^_^ vechagran dot com by tingnoy
Group Blog
 
All blogs
 

แนวข้อสอบเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง

แนวสอบเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง

1. พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งพ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับเมื่อใด
ตอบ มีผลบังคับใช้วันที่ 7 มิถุนายน 2541

2.ผู้ใดรักษาการตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541
ตอบ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

3.การประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องมีกรรมการการเลือกตั้งมาประชุมไม่น้อยกว่าเท่าใด จึงถือว่าครบองค์ประชุม
ตอบ ไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของจำนวนกรรมการการเลือกตั้งที่มีอยู่

4.สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งใครเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
ตอบ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง

5. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่อย่างไร
ตอบ 1)ควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งและออกเสียงประชามติ
2)ออกประกาศกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตาม กม.ประกอบ รธน.ว่าด้วยการเลือกตั้ง พรรคการเมือง การออกเสียงประชามติ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
3)มีคำสั่งให้ ขรก. พนง. หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าอื่นของรัฐ ปฏิบัติการตามความจำเป็น ตาม กม.ประกอบ รธน.ว่าด้วยการเลือกตั้ง พรรคการเมือง การออกเสียงประชามติ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
4)การออกแนวทางเป็นข้อกำหนดให้ จนท. ตามข้อ 3)
5) ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้ง และจัดให้มีบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
6)สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปฏิบัติตาม กม.ประกอบ รธน.ว่าด้วยการเลือกตั้ง พรรคการเมือง การออกเสียงประชามติ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
7)สั่งให้มีการเลือกตั้ง หรือออกเสียงประชามติใหม่
8)ประกาศผลการเลือกตั้ง หรือออกเสียงประชามติใหม่
9)ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
10)จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อรัฐสภา

6. คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ให้มีจำนวนเท่าใดต่อหนึ่งจังหวัด
ตอบ กกต.จว ที่มี ส.ว.ไม่เกิน 5 คน มี กกต.จว. ไม่เกิน 5 คน
กกต.จว ที่มี ส.ว. 6-15 มี กกต.จว. ไม่เกิน 7 คน
กกต.จว ที่มี ส.ว.เกิน 15 คน มี กกต.จว. ไม่เกิน 9 คน

7. คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ตอบ 1)อำนวยการเลือกตั้ง และออกเสียงประชามติ ที่กระทำภายในจังหวัดนั้น
2)เสนอแนะแบ่งเขตเลือกตั้ง ต่อ กกต.
3)รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้มีสิทธิออกเลือกตั้ง หรือผู้มีสิทธิการออกเสียงประชามติ
4)เสนอแนะต่อ กกต. ในการแต่งตั้งบุคคลที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง หรือออกเสียงประชามติ
5)ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง หรือออกเสียงประชามติ

8. ในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ ให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัด และอนุกรรมการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายใด
ตอบ เป็น จพง.ตาม ป.วิอาญา




 

Create Date : 29 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 29 กรกฎาคม 2551 10:43:03 น.
Counter : 2197 Pageviews.  

สรุปสาระเกี่ยวกับทะเบียนทั่วไป

***เกี่ยวกับทะเบียนทั่วไป***
ทะเบียนทั่วไป
1. ทะเบียนการสมรส
ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายว่าด้วยการสมรส
ต้องแสดงความยินยอม และได้รับความยินยอมตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ต้องได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมายแล้ว
เงื่อนไขแห่งกฎหมาย
1. ชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์
2. ชายหรือหญิงไม่เป็นบุคคลวิกลจริตฯ
3. ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตฯ จะทำการสมรสกันไม่ได้
4. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะทำการสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
5. ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
6. หญิงที่สามีตาย หรือการสมรสสิ้นสุดลง ด้วยประการอื่น ต้องผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
6.1 คลอดบุตรแล้ว
6.2 สมรสกับคู่สมรสเดิม
6.3 ใบรับรองแพทย์ ว่ามิได้มีครรภ์
6.4 มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
7. ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอม
ความยินยอมทำได้ 3 วิธี คือ
1. ลงลายมือชื่อในขณะจดทะเบียนสมรส
2. ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอม
3. ถ้ามีเหตุจำเป็นจะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยาน อย่างน้อย 2 คน
การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
คู่สมรสจะต้องร้องขอจดทะเบียนตามแบบ คร.1 ต่อนายทะเบียน
1) ณ สำนักทะเบียน
2) นอกสำนักทะเบียน
3) ณ สถานที่ที่ รมว.มท.กำหนด (ที่ชุมชุน)
4) ณ ท้องที่ห่างไกล (ผวจ. อนุมัติ)
5) ต่อกำนันท้องที่ห่างไกล (รมว.มท.อนุมัติ ผวจ.ประกาศ)
6) การแสดงวาจา หรือกริยาต่อหน้าพยาน กรณีพิเศษที่ตกอยู่ในภัยอันตรายใกล้ความตาย (โรคภัย, ภาวะสงคราม)
7) ณ สำนักทะเบียนสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย ซึ่งมีหลักเกณ์ดังนี้
(1) ชายและหญิงมีสัญชาติไทยทั้งสองฝ่าย
(2) ชายหรือหญิงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีสัญชาติไทย
(3) คู่สมรสประสงค์จะทำการสมรสตามกฎหมายไทย
(4) ต้องจดทะเบียน ณ สถานทูต หรือสถานกงสุลไทยใน ต่างประเทศ
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 13
1) ตรวจสอบคำร้อง (คร.1) และหลักฐานบัตรฯ สำเนาทะเบียนบ้าน
2) ตรวจสอบคุณสมบัติ เงื่อนไขแห่งการสมรส ตาม ป.พ.พ.บรรพ 5
กรณีผู้เยาว์ต้องมีหลักฐานของผู้ให้ความยินยอม
3) ลงรายการในทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3)ให้ครบถ้วน (เรื่องอื่นหากประสงค์จะให้บันทึก เช่น ทรัพย์สิน)
4) ให้ผู้ร้อง ผู้ให้ความยินยอม (ถ้ามี) พยาน ลงลายมือชื่อใน คร. 2
5) เมื่อเห็นถูกต้อง นายทะเบียนลงลายมือชื่อใน คร.2 และ คร.3
6)มอบ คร.3 ให้คู่สมรสฝ่ายละฉบับ กล่าวอำนวยพรและแนะนำวิธีปฏิบัติหน้าที่ระหว่างสามีภรรยาพอสมควร
กรณีการสมรสระหว่างผู้มีสัญชาติไทยกับบุคคลต่างด้าว
โดยถือปฏิบัติตามหนังสือ ที่ มท 0310.2/ว 1170 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ดังนี้
1. บุคคลต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย
1.1 ตรวจสอบคำร้องขอ
1.2 สอบสวนปากคำผู้ร้อง เมื่อจดทะเบียนแล้วจะไปอยู่ที่ไหน
1.3 ให้ตรวจสอบหนังสือรับรองของสถานเอกอัครราชทูต
ผู้ร้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายไทยหรือไม่
ผู้ร้องประกอบอาชีพ และมีรายได้เท่าใด
ภาวะทางการสมรสของผู้ร้อง เป็นโสด หรือสมรสแล้ว
ระบุชื่อบุคคลที่ทางราชการติดต่อได้ 2 คน
การสิ้นสุดของการสมรสด้วยเหตุ 3 ประการ
1. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
2. ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส
3. ได้จดทะเบียนการหย่าแล้ว
2. ทะเบียนการหย่า
การหย่ามี 2 วิธี
วิธีที่1
การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย คือการที่สามี ภรรยาตกลงที่จะทำการหย่า
ต้องทำเป็นหนังสือ (สัญญาการหย่า) และมีพยานลงลายมือชื่อ อย่างน้อย 2 คน
และร้องขอต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียน ถ้าไม่มีหนังสือหย่ามาแสดง นายทะเบียน
จะไม่รับจดทะเบียนหย่าให้
- การหย่าโดยความยินยอมทำได้ 2 แนวทาง คือ
การจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน
การจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน
วิธีที่2
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล เป็นกรณีที่สามีภรรยาไม่สามารถ
ตกลงกันได้ จึงต้องฟ้องหย่าต่อศาล โดยมีสาเหตุแห่งการหย่า
ตามมาตรา 1516 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ บรรพ 5
พ.ศ. ๒๕๑๙ และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ. ๒๕๓๓

