รู้จักหรือยัง?...โรคเมลิออยโดซิส



ภัยแฝง
ในดินและน้ำ


เมลิออยโดซิส
(Melioidosis)...
เป็นโรคติดเชื้ออีกโรคหนึ่งที่เป็นปัญหาสาธารณสุข
ที่สำคัญ  ซึ่งสถานการณ์ของโรคในประเทศไทย จากการรายงานของกรมควบ
คุมโรค เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2550 มีผู้ป่วย 789 ราย เสียชีวิต 6 ราย
จาก
การพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มีอาการหลายรูปแบบ ที่อาจคล้ายคลึงกับโรคอื่นๆ เช่น
มาลาเรีย วัณโรค จึงได้ชื่อว่า “ยอดนักเลียนแบบ”
เมลิออยโดซิส เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Burkholderia
pseudomalliei ซึ่งพบได้ในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น แพะ แกะ
โค กระบือ โรคนี้พบได้ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  สำหรับ
ประเทศไทยมีถิ่นระบาดในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้
พบได้ทั่วไปในบริเวณระบาดโดยเฉพาะในดินและน้ำ
มักพบในฤดูฝนหลังจากที่มีฝนตกประมาณ 1-2 เดือน
ซึ่งคาดว่าเกิดจากการที่น้ำชะเอาเชื้อที่อยู่ในดินขึ้นมาอยู่ที่บริเวณผิว
ดิน ซึ่งเพิ่มโอกาสการติดเชื้อได้ง่าย





การติดต่อของโรค

          
ทั่วไปสามารถติดต่อจากการสัมผัสกับดินหรือน้ำ ผ่านทางแผลที่ผิวหนัง
หรือหายใจเอาฝุ่นจากดิน หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อเจือปนอยู่เข้าไป
เชื้อเมลิออยโดซิส สามารถอยู่ได้ในซากสัตว์ที่อยู่ในดินและน้ำ
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเมลิออยโดซิส
ส่วนใหญ่คือผู้ที่มีอาชีพที่ต้องสัมผัสดินและน้ำโดยเฉพาะ
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคไตและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ เช่น
ติดสุราหรือทานยากดภูมิคุ้มกัน โรคนี้ก็อาจเข้าแทรกซ้อนได้
เพราะเชื้อโรคชนิดนี้มีความพิเศษตรงที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองโดยหลบหลีก
ระบบการตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย  ทำให้สามารถ
หลบซ่อนอยู่ในร่างกายของเราได้นาน 20-30 ปี
แต่ทั้งนี้ระยะฟักตัวอาจสั้นเพียง 2 วันหรือเป็นปี
ขึ้นอยู่กับระยะการติดเชื้อและอาการของโรค

อาการและอาการแสดง

          
เมื่อเชื้อเมลิออยโดซิสเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดการอักเสบตามอวัยวะต่างๆ
ได้ทุกระบบ อาการของโรคจะแตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อและความต้านทานโรคของร่างกาย

          
อาการโดยทั่วไป ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หายใจไม่สะดวก หรือหอบเหนื่อย
ซึมแบบไม่รู้ตัว ผู้ป่วยบางรายมีอาการคล้ายโรคปอดบวมรุนแรง
บางรายมีอาการคล้ายวัณโรค
ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการและอาการแสดงได้หลายรูปแบบ ซึ่งจะแบ่งเป็น 3
แบบใหญ่ๆ คือ

           1.อาการไข้นานไม่ทราบสาเหตุ
ผู้ป่วยบางรายมีไข้เป็นเวลานานโดยไม่ทราบสาเหตุ น้ำหนักลด
ต่อมาจึงเกิดอาการรุนแรงขึ้น

