Science of Happiness สุขสร้างได้


Science of Happiness สุขสร้างได้


ความสุขเป็นความรู้สึกพึง
พอใจที่จับต้องไม่ได้
ในทางวิทยาศาสตร์การวัดระดับความสุขจะใช้ทั้งแบบทดสอบและการใช้เครื่องมือ
วัดระดับสารเคมีในสมอง เพื่อตรวจหาค่าสารแห่งความสุขในภาวะต่างๆ
คู่มือของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้นิยามความสุขเอาไว้ว่า
เป็นลักษณะอารมณ์ที่เอื้อให้คนเกิดความสุข คนที่มีความสุข คือ คนที่…



  • มีความภูมิใจในตนเอง แม้จะเศร้าบ้าง
    ถ้าตราบใดที่ยังรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าก็จะยืนหยัดอยู่ได้

  • มีความพึงพอใจในชีวิต การรู้จักพอทำให้ไม่ต้องดิ้นรน
    ไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจถึงสิ่งที่ตัวเองไม่มีจนเป็นทุกข์

  • มีความสุขสงบ ก่อนจะรู้จักความสุข ต้องรู้จักความสงบ
    ความมั่นคงทางจิตใจ แม้มีทุกข์ใดมากระทบ จิตที่สงบนิ่งย่อมไม่หวั่นไหว


   นายแพทย์ลือชา วณรัตน์ หัวหน้าสำนักวิชาการสาธารณสุข
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำเสนอสมการความสุขในมุมมองของเขาว่า







ความสุขที่เป็น = ความ
สุขที่มี
                        ความคาดหวัง







   จากสมการข้างต้นจะเห็นได้ว่า หากต้องการเพิ่มค่าความสุขที่เป็น
ทำได้ง่ายๆ เพียงลดความคาดหวังลง ความสุขที่มีก็จะสูงขึ้น
ทำให้ความสุขที่เป็นสูงตามไปด้วย


   แต่การจะลดความคาดหวังได้นั้นต้องเริ่มจากตัวเอง
ด้วยการมองทุกอย่างเป็นสองด้าน ไตร่ตรองทั้งด้านบวกและลบ
คนเรามักผิดหวังในสิ่งคาดไว้เพราะมัวแต่มองด้านที่ตัวเองหวังว่าจะได้
โดยลืมนึกถึงการนำมาซึ่งความสมหวัง
การมองสองด้านจะทำให้เห็นว่าแท้จริงแล้วเราต้องการอะไร
ความสมหวังจะมาได้อย่างไร เมื่อเห็นเนื้อแท้ชัดเจนแล้วแบบนี้
แม้พลาดหวังก็ยังมีเหตุผลรองรับเพื่อเตือนสติตนเองได้


วิทยาศาสตร์แห่งความสุข


   วิทยาศาสตร์แห่งความสุข ศาสตร์ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นราว 10 ปี
เป็นแขนงหนึ่งของวิชาจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology)
ใจความของวิชานี้ว่าด้วยการทำวิจัยเพื่อหาวิธีลดความทุกข์และเพิ่มความสุข
มวลรวมแก่ประชากร


   คุณหนูดี-วนิษา เรซ
เล่าถึงความน่าสนใจของศาสตร์นี้ว่า “โดยปกติของการทำวิจัยเกี่ยวกับประชากร
จะเป็นการหาค่าเฉลี่ยหรือค่ามีนจากกลุ่มตัวอย่าง
แต่วิทยาศาสตร์แห่งความสุขนอกจากจะต้องวิจัยกับกลุ่มคนที่มีความสุขแล้ว
ยังเน้นกลุ่มคนที่ได้เกณฑ์ความสุขสูงสุด
เพราะเราต้องการหาวิธีว่าทำอย่างไรคนส่วนใหญ่จึงจะมีความสุขเทียบเท่ากับ
กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในเกณฑ์สุขมาก”


   “เท่าที่คลุกคลีกับคนกลุ่มนี้
หนูดีพบว่าพวกเขามีเพียงแนวคิดและไลฟ์สไตล์บางอย่างเท่านั้นที่แตกต่างจากคน
ทั่วไป เช่น เมื่อเผชิญหน้ากับความทุกข์
คนกลุ่มนี้จะปรับตัวได้เร็วและอยู่กับความทุกข์ไม่นาน
ในทางการวิจัยเรียกความต่างตรงนี้ว่า growing tips statistic
ซึ่งหนูดีจะขอแปลเป็นไทยว่า “หลักการยอดอ่อนผลิใบ”
เหมือนต้นไม้ที่กำลังเติบโต
ส่วนยอดอ่อนบนสุดของต้นจะมีการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอมากที่สุดและมีการ
เจริญเติบโตมากที่สุด ฉะนั้นถ้าเราอยากรู้ว่าพืชเติบโตมากที่สุดในส่วนไหน
ก็ไม่จำเป็นต้องดูทั้งต้น ดูแค่ยอดอ่อนก็พอ
ในอดีตไม่เคยมีใครไปศึกษายอดอ่อน แต่ดูภาพรวมต้นไม้ทั้งต้น
เลยไม่มีใครรู้ว่าศักยภาพที่แท้จริงของคนเราอยู่ที่ไหน”


