ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

คนกรุงเทพ อาจต้อง “ใส่หน้ากากกันมลพิษ” กันแล้ว เพราะนโยบายพื้นที่สี (ไม่) เขียว (จริง) จากภาครัฐ



ที่พึ่งสุดท้ายของชาวกทม. ก็คือ “หน้ากากกันมลพิษ”อย่าค้าเกินราคาแล้วกัน น่ะ!! จะบอกให้


เนื้อหาจากรายการ “สยามสาระพา” ตอน ความหวังพื้นที่สีเขียวใน กทม ทางช่องเนชั่นแชนแนล คลิปภาพและเนื้อหา จะอยู่ท้ายบทความครับ ส่วนภาพประกอลเล่าเรื่อง จากอินเตอร์เน็ตครับ

มีอาจารย์ที่เป็นนักวิชาการที่คร่ำหวอดกับสิ่งก่อสร้างและสิ่งแวดล้อม มาให้ข้อคิดว่า กทม.เรา ควรจะเดินไปทิศทางใดเพื่อความสุขอย่างยั่งยืนของประชาชน วิทยากร ในรายการที่เป็นนักวิชาการ 2 ท่าน คือ

อ.ชญา ปัญญาสุข นายกสมาคมภูมิสถาปนิก ประเทศไทย และ

อ.ปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูสอุปนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์



รายการ “สยามสาระพา” ตอน ความหวังพื้นที่สีเขียวในกทม ทางช่องเนชั่นแชนแนล

 



คนกรุงเทพฯจะอยู่กันอย่างไรดี ถ้าไปไหน ต้องใส่หน้ากากกันแล้ว ในขณะที่มหานครอื่นๆ ในโลกเค้าคำนึงความสุขประชาชนมาก่อน เป็นลำดับต้นๆ


จะหาความสุขจากที่ไหน ในเมื่อในกรุงเทพฯมีแต่มลพิษพื้นที่สีเขียว มีต่ำกว่ามาตรฐานโลก แล้วมาตรฐานชีวิตในเมืองมลพิษประชาชนจะป่วยกันขนาดไหน ค่ารักษาพยาบาล ที่จะต้องจ่ายกันอีกเท่าไหร่มีใครรับรู้บ้าง

ในหลายปัญหาต่างๆ จะเห็นได้ว่า ผู้นำบ้านเรา ไม่ได้มองความยั่งยืนความสุขของคนกรุงเทพฯเลย เพราะพื้นที่สีเขียว มันมีน้อยอยู่แล้วตอนนี้ในหลายโครงการ จะมีการนำพื้นที่สีเขียว ไปตัดเป็นทางด่วนบ้างไปทำโครงการคอมเพล็กซ์ต่างๆ ซึ่งคอมเพล็กซ์ ใน กทม. มันมีมากอยู่แล้วจนเกือบล้นแล้ว แทนที่จะสร้างเสริมความสุขให้คนส่วนใหญ่ มาลำดับต้นๆ แบบยั่งยืนขนาดสิงคโปร์ เค้าจำนวนประชากรต่อพื้นที่หนาแน่นกว่าเราเค้ายังสร้างพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่องกันเลย บ้านเราจะทำลายพื้นที่สีเขียวมันแปลกอีกแล้ว กับนักการเมืองไทย ที่บอกรักประชาชนอย่างเราจริงๆ 




มีแต่ภาคประชาชนเท่านั้นครับในตอนนี้ที่ต่อสูเพื่อให้ได้มาพื้นที่สีเขียว พวกเราต้องร่วมมือกัน ขยายเครือข่ายภาคประชาชนครับ



องค์กร ภาคประชาสังคมที่ให้ข้อมูลที่เป็นสาระ มีประโยชน์กับสังคม ใน Social Media และเว็บไซต์ต่างๆ

อย่าปล่อยให้องค์กรเหล่านี้ต่อสู้เพียงเดียวดายครับ โปรดช่วยกัน เผยแพร่ ข้อมูลเช่นนี้กันครับเพื่อเมืองของเรา


อัตราส่วนพื้นที่สีเขียวต่อคนใน กทม. อ้างอิง มูลนิธิโลกสีเขียว//www.greenworld.or.th/greenworld/local/2025

