VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 
รู้จักกับกองทัพพม่า ก่อนก้าวสู่ประชาคมอาเซียน (ตอนที่ 1)

รู้จักกับ "ทัดมาดอว์กองทัพแห่งสาธารณรัฐสหภาพเมียนม่าร์ (พม่า)

ก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(ตอนที่ 1)

โดยพันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

(สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เผยแพร่เพื่อการศึกษา ค้นคว้าเท่านั้น)


สาธารณรัฐสหภาพเมียนม่าร์หรือ "พม่า" (เดิมในภาษาอังกฤษเรียกชาวพม่าว่า Bamar หรือ บาหม่ามีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์โลกมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยนั้น พม่านับเป็นมหาอำนาจแห่ง"อุษาคเนย์" (ไมเคิลไรท์ นักประวัติศาสตร์และไทยคดีศึกษาชาวอังกฤษเป็นผู้กำหนดคำว่า "อุษาคเนย์ขึ้นมาแทนคำว่า "เอเชียอาคเนย์หรือ "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีคำว่า "เอเชียที่เป็นคำในภาษาอังกฤษ เพื่อให้เป็นคำในภาษาไทยแท้ๆ โดยอุษาคเนย์มีอาณาเขตตั้งแต่พม่าไปจนจรดฟิลิปปินส์และจากเวียดนามไปจรดอินโดนีเซีย

อาณาจักรพม่าแผ่ขยายอาณาเขตไปทั่วทิศานุทิศโดยเฉพาะในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung) หรือที่ออกเสียงพระนามตามสำเนียงพม่าว่า “บาเยนอง” มีความหมายว่า “พระเชษฐาธิราช” มีพระนามเต็มว่า “บาเยนองจอเดงนรธา” (ไทยออกเสียงเป็น “บุเรงนองกะยอดินนรธา“แปลว่า “พระเชษฐาธิราชผู้ทรงกฤษดาภิหาร” พระองค์ได้แผ่ขยายอาณาจักรไปอย่างกว้างขวางจนได้รับสมญานามว่า "ผู้ชนะสิบทิศซึ่งการแผ่ขยายอาณาเขตของพม่าได้ส่งผลให้เกิดการรบพุ่งกับกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ "สงครามเมืองเชียงกรานเรื่อยถึงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นของไทย

เมื่อเข้าสู่ยุคล่าอาณานิคมอังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลในยุคนั้นได้เข้าครอบครองพม่าในฐานะประเทศอาณานิคมและเล็งเห็นว่าพม่านั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางการค้าเช่นเดียวกับอินเดียจึงได้ตั้งเมืองย่างกุ้ง (Yongon หรือ Rangoon) เป็นเมืองหลวง เพราะมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ติดชายทะเลสะดวกต่อการขนส่งสินค้าต่างๆ กลับสู่ประเทศอังกฤษ ครั้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองพม่าก็กลายเป็นสมรภูมิสำคัญที่ใช้เป็นการรบขั้นแตกหักระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรที่เคลื่อนทัพมาจากอินเดียและจักรวรรดิ์ญี่ปุ่นที่รุกผ่านประเทศไทย

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนี้เอง ที่กองทัพพม่าหรือ "ทัดมาดอหรือ “ตั้ดมาดอ” (Tatmadaw) ได้ถือกำเนิดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทยดังที่ พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกองทัพพม่าคนหนึ่งของประเทศไทยได้กล่าวว่า กองทัพพม่ามีวิวัฒนาการมาจากนายพล "อองซาน" (Aung San) บิดาของนาง อองซานซูจี (Aung San Suu Kyi) ที่ร่วมกับสมัครพรรคพวกรวม 30 คนในนาม "กลุ่มสามสิบสหาย" (30 comrades) ก่อตั้งกองทัพพม่าขึ้นบนผืนแผ่นดินไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่กำลังรุกข้ามพรมแดนจากประเทศไทยเข้าไปในพม่าทำการต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมอังกฤษที่กดขี่ข่มเหงชาวพม่ามาตลอดระยะเวลาแห่งการปกครอง

ในช่วงแรกนี้กองทัพพม่ามีชื่อว่า "กองทัพเอกราชชาวพม่าหรือ บีไอเอ (BIA: the Burmese Independence Army) ชาวพม่าต่างให้การต้อนรับทหารพม่า "บีไอเอและทหารญี่ปุ่นในฐานะผู้ปลดปล่อยจากอาณานิคมอังกฤษด้วยการตะโกนว่า "โดบาม่าร์"(Dobamar) ซึ่งมีความหมายว่า "พวกเราชาวพม่าคล้ายๆกับเมื่อครั้งที่กองทัพไทยร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นในสมัยนั้นและคนไทยมักตะโกนต้อนรับว่า "บันไซ ไชโย"

ต่อมาเมื่อกองทัพพม่า "บีไอเอได้เข้าครอบครองดินแดนพม่าร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นแล้วได้มีการขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนชื่อเป็น "กองทัพแห่งชาติพม่ารือ บีเอ็นเอ (BNA: Burma National Army) และกองทัพญี่ปุ่นได้แต่งตั้งให้นายพลออง ซาน เป็นผู้บัญชาการกองทัพพม่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการกองทัพแห่งชาติพม่าตามลำดับ 