   “วิทยาศาสตร์แห่งความสุข เป็นวิทยาศาสตร์เชิงป้องกัน
ไม่ใช่เครื่องมือกำจัดความทุกข์
ถ้าคุณมีความทุกข์หนักจากการสูญสียสิ่งที่รัก
พลาดหวังจากสิ่งที่ตั้งใจหรืออะไรก็ตาม
แล้วจะมาใช้วิทยาศาสตร์แห่งความสุขเป็นตัวบำบัดทุกข์ ก็ย่อมจะไม่เห็นผล
แต่ถ้าเรียนรู้ไว้แต่เนิ่นๆ
เมื่อต้องเผชิญกับความทุกข์จะช่วยให้ยืนหยัดรับมือความทุกข์นั้นได้อย่าง
มั่นคง และเจ็บปวดน้อยลง
จะสรุปว่าศาสตร์นี้มีจุดมุ่งหมายคือการพ้นทุกข์เหมือนวิถีของศาสนาพุทธก็ได้
ค่ะ”


10 หนทางสร้างความสุข


   อริสโตเติล กล่าวไว้ว่า “ความสุขขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละคน”
วิธีการสร้างสุขของแต่ละคนจึงหลายหลากแตกต่างกันไป และนี่คือ 10
แนวคิดเพื่อสร้างสุขอย่างเป็นไปได้ โดยเจ้าของผลงาน “พ่อรวยสอนลูก”
เรียบเรียงโดยคุณวิทยากร เชียงกูล ลองนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มสุขกันค่ะ



  1. ตระหนักว่าความสุขที่ยั่งยืนไม่ได้มาจากความสำเร็จทางการเงิน
    ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้
    ทรัพย์สินก็เหมือนกับสุขภาพ ถ้าไม่มีเลยเราย่อมทุกข์ทรมาน
    แต่ถ้ามีมากเกินไปไม่ได้ยืนยันว่าเราจะสุขมากขึ้น

  2. ควบคุมการใช้เวลาให้ดี
    การมีระเบียบวินัยโดยการจัดสรรเวลาทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ
    จะช่วยให้ชีวิตดีขึ้นได้ เพราะเมื่อทำเป้าหมายทุกอย่างเสร็จตามเวลา
    ความเครียดหรือคับข้องใจก็จะไม่เกิด

  3. แสดงท่าว่ามีความสุข
    บางครั้งเราต้องแสร้งว่ามีความสุขเพื่อปรับกรอบคิดของเราให้เป็นไปในทางบวก
    หากเราพยายามยิ้มอยู่เสมอ จะทำให้ผู้คนรอบข้างเรารู้สึกดีขึ้น
    และตัวเราก็จะรู้สึกดีตามไปด้วย

  4. หางานและกิจกรรมที่สอดคล้องกับความถนัด
    คนมีความสุขมักเป็นคนสนุกกับงานที่ท้าทาย แต่ไม่ถึงขั้นทำให้เครียด
    ดังนั้นควรหากิจกรรมที่ชอบและเสริมทักษะทำเป็นประจำ

  5. ออกกำลังกาย มีงานวิจัยจำนวนมากยืนยันว่า
    การออกกำลังกายแบบต่อเนื่องวันละ 25-30 นาที
    ไม่เพียงแต่ช่วยให้สุขภาพดีและกระปรี้กระเปร่าเท่านั้น
    แต่ยังเป็นยาช่วยลดความวิตกกังวลหรือซึมเศร้าอย่างอ่อนๆด้วย

  6. พักผ่อนและนอนให้เพียงพอ ควรรู้จักแบ่งเวลาพักผ่อน อยู่คนเดียว
    และนอนหลับให้เพียงพอ คนจำนวนมากมีปัญหาเรื่องการนอน
    ทำให้ไม่กระปรี้กระเปร่า อ่อนเพลียและมีอารมณ์ซึมเศร้า
    เป็นการสร้างทุกข์ให้ตัวเองโดยไม่รู้ตัว

  7. ให้ความสัมพันธ์เป็นตัวเยียวยา
    การใกล้ชิดสนิทสนมกับคนที่เราผูกพันเอาใจใส่
    จะช่วยเป็นแรงเสริมให้ยืนหยัดผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากได้

  8. สนใจสิ่งที่อยู่เหนือกว่าตัวคุณ
    ยื่นมือออกไปช่วยคนที่ต้องการความช่วยเหลือ คนมีความสุขมักชอบช่วยคน
    และการทำดีต่อคนอื่นช่วยให้คุณมีความสุขเพิ่มขึ้นด้วย

  9. รู้สึกขอบคุณต่อสิ่งดีๆ ในชีวิต
    ลองหยุดคิดสักนิดว่าวันนี้มีสิ่งดีๆ อะไรในชีวิตบ้าง
    จะทำให้มีกำลังใจเพิ่มขึ้น
    อย่ามัวคิดถึงชีวิตในแง่ลบเพียงเพราะตั้งความหวังมากเกินไป

  10.  ฟูมฟักตัวตนด้านจิตวิญญาณ
    ศรัทธาในสิ่งที่ดีย่อมทำให้เกิดความหวังและกำลังใจทำสิ่งที่ดี
    คนที่มีศรัทธาในศาสนาหรืออุดมการณ์เพื่อสังคม
    มีเหตุผลในการทำเพื่ออะไรที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเอง
    จึงเป็นคนที่มีความสุขมากกว่า
    และเผชิญกับวิกฤติได้ดีกว่าคนที่ขาดศรัทธายึดเหนี่ยว


   มาเพิ่มภูมิต้านทานความทุกข์ให้ตัวเองกันเถอะค่ะ
แล้วคุณจะยิ้มได้ตลอดไป และถ้าหากคุณยังไม่มั่นใจในระดับความสุขของตนเอง
ลองเข้าไปตรวจสอบได้จากดัชนี้ชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย โดยกรมสุขภาพจิต
กระทรวงสาธารณสุข ที่ //www.dmh.go.th







Free TextEditor







































































































Create Date : 17 พฤษภาคม 2553
Last Update : 17 พฤษภาคม 2553 12:49:34 น. 0 comments
Counter : 250 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.