หากการมีพื้นที่สีเขียว ส่วนหนึ่งหมายถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีลองมาดูกันว่าคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ เป็นอย่างไร

ข้อมูล ณ ปี 2553 จากเว็บไซต์สำนักงานสวนสาธารณะสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ระบุว่า กทม. มีประชากรตามทะเบียน 5,702,595 คนมีพื้นที่สีเขียว 23,378,480.64 ตารางเมตร

เมื่อเทียบแล้ว อัตราส่วนพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากร กทม.เท่ากับ 4.09 ตารางเมตร/คน

ตัวเลข “4.09” มากหรือน้อย...

องค์การอนามัยโลก (WHO) เสนอเกณฑ์ด้านพื้นที่สีเขียวว่าอย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 9 ตารางเมตร/คน

นั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตคน กทม. ตกเกณฑ์องค์การอนามัยโลกมากกว่าเท่าตัว



เกาะกลางถนนในเขตจอมทองซึ่งเป็นเขตที่ติดอันดับ1 ใน 5 เขตที่มีพื้นที่สีเขียวน้อยที่สุด

อ้างอิง มูลนิธิโลกสีเขียว//www.greenworld.or.th/greenworld/local/2025


วิธีเพิ่มที่ดินสีเขียวเช่น กรมธนารักษ์ ราชพัสดุ มีพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา หรือการบริหารจัดการร่วมกับเอกชนที่มีที่ดินในย่านต่างๆ (ต้องมีกลยุทธ์ ในเชิงบูรณาการต่างๆเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด) แผนที่ google ริมน้ำเจ้าพระยาเกิด Landmark มากมาย



พื้นที่เหลือเฟือมีมากมายริมน้ำเจ้าพระยา รอท่านที่มีวิสัยทัศน์ ท่านใดบ้าง จะเริ่มบุกกันครับ


คนกรุงเทพแสนจะอาภัพ มีที่ติดริมน้ำเจ้าพระยาประมาณหลายสิบกิโลเมตรแต่ไม่ค่อยได้มองเห็นสิ่งดี ที่ตัวเองมี จะมองเห็นเจ้าพระยากันก็ช่วงนั่งรถเมล์รถแท็กซี่ข้ามสะพาน มันแปลกอีกแล้วครับคนกรุงเทพ เจ้าขา!!



 

 

คนกรุงเทพฯ แท้ๆ จะทราบกันมั้ยครับว่า มีสถานที่สวยๆริมน้ำเจ้าพระยา อย่างมหาศาล ตามลิ้งก์

จากท่าเรือสาทร ถึง ท่าเตียนไม่น่าแปลกใจครับว่าทำไมนักท่องเที่ยวถึงชอบนั่งเรือกันครับ

//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2011/07/14/entry-2


ถ้าเราบริหารจัดการกันดีๆ กับพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา สวนสีเขียวความร่มรื่นก็จะเกิดขึ้นอย่างมหาศาลเลยครับ


มองเรา มองเพื่อนบ้านเราบ้างครับ เรื่องส่งเสริมเมืองสีเขียวเค้าเป็นอย่างไรบ้าง

สิงคโปร์ มาเลเซีย มีกฎหมาย สร้างพื้นที่สีเขียว อย่างเข้มงวดและจริงจัง ของไทย ยัง “ล้าหลัง” กว่าเค้ามากมาย ไม่ทราบว่าเขียนตรงๆแบบนี้จะยอมรับกันได้หรือเปล่า ...ถ้าไม่เข้าหูก็ขออภัยด้วยน่ะครับ


สิงคโปร์ เมืองสีเขียวรัฐบาลสนับสนุนเต็มที่ ด้วยนโยบายที่ไม่เพ้อฝัน และทำอย่างจริงจัง

เครดิตภาพ อ้างอิงลิ้งก์ //noelkid.blogspot.com/2012/08/blog-post_17.html



มาเลเซีย เมืองสีเขียวตัดไม้ใหญ่ซักต้น จะเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเค้าส่งเสริมอนุรักษ์คุณค่าของต้นไม้

