปฏิบัติการด้านบรรเทาสาธารณภัยซึ่ง ณเวลานี้กองทัพของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้้เตรียมการในเรื่องนี้ค่อนข้างมากแล้วดังจะเห็นได้จากความร่วมมือด้านต่างๆเช่น การจัดทำเอกสาร"แนวความคิดว่าด้วยการใช้ทรัพยากรและศักยภาพทางทหารอาเซียนในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ"ที่กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียเป็นผู้ยกร่างขึ้นมารวมไปถึงความร่วมมือในการฝึกร่วมบรรเทาสาธารณภัยมากมายที่เกิดขึ้นในห้วงสองสามปีที่ผ่านมาเช่น การฝึกร่วมบรรเทาสาธารณภัยต่างๆของกองทัพอาเซียน เป็นต้น

ภัยความมั่นคงอีกรูปแบบหนึ่งของประชาคมอาเซียนที่รศ.ดร.สุเนตรกล่าวถึงคือการขยายอำนาจของประเทศมหาอำนาจต่างๆเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเนื่องจากอาเซียนในปัจจุบันเกิดช่องว่างทางอำนาจขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยสังเกตุได้จากการที่ไม่มีประเทศมหาอำนาจใดสามารถสั่งการอาเซียนได้เหมือนในอดีตที่ผ่านมาทำให้มหาอำนาจพยายามใช้อำนาจในรูปแบบต่างๆเช่น ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจเทคโนโลยี ความรู้ซึ่งถือเป็นอำนาจเชิงอ่อนโยน(SoftPower) หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างไม่ขาดสายทั้งจาก จีน สหรัฐฯ รัสเซียอินเดียและสหภาพยุโรปรวมถึงการขยายตัวคืบคลานเข้ามาทางด้านการทหารในรูปของการฝึกร่วมการค้าอาวุธ การสนับสนุนยุทโธปกรณ์ต่างๆทั้งในรูปแบบการให้เปล่าและรูปแบบเงินกู้ระยะยาวจนทำให้เกิดการถ่วงดุลย์ทางอำนาจของมหาอำนาจในอาเซียนอย่างชัดเจน 




Create Date : 09 มิถุนายน 2556
Last Update : 9 มิถุนายน 2556 15:29:12 น. 0 comments
Counter : 1324 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.