3. ทะเบียนรับรองบุตร
บิดา มารดาของเด็กเป็นสามีภรรยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่เกิดมาจึงเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
ของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อ
บิดามารดาได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายซึ่งจะมีผลแต่วันที่สมรส
บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่จดทะเบียน
เมื่อศาลได้พิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา ซึ่งจะมีผลนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
การจดทะเบียนรับรองบุตร มี 3 วิธี
วิธีที่ 1 การจดทะเบียนรับรองบุตรในสำนักทะเบียน
1) บิดายื่นคำร้อง (คร.1) ต่อนายทะเบียน
2) นำมารดาเด็กและเด็กมาแสดงตนว่ายินยอมหรือไม่
3) หากมารดาเด็กและเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอม ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนไปยังเด็ก และมารดาเด็ก
ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่มาให้ความยินยอม ภายใน 60 วัน นับแต่วันแจ้ง ให้สันนิษฐานว่าไม่ยินยอม ถ้าเด็ก
หรือมารดาอยู่ต่างประเทศ ขยายเวลาเป็น 180 วัน
4) กรณีเด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่ อาจให้ความยินยอม ต้องมีคำพิพากษาของศาล
วิธีที่ 2 การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียน กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6 (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออก
ตามความใน พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.๒๔๗๘ กำหนดไว้ว่าในกรณีที่มีผู้ร้องขอนายทะเบียน จะออกไป จดทะเบียน
รับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนก็ได้ โดยเก็บค่าธรรมเนียม รายละ 20 บาท และให้ผู้ขอจดจัดพาหนะให้ ถ้าผู้ขอไม่จัดพาหนะให้ ผู้ขอต้องชดใช้ค่าพาหนะให้แก่นายทะเบียนตามสมควร
วิธีที่ 3 การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6
(พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความใน พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.๒๔๗๘ กำหนดการจดทะเบียนวิธีนี้ไว้ เพื่ออำนวย
ความสะดวกแก่ประชาชนเป็นส่วนรวม ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้ทำได้ให้นายทะเบียนเรียกเก็บค่าธรรมเนียม รายละ 1 บาท
ป.พ.พ มาตรา 1559 บัญญัติว่า “เมื่อได้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วจะถอนมิได้”การพิจารณาการให้ความยินยอมของเด็ก
ผู้เยาว์ หมายถึง ผู้ซึ่งไม่บรรลุนิติภาวะ (พจนานุกรมฯ พ.ศ.2542)
ผู้เยาว์ไร้เดียงสา หมายถึง เด็กซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ และไม่รู้ผิด รู้ชอบ ตามปกติสามัญ
ฉะนั้น นายทะเบียนจะต้องพิจารณาถึงความสามารถของเด็กในการสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันระหว่างนายทะเบียน
กับเด็กเกี่ยวกับรู้ผิดรู้ชอบตามปกติสามัญ ตามข้อเท็จจริงแต่ละราย มิต้องคำนึงถึงอายุ
ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม
ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ. ๒๕๑๙ และ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม
ป.พ.พ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นกฎหมายแม่บทที่จะต้องยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ส่วน พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ และ
พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นกฎหมาย ที่กำหนดเงื่อนไข และวิธีการรับเด็กซึ่งเป็นผู้เยาว์ เป็นบุตรบุญธรรม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ และเป็นการป้องกัน การค้าเด็กในรูปการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

4.การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม มีวิธีปฏิบัติ 2 กรณี คือ
1. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ
ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้อง (ค.ร. 13) ต่อนายทะเบียน
นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมาย
ผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรสต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ตามแบบ ค.ร. 14 เมื่อผู้ร้องได้ให้ถ้อยคำว่าได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมาย
นายทะเบียนสำเนา ค.ร. 14 โดยใช้แบบ ค.ร. 15 ส่งนายทะเบียนกลาง
2. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม การณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์
ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ให้ยื่นคำร้องตามแบบ บ.ธ.1 ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
(กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ) สำหรับในเขตกทม. ต่างจังหวัดยื่นแบบ น.ธ.1 ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือ ที่ทำการพัฒนาสังคมและ
สวัสดิการจังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจยินยอม (พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ม. 20)
อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี จะพิจารณาสั่งให้ ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
นำเด็กไปทดลองเลี้ยงดู ไม่น้อยกว่า 6 เดือน (พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ม.23 โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดู และตรวจเยี่ยม
ผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา พี่ร่วมบิดาหรือมารดา ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือผู้ปกครอง
ของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญะรรม หรือเป็นบุคคลอื่นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ไม่ต้องทดลองเลี้ยงดู (พ.ร.บ. การ
รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2533 ม.19 วรรค 2)
เมื่อคณะกรรมการทดลองเลี้ยงดูอนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ต้องยื่นคำร้อง
(ค.ร. 13) ขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำอนุมัติ มิฉะนันจะถือว่าสละสิทธิ์ นายทะเบียนตรวจสอบ
คุณสมบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมาย
ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม มีคู่สมรสต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
เด็๋กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจดทะเบียนด้วย (ม.1598/20)
นายทะเบียนจดทะเบียนให้ตามแบบ ค.ร.14 และสำเนาโดยใช้แบบ ค.ร.15 ส่งนายทะเบียนกลาง
กรณีเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรม ไร้เดียงสา และบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมได้ลงนามแสดงความยินยอมขณะที่ยื่นเรื่องราว
ตามแบบ บ.ธ.5 แล้ว บิดามารดาหรือผู้แทนฯ ไม่ต้องมาแสดงความยินยอมและลงนามในคำร้อง (ค.ร.13) อีก (น.ส.ที่ มท.0402/ว ลว.12 ธค. 29 ข้อ2)
ผลที่เกิดจากการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
บุตรบุญธรรมมีสิทธ์ใช้ชื่อสกุล และมีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิ์รับมรดกของบุตรบุญธรรม
ผู้รับบุตรบุญธรรมมีอำนาจปกครอง ให้ความอุปการะเลี้ยงดูและถือว่าบุตรบุญธรรม เป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรม
เสมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนับแต่วันที่จดทะเบียน
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองแต่วันจดทะเบียน แต่ไม่ขาดจากการเป็นบิดามารดา และบุตรบุญธรรมไม่สูญสิทธิ
และหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมาทะเบียนการเลิกรับบุตรบุญธรรม



5.การเลิกรับบุตรบุญธรรม ทำได้ 2 วิธี คือ
1) จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
2) โดยคำพิพากษาของศาล
การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอม มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1) บุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว จะเลิกโดยความตกลงกันระหว่างผู้รับ บุตรบุญธรรมเมื่อใดก็ได้
2) บุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ของบุตรบุญธรรมก่อนหรือได้รับความยินยอมจาก
บิดามารดาของบุตรบุญธรรมก่อน หรือได้รับความยินยอมจากบิดาหรือมารดา เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ศาลมีคำสั่งให้เลิกรับบุตรบุญธรรม ม. 1598/31

6.การบันทึกฐานะของภริยา
เป็นผลสืบเนื่องจากกฎหมายสมัยก่อน (กฎหมายลักษณะผัวเมีย) มิได้บังคับให้สามีภรรยาต้องจดทะเบียนสมรสกัน
และชายอาจมีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายหลายคน ต่อมามีการใช้ ป.พ.พ. บรรพ ๕ ว่าด้วยครอบครัวชายหญิงจะเป็นสามีภรรยากัน โดยชอบด้วยกฎหมายนั้นจะต้องจดทะเบียนสมรสกัน ม.๑๔๕๗ และกำหนดให้ชายมีภรรยา หรือหญิงมีสามีได้เพียงคนเดียว ม.๑๔๕๒
หลักเกณฑ์การบันทึกฐานะของภรรยา มีดังนี้
1. ต้องเป็นสามีภรรยา และสมรสก่อนการใช้ ป.พ.พ. บรรพ ๕ คือ ก่อน 1 ต.ค. 2478
2. บันทึกได้ 2 ฐานะเท่านั้นคือ เอกภริยา บันทึกได้เพียงคนเดียว และอนุภริยา บันทึกได้หลายคน
3. รับบันทึกเฉพาะสามีภรรยาที่มาร้องขอให้บันทึก ภรรยาอื่นที่ไม่ได้ร้องขอจะไม่บันทึก

7.การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว
การใด ๆ อันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัวที่ได้ทำขึ้นในต่างประเทศ ตามแบบซึ่งกฎหมายแห่งประเทศ
ที่ทำขึ้นนั้นบัญญัติไว้ เพื่อคุ้มครองคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งได้กระทำการใดๆ อันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัว
และนำหลักฐาน มาบันทึก ให้ปรากฎในประเทศไทย เพื่อเป็นหลักฐานในการพิสูจน์ เมื่อเกิดมีกรณีพิพาทเกิดขึ้น
หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ ตามกฎหมายไทย มีหลักเกณฑ์ดังนี้
เป็นกิจการอันเกี่ยวด้วยฐานะแห่งครอบครัว
กิจการนั้นได้กระทำไว้ในต่างประเทศ ตามแบบกฎหมายแห่งประเทศที่ทำขึ้น
เป็นความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี ที่เป็นคนสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคน สัญชาติไทย
ต้องนำเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการนั้น ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรอง ถูกต้องมาแสดงต่อนายทะเบียน