เครดิตภาพ อ้างอิงลิ้งก์ //tjinnovation.com/Section.php?cat=53&id=624


พวกเราประชาชน ควรจะรวมกลุ่มกันอย่างจริงจัง เพราะ เมืองที่จะน่าอยู่เป็นเมืองของเราเราอยากให้เมืองเราน่าอยู่อย่างไร เราก็อย่ารอนักการเมืองคนใดมาช่วยครับเพราะคงจะยากมากแล้ว ในสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ สรุปคือ ภาคประชาชนต้องทำงานเชิงรุกกันเองแล้วครับ

ส่วนหน่วยงานการเมือง หน่วยงานรัฐ เค้าจะจริงใจแค่ไหนเราพิจารณากันเองครับ (แต่อย่ารอใครครับ เพราะผลงานที่ผ่านมา มันฟ้องถึงความจริงใจว่ามีอยู่จริงแค่ไหน???)

ปัญหาใหญ่ที่เป็นปัญหาจริงๆ ไม่ใช่นักการเมืองไทยอย่างเดียวแต่อยู่ที่เราทุกคน ไปเลือกนักการเมืองเหล่านี้มาบริหาร “ถามหาความจริงใจ”ปัญหาใหญ่ จึงยังแก้ไขไม่ได้


ปัญหาบ้านเราที่ท่านวิทยากร พูดในคลิป ผมเห็นว่าน่าจะ Serious มากเลยอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การบริการสาธารณะในกรุงเทพมหานคร ซึ่งแยกกันทำงานจนน่าเวียนหัวมากมายเลยครับ ทั่วโลกเค้า One Stop Service กันหมดแล้วแต่บ้านเรายัง “แบ่งแยก แล้วบริหาร” ซึ่งมันไม่น่าจะสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเลยครับ...(ขอบ่นนิดครับอย่างไรก็แล้วแต่ครับ ความจริงใจในการแก้ปัญหาแบบตรงไปตรงมาของผู้มีอำนาจในบ้านเรา มันน่าเคลือบแคลงจริงๆ ครับ เพราะถ้าระบบมันไม่ทันสมัยมันก็น่าจะปรับปรุงกันเสียที ไม่ดีกว่าหรือ???)



ภาพเล่าเรื่อง การประสานงานที่ดูไม่ลื่นไหล ของหน่วยงานต่างๆจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงาน กทม. ดังคำกล่าวของบางคนที่ว่า “หน่วยนี้มาก็ขุดหน่วยนั้นมาทีหลัง ก็ขุดกันอีก ทำไมไม่ทำอะไรพร้อมๆ กันไปทีเดียวเลย” ข้อความนี้ผมไม่ได้พูดเองน่ะครับ หลายท่านที่ประสบปัญหาดังกล่าว ก็บ่นกันจนเป็นที่รับรู้กันทั้งเมืองครับ....

เจ้าของพื้นที่ คือ กรุงเทพมหานคร ก็จริงอยู่แต่มีหลายหน่วยงานที่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ ในการวางโครงข่ายต่างๆเช่นการไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง องค์การโทรศัพท์ ฯลฯ บางท่านบอกว่าต้นไม้ในกรุงเทพมหานคร ตัดได้น่าเกลียดติดอันดับโลก ก็เพราะหน่วยงานที่ตัดต้นไม้ บางครั้งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ดูแลต้นไม้โดยตรงของกทม. แต่เป็นหน่วยงานอื่น นอกสังกัด กทม. เป็นคนตัด เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยเช่นกัน

เพราะต้นไม้ สร้างบรรยากาศ ให้เมืองร่มรื่น สวยงาม น่าชมน่าเดิน

แล้วการประสานงานบ้านเรา มันดี หรือไม่ดีอย่างไร ทุกท่านก็โปรดพิจารณากันเองครับส่วนผมเห็นว่า มันน่าจะปรับเปลี่ยนเข้ากับยุคสมัยได้แล้ว เพื่อลดขั้นตอนต่างๆรวมทั้งสิ้นเปลืองงบประมาณ ในด้านการซ้ำซ้อนของงาน หลายประเทศอย่างที่กล่าวมาครับเค้า One Stop Service กันหมดแล้ว ไม่ยุ่งยากมากมายอะไรเลย