โรงเรียนทหารของกองทัพพม่าได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยมีทหารญี่ปุ่นเป็นครูฝึกสอน ทำให้รูปแบบการรบหลักนิยมและแนวคิดของกองทัพพม่าเป็นไปในแนวทางเดียวกับกองทัพพระมหาจักรพรรดิ์แห่งญี่ปุ่น จนถึงขนาดในพิธีสำเร็จการศึกษาของนายทหารพม่านั้นนายทหารญี่ปุ่นจะเป็นผู้มอบดาบซามูไรซึ่งถือเป็น "จิตวิญญานของนักรบญี่ปุ่น"(Japanese Fighting Spirit) ให้กับนายทหารพม่าเลยทีเดียวความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างกองทัพแห่งชาติพม่าและกองทัพญี่ปุ่นทำให้พม่าประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาตลอดจนร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กันในทุกสมรภูมิ

แต่เมื่อเวลาผ่านไปนายพลออง ซานก็เริ่มตระหนักถึงความจริงว่า ญี่ปุ่นนั้นกรีฑาทัพเข้ามาในพม่าก็เพื่อตักตวงผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และมากมายมหาศาล รวมทั้งยังกดขี่ข่มเหงชาวพม่ายิ่งกว่าพวกอังกฤษเสียอีก 

ในที่สุดนายพล อองซานก็ตัดสินใจหันหลังให้กับญี่ปุ่นอย่างลับๆ และร่วมมือกับอังกฤษในช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่สองเป็นการกระทำที่ญี่ปุ่นเองก็คาดไม่ถึงว่านายพลออง ซานที่กองทัพญี่ปุ่นปั้นมากับมือ จะกล้าหักหลังกองทัพญี่ปุ่นกองทัพแห่งชาติพม่า โดยการสนับสนุนของอังกฤษเปิดฉากรุกเข้าใส่กองทัพญี่ปุ่นที่ชานกรุงย่างกุ้ง โดยที่ญี่ปุ่นไม่รู้ตัวมาก่อน จนในที่สุดก็สามารถยึดกรุงย่างกุ้งคืนจากญี่ปุ่นได้วีรกรรมความกล้าหาญและความเสียสละในครั้งนี้ทำให้นายพล อองซานได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษของชาวพม่า

ภายหลังความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว นายพล ออง ซานก็เจรจากับอังกฤษเพื่อขอแยกตัวเป็นเอกราช ส่วนชนกลุ่มน้อยมากมายหลายชาติพันธ์ุที่เคยรวมอยู่กับพม่าในยุคอาณานิคมก็ปฏิเสธที่จะรวมเป็นแผ่นดินเดียวกับพม่า โดยเฉพาะชนเผ่ากระเหรี่ยง (Karen) ที่มีประวัติในการสู้รบกับพม่ามายาวนาน 

ส่งผลให้เกิดการเจรจากับพม่าที่ปางหลวงจนเป็นที่มาของ "ข้อตกลงปางหลวงหรือ “ข้อตกลงป๋างโหล๋ง” (PangluangAgreement) ซึ่งลงนามกันเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค..1947 (..2490) หลังสงครามโลกครั้งที่สองเสร็จสิ้นได้ประมาณสองปี

โดยในข้อตกลงนี้ชนกลุ่มน้อยต่างยื่นข้อเสนอในการเป็นเอกราชหรือขอเป็นปกครองตนเองในดินแดนพม่า เช่น รัฐชิน (Chin) และ รัฐคะฉิ่น (Kachin) ตกลงเข้ารวมอยู่กับสหภาพพม่า แต่ขอเป็นเขตปกครองตนเอง สำหรับรัฐฉาน (Shan) ขอรวมกับพม่าเป็นเวลาเพียง10ปี เมื่อจัดการกิจการภายในเรียบร้อยแล้ว ก็จะขอแยกตัวเป็นอิสระ 

ส่วนกะเหรี่ยงและมอญจะขอเจรจากับอังกฤษโดยตรงไม่ผ่านพม่า โดยเฉพาะกะเหรี่ยงซึ่งถือเป็นคู่ปฏิปักษ์ถาวรของพม่านั้นประกาศเจตนารมย์ชัดเจนว่าต้องการเป็นอาณานิคมของอังกฤษต่อไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายชาติพันธ์ุที่ไม่ยอมเข้าร่วมในข้อตกลงนี้ เช่น ว้า ยะไข่ โกก้าง พะโอ ปะหล่อง เป็นต้น

นรุ่งอรุณของวันที่ 19 กรกฎาคม ค..1947 (..2490) ขณะที่การก้าวสู่ความเป็นประเทศเอกราชของพม่ากำลังก้าวหน้าไปอย่างเรียบร้อยและเป็นรูปเป็นร่างตามแผนที่ได้วางเอาไว้ ขณะที่ นายพล อองซานกำลังร่วมประชุมที่กรุงย่างกุ้งเพื่อเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศที่จะประกาศใช้เมื่อได้รับเอกราชจากอังกฤษ กลุ่มมือปืน คนก็บุกเข้าสังหารนายพลออง ซานถึงในห้องประชุม เขาถูกกระหน่ำยิงด้วยปืนกลมือทอมสัน กระสุนขนาด มิลลิเมตรเป็นจำนวนถึง13นัด เจาะทะลุร่างของเขาจนเสียชีวิตคาที่ในวัยเพียง 32 ปีเท่านั้น นอกจากนายพลออง ซานแล้ว ยังมีผู้ร่วมประชุมอีก คนเสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้ เมื่อสิ้นนายพล ออง ซาน อังกฤษก็แต่งตั้ง นายพลอูนุ (ทะขิ่นนุซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มสามสิบสหายร่วมกับนายพลออง ซาน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนายพลออง ซาน และพม่าก็ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ มกราคม ค..1948 (..2491)

(โปรดติตตามตอนต่อไป)




Create Date : 03 เมษายน 2556
Last Update : 3 เมษายน 2556 17:20:29 น. 0 comments
Counter : 2686 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.