ทะเบียนพินัยกรรม
“คำสั่งครั้งสุดท้ายซึ่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตาย ในเรื่องทรัพย์สินหรือกิจการต่าง ๆ ของผู้ทำพินัยกรรม
เพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมาย เมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย” โดยทำแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ มี ๕ แบบ คือแบบธรรมดา/ แบบเขียนเองทั้งฉบับ/ แบบเอกสารฝ่ายเมือง/ แบบเอกสารลับ/ และแบบทำด้วยวาจา
ในส่วนของปกครอง ทำ 3 แบบ คือ แบบเอกสารฝ่ายเมือง แบบเอกสารลับ และแบบทำด้วยวาจา
ขั้นตอนการปฏิบัติ
1. ยื่นคำร้อง พ.ก. 1
2. ตรวจสอบหลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1 บัตรประจำตัวประชาชน
2.2 หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ
2.3 พยานอย่างน้อย 2 คน
3. ตรวจสอบคุณสมบัติ
3.1อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์
3.2ไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
ทะเบียนพินัยกรรมเป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่สำคัญดังนี้
ป.พ.พ. บรรพ ๖ มรดก
กฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในมาตรา ๑๖๗๒ แห่ง ป.พ.พ. และฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๐๓
ระเบียบการทำพินัยกรรม การตัดทายาทโดยธรรมให้รับมรดก การถอนการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก และ
การสละมรดก พ.ศ. ๒๔๘๙
หลักเกณฑ์การตั้งชื่อสกุล
1. รายนามเมืองในเกณฑ์ห้ามตามประกาศพระบรมราชโองการฯ

2. นามสกุลสำหรับราชตระกูลที่โปรดเกล้าฯ

3. ศัพท์ที่ใช้เป็นพระบรมนามาภิไธย

4. พระปรมาธิไธย

5. พระนามของพระราชินี

6. ตัวอย่างคำพ้องศัพท์

7. ราชทินนาม
8. รายนามราชสกุลวงศ์

9. การแก้ไขพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ที่ มท 0309.3/ 3990 ลว. 2 ธันวาคม 2547)

10.ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ที่ มท 0309.3/ว 2614 ลว. 22 ธันวาคม 2547)

11. หนังสือสั่งการทางวิทยุ (ที่ มท 0309.3/ว 733 ลว. 19 มกราคม 2548)

12. หนังสือสั่งการทางวิทยุ (ที่ มท 0309.3/ว 66 ลว. 20 มกราคม 2548)

13. แนวทางปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548 (ที่ มท 0309.3/ว 141 ลว. 20 มกราคม 2547)

14. แบบรายงานการจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลของนายทะเบียนท้องที่

15. การใช้ระบบรับจดทะเบียนชื่อสกุล


ทะเบียนศาลเจ้า
"สถานที่ก่อสร้างขึ้นเป็นทรวดทรงสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ และกระทำตามพิธีกรรมตามลัทธิของคน บางจำพวก
และให้หมายความรวมตลอดถึงสถานที่ถาวรซึ่งสร้างขึ้นประกอบกับศาลเจ้า" งานทะเบียนศาลเจ้า หมายถึง เฉพาะบรรดาศาลเจ้าที่ตั้งขึ้นอยู่ในที่ดิน ซึ่งราชการเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้ปกปักรักษาเท่านั้น โดยออกเอกสารสิทธิ หรือหนังสือสำคัญของที่ดินในนามกรมการปกครอง สาเหตุที่ทางราชการต้องเข้าไปควบคุมดูแล นั้นเป็นไปตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๕๔๗ ม.๑๒๓ ที่ให้ กรมการอำเภอ มีหน้าที่ คอยตรวจตราอุดหนุนผู้ปกปักรักษา อย่าให้ผู้ใดรุกล้ำเบียดที่วัด หรือที่กุศลสถานอย่างอื่น อันเป็นของกลางสำหรับมหาชน นั้น ซึ่งที่ศาลเจ้าเป็นสถานที่เคารพ และกระทำพิธีกรรมตามลัทธิของประชาชนบางจำพวก จึงนับว่าเป็นที่กุศลสถานสำหรับมหาชนประเภทหนึ่ง
กฎหมายและระเบียบ
๏ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๕๗ (ม.123)
๏ กฏเสนาบดีที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ.๒๔๖๓
๏ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเงินของศาลเจ้า พ.ศ.๒๕๒๐
แนวทางปฏิบัติหรือการดำเนินงานของทะเบียนศาลเจ้า
การอุทิศที่ดิน
การแต่งตั้งและถอดถอนผู้จัดการปกครองศาลเจ้า และผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้า
การขอเช่าที่ดินหรือขอต่ออายุสัญญาเช่าที่ดิน
การขอเช่าอาคารหรือขอต่ออายุสัญญาเช่าอาคารในที่ดินของศาลเจ้า
การก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซมอาคารในที่ดินของศาลเจ้า
การระวังรักษาแนวเขตที่ดินของศาลเจ้า
การควบคุมตรวจสอบกิจการของศาลเจ้า
การเงินของศาลเจ้า
การขอเช่าอาคาร หรือขอต่ออายุสัญญาเช่าอาคารในที่ดินของศาลเจ้า ต้องพิจารณาอัตราค่าเช่าอาคาร และ
ค่าบำรุงศาลเจ้า ว่าถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพทำเลที่ตั้งและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่
การก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซมอาคาร แบบแปลนการก่อสร้างบูรณะซ่อมแซมอาคารแผนที่อาคารของศาลเจ้า
หนังสือรับรองการอนุมัติให้ก่อสร้างบูรณะซ่อมแซมได้ จากหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นซึ่ง อำเภอหรือเขต จะต้อง
แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสภาพอาคารที่จะก่อสร้าง และบูรณะซ่อมแซม
การระวังรักษาแนวเขต

ทะเบียนสัตว์พาหนะ
ทะเบียนสัตว์พาหนะ หมายถึง
สัตว์พาหนะ หมายถึง ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ซึ่งได้ทำ หรือต้องทำตั๋วรูปพรรณ ตาม พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ
พุทธศักราช ๒๔๘๒ สัตว์ที่อยู่ในเกณฑ์ ต้องทำ ตั๋วรูปพรรณมีดังนี้
1. ช้าง มีอายุย่างเข้าปีที่แปด
2. ม้า โคตัวผู้ กระบือ ล่อ ลา มีอายุย่างเข้าปีที่หก
3. ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ที่ใช้ขับขี่ ลากเข็น หรือใช้งานแล้ว
4. ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ที่มีอายุย่างเข้าปีที่สี่ เมื่อจะนำออกนอกราชอาณาจักร
5. โคตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่หก เมื่อจะทำการโอนกรรมสิทธิ์เว้นแต่ในกรณีรับมรดก
สัตว์ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องทำตั๋วรูปพรรณข้างต้น เจ้าของจะขอจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณก็ได้ เมื่อเจ้าของสัตว์ มีสัตว์เกิดใหม่
หรือนำมาจากต่างท้องที่ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ หรือได้เป็นเจ้าของสัตว์ โดยประการอื่น ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน เพื่อลง
บัญชีสัตว์ที่ยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณ (ส.พ.19) ไว้เป็นหลักฐาน และเมื่อสัตว์อยู่ในเกณฑ์ทำตั๋วรูปพรรณ ก็ใช้บัญชีสัตว์
ที่ยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณ (ส.พ.19) เป็นหลักฐาน ประกอบในการจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณต่อไป
พื้นฐานทางกฎหมายและระเบียบ
๏ พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.๒๔๘๒
๏ กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความใน พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.๒๔๘๒
๏ ระเบียบการสัตว์พาหนะ พ.ศ.๒๔๘๒
๏ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลว.๖ มค. ๒๔๘๓ เรื่องแต่งตั้งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
เป็นนายทะเบียนสัตว์พาหนะประจำกิ่งอำเภอ (นายอำเภอเป็นนายทะเบียนตาม ม.๔ แห่ง พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.๒๔๘๒)
การจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ
* เจ้าของสัตว์ หรือตัวแทน พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน หรือพยานในกรณีที่ไม่มีผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้ใหญ่บ้านไปด้วยไม่ได้
นำสัตว์นั้นไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนท้องที่
*นายทะเบียนพร้อมด้วยเจ้าของตัวแทนได้ตรวจสอบตำหนิรูปพรรณเห็นเป็นการถูกต้อง และเจ้าของหรือตัวแทน
ได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้นายทะเบียนจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ
การย้ายสัตว์พาหนะ
1. เจ้าของ หรือตัวแทน นำตั๋วรูปพรรณไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สัตว์นั้นไปถึงที่ที่ย้ายไป
2. ให้นายทะเบียนท้องที่ใหม่ เรียกเก็บค่าธรรมเนียม แล้วแจ้งการรับสัตว์ขึ้นทะเบียนไปยังนายทะเบียนท้องที่เดิมทราบ
3. การย้ายสัตว์พาหนะไปยังท้องที่ใหม่เพื่อการเช่า เช่าชื้อ ยืม ฝาก จำนำ รับจ้างเลี้ยง หรือพาไปชั่วคราว
ได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้นายทะเบียนจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ
การจดทะเบียนโอนสัตว์พาหนะ
1.ผู้โอนและผู้รับโอนทั้งสองฝ่าย หรือตัวแทน นำสัตว์พาหนะและตั๋วรูปพรรณไปยังนายทะเบียน
2.นายทะเบียนตรวจสอบความถูกต้อง
3.ชำระค่าธรรมเนียม
4.นายทะเบียนจดทะเบียน และสลักหลังตั๋วรูปพรรณโอนกรรมสิทธิให้
5.หากเป็นสัตว์ต่างท้องที่ ให้นายทะเบียนรับสัตว์นั้นขึ้นทะเบียนก่อน