การจัดการระบบต่างๆ ในเมืองใหญ่ๆ เช่นสิงคโปร์ เค้า One Stop Service ไปที่เดียว งานเรียบร้อย แต่บ้านเรา แยกส่วนกันบริหารทำให้การประสานเกิดปัญหาอย่างมากมาย ดังเช่นในปัจจุบัน และสิ้นเปลืองงบประมาณทรัพยากร ไปโดยเปล่าประโยชน์ ไม่น่าเชื่ออีกแล้ว ที่รู้ปัญหากันทั้งประเทศแต่หาคนมาแก้ไขไม่ได้เลย นับสิบๆ ปีที่ผ่านมา



สิงคโปร์หน่วยงานให้บริการแบบรวมศูนย์ One StopService

เครดิตภาพ //worldbusinesskey.com/wp-content/uploads/2012/11/Image-52.png


ส่วนความหวังพื้นที่สีเขียวใน กทม. จะเป็นเช่นไรทางที่ดีพวกเรา อย่าไปรอความหวังจากใครกันเลยรีบเร่งช่วยกันทำงานในเชิงรุกดีกว่าครับ เพราะบ้านเมืองเป็นของเราถ้าบ้านเมืองสีเขียว มีสภาพแวดล้อมที่ดีเยี่ยม พวกเราก็ได้ประโยชน์ทุกคนพวกเราต้องมองความยั่งยืน ส่วนนักการเมือง นักธุรกิจการเมืองเค้าจะมองความสุขของเราเป็นตัวตั้ง หรือเปล่าทุกท่านก็โปรดใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลกันเองครับ....แต่เท่าที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยเห็นนักการเมืองส่วนใหญ่จริงๆ มองความสุขของพวกเราเป็นตัวตั้งเลยครับ

รายละเอียดทั้งหมดท่านสามารถชมได้ตามลิ้งก์ด้านล่างครับ



ขอขอบคุณทุกท่าน ที่ผมอ้างอิงเนื้อหาด้านบนนี้

-รายการ “สยามสาระพา”Nation Channel

อ.ชญา ปัญญาสุข นายกสมาคมภูมิสถาปนิก ประเทศไทย และ

อ.ปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูสอุปนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

และภาพถ่ายมากมายจากอินเตอร์เน็ต




 

Create Date : 23 มกราคม 2556    
Last Update : 23 มกราคม 2556 21:15:46 น.
Counter : 2410 Pageviews.  

ช่วยกันแชร์ ปก (cover) บน Facebook เราอยากให้มักกะสันเป็นสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์

บทความนี้สั้นๆ และมีเพียงภาพเดียวครับ



“ แชร์หน้าปก(Cover) บน Facebook กันครับ” (ผมทำตามขนาดมาตรฐานของเพจ เรียบร้อยแล้วครับ) เพื่อสร้างเครือข่าย “เราอยากให้มักกะสันเป็นสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์”เพราะสวนสาธารณะ และ ปอด กรุงเทพ น่าจะไม่เพียงพอ ต่อสู้กับมลพิษมลภาวะ ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่ากลัวครับ กอรปกับ มักกะสันดังกล่าวยังมีอาคารทรงคุณค่าอย่างมากมาย ที่ได้รับรางวัลจากหลายสถาบันซึ่งควรค่าแก่การเก็บรักษาเป็นอย่างดี จึงควรเป็นพิพิธภัณฑ์เช่นกัน รายละเอียดเพิ่มเติมชมได้ที่บล็อกบน OKnationบทสัมภาษณ์ของท่านอาจารย์ปองขวัญ คุณวัฒนา ลาซูส ในรายการ “ดีไซน์กู้ชาติ” ตอน มักกะสัน

ซึ่งอาจารย์ได้ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์มากกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งคนกลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ประชาชนอย่างเรา ที่รัฐบาล ควรจะมองเป็นลำดับแรกครับ....

