“ตับ” กับหน้าที่หลัก 4 ประการ


“ตับ” กับหน้าที่หลัก 4 ประการ
   
โคลด แบร์นาร์ด นักสรีรวิทยาชาวฝรั่งเศส คือ คนแรกที่ค้นพบการทำงานของตับ
และจากการค้นคว้าวิจัยของเขาทำให้เราทราบว่า ตับ
คือแหล่งเก็บรักษาพลังงานของร่างกาย
    แม้ปัจจุบัน
ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์จะทำให้เรารู้ว่า ตับ
มีบทบาทสำคัญแก่ร่างกายถึงกว่า 500 ประการ แต่หน้าที่หลักๆ ของตับนั้น
แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ สะสม ทดแทน สังเคราะห์ และล้าง
พิษ

สะสม คือการรวบรวมกลูโคส หรือน้ำตาล
ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์สมอง
แล้วเปลี่ยนเป็นไกลโคเจนนำมาเก็บสะสมไว้ใช้ยามจำเป็น
ทดแทน

คือการนำเอาสิ่งที่สะสมไว้มาย่อยสลายและส่งต่อเข้าสู่ร่างกายผ่านกระแสเลือด
ตามความเหมาะสม
สังเคราะห์ คือการสร้างสารโปรตีน
ต่างๆ
จากกรดอะมิโนในสารอาหารที่ผ่านการย่อยและถูกส่งต่อมาจากกระเพาะอาหารและลำ
ไส้ ก่อนส่งเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกาย
ล้าง
พิษ
คือการเปลี่ยนสารที่เป็นพิษต่อเซลล์
ให้เป็นสารที่ไร้พิษก่อนขับออกนอกร่างกายในรูปของเหลว เช่น
หลังจากเราดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปก็จะถูกดูดซึมผ่านกระเพาะอาหารและลำไส้มายัง
ตับ
จากนั้นเอนไซม์ในตับจะเปลี่ยนแอลกอฮอล์ให้เป็นอะซีตัลดีไฮด์และกรดอะซีติก
ตามลำดับ
และขั้นสุดท้ายคือกรดอะซีติกจะถูกย่อยสลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ
ก่อนถูกขับออกนอกร่างกายผ่านทางปัสสาวะ
    นอกจากนี้ หน้าที่สำคัญอื่นๆ
ของตับ ได้แก่ ผลิตน้ำดี
ควบคุมอัตราการเผาผลาญสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
ผลิตสารที่เป็นปัจจัยการแข็งตัวของเลือด
แปรสภาพเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุให้เป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตน้ำดี
แปรสภาพสารพิษและยาต่างๆให้อยู่ในสภาพปลอดภัยเพื่อให้ร่างกายขับถ่ายออกไป
ได้ เปลี่ยนแอมโมเนียจากการสลายโปรตีนให้เป็นยูเรียก่อนขับออกทางปัสสาวะ
เป็นแหล่งเก็บสะสมวิตามินบี 12 เหล็ก และทองแดง
รวมทั้งเป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือดแดงของตัวอ่อนในครรภ์ เป็นต้น



“ตับ” กับโรคร้ายพึงระวัง
   
แม้ว่าตับคนเราจะมีคุณสมบัติน่าประหลาดใจที่อวัยวะอื่นทำไม่ได้ คือ
สร้างเซลล์ใหม่ขึ้นทดแทนหรือเรียกง่ายๆว่า งอกขึ้นมาใหม่ได้ราวกับหางจิ้งจก
แต่ใช่ว่าตับ จะฟื้นฟูตัวเองได้เสมอไป
เพราะโรคภัยไข้เจ็บบางอย่างก็รุนแรงจนส่งผลให้ตับเสื่อมสภาพเกินกว่าจะเยียว
ยาได้ และโรคอันตรายที่มักเกิดขึ้นกับตับนั้นมีดังนี้