งานทะเบียนนิติกรรม
“การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย ด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล
เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลงโอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ”
งานทะเบียนนิติกรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ได้แก่การทำนิติกรรมตาม ป.พ.พ.ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
สังหาริมทรัพย์บางประเภท คือ
เรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่ 6–20 ตัน
เรือกลไฟหรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5–20 ตัน
แพและสัตว์พาหนะ
ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ได้กำหนดให้หน่วยงานใดรับผิดชอบ
ดำเนินการโดยเฉพาะ ได้แก่ การซื้อขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ และจำนอง ให้จดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง (อำเภอ)
กฎหมายและระเบียบ
๏ ป.พ.พ. บรรพ ๓ และ บรรพ ๔
๏ พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗
๏ พ.ร.บ. เรือสยาม พ.ศ. ๒๔๘๑ (ม.๑๒๒)
๏ พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำสยาม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๘๑
๏ พ.ร.บ. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมอำเภอ พ.ศ. ๒๕๐๓
๏ ระเบียบการทำและการจดทะเบียนนิติกรรมเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์บางอย่างตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แนวทางในการปฏิบัติงานหรือการดำเนินงาน
๏ ตาม พ.ร.บ.เรือสยาม พ.ศ.๒๔๘๑ ได้กำหนดขนาดของเรือที่ต้องจดทะเบียน และทำนิติกรรมต่อกรมเจ้าท่าไว้สูงกว่า
ม.๔๕๖ แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งยังคงต้องจดทะเบียน
การทำนิติกรรมต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง คือ
- เรือกำปั่นหรือเรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไปแต่ต่ำกว่า 20 ตัน
- เรือลำน้ำที่มิใช่เรือกลขนาดตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไปแต่ต่ำกว่า 50 ตัน
- เรือกลขนาดตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไปแต่ต่ำกว่า 10 ตัน รวมทั้งเรือกลบางชนิด แม้จะมีขนาดเกินกว่า 10 ตัน แต่มิได้มีไว้
เพื่อการค้าในน่านน้ำหรือการประมง
การซื้อขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน และให้
เรือและแพ ให้จดข้อความในสัญญาลงทะเบียนนิติกรรม แล้วบันทึกในต้นขั้วสัญญา และตั๋วสัญญา (แบบ ปค.34)
แล้วให้นายอำเภอลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
การจำนอง
เรือและสัตว์พาหนะ หากจดทะเบียนไว้แล้วก็จำนองได้โดยทำตามแบบ ปค.34 และทะเบียนสัตว์พาหนะ
ข้อพึงระมัดระวังในการปฏิบัติงาน
ต้องพิจารณาดูคู่สัญญามีความสามารถที่จะทำสัญญาหรือนิติกรรมได้หรือไม่
ตรวจหลักฐานทางต้นขั้วสัญญาและทะเบียนนิติกรรมว่าไม่มีข้อผูกพันอื่นใด
ต้องมีการประกาศก่อนการจดทะเบียนเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียคัดค้าน ภายใน ๑๕ วัน
เมื่อครบกำหนดวันประกาศแล้วไม่มีผู้คัดค้านให้ทำสัญญาและจดทะเบียนได้

ทะเบียนเกาะ
“ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบโดยตลอด และมีขนาดเล็กกว่าแผ่นดินที่เป็นทวีป...”
กระทรวงมหาดไทยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาว่าสภาพเกาะมีลักษณะ 3 ประการ
(1) เป็นเกาะตามความเข้าใจของคนทั่วไป
(2) ส่วนมากเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
(3) เป็นเกาะถาวรมีสภาพเป็นเกาะมานาน และจะคงสภาพเป็นเกาะอยู่อีกต่อไปตาม ม.๑๓๐๙ แห่ง ป.พ.พ. บรรพ ๔
ได้บัญญัติไว้ว่า “เกาะที่เกิดในทะเลสาบ หรือในทางน้ำ หรือในเขตน่านน้ำของ ประเทศก็ดี และท้องน้ำที่ตื้นเขินขึ้นก็ดี
เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน” ผลที่ตามมา คือ
1) จะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา
2) จะยกอายุความขึ้นต่อสู้แผ่นดินไม่ได้ และ
3) จะยึดทรัพย์ของแผ่นดินไม่ได้

กฎหมายและระเบียบ
๏ ป.พ.พ. บรรพ ๑ ทรัพย์สิน
๏ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.๒๔๙๗ (ม.๑ และ ม.๘)
๏ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๕๗ (ม.๑๒๒)
๏ พ.ร.บ.ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.๒๔๗๘ (ม.๔ และ ม.๕)
๏ คำสั่งให้ทบวงการเมืองอื่นมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครอง ป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
๏ หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ ๑๗๓๐๗/๒๔๙๘ ลว. ๒๗ ส.ค. ๒๔๙๘ เรื่องการดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกัน
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
แนวทางในการปฏิบัติงานหรือการดำเนินงาน
การจัดทำทะเบียนเกาะ
การสำรวจเกาะ
งานทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน
พ.ร.บ. สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528
หลักการของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ เนื่องจากปัจจุบันการดำเนินกิจการ สุสานและฌาปนสถานบางแห่งมีลักษณะ
ที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงและเศรษฐกิจ ของประเทศ การสาธารณสุขหรืออานามัยของประชาชนเพิ่มขึ้นจึงได้ยกเลิก
พ.ร.บ.ควบคุมสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2481 และประกาศใช้ฉบับนี้มีผลบังใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2528
มีทั้งสิ้น 30 มาตรา
แบ่งสุสานและฌาปนสถานแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. สุสานและฌาปนสถานาสาธารณะ เป็นสถานที่สำหรับเก็บ ฝัง เผา สำหรับประชาชนทั่วไป
2. สุสานและฌาปนสถานเอกชน เป็นสถานที่ เก็บ ฝัง หรือเผาศพ สำหรับตระกูลหรือครอบครัวทั้ง 2 ประเภท
ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งหมายถึง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือ ผอ.เขต หรือผู้ช่วย ผอ.เขต ซึ่งผู้ว่าฯมอบหมาย สำหรับในเขต กทม.
ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอ หรือ ปลัดฯประจำกิ่งอ. ซึ่ง ผวจ.มอบหมายสำหรับเขตจังหวัด
ซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล
นายกเทศมนตรี หรือพนักงานเทศบาล ซึ่งนายกฯ มอบหมายในเขตเทศบาล
ปลัดเมืองพัทยา หรือพนักงานเมืองพัทยา ซึ่งปลัดเมืองพัทยามอบหมายในเขตเมืองพัทยา
ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๏ พ.ร.บ. สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528
๏ กฎกระทรวง (พ.ศ. 2543) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การขออนุญาต การขอต่ออายุในอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการ
๏ กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม
* จัดตั้ง ไม่เกิน 1,000.00 บาท
* ดำเนินการ ไม่เกิน 500 บาท
ขั้นตอนการปฏิบัติ
คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต
อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์
ไม่มีความประพฤติบกพร่องทางศีลธรรม
ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน
ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนคนไร้สามารถ
ไม่เคยจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษที่กระทำโดยประมาท หรือลหุโทษ
แบบพิมพ์ มี 7 แบบ ดังนี้
สฌ 1 คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสุสาน และฌปนสถาน
สฌ 2 ใบอนุญาติจัดตั้งสุสานฯ (สำหรับบุคคล)
สฌ 2/1 ใบอนุญาตจัดตั้งสุสานฯ (สำหรับนิติบุคคล)
สฌ 3 คำขอรับใบอนุญาตดำเนินการสุสานและฌาปนสถาน
สฌ 4 ใบอนุญาตดำเนินการสุสานและฌาปนสถาน
สฌ 5 คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสุสานและฌาปนสถาน
สฌ 6 คำขอต่ออายุ ใบอนุญาตดำเนินการสุสานและฌาปนสถาน
การล้างป่าช้า
มีผู้ประสงค์จะทำการล้างป่าช้า ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535
รวมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทั้งฉบับ 4 พ.ศ. 2545) ข้อ 69 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “หากจะเปลี่ยนแปลงการจัดการศพผิดไปจากที่แจ้งไว้เดิม
ถ้าศพนั้นอยู่ในท้องที่ใด ให้แจ้งของอนุญาตต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น โดยให้เรียกมรณบัตรหรือใบรับแจ้งการตายจากผู้แจ้งแล้ว
บันทึกการอนุญาตได้”และเมื่อจะทำการเผาก็ให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. สุสานฯ
บทลงโทษ
1. ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 6 วรรคหนึ่ง (ห้ามผู้ใดจัดตั้งสุสานฯ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น) มาตรา 7 วรรคหนึ่ง
(เมื่อได้จัดตั้งสุสานฯ แล้วห้ามมิให้ดำเนินการเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น) หรือ มาตรา 10 (ห้ามมิให้ผู้ใด เก็บ ฝัง หรือเผาศพ
ในสถานที่อื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น) หรือผู้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสุสานฯ ตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ตามมาตรา
16 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษไม่เกิน สองพันบาท
2. ผู้ใดขัดขวาง หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เข้าไปในบริเวณสุสานฯ ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก) ต้องระวางโทษ
ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท




 

Create Date : 29 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 29 กรกฎาคม 2551 10:39:27 น.
Counter : 6889 Pageviews.  

หลักปฏิบัติราชการที่ควรรู้

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) ทรงพระราชทาน ในหนังสือหลักราชการว่า
1.ความสามารถ 2.ความเพียร
2.ความมีไหวพริบปฏิภาณ 4.ความรู้เท่าถึงการณ์
5.ความซื่อตรงต่อหน้าที่ 6.ความซื่อตรงต่อคนทั่วไป
7.รูจักนิสัยคน 8.ความรู้จักผ่อนผัน
9.ความมีหลักฐาน 10.ความจงรักภักดี

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาของกระทรวงมหาดไทย
1.ต้องมีความซื่อตรงต่อราชการ ต่อหน้าที่ และต่อตำแหน่งที่ตนรับผิดชอบ
2.มีความอุตสาหะในการแสวงหาความรู้ในการทำงาน การระวังตรวจตรา ปรับปรุงงานของตนอยู่เสมอ
3.มีความอารีทั้งผู้ใหญ่ ผู้เสมอกัน และผู้น้อย

พระยาสุนทรพิพิธ
1.เข้าถึงคน คือ เข้าถึงทั้งข้าราชการในหน่วยงานและประชาชน
2.เข้าถึงงาน ทั้งในความรับผิดชอบและที่สัมพันธ์กับภายนอก
3.เข้าถึงท้องที่ การปฏิบัติงาน
คุณลักษณะที่ดีของนักปกครอง
1.จิตใจสูง ได้แก่ การมีศีลธรรมประจำใจ ศรัทธาต่อหน้าที่ และถือหน้าที่เป็นเกียรติ เป็นชีวิต
2.มีศิลปะในการปฏิบัติ มีศิลปะในการนำวิชาความรู้มาใช้ปฏิบัติงาน รู้จักเหตุผล ตัดสินใจดี มีความคิดริเริ่ม รับผิดชอบต่อหน้าที่ และเข้าใจดีต่อผู้ร่วมงาน
3.มีความประพฤติเป็นแบบพิมพ์ เป็นแบบอย่างที่ดีให้คนทั่วไปยึดถือปฏิบัติได้ด้วยความศรัทธา

นายวิญญู อังคณารักษ์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
1.มีความรู้ดี 2.มีความสามารถ
3.มีความประพฤติดี 4.มีสุขภาพอนามัยดี
5.มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้รู้ชนะ 6.การแต่งกายดี
7.ครอบครัวดี 8.แนบเนียนในการทำงานด้านต่าง ๆ well rounded man
9.จงรักภักดี 10.มีจิตใจทางบวก

นายเอนก สิทธิประศาสน์ อดีตอธิบดีกรมการปกครอง ประกอบด้วย ตั้งใจจริง อิงธรรมะ ละผลประโยชน์ โปรดวิชาการ ทำงานเป็นระบบ คบกับทุกฝ่าย ขยายประชาธิปไตย ทันสมัยเป็นนิจ คู่ชีวิตเป็นสุข

นายพิศาล มูลศาสตรสาทร อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย หลัก 3 ร. คือ รักประชาชน รักหน้าที่ และรักศักดิ์ศรี

นายฉลอง กัลยาณมิตร อดีต อปค. กล่าวว่า ถ้านักปกครองทอดทิ้งประชาชน ก็อย่าหวังว่าจะประสบความสำเร็จในการงาน การไม่ทอดทิ้งประชาชน ก็คือ การออกไปสัมผัสประชาชน สอบถามทุกข์สุข และปัญหาของเขา และหาทางแก้ไขปัญหาของเขา ด้วยความฉับไว ตั้งใจ และจริงใจ

การปฏิบัติงานตามรอยพระยุคลบาท (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร.)
ข้าราชการ คือผู้ที่ปฏิบัติภารกิจในงานของพระเจ้าแผ่นดิน หรือผู้ทำหน้าที่ในงานของพระราชา
หลักปรัชญาของข้าราชการ
1.มุ่งเน้นการทำงานโดยมีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่ความผาสุกสมบูรณ์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง
2.อุทิศตนในการทำงานตลอดเวลา แม้จะพ้นเวลาปฏิบัติราชการที่ทางราชการกำหนดก็ตาม
3.ข้าราชการ คือผู้ที่ทำงานให้ประชาชนชื่นใจ

หลักการประพฤติปฏิบัติงานตามรอยพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1)ทำงานอย่างผู้รู้จริง และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์
2)มีความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมมะและความถูกต้อง
3)มีความอ่อนน้อม ถ่อมตน เรียบง่าย ประหยัด
4)มุ่งประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นหลัก
5)รับฟังความเห็นผู้อื่น เคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง
6)ยอมรับผู้อื่น เข้าหาประชาชน
7)มีเมตตาและกตัญญู
8)พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและเก่ง
9)รักประชาชน
10)ทำงานเป็นระบบและต่อเนื่อง

อิทธิบาท 4 หลักการทำงานของในหลวง อิทธิบาทที่ท่านว่านี้
ตัวแรกที่ทรงใช้ คือ ฉันทะ เพราะเหตุว่าทรงรักสิ่งที่ทรงทำ จึงได้ทำสิ่งที่ทำอยู่ในขณะนี้
ตัวที่สอง คือ วิริยะ คือความพากเพียร ความพยายามไม่ย่อท้อ อันนี้เห็นได้ชัดที่สุดในรัชกาลนี้
ตัวที่สาม คือ จิตตะ คือความเอาพระทัยจดจ่อในสิ่งที่ทรงทำ เพราะฉนั้นท่านจึงทำได้
ในข้อสุดท้าย คือ วิมังสา ทำงานแล้วไม่ทิ้งคอยตรวจสอบ ทบทวน ไตร่ตรอง พิจารณา ถ้าผิดพลาดก็เตรียมตัวแก้คราวต่อไป นี่เป็นธรรมะที่ทรงยึดถือมาอย่างเคร่งครัดตลอดรัชกาล
(พลตำรวจเอกวิสิษฐ์ เดชกุชร (บรรยาย) , 9 พ.ค. 2543)