บนบล็อกเดิม ข้อมูลเพิ่มเติม //www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2013/01/17/entry-1

เข้าร่วมเครือข่าย แสดงเจตนารมย์กันครับ กด Like ที่เพจนี้ครับ

https://www.facebook.com/MakkasanHope


ชมวีดีโอ บทสัมภาษณ์ อ.ปองขวัญในประเด็นร้อน "โครงการมักกะสัน คอมเพล็กซ์" ในรายการ “ดีไซน์กู้ชาติ” ตอนมักกะสัน ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ครับ






 

Create Date : 20 มกราคม 2556    
Last Update : 20 มกราคม 2556 1:15:30 น.
Counter : 1967 Pageviews.  

บทสัมภาษณ์ อ.ปองขวัญ ในประเด็นร้อน รื้ออาคารศาลฎีกา ในรายการ ดีไซน์กู้ชาติ



บทสัมภาษณ์ อ.ปองขวัญ ในประเด็นร้อน"รื้ออาคารศาลฎีกา"

ชมวีดีโอข้อมูลที่สำคัญ ทำไม เราต้องอนุรักษ์ อาคารทรงคุณค่า แห่งนี้และแห่งอื่น ที่มีคุณค่าเช่นกัน ในรายการ “ดีไซน์กู้ชาติ”

เราไม่สู้ ไม่หวงแหนอาคารอันทรงคุณค่า ในวันนี้ พรุ่งนี้เราก็จะไม่เหลืออะไร ให้หวงแหนอีกแล้ว...

วีดีโอ บทสัมภาษณ์ อ.ปองขวัญ ในประเด็นร้อน"รื้ออาคารศาลฎีกา"

บทความย้อนหลัง ตามลิ้งก์

//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2013/01/12/entry-1

ท่านใดที่สนใจ ร่วมเป็นเครือข่าย ปกป้อง มรดกเมือง มรดกของเราเข้าไปกด like ที่ Facebook “Urban Heritage – มรดกเมืองมรดกของเรา” ตามลิ้งก์ //www.facebook.com/UrbanHeritageThai









 

Create Date : 18 มกราคม 2556    
Last Update : 18 มกราคม 2556 1:40:51 น.
Counter : 1530 Pageviews.  

โครงการ มักกะสันคอมเพล็กซ์ ควรจะเป็นโครงการแบบไหน ในมุมมองของ อ.ปองขวัญ คุณวัฒนา ลาซูส




บทสัมภาษณ์ อ.ปองขวัญ ในประเด็นร้อน "โครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์" อาจารย์ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับควรจะพัฒนาไปในแนวทางไหนโซนไหนควรอนุรักษ์ โซนไหนควร Commercial ซึ่งในสากลทั่วโลกเค้าทำกันตลอดจนบริเวณมีต้นไม้ใหญ่ ก็น่าจะเก็บไว้เป็น “ปอด” ให้คนกรุงเทพฯ

หมายเหตุ อ.ปองขวัญสุขวัฒนา ลาซูส (กรรมาธิการอนุรักษ์ฯ สมาคมสถาปนิกสยามฯ)

รายละเอียดมากมาย ในวีดีโอคลิป ท้ายบทความท่านโปรดคลิ๊กชมกันเองตามอัธยาศัย ครับ...

ภาพประกอบบางส่วนจากวีดีโอ จะมีทั้งภาพสวนต้นไม้ขนาดใหญ่ภาพอาคารมีคุณค่า ได้รางวัลต่างๆมากมาย แต่อาจจะโดนรื้อถอน โดยคนที่ไม่รู้ค่า


อาคารทรงคุณค่า อายุ 90 ปีในมักกะสัน ของการรถไฟ อาคารคลาสสิค ชวนย้อนยุค จริงๆ ครับ






มีประวัติศาสตร์ มีลมหายใจแน่นอนครับ




ภายในก็คลาสสิค เหมาะทำกิจกรรม เล่าเรื่องประวัติที่มาที่ไปให้คนรุ่นหลัง ได้เรียนรู้กันครับ




ชมกันเอาเองครับ เกินคำบรรยาย

ของเก่า เล่าเรื่องได้ยังมีอีกมากมาย มหาศาล ในมักกะสันแห่งนี้ครับแต่เนื่องจากต้องนำเสนอภาพอื่นๆ ภาพเก่า สถานที่เก่ามีอยู่จริง จึงนำเสนอเพียง 4 ภาพครับ

