^_^ vechagran dot com by tingnoy
Group Blog
 
All blogs
 
สรุปย่อเตรียมสอบปลัดอำเภอ



1. กระทรวงมหาดไทยตั้งขึ้นเมื่อใด (1 เมษายน 2435 : สมัยรัชกาลที่ 5)
1. เสนาบดี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคนแรกคือใคร (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) คนปัจจุบันคือใคร (พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา : ลำดับที่ 55/ คนที่ 50)
2. ปลัดทูลฉลอง/ปลัดกระทรวงมหาดไทยคนแรกคือใคร (พระยาอำมาตยาธิบดี) คนปัจจุบันคือใคร
(นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ : คนที่ 31)
3. ระยะแรกจัดตั้งกระทรวงมหาดไทยแบ่งออกเป็นกี่กรม ( 3 กรม คือ 1) กรมมหาดไทยกลาง : หน้าที่ทั่วไป 2) กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ : ปราบปรามโจรผู้ร้าย 3) กรมพลัมภัง : การปกครองท้องที่)
4. การจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลแบ่งการปกครองออกเป็นอะไรบ้าง (มณฑล เมือง และอำเภอ)
5. สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล (มณฑลพิษณุโลก, มณฑลปราจีนบุรี,มณฑลราชบุรี, มณฑลนครไชยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลภูเก็ต ตามลำดับ)
6. “ข้าหลวงใหญ่” เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบมณฑล ต่อมาได้มีการยกเลิกตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ และแต่งตั้งใหม่เป็น (สมุหเทศาภิบาล)
7. สมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการรวมมณฑลเป็นภาค (ภาคพายัพ ภาคอีสาน ภาคใต้และภาคอยุธยา) ต่อมาปี 2468 ได้ยกเลิกภาค คงมีแต่สมุหเทศาภิบาล จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 ได้ยกเลิกระบบเก่าทั้งหมด
8. สมัย ร.6 ได้จัดตั้ง “ดุสิตธานี” เพื่อทดลองการปกครองในระบบอบประชาธิปไตย มีพรรคการเมือง ( พรรคโบว์แดงและพรรคโบว์น้ำเงิน)
9. สมัย ร.7 มีการตรากฎหมายข้าราชการพลเรือนฉบับแรก (พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471)
10. เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งปลัดทูลฉลอง เป็น (ปลัดกระทรวง)
11. หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักสยาม พ.ศ. 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ “ประธานกรรมการราษฎร” เป็น (นายกรัฐมนตรี) กรรมการราษฎร,เสนาบดี มาเป็น (รัฐมนตรี)
12. พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2476 ได้เป็นชื่อ “คณะกรรมการรักษาพระราชบัญญัติ” : กรพ.)
มาเป็น (คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน : ก.พ.) นำระบบคุณธรรมมาใช้บริหารงานบุคคล (สอบแข่งขัน)
13. พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 กำหนดระดับ (ซี) ออกเป็น (11 ระดับ)
14. กรมการปกครองเดิมมีชื่อว่าอะไร (กรมพลัมภัง : เปลี่ยนชื่อเป็นกรมการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2505)
15. อธิบดีกรมการปกครองคนแรกคือใคร(พระยานุวงศ์ประวัติ) คนปัจจุบันคือ ( นายศิวะแสงมณี : คนที่ 29)
16. การทดลองตั้งผู้ใหญ่บ้านและกำนันเกิดขึ้นครั้งแรกสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2435 ที่ (อ.บางประอิน จ.พระนครศรีอยุธยา)
17. ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทดลองตั้งผู้ใหญ่บ้านและกำนัน คือ (หลวงเทศาจิตรวิจารณ์ หรือพระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิริยศิริ)
18. ผู้ใหญ่บ้านและกำนันคนแรกของประเทศไทย คือ (พระยารัตนกุลอดุลยภักดี)
19. กฎหมายปกครองท้องที่ฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) ประกาศใช้บังคับเมื่อ 22 พฤษภาคม 2440 (รัชกาลที่ 5)
20. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ที่บังคับใช้มาจนถึงปัจจุบัน เกิดขึ้นในสมัย (รัชกาลที่ 6)
21. ผู้ใหญ่บ้านมาจาการเลือกของราษฎร โดยวิธีลับหรือเปิดเผยก็ได้ ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2535 (มีผลบังคับใช้ 7 กรกฎาคม 2535) วาระ 5 ปี นับแต่วันที่ราษฎรเลือก
22. ทะเบียนบ้านมีที่มาจากการจดบัญชีพลเมืองหรือสารบัญชี ตั้งแต่สมัยสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยามี การสักเลข
23. สมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2452 ได้มีการตรา พ.ร.บ.สำหรับทำบัญชีคนในพระราชอาณาจักร ร.ศ. 128 โดยให้มีการจัดทำบัญชีสำมะโนครัว /บัญชีคนเกิดและคนตาย/บัญชีคนเข้าออก
24. พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่จัดทำทะเบียนสำมะโนครัวในหมู่บ้านของตนและคอยแก้ไขให้ถูกต้องเสมอ กำนันต้องรักษาบัญชีสำมะโนครัวและทะเบียนบัญชีของรัฐบาลในตำบลนั้นและคอยแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องกับบัญชีของผู้ใหญ่บ้าน และกรมการอำเภอมีหน้าที่ทำบัญชีสำมะโนครัวและทะเบียนทุกๆอย่างบรรดาที่ต้องการในราชการ
25. พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 ประกาศใช้ 21 ก.พ. 2499 มิได้บังคับทุกมาตรา ต่อมาเมื่อ 10 เมษายน 2499 ให้มีการสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่ 31 พฤษภาคม 2499-30 มิถุนายน 2499)
26. การออกคาราวานแก้จน เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ที่ 5 พฤศจิกายน 2547 เน้นให้ครัวเรือนจัดทำบัญชีรับ-จ่าย
27. การจัดหาที่อยู่อาศัยรัฐบาลดำเนินการใน 3 ลักษณะ คือ 1) บ้านมั่นคง เน้นในแหล่งชุมชนแออัดและชุมชนเมือง 2) บ้านเอื้ออาทร รัฐบาลให้เงินอุดหนุนแต่ให้ประชาชนผ่อนส่ง 3) บ้าน Knock down ให้ประชาชน ช่วยกันร่วมกันสร้างบ้านในที่ดินของตนเองแล้วผ่อนวันละ 25-30 บาท/วัน นาน 12 ปี
28. บุคคลพื้นที่ราบสูง (สูงกว่าระดับน้ำทะเล ffice:smarttags" />500 เมตร) มีอยู่ในพื้นที่ (20 จังหวัด 105 อำเภอ)
29. IMT-GT หมายถึง (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle : โครงการพัฒนาเศรษฐกิจ 3ฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย)
- อินโดนีเซีย : เขตปกครองพิเศษอาเจห์ สุมาตราเหนือ สุมาตราตะวันตก จ.เรียว
- มาเลเซีย : รัฐเคดาห์ เปอร์ลิศ เปรัค และปินัง
- ไทย : สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสตูล
30. SMEs หมายถึง ( Small Medium Enterprises : วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม)
– ขนาดกลาง (จ้างงานตั้งแต่ 51-200 คน)
– ขนาดย่อม (จ้างงานตั้งแต่ 0-50 คน)
1. GDP หมายถึง (Gross Domestic Product : ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ คือ มูลค่าของสินค้าและ บริการที่ผลิตได้ในประเทศนั้นๆ ทั้งหมด รวมของบุคคลสัญชาติอื่นด้วย)
2. GNP หมายถึง (Gross National Product : ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ คือ มูลค่าของสินค้าและ
บริการที่ผลิตได้โดยคนสัญชาตินั้นทั้งหมด ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด)
3. เหตุการณ์สึนามิ (Tsunami) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ในพื้นที่ 6 จังหวัด (พังงา ภูเก็ต กระบี่ สตูล
ตรัง และระนอง)
35. DVI หมายถึง (Disaster Victim Identification : หน่วยพิสูจน์เอกลักษณ์ผู้ประสบวิบัติภัย)
36. e-government หมายถึง (รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ : รัฐบาลที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ในการปฏิบัติงานเต็ม
รูปแบบ)
1) G2C (Government to Citizen) รัฐบาล : พลเมือง
2) G2B (Government to Business) รัฐบาล : ภาคธุรกิจเอกชน
3) G2E (Government to Employees) รัฐบาล : บุคลากรของรัฐ
4) G2G (Government to Government ) รัฐบาล : รัฐบาล
37. เหตุการณ์ก่อการร้ายในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 เกิดขึ้นที่ (ตึกเวิลด์เทรด
รัฐนิวยอร์ก และตึกแพนตากอน รัฐวอชิงตัน)
38. ประเทศไทยมีการปลดหนี้ IMF เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2546 ใช้หนี้งวดสุดท้าย 1,600 ล้านดอลล่าร์
(กู้เมื่อเดือนสิงหาคม 2540)
39. ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่าประเทศคนปัจจุบัน คือ (นายฮอร์ส โคห์เลอร์ ชาวเยอรมัน)
40. โครงการสุขภาพดีถ้วนหน้า (30 บาท รักษาทุกโรค) เริ่มดำเนินการนำร่องใน 6 จังหวัด คือ (พะเยา นครสวรรค์
ปทุมธานี สมุทรสาคร ยโสธรและยะลา เมื่อ 1 เมษายน 2544)
41. โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เริ่มดำเนินการ (25 กรกฎาคม 2544)