อบายมุข 6 ผู้ที่หวังความเจริญด้วยโภคทรัพย์ พึงเว้นเหตุเครื่องฉิบหาย 6 ประการ ดังนี้
1.ติดสุราและของมึนเมา 2.ชอบเที่ยวกลางคืน
3.ชอบเที่ยวดูการละเล่น 4.ติดการพนัน
5.คบคนชั่ว 6.เกียจคร้านการงาน
จักรวรรดิวัตร 12 คือธรรมะ อันเป็นพระราชจริยานุวัตร สำหรับพระมหาจักรพรรดิ พระราชาเอกในโลก ทั้งนี้โดยพระมหากษัตริย์ ผู้ปกครองประชาชน ทรงถือและอาศัยธรรมะข้อนี้เป็นธงชัย อันมี 12 ประการ คือ
1)ควรอนุเคราะห์คนในราชสำนัก และคนภายนอกให้มีความสุข ไม่ปล่อยปะละเลย
2)ควรผูกไมตรีกับประเทศอื่น
3)ควรอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์
4)ควรเกื้อกูลพราหมณ์ คหบดี และคหบดีชน คือเกื้อกูลพราหมณ์ และผู้ที่อยู่ในเมือง
5)ควรอนุเคราะห์ประชาชนในชนบท
6)ควรอนุเคราะห์สมณพราหมณ์ผู้มีศีล
7)ควรจักรักษาฝูงเนื้อ นก และสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธุ์
8)ควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรม และชักนำด้วยตัวอย่างให้อยู่ในกุศลสุจริต
9)ควรเลี้ยงดูคนจน เพื่อมิให้ประกอบการทุจริต กุศลและอกุศลให้แจ้งชัด
10)ควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์ เพื่อศึกษาบุญและบาป กุศลและอกุศลให้แจ้งชัด
11)ควรห้ามจิต มิให้ต้องการไปในที่ที่พระมหากษัตริย์ไม่ควรเสด็จ
12)ควรระงับความโลภ มิให้ปรารถนาในลาภ ที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้
ราชสังคหวัตถุ 4 คือพระราชจริยานุวัตร อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงเคราะห์ ยึดหน่วงน้ำใจประชาชน มี
1.สสเมธ ความที่ทรงพระปรีชาในการบำรุงธัญญาหารให้บริบูรณ์
2.ปุริสเมธ ความที่ทรงพระปรีชาในการสงเคราะห์บุรุษที่ประพฤติดี
3.สสมาปส ความที่ทรงพระปรีชาในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของราษฎร
4.วาจาเปยย การตรัสพระวาจาที่อ่อนหวานแก่ชนทุกชั้น โดยควรแก่ฐานะและภาวะธรรม
อกุศลมูล 3 คือรากเง่าของความชั่ว มี 3 ประการคือ
1)โลภะ ความอยากได้
2)โทสะ ความคิดประทุษร้ายเขา
3)โมหะ ความหลงไม่รู้จริง
อฐิษฐานธรรม 4 เป็นหลักธรรมที่ควรตั้งไว้ในจิตใจเป็นนิจ เพื่อเป็นเครื่องน้อมนำจิตใจให้เกิดความรอบรู้ ความจริง รู้จักเสียสละและบังเกิดความสุข มี 4 ประการ
1.ปัญญา ความรู้ในสิ่งที่ควรรู้
2.สัจจะ ความจริง คือประพฤติสิ่งไรก็ให้ได้จริง ไม่ทำอะไรจับจด
3.จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแห่งความจริงใจ คือสละความเกียจคร้าน ความหวาดกลัวต่อความทุกข์ยาก ลำบาก
4.อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความสงบ คือยับยั้งจิตใจมิให้ปั่นป่วนไปตามความพอใจ รักใคร่และความขัดเคือง เป็นต้น
คิหิสุข 4
1)อัตถิสุขัง สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์
2)บริโภคสุขัง สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค
3)อนญสุขัง สุขเกิดจากความไม่มีหนี้
4)อนวัชชะสุขัง สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่สุจริต ปราศจากโทษ
คหบดีธรรม 4 เป็นหลักธรรมของผู้ครองเรือน พึงยึดถือปฏิบัติ มี 4 ประการ คือความหมั่น ความโอบอ้อมอารี ความไม่ตื่นเต้นมัวเมาในสมบัติ และความไม่เศร้าโศกเสียใจเมื่อเกิดภัยวิบัติ
นิวรณ์ 5 เป็นธรรมอันกั้นจิต ไม่ให้บรรลุความดี มี 5 ประการ
1.กามฉันท์ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่พอใจมีในรูป เป็นต้น
2.พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น
3.ถีนมิทธะ ความที่จิตใจหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
4.อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ
5.วิจิกิจฉา ความลังเลไม่ตกลงใจได้
ผู้จำกัดหรือบรรเทานิวรณ์ได้ ย่อมได้อาสงฆ์ 5 ประการคือ ไม่ข้องติดอยู่ในกายตนหรือผู้อื่นจนเกินไป มีจิตเมตตาประกอบ มีจิตอาจหาญในการประพฤติความดี มีความพินิจและอดทนในการงาน และตัดสินใจในทางดีได้แน่นอนและถูกต้อง
เวสารัชชกรณะ 5 เป็นธรรมที่ยังความกล้าหาญให้เกิดขึ้น มี 5 ประการ คือ
1)ศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
2)ศีล ประพฤติกายวาจาเรียบร้อย
3)พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษามาก
4)วิริยารัมภะ ตั้งใจทำความพากเพียร
5)ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้
อริยะทรัพย์ 7 คือ คุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ มี 7 ประการคือ
1)ศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
2)ศีล ประพฤติกายวาจาเรียบร้อย
3)หิริ ความละอายต่อบาปทุจริต
4)โอตตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาปทุจริต
5)พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษามาก เคยได้ยินได้ฟังมามาก
6)จาคะ การให้ปันสิ่งของแก่คนที่ควรให้
7)ปัญญา ความรอบรู้ทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นโทษ
สัปปุริสธรรม 7 เป็นหลักธรรมอันเป็นของคนดี (ผู้ประพฤติชอบ) มี 7 ประการ
1.ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ
2.อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล
3.อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน
4.มัญตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
5.กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควร
6.ปุริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักสังคม
7.ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบคน
พระพุทธโอวาท 3 คือเว้นจากทุจริต ประกอบสุจริต และทำใจตนให้บริสุทธิ์สะอาด
ไตรสิกขา คือข้อที่ต้องสำเหนียก 3 ประการ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
คุณธรรมของผู้ปกครอง 6
1.ขมา มีความอดทนเก่ง
2.ชาคริยะ ระวังระไว
3.อุฏฐานะ หมั่นขยัน
4.สังวิภาคะ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
5.ทยา เอ็นดู กรุณา
6.อิกขนา หมั่นเอาใจใส่ตรวจตราหรือติดตาม
ยุติธรรม 5
1.สัจจวา แนะนำด้วยความจริง
2.บัณฑิตะ ฉลาดแนะนำความเจริญและความเสื่อม
3.อสาหะเสนะ ตัดสินด้วยปัญญา ไม่ตัดสินด้วยอารมณ์ผลุนผลัน
4.เมธาวี นึกถึงธรรม (ยุติธรรม) เป็นใหญ่ ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง
5.ธัมมัฏฐะ ไม่ริษยาอาฆาต ไม่ก่อเวร
ธรรมอันเป็นเครื่องให้ก้าวหน้า 7
1) อุฏฐานะ หมั่นขยัน
2) สติ มีความเฉลียว
3) สุจิกัมมะ การงานสะอาด
4) สัญญคะ ระวังดี
5)นิสัมมการี ใคร่ครวญพิจารณาแล้วจึงทำ
6)ธัมมชีวี เลี้ยงชีพโดยธรรม
7)อัปปมัคคะ ไม่ประมาท

• SWOT กุญแจการวิเคราะห์งาน ใช้ในการวิเคราะห์หน่วยงานหรือองค์กร
STRENGTH คือ จุดแข็งหรือจุดเด่นที่เสริมสร้างให้หน่วยงานเข้มแข็ง
WEAKNESS คือ จุดอ่อนหรือจุดด้อย ของหน่วยงาน
OPPORTUNITY คือ โอกาสที่หน่วยงานจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
THREAT คือ ข้อจำกัดหรือแรงกดดันที่บั่นทอนให้หน่วยงานอ่อนแอ






 

Create Date : 23 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 23 กรกฎาคม 2551 10:24:34 น.
Counter : 1784 Pageviews.  