ภาพอื่นบ้างครับ


ภาพแนวความคิดของโครงการครับ ยังไม่ลงตัวครับ








พื้นที่สีเขียว โซนสีเขียวก็มากครับความจริงรัฐบาลส่งเสริมให้เป็นเมืองเขียว ก็ต้องเริ่มต้นที่รัฐบาลก่อนครับชาวบ้านเค้าถึงเชื่อ แต่ถ้าเล่นจะทำลายปอดกรุงเทพฯ ก็ไม่น่าจะถูกต้องน่ะครับ









เอาแบบนี้ดีกว่ามั้ยครับ ขอโซนนึงครับ “เราอยากให้มักกะสันเป็นสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์”

ชมวีดีโอ บทสัมภาษณ์ อ.ปองขวัญ ในประเด็นร้อน "โครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์" ในรายการ “ดีไซน์กู้ชาติ”ตอนมักกะสัน ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ครับ

ตามลิ้งก์ ใน Youtube






ท่านใดที่สนใจ ร่วมเป็นเครือข่าย ปกป้อง มรดกเมือง มรดกของเราเข้าไปกด like ที่ Facebook “Urban Heritage – มรดกเมือง มรดกของเรา” ตามลิ้งก์ //www.facebook.com/UrbanHeritageThai









 

Create Date : 17 มกราคม 2556    
Last Update : 17 มกราคม 2556 9:34:59 น.
Counter : 2369 Pageviews.  

ICOMOS Thailand Association ฝ่าวิกฤต มรดกชาติ ขอความร่วมมือ คนไทยทุกท่าน ผ่าน change.org



ลิ้งก์ลงชื่อปกป้องมรดกชาติ อยู่ท้ายบทความนี้ครับ
//www.facebook.com/photo.php?fbid=428111277261930&set=a.428111263928598.99964.420144611391930&type=1&theater




หมายเหตุเกี่ยวกับ อิโคโมสไทย (ICOMOS Thailand Association)
คณะกรรมการโบราณสถานแห่งชาติว่าด้วยสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) หรือที่เรียกว่า "ICOMOS Thailand" ได้แก่ คณะกรรมการระดับชาติ (National Committee) คณะกรรมการหนึ่งของ ICOMOS ในฐานะตัวแทนของประเทศไทยนั่นเอง โดยประธานคณะกรรมการฯของแต่ละชาติยังมีฐานะเป็นกรรมการ ของคณะกรรมการที่ปรึกษาของ ICOMOS (Advisory Committee) ซึ่งสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้ได้อีกด้วย
เพิ่มเติมข้อมูล อิโคโมสไทย ตามลิ้งก์
//www.icomosthai.org/

ตามข้อมูลรายละเอียด ตามรูปด้านบนนี้ จาก ICOMOS Thailand Association (องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านปกป้องศิลปวัฒนธรรม และมรดกชาติ ใน ICOMOS international เป็นองค์กรที่มีความเชี่ยญชาญในประเทศต่างๆ รวมทั้งให้คำเป็นองค์กรที่ให้คำแนะนำ แก่ ยูเนสโก เกี่ยวกับมรดกโลก) ซึ่งมูลเหตุ สาเหตุต่างๆ จะเป็นเช่นไร เหตุใดเหตุการณ์จึงดำเนินมาถึงขั้นตอนนี้ ในท้ายบทความนี้ตามลิ้งก์ต่างๆ ถ้าท่านที่ยังไม่เคยติดตาม รบกวนเข้าไปอ่านท้ายบทความนี้ก่อนจะได้ปูพื้นฐานได้พอสมควร

ข้อมูลในภาพ ผมนำมาขยายอีกครั้งครับ เพื่อความชัดเจนของเนื้อหา และการเผยแพร่ข้อมูล
หัวข้อ :: ศาลฎีกา: หยุดทำลายโบราณสถานศาลฎีกา หยุดทำลาย พรบ.โบราณสถาน

