^_^ vechagran dot com by tingnoy
Group Blog
 
All blogs
 
แน้วข้อสอบการปกครองท้องที่

1. อำเภอชั้นพิเศษมีกี่อำเภอ
ตอบ มี 17 อำเภอ คือ อำเภอเมืองขอนแก่น ชลบุรี เชียงราย เชียงใหม่ นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นนทบุรี พิษณุโลก ภูเก็ต ระยอง ลำปาง สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี อุดรธานี อุบลราชธานี และอำเภอหาดใหญ่

2. ประเทศไทยมีกี่จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ
ตอบ 75 จังหวัด 795 อำเภอ 81 กิ่งอำเภอ

3. พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ 2457 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่เท่าไร พ.ศ. อะไร
ตอบ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2542)

4. หมู่บ้านตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ 2457 ประกอบด้วยกี่บ้านกี่คน
ตอบ 5 บ้าน 200 คน

5. เมื่อสุขาฯ ยกฐานะเป็นเทศบาล หมู่บ้านที่อยู่นอกเขตเทศบาลมีบ้านและคนไม่ครบองค์ประกอบตามกฎหมายต้องยุบหรือยกเลิกหรือไม่
ตอบ ไม่ต้อง

6. การแยกหมู่บ้านตามหลักเกณฑ์ปี 2539 มีอย่างไร
ตอบ หลักเกณฑ์การจัดตั้งหมู่บ้าน (ทำเป็นประกาศจังหวัด)
ก.กรณีเป็นชุมชนหนาแน่น
1.มีราษฎรไม่น้อยกว่า 1,200 คนขึ้นไป หรือจำนวน 240 บ้านขึ้นไป
2.มีแยกหมู่บ้านใหม่แล้ว หมู่บ้านใหม่ต้องมีราษฎรไม่น้อยกว่า 600 คน หรือมีจำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 120 บ้าน
3.ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบลหรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
ข.กรณีเป็นชุมชนห่างไกล
1.มีราษฎรไม่น้อยกว่า 600 คนขึ้นไป หรือจำนวน 120 บ้านขึ้นไป
2.มีแยกหมู่บ้านใหม่แล้ว หมู่บ้านใหม่ต้องมีราษฎรไม่น้อยกว่า 200 คน หรือมีจำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 40 บ้าน
3.ชุมชนใหม่ห่างจากชุมชนเดิมไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร
3.ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบลหรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

7. คุณสมบัติการสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านตามที่แก้ไขใหม่ฉบับที่ 10 (2542) มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างไร (ม.12)
ตอบ ลาออกและลงสมัครได้เลย

8. คุณสมบัติของผู้เลือกผู้ใหญ่บ้านมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างไร
ตอบ อายุ 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง

9. กรณีบ้านที่ไม่มีผู้จบชั้นประถมจะเป็นผู้ใหญ่บ้าน ปัจจุบันใครเป็นผู้ยกเว้นโดยได้รับมอบอำนาจจากใคร
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอนุมัติของ รมว.มท.

10. โครงสร้างคณะกรรมการสภาตำบลประกอบด้วยใครบ้าง
ตอบ กำนันท้องที่ ผญบ.ทุกหมู่บ้าน แพทย์ ครูประชาบาล 1 คน กก.ผู้ทรงคุณวุฒิหมู่บ้านละ 1 คน นอภ.คัดเลือกรายงาน ผวจ.ออกหนังสือสำคัญ วาระ 5 ปี หากว่างลงเลือกภายใน 60 วัน ให้กำนันเรียกประชุมเดือนละ 1 ครั้ง

11. กรมการอำเภอประกอบด้วยใครบ้าง
ตอบ พนักงานปกครองคณะหนึ่งเรียกว่ากรมการอำเภอ ประกอบด้วย นายอำเภอ ปลัดอำเภอ และสมุห์บัญชีอำเภอ

12. ระเบียบข้อบังคับอะไรที่ใช้เลือกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ตอบ ระเบียบ มท.ว่าด้วยการเลือกกำนัน พ.ศ. 2524 ส่วนผู้ใหญ่บ้าน ใช้ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2535