  1. ตับอักเสบ (hepatitis)
    ส่วนใหญ่เราคุ้นกับชื่อโรคไวรัสตับอักเสบเอ บี และซี
    ซึ่งทั้งหมดนี้เรียกรวมว่า โรคตับอักเสบ โดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส
    การดื่มสุรา ติดเชื้อแบคทีเรีย พยาธิ และสารเคมี
    ไวรัสตับอักเสบ
    เอ
    เกิดจากการรับเชื้อเข้าไปทางปาก เช่น
    การกินอาหารที่ไม่สะอาดและมีการปนเปื้อนเชื้อไวรัส
    รวมทั้งการขาดสุขอนามัยที่ดีก่อนรับประทานอาหาร
    ไวรัสตับอักเสบบี
    เป็นโรคติดเชื้อของตับที่มีจำนวนผู้เป็นพาหะสูงที่สุดในโลก คือ ราว 200
    ล้านคน ส่วนในเมืองไทยมีพาหะของโรคนี้ราว 10 เปอร์เซ็นต์
    พบเชื้อนี้ได้ในเลือด สารคัดหลั่งและของเหลวในร่างกาย ที่สำคัญคือ
    มีตัวเลขยืนยันว่าผู้ที่เป็นพาหะนี้มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งตับมากกว่าคนทั่วไป
    สูงถึง 223 เท่าเลยทีเดียว
    แต่ปัจจุบันตัวเลขผู้ป่วยและผู้เป็นพาหะมีแนวโน้มลดลง
    เพราะเด็กทารกแรกคลอดทุกคนจะได้รับวัคซีนป้องกันแต่กำเนิด
    ไวรัส
    ตับอักเสบซี
      เกิดจาก RNA ไวรัสที่แฝงตัวอยู่ตามอวัยวะต่างๆ
    โดยเฉพาะในเลือด สมัยก่อนยังไม่มีใครรู้จักโรคนี้
    แต่เพิ่งมาสังเกตเห็นความผิดปกติหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
    ซึ่งมีการถ่ายเลือดกันเยอะ การส่งผ่านเชื้อโรคก็มากตามไปด้วย
    ปัจจุบันชนชาติที่เป็นพาหะของโรคนี้มากที่สุดคือ ญี่ปุ่น
       
    ความรุนแรงของโรคตับอักเสบแต่ละชนิดนั้นมีเท่าๆกัน
    แต่ไวรัสตับอักเสบบีจะแสดงอาการได้ทุกช่วงอายุและพร้อมจะลามเป็นโรคมะเร็ง
    ตับได้ตลอดเวลา ส่วนไวรัสตับอักเสบซีนั้นมักแสดงอาการเมื่ออายุ 45-50 ปี
    และพัฒนาการของโรคจะเริ่มจากทำให้ตับอักเสบ ตับแข็ง
    และกลายเป็นมะเร็งในที่สุด ตามลำดับ
       
    การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบเป็นการรักษาตามอาการ
    วิธีป้องกันตัวเองจากโรคนี้ได้แก่ การรักษาสุขอนามัยเสมอ
    เลี่ยงการสัมผัสเลือดหรือของเหลวจากผู้อื่น
    รวมถึงไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่สำส่อนทางเพศ
    และฉีดวัคซีนป้องกัน


  2. ตับแข็ง นับเป็นโรคตับที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่ง
    สาเหตุมักเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องเป็นเวลานานจนทำให้ตับเป็นแผล
    เซลล์ตับส่วนหนึ่งจึง   ตายไปโดยไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาได้อีก
    หรือเซลล์ตับถูกทำลายจนเกิดการสมานเซลล์ตับขึ้นบ่อยครั้งกลายเป็นพังผืด
    ทำให้ตับส่วนนั้นสูญเสียการทำงาน
        สาเหตุอื่นของโรคตับแข็งได้แก่
    การรับประทานยาสมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลานาน
    โรคทางพันธุกรรมบางชนิดที่ทำให้เกิดการสะสมทองแดงที่ตับมากเกินไป
    หรือเกิดจากความผิดปกติของภูมิต้านทาน
    รวมทั้งการสะสมของไขมันที่มากเกินไปก็อาจไปกระตุ้นให้ตับอักเสบกลายเป็นตับ
    แข็งได้
        ส่วนการรักษานั้นไม่สามารถทำให้หายขาดได้เช่นกัน
    ทำได้เพียงชะลอหรือหยุดการดำเนินของโรคจะช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวได้
    ทั้งนี้ต้องคอยระวังอาการแทรกซ้อนด้วย