เนื้อหา :: “การทุบรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกาในขณะนี้ นอกจากจะเป็นการทำลายโบราณสถานที่เป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นในยุคแรกของไทย มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเอกราชที่สมบูรณ์ทางการศาล ยังเป็นการทำให้ พรบ.โบราณสถานฯที่กรมศิลปากรดูแลหมดความหมาย เพราะเป็นกรณีแรกที่เมื่อกรมศิลป์แจ้งว่าเป็นโบราณสถานและขอให้หยุดทุบรื้อ แล้วยังคงทำต่ออย่างรีบเร่ง ทั้งที่ควรจะเป็นหน่วยงานที่รักษากฏหมาย รักษาความยุติธรรม แม้จะได้อ้างว่าเคยมีมติครม.อนุญาตให้ดำเนินการแล้ว แต่ก็เป็นมติที่ผ่านมากว่า 20 ปีแล้ว เวลาผ่านไปจนอาคารเป็นโบราณสถานในวันนี้ที่ต้องผ่านกระบวนการอนุญาตที่กรมศิลปากรด้วย แต่ศาลกลับไม่ทำตามขั้นตอนตามกฎหมาย ขณะนี้การรื้อถอนก็ยังเดินหน้าต่อหากไม่ยกเลิกมตินี้ ศาลก็ยังอ้างความชอบธรรมในการรื้อถอนนี้ได้ต่อไป และจะเป็นบรรทัดฐานให้เราไม่สามารถดูแลมรดกอื่นๆของชาติได้อีกต่อไป”


อย่างไรก็แล้วแต่ครับ วันนี้มีภาพอัพเดท การรื้อถอน กลุ่มอาคารศาลฎีกา ตรงปีกด้านซ้ายบริเวณริมคลองคูเมืองเดิม ซึ่งรื้อถอนไปค่อนข้างมากเลยทีเดียว เหตุที่ภาพอัพเดทมีมาเรื่อยๆ และต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งในความคิดเห็นของประชาชนคนหนึ่ง ผมคิดว่า น่าจะเป็นเรื่องความห่วงใย ตลอดจนเรื่องความชัดเจนของข้อมูลข่าวสาร ว่าอนาคตอันใกล้ การรื้อถอนกลุ่มอาคารที่กำลังรื้ออยู่นี้ จะมีผลกระทบอันยิ่งใหญ่ตามมาในการปกป้องอาคารอันทรงคุณค่าต่างๆ ฝ่ายคัดค้านการรื้อถอน ซึ่งเป็นองค์อนุรักษ์นับสิบๆ องค์กร เห็นว่าไม่ควรรื้อถอนเลย และควรหยุดการรื้อถอน เพราะขัดกับกฎหมายว่าด้วยเรื่อง พรบ.โบราณสถาน จนถึงกับ กฎหมาย พรบ.นี้ หมดความหมาย และไม่สามารถปกป้องมรดกชาติอีกมากมายได้อีกเลย (อ่านเรื่องราวย้อนหลังตามลิ้งก์มากมายท้ายบทความ)

ชมภาพอัพเดท ณ วันที่ 11 มกราคม 2556 ครับ จากแหล่งข่าวภาคสนาม ที่มีอยู่อย่างมากมาย ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ครับ




กลุ่มอาคารศาล ด้านขนานไปกับริมคลองคูเมืองเดิม ในภาพที่ระบายสีเขียวอ่อน ขอบเส้นแดง โดนรื้อถอนไปแล้ว ปีกซ้ายสุด จะมีอาคารเหลืออยู่บ้าง



ภาพเปรียบเทียบอีกมุมมองหนึ่ง....อาคารเดียวกัน ภาพล่างเป็นสภาพปัจจุบัน ที่ระบายสีเขียวอ่อนภาพล่าง เป็นสภาพโดนรื้อไปเรียบร้อยแล้ว เป็นช่องโหว่ๆ ครับ...