13. พ.ร.บ.ยกฐานะเป็นสุขาภิบาล (2542) ม.13กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านไว้อย่างไร มีระยะเวลาเท่าไร
ตอบ มีอำนาจหน้าที่คงเดิม ไปอีก 5 ปี นับแต่วันบังคับใช้ พ.ร.บ.ยกฐานะฯ

14. กรณีตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านว่างลงต้องเลือกภายในกี่วัน
ตอบ กำนัน 60 วัน ผู้ใหญ่บ้าน 15 วัน

15. ผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านว่างลงราษฎรที่บ้านอยู่ในเขตเทศบาลมีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านหรือไม่
ตอบ ไม่มีสิทธิ

16. ผู้ที่บ้านอยู่ในเขตเทศบาลมีสิทธิสมัครผู้ใหญ่บ้านได้หรือไม่
ตอบ ไม่มีสิทธิ

17. ผู้ที่บ้านอยู่นอกเขตเทศบาลมีสิทธิสมัครผู้ใหญ่บ้านได้หรือไม่
ตอบ ได้

18. ราษฎรที่บ้านอยู่ในเขตเทศบาลมีสิทธิเลือกกำนันได้หรือไม่
ตอบ ได้

19. ผู้ใหญ่บ้านที่อยู่ในเขตเทศบาลมีสิทธิสมัครเป็นกำนันได้หรือไม่
ตอบ ถ้าอยู่ในเขตเทศบาลทั้งหมดไม่มีสิทธิ



20. ผู้ใหญ่บ้านที่มีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลมีสิทธิสมัครเป็นกำนันได้หรือไม่
ตอบ มีสิทธิ

21. ที่สาธารณะหมายถึงอะไร
ตอบ ทรัพย์สินทุกชนิด ของแผ่นดิน ซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พร้อมทั้งได้แบ่งประเภทสาธารณสมบัติของแผ่นดินไว้ 3 ประเภทคือ
1)ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง กลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่น ๆ ตามกฎหมายที่ดิน
2)ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ
3)ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ

22. ที่ราชพัสดุหมายถึงอะไร
ตอบ ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ที่อยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์

23. ที่สาธารณะประจำตำบลหมายถึงอะไร มีกี่ไร่
ตอบ ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จำนวน 50 ไร่

24. ที่สาธารณะประจำหมู่บ้านหมายถึงอะไร มีกี่ไร่
ตอบ ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จำนวน 25 ไร่

25. ผู้มีอำนาจดูแลที่สาธารณะคือใคร
ตอบ 1)ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง กลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่น ๆ ตามกฎหมายที่ดิน - กรมที่ดิน
2)ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ – หลายหน่วยงานตามที่ กม.บัญญัติไว้

26. ผู้มีอำนาจดูแลที่ราชพัสดุคือใคร
ตอบ กรมธนารักษ์

27. อำนาจหน้าที่ของคณะกรมการหมู่บ้านตามระเบียบข้อบังคับ มท.
ตอบ เสนอข้อแนะนำ และให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้าน

28. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในการประนีประนอมมีอะไร ตามระเบียบใด
ตอบ ข้อบังคับ มท. ว่าด้วยการปฏิบัติงานประนีประนอมข้อพิพาทของคระกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. 2530

29. ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติมีอะไรบ้าง
ตอบ กลยุทธ์ 7 ประการ แนวทางปฏิบัติ 9 ประการ

30. การประชาคมมีหลักการอย่างไรตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
ตอบ เป็นการรวมตัวของสมาชิกในชุมชน เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนด้วยตนเอง

