โรคกระดูกพรุน..ภัยเงียบที่คาดไม่ถึง



          เมื่ออายุมากขึ้น
บุคคลิกภาพของคนมักจะเปลี่ยนตามไปด้วย อย่างเช่น รูปร่างเตี้ยลง หลังค่อม
บางคนก็มีอาการขาโก่งงอ ที่ร้ายไปกว่านั้น ก็คือ
กระดูกหักง่ายกว่าปกติ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดขึ้น ก็เนื่องมาจาก ความ
หนาแน่นของกระดูกน้อยลง 
นั่นเอง
ซึ่งตามปกติของร่างกายจะสร้างมวลกระดูกใหม่
และขจัดมวลกระดูกที่หมดอายุออกไป โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่วัย 35
ปีขึ้นไป อัตราการสลายกระดูกจะเร็วกว่าอัตราการสร้างกระดูก
ทำให้ปริมาณมวลกระดูกลดลงและโครงสร้างภายในของกระดูกถูกทำลายส่งผลให้ระดู
กชั้นในมีขนาดใหญ่ขึ้น มีลักษณะเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำ
หรือที่เรียกกันว่าอยู่ในสภาวะ “กระดูกพรุน”
ซึ่งผู้หญิงจะสูญเสียเนื้อกระดูกมากกว่าผู้ชายถึง 2 - 3 เท่า
โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน
ปริมาณเนื้อกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 


         
สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุ
หญิงวัยหมดประจำเดือน
ผู้ป่วยโรคทางเดินอาหารที่มีความผิดปกติในการดูดซึมแคลเซียม คนที่ดื่มสุรา
กาแฟ สูบบุหรี่จัด ผู้ป่วยที่ต้องนอนบนเตียงคนป่วยเป็นเวลานาน
ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระจายไปที่กระดูก
ผู้ที่มีประวัติว่าคนในครอบครัวกระดูกหักง่าย นอกจากนี้
การได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาเสตรียรอยด์ ยากันชัก ยาไทร็อกซิน
ฯลฯ รวมทั้งคนที่เป็นโรครูมาตอยด์
,โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
ฯลฯ
ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากเป็นพิเศษเช่นกัน 

         
เมื่อกระดูกในร่างกายเริ่มบางลง จนเริ่มเข้าสู่ภาวะกระดูกพรุน
ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ ปรากฏเลยถ้ากระดูกไม่หัก ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน จะดำรงชีวิตได้อย่างปกติ
แต่หากเมื่อประสบอุบัติเหตุเช่นการหกล้ม  ภัยเงียบที่แอบแฝงนี้
ก็ปรากฏให้รู้ว่า สาเหตุที่กระดูกหักง่ายนั้น
ก็เพราะอยู่ในสภาวะกระดูกพรุน โดยส่วนที่จะหักง่ายได้มากกว่าปกติ

ได้แก่ กระดูกหลัง กระดูกข้อมือ และกระดูกสะโพก เมื่อกระดูกหักแล้ว
โดยเฉพาะกระดูกบริเวณสะโพก ผลกระทบที่ตามมาเกิดขึ้น
จะทำให้ไม่สามารถเดินได้  การนอนรักษาตัวเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดแผลกดทับ
อีกทั้ง ยังกลายเป็นภาระในการดูแลระยะยาว สุดท้ายอาจเสียชีวิตในที่สุด

นอกจากนี้ สภาวะกระดูกพรุนยังส่งผลต่อโครงสร้างของกระดูกสันหลัง
ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังเฉียบพลันและเรื้อรัง มีรูปร่างเปลี่ยนไป เตี้ยลง
หลังโก่ง ไหล่งุ้มกว่าปกติ พุงยื่น หลังแอ่น ไม่มีเอว ฟันหลุดง่าย
และการทำงานของอวัยวะภายในด้อยลง การย่อยอาหาร และการหายใจลำบาก เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า โรคกระดูกพรุน นั้น มีอันตรายสูงมาก คนที่มีอายุมากขึ้น
จึงจำเป็นต้องป้องกันและรักษา
แต่การที่จะรักษากระดูกที่พรุนแล้วให้กลับเข้าสู่สภาพเดิมนั้นมักจะไม่ค่อย
ได้ผลนัก สิ่งที่ดีที่สุด คือ
การดูแลตัวเองไม่ให้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนนั่นเอง...

วิธี
การป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนควรมีการป้องกันโดยการเปลี่ยนรูปแบบการ
ดำรงชีวิต และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆอาทิเช่น การงดสูบบุหรี่,
งดดื่มสุรา, ชา, กาแฟ, ระวังการลื่นล้ม เป็นต้น
นอกจากนี้ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงและบริโภค
อาหารที่มีแคลเซียม วิตามินดี โปรตีน ที่เพียงพอเพื่อความสมดุลของร่างกาย
หากไม่มีเวลามากพอ ควรหาผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมให้กับกระดูก





          โดยเลือกที่มี
คอลลาเจนไฮโดรไลเซท ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้มวลกระดูกแข็งแรง
ไม่เปราะหักง่าย






Free TextEditor







































































































Create Date : 15 พฤษภาคม 2553
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 21:33:22 น. 0 comments
Counter : 257 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.