ตอนนี้ รุ่นลูกหลานเรา คงได้รับการเล่าขานจากรูปภาพเก่า อย่างเดียวแล้วล่ะครับ เพราะประวัติศาสตร์อาคารทรงคุณค่าแห่งนี้ ลมหายใจเหลือน้อยเต็มทีแล้วครับ


อย่างไรก็แล้วแต่มีเอกสารแถลงการณ์ของเครือข่ายภาคประชาชน และภาคประชาสังคมที่เห็นคุณค่าอาคารประวัติศาสตร์อันเป็นโบราณสถานในพื้นที่มรดกวัฒนธรรมของชาติ




-เครือข่ายภาคประชาชน และภาคประชาสังคมที่เห็นคุณค่าอาคารประวัติศาสตร์อันเป็นโบราณสถานในพื้นที่มรดกวัฒนธรรมของชาติ

-สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรม และสิ่งแวดล้อม

-เครือวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม

-บางกอกฟอรั่ม

-สมาคมอิโคโมสไทย






เอกสารแถลงการณ์ มี 3 หน้า











ชมภาพอื่นๆ กันครับ ภาพเศร้า แต่เป็นภาพจริง เหตุการณ์จริงครับ











หมายเหตุ : บทความย้อนหลัง



"เหตุผลที่ควรระงับ การรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกา (โดยทันที)" โดย ชาตรี ประกิตนนทการ ม.ศิลปากร
//www.facebook.com/photo.php?fbid=254402251355830&set=t.100004878248310&type=3&theater

องค์กรใหญ่ มีความเห็นไม่ตรงกัน ขาดคนกลางมาไกล่เกลี่ย ...การอนุรักษ์มรดกชาติ มีปัญหา
//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/24/entry-2

ประวัติศาสตร์ที่มีลมหายใจ (เฮือกสุดท้าย) คงจะหายสาบสูญ ถ้าเราไม่ช่วยกัน (ส่งเสียง)
//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/24/entry-1

"คณะกรรมการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ ค้านศาลฎีกาทุบอาคารเก่า ชี้ไม่มีใครกล้าทัดทานเพราะกลัวอำนาจศาล" ตามลิ้งก์ //www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/23/entry-1

"ข่าวเดียวกัน ออกมาพร้อมๆ กันจาก 2 หน่วยงาน แต่สับสน"
//www.facebook.com/photo.php?fbid=256110064518382&set=t.100004878248310&type=3&theater

กรมศิลป์ ฝ่ากระแส เสือกระดาษ ไร้อำนาจ “เดินหน้า ค้านทุบศาลฎีกา” จาก Thairathonline
//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/25/entry-1

มีบทความเดิม ข้อเสนอในการปกป้องสมบัติชาติ มรดกแห่งประวัติศาสตร์ ที่เคยเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin&date=27-12-2012&group=1&gblog=109

ไร้“ราก”ไร้“ประวัติศาสตร์”ใครจะปกป้อง“กลุ่มอาคารศาลฎีกา”โดนรื้อไปมากแล้ว แล้วมรดกชาติจะเป็นยังไง
//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2013/01/02/entry-1

รื้อถอน ทุบทำลายกันจริงครับ “กลุ่มอาคารศาลฎีกา” น่ากังวลใจหลายประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกชาติ
//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2013/01/04/entry-3

กรมศิลป์แจ้งจับผู้รับเหมาอาคารศาลฎีกา ถ้าตำรวจ ไม่กล้าเข้าดำเนินการจับกุม แล้วใครจะช่วยปกป้องมรดกชาติ
//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2013/01/06/entry-1

"ที่พึ่ง" สุดท้ายของคนปกป้องมรดกชาติ "ฟุธบาท หน้าศาลฎีกา" ศุกร์ที่ 11 ม.ค. 9 โมงเช้า
//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2013/01/09/entry-1

อีโคโมสไทย สรุปผลการเสวนา[หยุด]รื้อถอน ศาลฎีกา และชื่นชมการทำงานของกรมศิลปากร
//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2013/01/10/entry-1

ขอเชิญร่วมเสวนาสาธารณะ “ทุบ (ตึก) ศาลฎีกา ลบประวัติศาสตร์ชาติไทย” ศุกร์ที่ 18 มกราคม 2556
//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2013/01/11/entry-1



ท่านใดที่สนใจ ร่วมเป็นเครือข่าย ปกป้อง มรดกเมือง มรดกของเรา เข้าไปกด like ที่ Facebook “Urban Heritage – มรดกเมือง มรดกของเรา” ตามลิ้งก์ //www.facebook.com/UrbanHeritageThai




 

Create Date : 14 มกราคม 2556    
Last Update : 14 มกราคม 2556 8:59:38 น.
Counter : 1613 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.