31. ตัวชี้วัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ
ตอบ จปฐ.8

32. หลักเกณฑ์การจัดตั้งตำบล ตามมติของคณะรัฐมนตรี 14 พฤษภาคม 2539
ตอบ หลักเกณฑ์การจัดตั้งตำบล (ทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย)
ก.กรณีเป็นชุมชนหนาแน่น
1.มีราษฎรไม่น้อยกว่า 4,800 คนขึ้นไป
2.มีหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 8หมู่บ้าน
3.ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาตำบลหรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
ข.กรณีเป็นชุมชนห่างไกล
1.มีราษฎรไม่น้อยกว่า 3,600 คนขึ้นไป
2.มีหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 6 หมู่บ้าน
3.ชุมชนใหม่ห่างจากชุมชนเดิมไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร
3.ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาตำบลหรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

33. หลักเกณฑ์การจัดตั้งหมู่บ้าน ตามมติของคณะรัฐมนตรี 14 พฤษภาคม 2539
ตอบ หลักเกณฑ์การจัดตั้งหมู่บ้าน (ทำเป็นประกาศจังหวัด)
ก.กรณีเป็นชุมชนหนาแน่น
1.มีราษฎรไม่น้อยกว่า 1,200 คนขึ้นไป หรือจำนวน 240 บ้านขึ้นไป
2.มีแยกหมู่บ้านใหม่แล้ว หมู่บ้านใหม่ต้องมีราษฎรไม่น้อยกว่า 600 คน หรือมีจำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 120 บ้าน
3.ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบลหรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
ข.กรณีเป็นชุมชนห่างไกล
1.มีราษฎรไม่น้อยกว่า 600 คนขึ้นไป หรือจำนวน 120 บ้านขึ้นไป
2.มีแยกหมู่บ้านใหม่แล้ว หมู่บ้านใหม่ต้องมีราษฎรไม่น้อยกว่า 200 คน หรือมีจำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 40 บ้าน
3.ชุมชนใหม่ห่างจากชุมชนเดิมไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร
3.ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบลหรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

34. อัตราส่วนของแผนที่แนวเขตปกครองตำบล ที่เป็นมาตรฐาน คือ
ตอบ 1 : 50,000

35. เขตปกครองของอำเภอตามกฎหมาย ดูได้จากหลักฐานใด
ตอบ ในประกาศตั้งตำบล (ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบล)

36. ผู้ปกครองหมู่บ้านชั่วคราวตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2475 เรียกว่า
ตอบ ว่าที่ผู้ใหญ่บ้าน
 หมู่บ้านชั่วคราว ให้แต่งตั้งว่าที่ผู้ใหญ่บ้าน และ หรือว่าที่กำนัน โดย ผวจ.เป็นผู้แต่งตั้ง กำหนดเดือนเริ่ม – เดือนจบ

37. การพัฒนาแบบสมดุลตามอุดมการณ์แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง คือ
ตอบ จิตใจ-เศรษฐกิจ-สังคม
สาระสำคัญของอุดมการณ์ มีขอบเขตในการพัฒนาคน พัฒนาหมู่บ้านชนบท พัฒนาชุมชน และการพัฒนาสังคม ดังนั้นอุดมการณ์นี้เน้นดุลยภาพ ของการพัฒนาจิตใจ โดยใช้หลักศาสนธรรม พัฒนาสังคม โดยใช้หลักประชาธิปไตย และพัฒนาเศรษฐกิจ โดยใช้การรวมกลุ่ม (สหกรณ์)

38.โรงพยาบาล ห้องแถว บ้านเช่า เรือจำ แพ ถือว่าเป็น บ้าน ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 หรือไม่
ตอบ โรงพยาบาลไม่เป็น แต่ห้องแถว บ้านเช่า เรือชำ และ แพ เป็นต้น

39. ผู้ที่จะสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้าน ต้องมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในหมู่บ้านนั้น ติดต่อกันมา จนถึงวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน
ตอบ 1 ปี

40. ผู้ใหญ่บ้านอาจขอลาบวช โดยได้รับอนุญาตจากใคร
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด

41. ถ้าผู้ใหญ่บ้านจะทำการในหน้าที่ไม่ได้ ในครั้งหนึ่งคราวหนึ่งให้มอบหน้าที่ให้แก่
ตอบ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองคนใดคนหนึ่ง

42. พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ประกาศใช้ในสมัยรัชกาลใด
ตอบ รัชกาลที่ 5

43. ผู้ได้รับรางวัลผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม จะได้รับรางวัลเป็น
ตอบ อาวุธปืนพร้อมแหนบทองคำ

44. กรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งกำนัน จะต้องพ้นจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านด้วยหรือไม่
ตอบ ไม่ต้อง

45.แพทย์ประจำตำบลมาจาก
ตอบ การประชุมร่วมกันของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้น เลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเป็นแพทย์ประจำตำบล



46. กำนันผู้ใหญ่บ้านจะต้องได้รับเลือกจากใคร
ตอบ ประชาชนในท้องที่ เป็นผู้เลือกโดยตรง ด้วยวิธีลับหรือเปิดเผยก็ได้ (กม.เลือกโดยเปิดเผยหรือลับก็ได้)

47.กำนันผู้ใหญ่บ้านจะพ้นตำแหน่งตามปกติเมื่อ
ตอบ กรณีได้รับเลือกก่อนวันที่ 7 ก.ค. 2535 อยู่จนครบหกสิบปีบริบูรณ์ กรณีได้รับเลือกตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค. 2535 มีวาระ 5 ปี นับจากวันเลือกตั้ง

47. ลำดับกฎหมายที่ใช้ในการจัดตั้งหมู่บ้าน แตกต่างกับการจัดตั้งประเภทอื่นอย่างไร
ตอบ การตั้งหมู่บ้าน ใช้ประกาศจังหวัด ส่วนที่เหลืออันได้แก่ หมู่บ้าน อพป. ตำบล อบต. กิ่งอำเภอ ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย

48. หลักเกณฑ์การจัดตั้งอำเภอตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดจะต้องเป็นกิ่งอำเภอมาแล้วไม่น้อยกว่ากี่ปี ในกรณีปกติ
ตอบ 5 ปี

49. หลักเกณฑ์การจัดตั้งกิ่งอำเภอตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ต้องมีจำนวนประชาชนเท่าไหร่
ตอบ 30,000 คน

50. การจัดระเบียบบริหารของสภาตำบลเป็นไปตามกฎหมายใด
ตอบ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537

51. ข้อใดไม่เป็นเหตุให้กำนันต้องพ้นจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
ตอบ ตำบลถูกยุบ

52. ข้อใดกำหนดวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการเลือกตั้งกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ
ตอบ ข้อบังคับ มท. ว่าด้วยการเลือกตั้งกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2533

53. ใครไม่ได้เป็นคณะกรรมการหมู่บ้าน
ตอบ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

54. ในตำบลหนึ่งซึ่งมีอยู่ 10 หมู่บ้าน จะมีสมาชิกสภาตำบลจำนวนกี่คน
ตอบ 21 คน (ผู้ใหญ่/กำนัน 10 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน แพทย์ประจำตำบล 1 คน)

55. ในหมู่บ้านหนึ่งจะมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองได้กี่คน
ตอบ มีได้ 2 คน หากมากกว่า 2 คน ต้องขออนุมัติกระทรวงมหาดไทย

56. การยกพื้นความรู้ของผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน จะต้องดำเนินการอย่างไรจึงจะมีผลสมบูรณ์
ตอบ ขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา

57. ในการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านหนึ่ง ปรากฏว่ามีราษฎรมาใช้สิทธิเพียงร้อยละ 10 ของผู้มีสิทธิและปรากฏว่า ราษฎรที่มาใช้สิทธิเลือก นาย ก. 75 คะแนน เลือกนาย ข. 76 คะแนน ถือว่า
ตอบ นาย ข. ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน

58. นายกนกได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535 นายกนกจะต้องออกจากตำแหน่งตามวาระเมื่อใด
ตอบ อยู่ในตำแหน่งจนอายุ 60 ปีบริบูรณ์

59.ผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้ใหญ่บ้านออกจากตำแหน่งกรณีเมื่อได้สอบสวนเห็นว่าบกพร่องในทางความประพฤติ หรือความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด

60.ใครเป็นผู้คัดเลือกผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และฝ่ายรักษาความสงบ
ตอบ ผู้ใหญ่บ้านแลกำนันท้องที่

61.การที่ต้องเลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นใหม่อาศัยเหตุประการใด
ตอบ ผู้ใหญ่บ้านว่างลง หรือตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่

62.ผู้ปกครองหมู่บ้านชั่วคราวตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 เรียกว่า
ตอบ ว่าที่ผู้ใหญ่บ้าน

63. คณะกรรมการหมู่บ้านมีอำนาจหน้าที่อย่างไร
ตอบ เป็นที่ปรึกษาผู้ใหญ่บ้าน

64. คณะกรรมการหมู่บ้านประกอบด้วยกรรมการ 2 ประเภท คือ กรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการโดยการเลือกตั้ง ผู้เป็นกรรมการโดยตำแหน่งคือ
ตอบ ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง

65. กฎหมายกำหนดให้ผู้ใดมีอำนาจในการใช้อาวุธปืนของทางราชการในการรักษาความสงบเรียบร้อยของหมู่บ้านได้
ตอบ ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

66. ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกำนัน คือ
ตอบ ผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้น

67. การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านให้ใช้วิธีแบบเปิดเผยหรือโดยลับ ส่วนการเลือกตั้งกำนันใช้วิธีใด
ตอบ วิธีลับ

68. การเลือกกำนันแทนตำแหน่งที่ว่างมีขึ้นภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่
ตอบ นายอำเภอทราบการว่าง

69. กำนันไม่อาจทำหน้าที่ได้เป็นการชั่วคราวให้
ตอบ มอบผู้ใหญ่บ้านคนใดคนหนึ่งในตำบลทำการแทน

70. ถ้ากำนันมีความประสงค์ที่จะเปลี่ยนสารวัตรกำนัน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากใคร
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด



71. พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ได้กำหนดโทษทางวินัยไว้เฉพาะ
ตอบ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

72. เมื่อกำนันอยู่ในหมู่บ้านใด หมู่บ้านนั้น
ตอบ ไม่ต้องเลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นอีก เพราะกำนันทำหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านด้วย

73. ผู้ที่จะเป็นสารวัตรกำนัน ต้อง
ตอบ ได้รับการแต่งตั้งโดยการคัดเลือกของกำนัน และผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแต่งตั้ง

74. ผู้ที่จะเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ตอบ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านคัดเลือกร่วมกัน แล้วเสนอนายอำเภอแต่งตั้ง

75. การจัดตั้งหมู่บ้านชั่วคราว อาจกระทำได้โดยเหตุไร
ตอบ ราษฎรไปชุมนุมทำการหาเลี้ยงชีพแต่ในบางฤดู

76. โดยทั่วไปนายอำเภอมีอำนาจลงโทษกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอย่างไร
ตอบ ลดขั้นเงินเดือนหนึ่งอันดับ ตัดเงินเดือน และลงโทษภาคทัณฑ์ ตลอดจนพักหน้าที่กรณีถูกฟ้องคดีอาญา ต้องหาว่าทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ส่วน ผวจ.มีอำนาจเทียบเท่าหัวหน้ากอง

77. คณะกรรมการต่าง ๆ ในหมู่บ้าน อพป.มีกี่คณะ
ตอบ มี 7 คณะ คือ พัฒนา ปกครอง ป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อย คลัง สาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรม และคณะกรรมการสวัสดิการและสังคม

78. เขตการปกครองของอำเภอตามกฎหมายดูได้จากหลักฐานใด
ตอบ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการตั้งตำบล

79. กรรมการอิสลามประจำมัสยิดในตำแหน่ง คอเต็บ สามารถสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านได้หรือไม่
ตอบ ได้ เพราะ อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ไม่ใช่นักบวช
อิหม่าม ผู้นำศาสนาประจำมัสยิด คอเต็บ ผู้แสดงธรรมประจำมัสยิด
บิหลั่น ผู้ประกาศเชิญชวนให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจตามเวลา

80. การขอใช้ที่ดินสาธารณะประจำหมู่บ้านจะต้องได้รับอนุมัติจาก
ตอบ นายอำเภอ โดยส่วนกลางเป็นอำนาจของกรมการปกครอง

81. อำเภอจัดตั้งขึ้นอย่างไร มีใครเป็นหัวหน้าผู้ปกครองบังคับบัญชา
ตอบ อำเภอเป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองลงมาจากจังหวัด โดยรวบรวมหลาย ๆ ตำบล เข้าเป็นอำเภอ
อำเภอมิได้มีฐานะนิติบุคคล
การจัดตั้ง การยุบ หรือการเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ จะต้องกระทำโดยออกเป็น พระราชกฤษฎีกา
นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย
บรรดาอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอำเภอหรือนายอำเภอ ให้โอนไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอ
และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในอำเภอนั้น
82. นายอำเภอมีอำนาจและหน้าที่อย่างไรบ้าง ให้อธิบาย
ตอบ 1)ภารกิจ หน้าที่ ในฐานะเป็นผู้ปกครอง และอำนวยบริการให้แก่ประชาชน
2)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
มาตรา 65 นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1.บริหารราชการตามกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถ้ากฎหมายใดมิได้บัญญัติว่าการปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ ให้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะต้องรักษาการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นด้วย
2.บริหารราชการตามที่ คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบ กรม มอบหมาย หรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
3.บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้มีหน้าที่ตรวจการอื่น ในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ฯลฯ มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
4.ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมาย
3)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
-ปกครองท้องที่ -ป้องกันภยันตรายของราษฎรและรักษาความสงบในท้องที่
-การเกี่ยวกับคดีแพ่งและคดีอาญา -ป้องกันโรคร้าย
-บำรุงการทำนา ค้าขาย ป่าไม้ ทางไปมาต่อกัน -บำรุงการศึกษา -การเก็บภาษีอากร -หน้าที่เบ็ดเตล็ดอื่น
4)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น
5)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนและบัตร ในฐานะเป็นนายทะเบียนอำเภอ
6)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้นายอำเภอเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ พนักงานสอบสวน และหัวหน้าพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองอำเภอ เป็นต้น
7)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งทุกระดับ
8)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
9)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน นายอำเภอดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
10)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการอาสารักษาดินแดน (ผบ.ร้อย อส.อ.)
11)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ
เนื่องจากนายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบสูงมาก ฉะนั้น นายอำเภอจะต้องเป็นนักบริหารการพัฒนา นักบำบัดทุกข์ บำรุงสุข นักบริหารงานของทุกกระทรวง ทบวง กรม นักประสานงาน นักกฎหมาย เป็นต้น โดยจะต้องมีแผนพัฒนาอำเภอเป็นเครื่องมือในการควบคุมงาน อย่างแน่นอนและต่อเนื่องด้วย



Create Date : 21 กรกฎาคม 2551
Last Update : 21 กรกฎาคม 2551 23:12:38 น. 0 comments
Counter : 26627 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tingnoy
Location :
มหาสารคาม Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




สวัสดีคะผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อคแห่งสาระดีๆ และความรู้หลากหลายแห่งนี้คะ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวม และผู้ที่เตรียมตัวในการสอบที่มีเวลาน้อยสามารถนำแนวข้อสอบเหล่านี้ไปใช้ประกอบในการสอบได้นะคะ รวมทั้งเจ้าของบล็อคเอง ก็กำลังพยายามสู้ๆ กับการสอบคะ เป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะคะสอบได้กันทุกคนคะ*-*
ปล.จะพยายามอัพข้อมูลลงเรื่อยๆนะคะ ติดตามเข้ามาชมได้ตลอดคะ..........
สำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมบล็อคกันแล้วขอแค่คำขอบคุณนะคะผู้ทำจะได้มีกำลังใจหาเนื้อหามาลงให้ค่ะ
Wellcome to my blog
Friends' blogs
[Add tingnoy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.