42.คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนและติดตามการดำเนินการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ตามนโยบายคณะรัฐมนตรี (ป.ท.) มี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) เป็นประธาน
43.กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) จัดตั้งขึ้นเมื่อ (1 มีนาคม 2547)
44. นายประยงค์ รณรงค์ ได้รับรางวัลแม็กไซไซ สาขาพัฒนาขุมชน ประจำปี 2547
45. ยายไฮ เรียกร้องสิทธิที่นาซึ่งจมหายไปอันเนื่องมาจากการสร้างเขื่อนห้วยละห้า เขตบ้านโนนตาล ต.นาตาล
กิ่ง อ. นาตาล จ.อุบลราชธานี
46. ปู่เย็น เป็นคนหาปลา ชาวอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
44. การพับนกกระดาษ มีที่มาจาก (ด.ญ. ซาดาโกะ ซาซากิ ซึ่งได้รับพิษจากการทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา
เมื่อปี 2489 ต่อมาป่วยเป็นโรคลูคีเมีย (มะเร็งในเม็ดเลือด) ได้มีการพับนกเพื่อหวังจะได้มีอายุยืนยาว)
ประเทศไทยได้มีการพับนกแล้วนำไปปล่อยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2547
48.สนามบินสุวรรณภูมิ ได้มีการริเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ. 2503) โดยเดิมมีชื่อว่า “สนามบินหนองงูเห่า” ต่อมาในปี 2543 รัชกาลที่ 9 พระราชทานนาม “สนามบินสุวรรณภูมิ” กำหนดเปิดบริการ 29 กันยายน 2548 ตั้งอยู่ที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
49. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส (Serve Acute Respiratory Syndrome) เกิดระบาดครั้งแรก ในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน แพร่ระบาดในประเทศเวียดนาม ฮ่องกง สิงคโปร์และแคนาดา
50. โรคเอดส์(AIDS) มาจากคำว่า (Acquired Immune Deficiency Syndrome)
51. ต้นไม้ประจำชาติ (ราชพฤกษ์) ดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์วันแม่ (ดอกมะลิ) สัญลักษณ์วันพ่อ (ดอกพุทธรักษา)
52. องค์ประกอบของรัฐ (พลเมือง ดินแดน รัฐบาลและอำนาจอธิปไตย)
53. ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน (ปลัดกระทรวงมหาดไทย)
54. ทีมงานสร้างเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองระดับตำบล ประกอบด้วย (ปลัดอำเภอผู้ประสานงานประจำตำบล
เกษตรตำบล สาธารณสุขตำบล พัฒนากรประจำตำบล นักธุรกิจ และ NGO)
55. จรรยาบรรณของข้าราชการตามข้อบังคับ ก.พ.ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2537 ประกอบด้วย
(1.จรรยาบรรณต่อตนเอง 2. จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน 3. จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและ
เพื่อนร่วมงาน 4. จรรยาบรรณต่อสังคมและประชาชน)
56. วินัยของข้าราชการ 4 ประการ (1. วินัยต่อผู้บังคับบัญชา 2. วินัยต่อเพื่อนร่วมงาน 3. วินัยต่อประชาชน 4. วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ )
57. ตาม กฎ ก.พ. ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) ข้าราชการพลเรือนจะต้องไม่เป็นโรคดังนี้
1) โรคเรื้อนในระยะติดต่อ หรือระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
2) วัณโรคในระยะอันตราย
3) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
4) โรคยาเสพติดให้โทษ
5) โรคพิษสุราเรื้อรัง
58. การจัดลำดับอาวุโสทางราชการเรียงตามลำดับดังนี้ (ระดับ เงินเดือน อายุราชการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และอายุตัว)
59. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 (หลักธรรมาภิบาล) มีองค์ประกอบ 6 ประการ (หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการ มีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบและหลักความคุ้มค่า)
60. อุดมการณ์แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง เน้นการพัฒนา 3 ด้าน (การพัฒนาจิตใจ การพัฒนาสังคมและการพัฒนาเศรษฐกิจ)
61. แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตนเอง
1) พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (18 กรกฎาคม 2517)
“ การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้นตอน ต้องสร้างพื้นฐาน
คือความพอมี พอกิน ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน...”
2) พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (4 ธันวาคม 2540)
การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพอยู่ พอกินและมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมี พอกิน
หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”
55. กรอบจริยธรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียง 3 ประการ (พอเพียงในความเป็นอยู่ พอเพียงในความคิด และพอเพียงในจิตใจ) เเอ๊คกรุ๊ป
56. กรอ. หมายถึง (คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ) ประธาน คือ นายกรัฐมนตรี
57. ประธานคณะกรรมการส่งเสริมงาน กรอ.จังหวัด คือ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)
ประธาน กรอ.จังหวัด คือ (ผู้ว่าราชการจังหวัด)
65. นโยบายคู่ขนาน (Dual Tracks Policy) คืออะไร (การกระตุ้นการผลิตควบคู่การส่งออก โดยเฉพาะการให้ความสำคัญ
กับเศรษฐกิจฐานรากและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระบบเศรษฐกิจโลกได้)
66. GIS หมายถึง ระบบสารสนเทศด้านภูมิศาสตร์ (Geographic Information System)
67. การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เป็นแนวคิดที่ได้จากหนังสือ “ The Mystery of Capital” เขียนโดย “Hernando ffice:smarttags" />de Soto” ชาวเปรู เเอ๊คกรุ๊ป
68. กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องเข้าไปควบคุมดูแลการเลือกตั้งท้องถิ่นภายใน 5 ปี นับแต่วันแต่งตั้ง กกต. ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 9 มิถุนายน 2546
69. กรณีไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส./ส.ว.ผู้มีสิทธิจะต้องเสียสิทธิ 8 ประการ
1) สิทธิคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. /ส.ว. ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น
2) สิทธิคัดค้านการเลือกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
1) สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส./ส.ว. ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น
2) สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
3) สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้รัฐสภาออกกฎหมาย
4) สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น
5) สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคล
6) สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่น/สมาชิกสภาท้องถิ่น
70. นโยบายรัฐบาลทักษิณ 2/2 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548 แบ่งออกเป็น 9 ประการ
1) นโยบายขจัดความยากจน
2) นโยบายพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
3) นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้
4) นโยบายบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5) นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
6) นโยบายพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
7) นโยบายส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม
8) นโยบายรักษาความมั่นคงของรัฐ
9) นโยบายตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ความรู้เกี่ยวกับหลักบริหาร
1. วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึง ความคาดหวังในอนาคตขององค์กรที่ต้องการจะเป็น
2. พันธกิจ (Mission) หมายถึง การกำหนดขอบเขตของงานหรือบทบาทหน้าที่ที่องค์กรต้องทำ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
3. เป้าประสงค์ (Goal) หมายถึง การกำหนดสิ่งที่องค์กรต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต
4. ยุทธศาสตร์ (Strategic) หมายถึง แนวทางหรือวิธีการทำงานที่ดีที่สุด เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าประสงค์ พันธกิจและวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
5. ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issue) หมายถึง หัวข้อสำคัญของยุทธศาสตร์
6. การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) หมายถึง การบริหารงานโดยอาศัยยุทธศาสตร์เป็นตัวนำเเอ๊คกรุ๊ป
7. การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management : RBM) เป็นวิธีการและเทคนิคที่พัฒนาขึ้นในราชการของประเทศสวีเดน (ผลสัมฤทธิ์ = ผลรวมของผลิต + ผลลัพธ์)
8. การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ใช้เทคนิค Balanced Scorecard ( การวิเคราะห์หาปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จและตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักขององค์การ)
9. Balanced Scorecard : BSC เป็นเทคนิคที่พัฒนาขึ้นโดย (Robert S. Kaplan & David P. Norton) จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด พิจารณาได้จาก 4 องค์ประกอบ
1) มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective)
2) มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective)
3) มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective)
4) มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective)
10. PDCA Circle เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนางานของทีมงานอำเภอและใช้ประโยชน์ในการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลของจังหวัดและส่วนกลาง (P : Plan วางแผน, D : Do ทำ, C : Check ตรวจสอบ(ประเมิน), A : Act ปฏิบัติใหม่)
11. GFMIS : Government Fiscal Management Information คือ การบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ใช้สำหรับบริหารจัดการที่เกี่ยวกับการเงินและบุคลากร ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการไปจนถึงระดับจังหวัด และในเดือนตุลาคม 2548 จะดำเนินการไปถึงอำเภอ และเดือนตุลาคม 2549 จะดำเนินการไปจนถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ
12. e-Procurement : การจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
13. National Agenda : วาระแห่งชาติ (ประเด็นนโยบายระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นเรื่องสำคัญซึ่งจำเป็นต้องเร่งดำเนินการให้บรรลุ)
14. การบริหารในปัจจุบันเน้น 3 มิติ คือ 1) มิติ Agenda วาระแห่งชาติที่ลงไปตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล 2) มิติ Function) สายงานปกติของกระทรวง กรม ลดความเป็นกรม กองหรือสายงาน 3) มิติ Area เน้นความสำคัญของพื้นที่ภูมิภาค จุดแตกหักอยู่ที่ตำบล หมู่บ้าน เเอ๊คกรุ๊ป อ.วันนรัตน์
15. พรหมวิหาร 4 : ธรรมของผู้นำ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)
16. อิทธิบาท 4 : ธรรมที่ทำให้งานสำเร็จ (ฉันทะ วัริยะ จิตตะ วิมังสา)
17. สังคหวัตถุ 4 : ธรรมอันเป็นเครื่องผูกมิตร (ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตา)
18. อริยะสัจ 4 : ธรรมอันนำไปสู่การพ้นทุกข์ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
19. ทศพิธราชธรรม : หลักธรรม 10 ประการ (ทาน ศีล บริจาค อาชวะ มัทวะ ตปะ อโกธะ อวิหิงสา ขันติ และ อวิโรธนะ)
20. อาชวะ หมายถึง (ความมีอัธยาศัยซื่อตรง)
21. มัทวะ หมายถึง (ความอ่อนโยน)
22. อวิโรธนะ หมายถึง (ความเที่ยงตรง)
23. กิจกรรม 5 ส. ประกอบด้วย (สะสาง : Seri , สะดวก : Seiton , สะอาด : Seiso , สุขลักษณะ : Seiketsu ,
สร้างนิสัย : Shitsuke)
24. การปรับรื้อระบบ (Reengineering) ประกอบด้วย (การคิดใหม่ : Rethink , ออกแบบงานใหม่ : Redesign ,
การใช้เครื่องมือสมัยใหม่ : Retool , ฝึกอบรมใหม่: Retrain)
25. ISO มาจาก (International Standard Organization : องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน )
ISO 9000 การจัดระบบการบริหาร
ISO 9001 การออกแบบ พัฒนาการผลิต การติดตั้งและการบริการ
ISO 9002 การผลิต การติดตั้งและการบริการ
ISO 9003 การตรวจ การทดสอบขั้นสุดท้าย
ISO 9004 แนวทางในการบริหารงานคุณภาพ
ISO 14000 มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ISO 18000 มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

วันสำคัญที่ควรรู้
10 กุมภาพันธ์ วันวันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
1 เมษายน วันข้าราชการพลเรือน
2 เมษายน วันมรดกไทย
7 เมษายน วันอนามัยโลก
5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก
26 มิถุนายน วันยาเสพติดโลก/วันสุนทรภู่
10 สิงหาคม วันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
24 ตุลาคม วันสหประชาชาติ
1 ธันวาคม วันเอดส์โลก/วันดำรงราชานุภาพ








Create Date : 09 กรกฎาคม 2551
Last Update : 9 กรกฎาคม 2551 21:14:02 น. 0 comments
Counter : 8528 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tingnoy
Location :
มหาสารคาม Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




สวัสดีคะผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อคแห่งสาระดีๆ และความรู้หลากหลายแห่งนี้คะ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวม และผู้ที่เตรียมตัวในการสอบที่มีเวลาน้อยสามารถนำแนวข้อสอบเหล่านี้ไปใช้ประกอบในการสอบได้นะคะ รวมทั้งเจ้าของบล็อคเอง ก็กำลังพยายามสู้ๆ กับการสอบคะ เป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะคะสอบได้กันทุกคนคะ*-*
ปล.จะพยายามอัพข้อมูลลงเรื่อยๆนะคะ ติดตามเข้ามาชมได้ตลอดคะ..........
สำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมบล็อคกันแล้วขอแค่คำขอบคุณนะคะผู้ทำจะได้มีกำลังใจหาเนื้อหามาลงให้ค่ะ
Wellcome to my blog
Friends' blogs
[Add tingnoy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.