แนวข้อสอบการสอบสวนด้านคดีอาญา

1. การชันสูตรพลิกศพ ให้พนักงานสอบสวนร่วมกับแพทย์ในข้อใดทำการชันสูตรพลิกศพเป็นลำดับแรก
ตอบ แพทย์ทางนิติเวชศาสตร์

2. กรณีนักโทษถูกประหารชีวิต พนักงานฝ่ายปกครองต้องเข้าร่วมชันสูตรพลิกศพหรือไม่
ตอบ ไม่

3. การเปรียบเทียบความแพ่งในหน้าที่ฝ่ายปกครอง ทุนทรัพย์ของคดีต้องไม่เกิน
ตอบ 20,000 บาท

4. ในการประนีประนอมข้อพิพาทของกม. ถ้าคู่กรณีตกลงกันได้ให้ทำสัญญายอมความกี่ฉบับ
ตอบ 4 ฉบับ

5. ผู้มีอำนาจออกหมายค้น ได้แก่
ตอบ ศาล

6. นายอำเภอมีบทบาทในการอำนวยความยุติธรรมในทางแพ่งได้อย่างไร
ตอบ 1. การเปรียบเทียบความแพ่ง ในอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ
2. เป็นคนกลางไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีได้ประนีประนอมยอมความ
3. เป็นอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างคู่กรณี

7. ในกรณีที่มีความตาย เกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ก่อนการชันสูตรพลิกศพพนักงานสอบสวนมีหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติอย่างไร
ตอบ 1. แจ้งให้ผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพทราบ
2. ให้แจ้งสามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือญาติของผู้ตาย อย่างน้อยหนึ่งคนทราบเท่าที่จะทำได้

8. ข้อใดไม่ใช่การตายโดยผิดธรรมชาติ
ตอบ ตายโดยการประหารชีวิต

9. การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นภารกิจหลักของฝ่ายปกครองในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข อันเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ว่าอย่างไร
ตอบ สอดคล้องกันแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมวด 5 ข้อ 75 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดว่า “รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลจัดระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ และอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างรวดเร็ว และเท่าเทียมกัน รวมทั้งจัดระบบงานราชการและงานของรัฐ อย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน”

10. “ การอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน” หมายถึง
ตอบ การช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมภายในกรอบของกฎหมายโดยการปฏิบัติในลักษณะที่ได้รับความเสมอภาคทั้งฝ่ายผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหา

11. ปลัดอำเภอ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอำนวยความยุติธรรมอย่างไร
ตอบ 1) ปลัดอำเภอเป็นผู้ช่วย และผู้แทนของนายอำเภอ (ตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ 2457และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534)
2) ปลัดอำเภอ มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
3) ปลัดอำเภอเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ และเป็นพนักงานสอบสวน (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา)

12. การประนีประนอมข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นการปฏิบัติในลักษณะของสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยปลัดอำเภอมีบทบาทอย่างไร
ตอบ ปลัดอำเภอเป็นผู้ให้คำปรึกษา (รวมทั้งนายอำเภอ นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร และพนักงานอัยการ) ส่วนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นเรื่องของคณะกรรมการหมู่บ้าน

13. คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ หรือคณะกรรมการกลางหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง ทำการประนีประนอมข้อพิพาทให้กับประชาชนโดยมีหลักเกณฑ์อย่างไร
ตอบ ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการปฏิบัติงานประนีประนอมข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. 2530 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ดังนี้
1. เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับความแพ่ง และความอาญา ที่เป็นความผิดอันยอมความได้
2. คู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงให้คณะกรรมการหมู่บ้านประนีประนอมข้อพิพาท
3. ข้อพิพาทเกิดขึ้นในหมู่บ้าน หรือคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในหมู่บ้านนั้น

14. การเปรียบเทียบความแพ่งในอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ มีหลักเกณฑ์อย่างไร
ตอบ ตามกฎหมาย พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเปรียบเทียบความแพ่ง ในอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ พ.ศ. 2528 บัญญัติให้นายอำเภอมีอำนาจฝ่ายตุลาการ ในการเปรียบเทียบความแพ่งให้กับราษฎร โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. เป็นข้อพิพาทที่มีทุนทรัพย์ ไม่เกิน 20,000 บาท
2. มูลคดีเกิดขึ้นในอำเภอนั้น หรือผู้ถูกร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอนั้น
3. ผู้ร้องมาขอให้นายอำเภอไกล่เกลี่ย
4. คู่กรณีตกลงยินยอมตามคำเปรียบเทียบ
5. ในคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์ หรือมีทุนทรัพย์เกินกว่า 20,000 บาท นายอำเภอก็สามารถไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีตกลงประนีประนอมกันได้ ถ้าคู่กรณียินยอมให้นายอำเภอเปรียบเทียบตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเปรียบเทียบความแพ่ง ในอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ พ.ศ. 2528

15. พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง สามารถทำการสอบสวนคดีอาญา 10 ประเภทได้แก่ประเภทใดบ้าง
ตอบ ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยระเบียบการสอบสวนคดีอาญาบางประเภทในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพ พ.ศ. 2520 และตามระเบียบ มท.ว่าด้วยการเปรียบเทียบ และการสอบสวนคดีอาญาบางประเภท พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองทำการสอบสวน ได้ดังนี้
1) กฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร
2) กฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน
3) กฎหมาย่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่
4) กฎหมายว่าด้วยภาษีป้าย
5) กฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน
6) กฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ
7) กฎหมายว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง
8) กฎหมายว่าด้วยการควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
9) กฎหมายว่าด้วยสาธารณสุข
10)กฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา

16. การสอบสวนคดีอาญาบางประเภท ในเขตอำเภอผู้ใดเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน
ตอบ นายอำเภอ

17. ใครมีอำนาจทำการเปรียบเทียบคดีละเมิดข้อบัญญัติเมืองพัทยา
ตอบ ปลัดเมืองพัทยา รองปลัดเมืองพัทยา หัวหน้าฝ่ายหรือหัวหน้าส่วน

18. กรณีค้นในที่รโหฐาน ผู้ใดมีอำนาจออกหมายค้น
ตอบ ศาล

19.พนักงานผู้ลงชื่อในคำร้องขอออกหมายค้นต้องมีตำแหน่งใด
ตอบ ถ้าเป็นตำรวจต้องมีตำแหน่งตั้งแต่สารวัตรขึ้นไป ถ้าเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือฝ่ายอื่น ต้องเป็นข้าราชการระดับ 5 ขึ้นไป

20.วิสามัญฆาตกรรม หมายถึง
ตอบ วิสามัญ แปลว่า ไม่ปกติไม่ใช่ธรรมดา และคำว่า ฆาตกรรม แปลว่าการฆ่ากันตาย ดังนั้น จึงหมายถึง การฆ่ากันตายที่ไม่ใช่ปกติหรือไม่ใช่ธรรมดา ซึ่งใช้ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายอยู่ในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่

21. พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21 )พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับเมื่อใด
ตอบ วันที่ 27 มิถุนายน 2543
22.การตายผิดธรรมชาติ หมายถึง
ตอบ การฆ่าตัวตาย ถูกสัตว์ทำให้ตาย ถูกผู้อื่นทำให้ตาย ตายโดยอุบัติเหตุ และตายโดยยังไม่ปรากฏเหตุ ต้องมีการชันสูตรพลิกศพทุกกรณี

23. ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิอาญา (ฉบับที่ 21)พ.ศ. 2542 การตายโดยผิดธรรมชาติ เพราะถูกผู้อื่นทำให้ตาย (การวิสามัญฆาตกรรม) เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจและหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพคือใคร
ตอบ 1)พนักงานอัยการแห่งท้องที่ที่ศพนั้นตั้งอยู่
2)พนักงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ปลัดอำเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่
3)พนักงานสอบสวน (ฝ่ายตำรวจ) แห่งท้องที่ศพนั้นอยู่
4)แพทย์

24.แพทย์ผู้ทำการชันสูตรพลิกศพ ได้แก่
ตอบ 1)แพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ ซึ่งได้รับวุฒิบัตร หรือได้รับหนังสืออนุมัติจากแพทยสภา ถ้าไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ใช้
2)แพทย์ประจำโรงพยาบาลของรัฐปฏิบัติหน้าที่ ถ้าไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ใช้
3)แพทย์ประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ถ้าไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ใช้
4)แพทย์ประจำโรงพยาบาลเอกชน หรือแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์อาสาสมัคร ตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติหน้าที่

25.ก่อนการชันสูตรพลิกศพ พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ 1)พนักงานสอบสวนต้องแจ้งแก่ผู้มีหน้าที่ไปทำการชันสูตรพลิกศพทราบ
2)พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้สามี ภริยา บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือญาติของผู้ตาย อย่างน้อยคนหนึ่งทราบเท่าที่จะทำได้

26.ในการชันสูตรพลิกศพ พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานอัยการ และเมื่อแล้วเสร็จต้องส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพให้กับผู้ใด
ตอบ พนักงานอัยการ