           2.การติดเชื้อเฉพาะที่
(Localized melioidosis) ส่วนใหญ่พบการ   ติดเชื้อที่ปอด เรียก pulmonary
melioidosis ซึ่ง จะมีอาการเหมือนปอดอักเสบ คือ มีไข้ ไอมีเสมหะเล็กน้อย
น้ำหนักลด บางรายไอมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก
พบว่าการเกิดโรคมีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเรื้อรัง
บางรายอาจมีอาการของฝีในตับ ฝีในกระดูกหรือเป็นเพียงฝีที่ผิวหนังเท่านั้น
ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้อง อาจเกิดอาการรุนแรงขึ้น

          
3.การติดเชื้อแบบแพร่กระจายเชื้อไปทั่ว / ติดเชื้อในกระแสเลือด
(Septicemic melioidosis) เชื้อจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปทั่วร่างกาย
ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่มักเสียชีวิตภายใน
2-3 วัน

ความ
รุนแรงของโรค มีสาเหตุสำคัญมาจาก


           •
การตรวจวินิจฉัยได้ช้า ไม่ทันท่วงทีต่อการรักษา
           • การ
ได้รับการรักษาช้า และการรักษาไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เช่น
ให้ยาปฏิชีวนะที่เชื้อดื้อยา จำเป็นต้องให้ยาที่รักษาโดยเฉพาะ
เนื่องจากเชื้อดื้อยาต่อยาปฏิชีวนะเกือบทุกชนิดในปัจจุบัน
           •
ปัจจัยจากตัวเชื้อเองที่ทำให้มีความรุนแรงมากกว่าเชื้อชนิดอื่นๆ
          
• ปัจจัยพื้นฐานเรื่องสภาพของผู้ป่วย
ซึ่งมีความสามารถในการต้านทานต่อเชื้อได้ต่างกัน

การวินิจฉัยโรค

          
เนื่องจากอาการของโรคคล้ายกับโรคติดเชื้ออื่นหลายชนิด
อาจทำให้การวินิจฉัยผิดได้ ซึ่งจะมีผลต่อการรักษา
เพราะการรักษาโรคเมลิออยซิสมีรูปแบบจำเพาะไม่เหมือนโรคติดเชื้ออื่น
จำเป็นต้องพัฒนาวิธีการตรวจอย่างมีประสิทธิภาพ
การวินิจฉัยจึงต้องตรวจยืนยัน โดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยเฉพาะ
ซึ่งถือเป็นวิธีมาตรฐาน

แนว
ทางการรักษา


          
1.แยกผู้ป่วยไม่ให้ผู้อื่นสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งจากทางเดินหายใจและโพรงจมูก
          
2.นำสิ่งส่งตรวจ (Specimen) ของ ผู้ป่วย เช่น เลือด ปัสสาวะ
เสมหะหรือหนองมาเพาะเลี้ยง แล้วนำมาทดสอบดูว่ามีเชื้อนี้อยู่หรือไม่
ซึ่งจะใช้เวลา 3-5 วัน จึงจะรู้ผล
           3.ให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วย
โดยให้ยาฉีดในระยะแรก 2 สัปดาห์ และให้ยารับประทานต่อจนครบ 20 สัปดาห์
เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

การป้องกัน

          
1. ป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลเมื่อต้องสัมผัสดินและน้ำ
หรือรีบทำความสะอาดร่างกายหลังการทำงาน ในบุคคลที่มีอาการของโรคเบาหวาน
และแผล บาดเจ็บ รุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินและน้ำ
ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้อาจต้องสวมถุงมือ รองเท้ายาง เพื่อป้องกัน
          
2.หากมีแผลถลอกหรือไหม้ ซึ่งสัมผัสกับดินหรือน้ำในพื้นที่ที่เกิดโรค
ควรทำความสะอาดทันที
           3. เมื่อมีบาดแผลและเกิดมีไข้
หรือเกิดการอักเสบเรื้อรัง ควรรีบไปพบแพทย์นอกจากนี้แล้ว การมีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆ และการดูแลสุขภาพของร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้...






Free TextEditor







































































































Create Date : 15 พฤษภาคม 2553
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 21:18:36 น. 0 comments
Counter : 530 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.