  3. โรคไขมันจุกตับ
    คงไม่ดีแน่หากตับของเราจะมีสภาพเปลี่ยนไปจนคล้ายฟัวกราส์
    ที่มีไขมันแทรกอยู่ทุกอณูเซลล์ตับ
    โรคนี้เกิดจากภาวะที่มีการสะสมของไขมันในรูปไตรกลีเซอไรด์คั่งอยู่ในตับ
    ทำให้เซลล์ตับตายหรืออาจมีการติดเชื้อในเซลล์ตับด้วย
    สาเหตุส่วนใหญ่นอกจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงแล้ว การดื่มสุรา
    และการได้รับยาบางชนิดมากเกินไปก็เป็นเรื่องที่พึงระวัง
    นอกจากนี้เรายังพบโรคนี้ได้ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
    และความดันโลหิตสูง เกินกว่าครึ่งของผู้ป่วยมักมีอาการดื้อต่ออินซูลิน
    ที่สำคัญโรคนี้มักไม่แสดงอาการ แต่เจอโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพ
    อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดใต้ซี่โครงขวาบ่อยๆ
    ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคนี้ได้เช่นกัน  การรักษาที่ดีที่สุดคือ
    การลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร และใช้ยาที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม



ครั้งแรกของไทยกับการผ่าตัดเปลี่ยนตับจาก
ผู้ใหญ่สู่ผู้ใหญ่

    นับเป็นข่าวดีของคนไทย
เพราะเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนตับจากผู้ใหญ่สู่ผู้ใหญ่ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
จากแต่เดิมที่การผ่าตัดเปลี่ยนตับจะใช้ตับจากผู้ป่วยบริจาคที่เสียชีวิตแล้ว

โดยการผ่าตัดครั้งนี้ดำเนินการกับผู้ป่วยโรคตับแข็งจากการติดเชื้อไวรัสตับ
อักเสบซี
    คนไข้รายนี้เป็นผู้ชายวัยกลางคน
ถูกวินิจฉัยแล้วว่าเนื้อตับเขาเสียไปแล้ว 60 เปอร์เซ็นต์
จึงต้องทำการเปลี่ยนส่วนที่เสียนี้ออกไป
โดยจากการตรวจสุขภาพของคนในครอบครัวผู้ป่วยพบว่า
มีลูกชายคนหนึ่งที่แข็งแรงพร้อมต่อการบริจาคตับให้พ่อได้ และในวันผ่าตัด
ตับของลูกชายจึงถูกตัดแบ่งมาให้ผู้เป็นพ่อ 60 เปอร์เซ็นต์
และผลการผ่าตัดก็เป็นที่น่าพอใจ
เพราะตับใหม่ที่ใส่เข้าไปในตัวผู้ป่วยใช้งานได้ดี ไม่มีผลแทรกซ้อน
ส่วนตัวผู้เป็นลูกก็แข็งแรงดีสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ใน 7 วัน
ส่วนผู้ป่วยกลับบ้านได้หลังจากผ่าตัด 19 วัน จากนั้นประมาณ 4-6 สัปดาห์
ตับของทั้งคู่ก็เติบโตเข้าสู่ภาวะปกติ
แต่ป่วยต้องกินยากดภูมิตลอดชีวิตเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกริยาต่อต้านเซลล์
ตับใหม่
    นับเป็นความสำเร็จอีกขั้นที่เป็นทางออกสำหรับผู้ป่วยโรคตับ
3 ประเภท ได้แก่
ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็งระยะสุดท้ายจากไวรัสตับอักเสบบีและซี
และจากการดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ป่วยที่มีภาวะตับวาย
รวมทั้งผู้ป่วยมะเร็งตับระยะเริ่มแรกที่ไม่มีการแพร่กระจาย
   
สำหรับการดูแลรักษาตับของเราให้แข็งแรงอยู่เสมอนั้นทำได้โดยการรับประทาน
อาหารที่มีประโยชน์ทั้ง 5 หมู่ในสัดส่วนพอเหมาะ
การรับประทานไขมันและโปรตีนที่มากเกินจำเป็น ล้วนส่งผลเสียต่อตับทั้งสิ้น
ส่วนแอลกอฮอล์คือศัตรูตัวร้ายที่หากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงดีกว่านะคะ







Free TextEditor







































































































Create Date : 17 พฤษภาคม 2553
Last Update : 17 พฤษภาคม 2553 12:04:57 น. 0 comments
Counter : 264 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.