27. ใครมีหน้าที่ไต่สวน และมีคำสั่งกรณีการกระทำวิสามัญฆาตกรรม
ตอบ ศาล

28. ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยระเบียบการปฏิบัติหน้าที่ชันสูตรพลิกศพของพนักงานฝ่ายปกครอง พ.ศ. 2543 มีผลใช้บังคับเมื่อใด
ตอบ ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2543 เป็นต้นไป

29. ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร พนักงานฝ่ายปกครองผู้มีอำนาจชันสูตรพลิกศพ ได้แก่ใครบ้าง
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด รอง ผวจ. ปจ. จ่าจังหวัด ป้องกันจังหวัด นายอำเภอ ป.หน.กิ่ง ปอ. 3-7

30.ในจังหวัดอื่น อำเภอและหน้าที่หลักของพนักงานฝ่ายปกครองผู้ปฏิบัติชันสูตรพลิกศพอยู่ที่ระดับใด
ตอบ ระดับอำเภอ กิ่งอำเภอ

31.ในกรุงเทพมหานคร พนักงานฝ่ายปกครอง ผู้มีอำนาจชันสูตรพลิกศพ ได้แก่บุคคลใด
ตอบ ในกรุงเทพมหานคร เมื่อมีเหตุการตายเกิดขึ้น กำหนดให้ข้าราชการในกองการสอบสวนและนิติการ ตำแหน่งตั้งแต่เจ้าพนักงานปกครอง นิติกร หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่มและผู้อำนวยการกองสอบสวนและนิติการ เป็นผู้ทำหน้าที่ชันสูตรพลิกศพเป็นลำดับแรก รวม 26 คน รับผิดชอบทั้ง 50 เขต โดยจัดเวรรับผิดชอบ วันละ 3 คน พร้อมกำลังสมาชิก อส. อีก 2 นาย ตลอด 24 ชั่วโมง ปลัดกระทรวงมหาดไทย อาจใช้ดุลพินิจเข้าทำการชันสูตรพลิกศพ หรือมอบหมายผู้อื่นให้ทำการชันสูตรพลิกศพ แทนข้าราชการกองการสอบสวน ถ้าคดีนั้นเป็นคดีสะเทือนขวัญประชาชน หรืออาจกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

32.ปลัดกระทรวงมหาดไทย สามารถเข้าร่วมให้คำปรึกษาหรือให้คำแนะนำแก่พนักงานฝ่ายปกครอง ผู้ทำหน้าที่ร่วมชันสูตรพลิกศพในจังหวัดอื่นได้หรือไม่
ตอบ ได้

33. ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดกระทรวงมหาดไทย พิจารณาเห็นว่าเพียงร่วมให้คำปรึกษา หรือให้คำแนะนำ แก่พนักงานฝ่ายปกครองอย่างเดียว ไม่อาจทำให้เกิดความยุติธรรมได้ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดกระทรวงมหาดไทย จะเข้าร่วมชันสูตรพลิกศพด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนได้ โดยจะเป็นการตัดอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครอง ผู้มีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพผู้รับผิดชอบประจำท้องที่หรือไม่
ตอบ เป็นการตัดอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครอง ผู้รับผิดชอบประจำท้องที่

34. กรณีมีคนถูกเจ้าพนักงานตำรวจฆ่าตายจำนวนมาก โดยเจ้าพนักงานตำรวจนั้น อ้างว่าปฏิบัติหน้าที่ราชการตามหน้าที่ ปรากฏว่าในท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ มีปลัดอำเภอปฏิบัติหน้าที่ชันสูตรพลิกศพเพียงคนเดียว ไม่สามารถจะร่วมทำการชันสูตรพลิกศพให้เสร็จโดยเร็วได้ ถ้าปล่อยเวลาเนิ่นนานไป ศพอาจจะส่งกลิ่นเหม็น รบกวนอนามัยประชาชน ในการนี้ผู้ว่าราชการจังหวัด สามารถระดม ปลัดอำเภอและนายอำเภอจากอำเภออื่นในเขตจังหวัดนั้นมาช่วยชันสูตรพลิกศพได้หรือไม่
ตอบ ไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากไม่ใช่พนักงานฝ่ายปกครอง ฯ แห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ ก็แก้ไขโดย ผู้ว่าราชการจังหวัด อาจมอบหมายให้ป้องกันจังหวัด จ่าจังหวัด ปลัดจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัด คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเข้าไปร่วมชันสูตรพลิกศพได้

35. ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยระเบียบการปฏิบัติหน้าที่ชันสูตรพลิกศพของพนักงานฝ่ายปกครอง พ.ศ. 2543 ใครเป็นผู้รักษาการข้อบังคับนี้
ตอบ ปลัดกระทรวงมหาดไทย

36. หากปลัดอำเภอผู้หนึ่ง ฆ่าผู้ร้ายตาย โดยอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ปลัดอำเภอผู้นั้น สามารถเป็นผู้ทำการชันสูตรพลิกศพรายนั้น หรือเป็นพนักงานสอบสวนคดีนั้นได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้




 

Create Date : 23 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 23 กรกฎาคม 2551 10:05:20 น.
Counter : 3580 Pageviews.  

แนวข้อสอบด้านงานวินัย

1. กรณีมีหนังสือร้องเรียน ใครเป็นผู้แจ้งผลการสอบสวนให้ผู้ร้องทราบ
ตอบ ปค.เป็นผู้แจ้งให้จังหวัดสอบสวน ปค.จะเป็นผู้แจ้งหากจังหวัดเห็นว่าควรแจ้งผลเบื้องต้น ให้ผู้ร้องทราบก่อนถ้าสามารถแจ้งได้ แต่ควรแจ้งเพียงว่าจังหวัดสอบเสร็จแล้ว อยู่ในระหว่างการดำเนินการขั้นตอนใด

2. กรณีหลายหน่วยงานแจ้งเรื่องร้องเรียนให้จังหวัดดำเนินการไม่เหมือนกัน เช่น ป.ป.ช. เห็นเป็นบัตรสนเท่ห์ แต่ ปค.สั่งให้สอบสวน
ตอบ ปค.สามารถสั่งสอบสวนได้ เพราะเป็นดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 99 และมาตรา 102 ของ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน เพราะแต่ละหน่วยงานอาจได้ หรือมีข้อเท็จจริงแตกต่างกัน

3. แต่งตั้งนายอำเภอ 8 ไปรักษาการปลัดจังหวัด 9 จะทำให้ในระหว่างที่รักษาการ ไม่สามารถรับเงินประจำตำแหน่งใช่หรือไม่
ตอบ จะไม่สามารถรับเงินประจำตำแหน่งได้ จนกว่ากรมการปกครองจะมีคำสั่งให้ดำรงตำแหน่งปลัดจังหวัดเต็มตัว

4. กรณีมีคำสั่งช่วยราชการ ไม่มีกฎหมายฉบับใดบัญญัติไว้ให้กระทำได้ การออกคำสั่งให้ข้าราชการ ช่วยราชการจึงเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการ ของผบช.เท่านั้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของนายอำเภอ และปลัดอำเภอที่สำคัญอย่างไร
ตอบ ปลัดอำเภอไปช่วยราชการที่อำเภอใด ไม่สามารถรักษาราชการแทน หรือปฏิบัติราชการแทนนายอำเภอของอำเภอที่ช่วยราชการได้
- ปลัดอำเภอที่ไปช่วยราชการไม่สามารถเป็นพนักงานสอบสวนคดีอาญาทั่วไป หรืออาญาบางประเภทได้
- ปลัดอำเภอที่ไปช่วยราชการไม่สามารถชันสูตรพลิกศพ ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2543 ได้














 

Create Date : 23 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 23 กรกฎาคม 2551 10:04:08 น.
Counter : 1451 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

tingnoy
Location :
มหาสารคาม Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




สวัสดีคะผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อคแห่งสาระดีๆ และความรู้หลากหลายแห่งนี้คะ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวม และผู้ที่เตรียมตัวในการสอบที่มีเวลาน้อยสามารถนำแนวข้อสอบเหล่านี้ไปใช้ประกอบในการสอบได้นะคะ รวมทั้งเจ้าของบล็อคเอง ก็กำลังพยายามสู้ๆ กับการสอบคะ เป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะคะสอบได้กันทุกคนคะ*-*
ปล.จะพยายามอัพข้อมูลลงเรื่อยๆนะคะ ติดตามเข้ามาชมได้ตลอดคะ..........
สำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมบล็อคกันแล้วขอแค่คำขอบคุณนะคะผู้ทำจะได้มีกำลังใจหาเนื้อหามาลงให้ค่ะ
Wellcome to my blog
Friends' blogs
[Add tingnoy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.